ในยุคที่ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ลดลงและผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าจึงไม่ใช่แค่ “ทางเลือก” แต่เป็น “ทางรอด” ของธุรกิจในปัจจุบัน
นอกจากนี้ การ “จัดเก็บ” ข้อมูลลูกค้าจำนวนมากแต่ขาดกลยุทธ์ในการ “จัดการ” อย่างเหมาะสม ก็จะทำให้เกิดความยุ่งเหยิงในการทำงาน เกิดความล่าช้า และไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
ระบบ CRM จึงมีส่วนสำคัญที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยในการบริหาร จัดการ และจัดเก็บ ข้อมูลของลูกค้าได้อย่างดี
ระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management คือ ระบบเพื่อการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ถือได้ว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่ขาดไม่ได้แล้วในปัจจุบัน โดยสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้จากหลาย Touchpoint และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่ Activity, Promotion และ Campaign ต่างๆ ต่อไปได้
ถือได้ว่า Concept โดยรวมของระบบ CRM นั้นสามารถเข้ามาช่วยธุรกิจในการรักษาฐานลูกค้าได้ แต่ปัญหาคือ “เราจะทราบได้อย่างไรว่าระบบ CRM แบบไหน เหมาะกับลักษณะธุรกิจของเรา?”
เพราะว่าจริงๆ แล้ว CRM เองก็มีหลากหลายประเภท ดูได้จากบทความนี้
ทำให้การคัดเลือก CRM ที่เหมาะกับธุรกิจของเรา และลักษณะของลูกค้าของเราเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ในบทความนี้เราจะแนะนำ 6 ขั้นตอนในการเลือก CRM ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณกัน
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
6 ขั้นตอนในการเลือก CRM ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ
1. ก่อนซื้อ CRM ต้องถามตัวเองก่อน
สิ่งแรกที่ต้องทำ คือหันกลับมาพิจารณาความต้องการของธุรกิจให้ชัดเจนก่อน เมื่อชัดเจนว่าธุรกิจของเราต้องการอะไรจริงๆ แล้ว เราถึงจะแจ้งความต้องการเหล่านั้นต่อ Vendor หรือมองหาสิ่งที่จะตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นจากเว็บไซต์ของ CRM แบรนด์ต่างๆ
คำถามที่ควรจะเริ่มถามตัวเอง เช่น
- เราทำธุรกิจ B2B หรือ B2C?
ลักษณะของธุรกิจที่ต่างกันทำให้วิธีที่เราจะเก็บข้อมูลลูกค้าต่างกัน ธุรกิจ B2B อาจจะให้ความสำคัญกับการเก็บความสัมพันธ์ของผู้ติดต่อหลายๆ คนในหนึ่งบริษัทซึ่งถือว่าเป็นผู้ซื้อ แต่ธุรกิจ B2C สนใจในตัวบุคคลแต่ละคนที่เป็นผู้ซื้อมากกว่า
CRM บางแบรนด์อาจจะถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับ B2C เฉพาะทำให้รองรับความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนแบบ B2B ไม่ได้
- ลักษณะของทีมขาย
ทีมขายของเรามีกี่คน ปัจจุบันต้องวิ่งขายงานข้างนอก หรืออยู่ประจำที่ออฟฟิศ หรือทำงานจากบ้าน น้ำหนักจากเรื่องนี้จะทำให้เราเริ่มพิจารณาความสำคัญของการใช้งาน CRM แบบ web-based หรือ CRM ที่มีแอปพลิเคชันบนมือถือ ว่ามีความสะดวกสบาย และครบถ้วนของการใช้งานมากน้อยเพียงใด ตอบโจทย์ทีมขายได้แค่ไหน
- ข้อมูลที่ต้องการเก็บ
ลองค้นดูใน Excel หรือระบบที่ใช้ปัจจุบันว่ามีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้ามากน้อยเพียงใด แน่นอนว่าเรื่องนี้ก็เกี่ยวข้องกับลักษณะของธุรกิจที่ทำด้วย เช่น หากเป็นธุรกิจซื้อขายบ้านมือสอง เราอาจจะต้องเก็บข้อมูลที่มีจำนวนและความละเอียดมาก ไม่ว่าจะเป็นลักษณะบ้านที่ชอบ ช่วงงบประมาณ หลักฐานในการทำสัญญา สมาชิกในครอบครัว บ้านที่ทำการซื้อไป ประวัติการซ่อมแซม เป็นต้น
ซึ่งจะแตกต่างกันกับธุรกิจซื้อขายสินค้าทั่วไป ที่ต้องการเพียงข้อมูลพื้นฐาน และประวัติว่าซื้ออะไรไป ตรงนี้จะทำให้เราต้องเริ่มคิดว่า CRM ที่จะซื้อนั้นต้องมีความยืดหยุ่นในการสร้างช่องข้อมูลได้เอง (Custom field) มากน้อยเพียงใด
- กระบวนการขาย
สำรวจกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายให้ละเอียด ว่ามีขั้นตอน (Workflow) ที่ต้องส่งต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งมากน้อยเพียงใด? ต้องมีการอนุมัติอะไรหรือไม่? หากมี เป็นการอนุมัติที่มีเงื่อนไขอย่างไร? ต้องเติมข้อมูลอะไรบ้างในขั้นตอนหนึ่งๆ?
หากเรามีความจำเป็นในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ก็ต้องมองหา CRM ที่มีฟีเจอร์รองรับ เช่น มีระบบอนุมัติ มีการทำ Automation มีระบบแจ้งเตือน เป็นต้น อย่างน้อยที่สุด หากไม่มีฟีเจอร์เหล่านี้จริงๆ ถ้าเป็น CRM ของไทยเราเอง ก็ต้องลองถามว่าแล้ว Customize ให้ได้หรือไม่
- การทำการตลาด
การตลาดเองก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบ CRM เช่นเดียวกัน ถึงแม้ไม่ใช่ทุกตัวที่จะมี ให้ลองดูกลยุทธ์การตลาดที่ทำอยู่ด้วย เพราะหากสามารถทำอยู่ในระบบเดียวกับ CRM ได้ ก็จะช่วยเรื่องการวัดผลได้อย่างมากเลยทีเดียว
เช่น อาจจะมีการทำ Email Marketing เพื่อส่ง Newsletter ให้ Lead หรือลูกค้าอยู่ การทำ Landing Page เฉพาะแคมเปญ การทำฟอร์มตอบรับออนไลน์ หรือการทำแบบสอบถามเฉพาะกลุ่มลูกค้า เป็นต้น CRM บางตัวถึงแม้จะไม่มีเครื่องมือที่จะทำเรื่องเหล่านี้ในตัวเอง แต่ก็มีการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่ทำได้ดี จึงเป็นเรื่องที่ควรมีการ Research กันก่อน
- รายงานและแดชบอร์ด
สำรวจรายงานที่ทีมขายต้องทำส่งให้ในแต่ละเดือน ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง กว่าจะได้มาต้องใช้เวลาและคนไปเท่าไหร่ เช่น รายงานจำนวน Lead และช่องทางที่มาในแต่ละเดือน รายงานยอดขายรายพนักงานขายและรายผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
ยิ่งมีรายละเอียดมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งเปรียบเทียบได้ดียิ่งขึ้นเมื่อเข้าไปดูในตัวซอฟต์แวร์ เพื่อทำการพิสูจน์ว่า CRM จะสามารถให้รายงานแบบที่เราต้องการได้หรือไม่? และมีขั้นตอนซับซ้อนหรือไม่? CRM บางแบรนด์อนุญาตให้เราสร้างรายงานและแดชบอร์ดในแบบที่ต้องการได้อย่างอิสระ ในขณะที่อีกหลายๆ แบรนด์มีรายงานแบบสำเร็จรูปมาให้ เราจะไม่สามารถเพิ่มลดข้อมูลที่แสดงอยู่ได้
ถ้าคุณสนใจเรื่อง CRM ห้ามพลาดงานนี้!
เข้าร่วมฟรี! งาน Salesforce presents Content Shifu Meetup: Customer Relationship Management – Converting Leads into Loyal Customers
เปลี่ยน Leads ให้กลายเป็นลูกค้าและรักษาความสัมพันธ์ระยะยาวอย่างไร มีคำตอบที่งานนี้ จากผู้ให้บริการ CRM อันดับหนึ่งของโลก
Highlight Session ภายในงาน
CRM Trends 2024-2025: อัปเดตเทรนด์จาก Salesforce ผู้ให้บริการ CRM อันดับหนึ่งของโลก
5Cs of Power CRM: กลยุทธ์รักษาและจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยคุณเอง – บังอร สุวรรณมงคล CEO & Founder of Hummingbirds Consulting
Panel Discussion จากเหล่าผู้นำวงการที่จะได้กลยุทธ์กลับไปใช้
Networking
เหล่าเจ้าของธุรกิจ, Sales & Marketing Manager และ Sales ที่สนใจ ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรีได้แล้ววันนี้
ลงทะเบียนฟรี*สงวนสิทธิ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมงานจำนวน 200 ท่าน*
2. ลิสต์ Requirement ที่ต้องการจากระบบ CRM
เมื่อเราได้คำตอบต่างๆ จากข้อ 1 แล้ว เชื่อว่าน่าจะเกิดรายการความต้องการหรือ Requirement List ย่อมๆ ขึ้นมา จากตรงนั้น ให้เราค่อยๆ จัดระเบียบความต้องการให้เป็นหมวดหมู่และให้คะแนนความสำคัญ ได้แก่
ด้านฟีเจอร์
รวบรวมสิ่งที่คิดว่า CRM น่าจะต้องทำให้เพื่อให้ตอบโจทย์ที่เราถามตัวเองข้างต้นมาไว้ด้วยกัน เช่น
- จะต้องสร้าง Custom Field ได้อย่างน้อย X ช่องในการเก็บข้อมูล Lead
- ต้องรองรับกระบวนการอนุมัติใบเสนอราคาหากดีลนั้นมีมูลค่าเกิน XXXX บาท
- ต้องเชื่อมต่อกับ MailChimp ได้
- ต้องมีแอปพลิเคชันมือถือ ที่สามารถบันทึกกิจกรรมของทีมขายได้
เป็นต้น
ด้านการลงทุน
เริ่มนับจำนวนผู้ที่จะเข้ามาใช้งานระบบ CRM และลองคำนวณราคาเพื่อเปรียบเทียบงบประมาณ ค่าใช้จ่ายของ CRM อาจจะไม่ได้มีแค่ค่าซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่อาจมีในส่วนของการขึ้นระบบ (Implementation) หรือการจ้างเขียนเพิ่มเติม (Customization) อีกด้วย เพราะฉะนั้น อย่าเทียบกันแค่ยอดเงินในปีแรกที่ต้องจ่ายเท่านั้น แต่ให้เทียบเป็นระยะ 5 ปี และยอดเฉลี่ยรายปี บางแบรนด์ที่ดูยอดเงินสูงในปีแรก อาจจะพอๆ กับแบรนด์ที่อยู่ในรูปแบบเช่าใช้ (Subscription) ก็เป็นได้
ด้านความง่ายในการใช้งาน
ถึงแม้ CRM บางตัวจะเก่งกาจทำได้ทุกฟีเจอร์ที่ต้องการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะง่ายต่อการใช้งานเสมอไป จุดที่ต้องคำนึงด้วย คือประสบการณ์ในการใช้งานจริง สำหรับผู้ใช้งานจริง ว่าการที่จะบันทึกแต่ละเรื่องลงไป ใช้เวลามากน้อยเพียงใด มีขั้นตอนยุ่งยากหรือไม่
ด้านการบริการ
บริการอาจกลายเป็นเรื่องจำเป็น หากความต้องการของเราค่อนข้างซับซ้อน อย่าลืมพิจารณาบริการที่ Vendor มีให้หลังจากซื้อไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบริการขึ้นระบบ (Implementation) หรือบริการ Support การใช้งาน เช่น ช่วงเวลาที่ติดต่อได้ เจ้าหน้าที่ที่จะทำการดูแล ภาษาที่ต้องใช้ (กรณีเป็น CRM ต่างประเทศ เราต้องสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ) เป็นต้น
เมื่อได้เกณฑ์พิจารณาทั้งหมดแล้ว ให้ลองมาจัดลำดับความสำคัญ ว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อเรามากน้อยกว่ากัน ถ้าต้องเสียสละความต้องการข้อใดข้อหนึ่งไป ข้อไหนก็จะเป็นเรื่องที่ตัดทิ้งได้ก่อน เป็นต้น
3. ลงมือค้นหา CRM ที่ใช่
เมื่อมีเกณฑ์ในการพิจารณาที่ชัดเจนแล้ว ก็เริ่มค้นหาได้เลย โดยทำได้ 3 วิธี
ค้นหาด้วย Search Engine
แน่นอน Google คือที่แรกที่ทุกคนจะเริ่มค้นหา แค่ลองพิมพ์คำว่า CRM ก็จะเห็นโฆษณาของแบรนด์ต่างๆ ขึ้นมามากมาย ทั้งของไทยและของต่างประเทศ หากเรามีเวลา ก็ค่อยๆ เข้าไปดูทีละแบรนด์ ข้อเสียคือเราอาจจะไม่เจอบางแบรนด์ที่ไม่ได้มีงบทำการตลาดออนไลน์สูง ทำให้ถึงจะค้นหา ก็ไม่ขึ้นมาให้เห็น
ถามเพื่อนในธุรกิจใกล้เคียง
การถามเพื่อนเป็นเรื่องที่ง่ายและทุกคนน่าจะทำกันอยู่แล้ว แต่ก็ต้องพิจารณาธุรกิจของเพื่อนที่เราถามดีๆ ว่ามีความคล้ายหรือต่างจากธุรกิจของเราอย่างไร เปรียบเทียบกับความต้องการที่เราสำรวจตัวเองมาในข้อแรก
ใช้บริการที่ปรึกษา
หากเราไม่ชัดเจนกับความต้องการของตัวเอง ไม่มีเวลามากพอในการสำรวจตัวเลือกในตลาด ไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยตัดสินใจได้ในองค์กร การใช้บริการที่ปรึกษาเพื่อช่วยประเมินความต้องการจำเป็น และเปรียบเทียบ CRM หลายๆ แบรนด์ในตลาด เพื่อให้เราได้ตัวเลือกที่ดีและตอบโจทย์ที่สุด ก็อาจจะเป็นวิธีลดความเสี่ยงและลดเวลาในการค้นหาเองได้เป็นอย่างดี
4. ทดลองใช้
หากเป็น CRM ที่มีปุ่มให้ทดลองใช้ได้เลยบนเว็บไซต์ เราก็สามารถเริ่มเรียนรู้ตัวระบบได้ทันที เพียงแต่อาจจะต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีการใช้งานด้วยตัวเอง ศึกษาข้อจำกัดของแพ็กเกจทดลองใช้กับแพคเกจที่ต้องเสียเงินจริง และมีเวลาจำกัดในการเข้าทดลอง
บางแบรนด์อาจจะไม่ได้มีให้สามารถเข้าทดลองใช้ได้ทันที แต่ต้องติดต่อเข้าไปเพื่อคุยกับเจ้าหน้าที่ และแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และความต้องการเบื้องต้น ก่อนที่จะได้สิทธิ์ทดลองใช้
ในขั้นตอนนี้ ควรจะให้ทีมงานที่เป็นผู้ใช้งานจริงได้มีโอกาสทดลองใช้ด้วย หรืออย่างน้อยให้ได้เห็นหน้าตาและความสามารถเบื้องต้นของระบบด้วย ให้นำรายการความต้องการจากการสำรวจตนเองในขั้นแรกมาทดลองทำจริงทีละข้อ เท่าที่แพ็กเกจทดลองใช้จะมีให้ได้
5. ขอดูเดโม (Request Demo)
CRM บางแบรนด์ไม่ได้มีให้ทดลองใช้ แต่มีปุ่มให้ “Request demo” หรือขอให้ทางผู้ให้บริการสาธิตระบบให้ดู ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องปกติของซอฟต์แวร์ในไทย ในกรณีนี้ควรจะส่งรายการความต้องการให้ทางผู้ให้บริการดูก่อน และนัดผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าฟัง โดยได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานจริง (Operation) ผู้บริหาร และอาจจะมีทางเจ้าของ เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสถามคำถามพร้อมๆ กัน
หมายเหตุ: หากเป็น CRM ของต่างประเทศ อาจจะไม่มีบริการสาธิตนี้ จึงต้องหาดูจาก YouTube ประกอบเอาเอง
6. ประเมินการตอบโจทย์และราคา
หลังจากรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้ และการสาธิตระบบแล้ว หากยังไม่มีข้อมูลด้านค่าใช้จ่าย ให้ขอใบเสนอราคาจาก Vendor มาให้ครบทุกราย
เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว ให้เริ่มพิจารณาตามเกณฑ์ที่สร้างไว้ในข้อ 2 สำหรับแต่ละ Vendor อาจจะให้เป็นคะแนนจาก 1-3 เพื่อให้ง่ายต่อการสรุปเชิงตัวเลข ขั้นตอนนี้ เราจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างสิ่งที่ CRM นั้นๆ ตอบโจทย์เราได้ ราคาที่ต้องจ่ายไป และบริการที่จะได้รับนอกเหนือจากตัวซอฟต์แวร์เอง
นอกจากนี้ ควรจะให้คนในองค์กรหลายๆ กลุ่มช่วยกันทำการประเมินหากต้องการความรอบคอบที่สุด เช่น ให้ทีมขายที่ต้องเป็นผู้บันทึกข้อมูลและใช้งานตลอดเวลา ประเมินในส่วนของฟีเจอร์และความง่ายในการใช้งาน และให้ผู้บริหารช่วยประเมินในส่วนของรายงานและประสิทธิภาพที่จะเพิ่มขึ้นจากการใช้ CRM เป็นต้น
เมื่อได้ตัวเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ก็วางแผนในการเริ่มซื้อและใช้งานได้เลย แนะนำว่าควรมีการตั้งวันที่ที่ชัดเจนในการจะเริ่มใช้ระบบ CRM ใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้ระบบทับซ้อนกัน และให้ทีมงานมีเวลาเตรียมตัวและเตรียมข้อมูลเพื่อที่จะขึ้นระบบใหม่ได้อย่างสมบูรณ์
สรุป
ถึงตรงนี้ ทุกคนน่าจะเริ่มประเมินกันได้ว่าการเลือก CRM ให้ดีนั้น จะต้องใช้ระยะเวลา และความละเอียดในการพิจารณาในระดับใด สรุปกันได้สั้นๆ ว่า การเลือก CRM นั้นเริ่มต้นจากการทำรายการความต้องการของตนเองให้ชัดเจนที่สุดก่อน หากตรงนี้ไม่ชัดเจน ก็จะทำให้เราตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายไม่ได้อยู่ดี ถึงแม้จะมีข้อมูลทุกอย่างอยู่ในมือแล้วก็ตาม
สำหรับองค์กรที่อาจจะมีหลากหลายลักษณะธุรกิจ มีขนาดใหญ่ มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนไม่น้อย หรือปัจจัย/เงื่อนไขในการเลือกระบบนั้น ไม่ได้ตรงไปตรงมาหรือชัดเจนพอ
บริการที่ปรึกษาด้านซอฟต์แวร์โดยเฉพาะอย่าง ASAP Project ก็เป็นหนึ่งในโซลูชันที่ตอบโจทย์ โดยจะมีทีมงานมาช่วยวิเคราะห์องค์กรเพื่อทำรายการความต้องการเฉพาะ ค้นหาเปรียบเทียบ CRM แบรนด์ต่างๆ ให้ รวมถึงพิจารณาตัดสินใจซื้อให้โดยมีหลักการและเกณฑ์ที่ชัดเจน
ช่วยลดทั้งเวลาในการค้นหา ลดความเสี่ยงในการเลือกผิด ไม่รบกวนเวลาทีมงานที่มีงานประจำ และได้ผลลัพธ์ที่ตรงประเด็นที่สุด ลองแวะไปดูกันได้ที่ www.asapproject.co หรืออีเมลปรึกษาได้ฟรีที่ hello@asapproject.co
📣 ปลดล็อคกลยุทธ์ CRM จากผู้ให้บริการอันดับหนึ่งของโลก 📣
ลงทะเบียนฟรีได้แล้ววันนี้ (รีบสมัครก่อนที่นั่งเต็ม) 👉 https://www.eventpop.me/e/42829/shifu-meetup-5