ท่ามกลางยุคที่ธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงและมีธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นแทบจะทุกวัน การเป็นธุรกิจชั้นนำในอุตสาหกรรมอาจเป็นเรื่องยากถ้าไม่มีกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากพอ
ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจหรือนักการตลาดก็อาจจะเคยได้ยินคำว่า “Blue Ocean” กันมาบ้างแล้ว กลยุทธ์นี้เป็นหนึ่งในตัวช่วยเปลี่ยนธุรกิจของคุณให้โดดเด่นด้วยการสร้างนวัตกรรมหรือสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน
ซึ่งกลยุทธ์ Blue Ocean นี้จะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีเอกลักษณ์และเป็นที่น่าจดจำในตลาดที่มีการแข่งขันสูง ในบทความนี้จะพามาเปิดโลกของ Blue Ocean กลยุทธ์ที่ควรนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความแตกต่างสำหรับธุรกิจของคุณ พร้อมวิธีตามหา Blue Ocean ที่ใช่ให้กับคุณ!
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
Blue Ocean คืออะไร?
Blue Ocean หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ‘น่านน้ำสีฟ้า’ ตลาดที่เต็มไปด้วยความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย แต่แทบจะไม่มีคู่แข่งคนไหนที่สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนเหล่านี้ได้ พูดง่ายๆ ก็คือพื้นที่ทางการตลาดที่มีคู่แข่งน้อยมากหรืออาจจะไม่มีคู่แข่งเลย
โดยแนวคิดหลักของกลยุทธ์ Blue Ocean คือ การนำพาธุรกิจไปสู่การสร้างตลาดใหม่ที่เต็มไปด้วยกลุ่มเป้าหมาย และไร้คู่แข่ง แทนที่จะอยู่ในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความต้องการของลูกค้า แต่มีคู่แข่งคอยรองรับความต้องการเหล่านั้นเต็มไปหมดอย่าง Red Ocean
ด้วยเหตุนี้เอง Blue Ocean จึงเป็นพื้นที่ที่หลากหลายธุรกิจต่างก็พากันจับจ้องเพื่อจะเป็นหนึ่งเดียวในตลาดที่ไร้คู่แข่ง และเป็นกลยุทธ์ที่ทุกธุรกิจควรให้ความสำคัญในยุคที่การแข่งขันสูงอย่างปัจจุบัน
ข้อดีและข้อเสียของกลยุทธ์ Blue Ocean
ข้อดีของ Blue Ocean
- ลดการแข่งขันทางธุรกิจ: Blue Ocean เป็นพื้นที่ทางการตลาดที่เต็มไปด้วยความต้องการของลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจากธุรกิจ จึงเป็นพื้นที่ที่แทบจะไม่มีคู่แข่งทางธุรกิจเลย ถ้ามีก็น้อยมากทำให้การแข่งขันกับคู่แข่งเพื่อเป็นที่หนึ่งในอุตสาหกรรมไม่ใช่ความท้าทายของพื้นที่นี้ ต่างจาก Red Ocean ที่เต็มไปด้วยคู่แข่งในตลาด
- มีโอกาสเติบโตสูง: การทำธุรกิจในพื้นที่ที่ไร้คู่แข่งทำให้ธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นไม่อยู่ในกรอบ สามารถคิดสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกลัวว่าจะไปซ้ำกับใครทำให้มีโอกาสในการพัฒนาและเติบโตสูง
- กำไรสูงขึ้น: บางครั้งถ้าธุรกิจมีคู่แข่งสูง เราอาจกังวลว่าการตั้งราคาสินค้าที่สูงกว่าคู่แข่งจะทำให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าของคู่แข่งแทน แต่สำหรับ Blue Ocean กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการที่สูงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาแม้ราคาจะสูงเนื่องจากไม่ค่อยมีธุรกิจที่สนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้เท่าไหร่ทำให้ได้กำไรมากกว่าการทำธุรกิจใน Red Ocean
- กลุ่มลูกค้าที่ใช่: บางครั้งสินค้าและบริการที่มียอดขายไม่ดีนักอาจเป็นเพราะว่าเราจับลูกค้าผิดกลุ่ม การลองเป็นผู้เล่นใน Blue Ocean อาจจะทำให้สินค้าและบริการเหล่านั้นสร้างยอดขายขึ้นมาเพิ่มขึ้นในกลุ่มลูกค้าที่ใช่
ข้อเสียของ Blue Ocean
- ความเสี่ยงสูง: การเป็นผู้เล่นรายแรกในตลาดแม้ว่าจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องของการตั้งราคา การนำเสนอสินค้าที่ไร้กรอบความคิด แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากยังไม่มีตัวอย่างธุรกิจที่เคยนำเสนอสินค้าและบริการที่คล้ายกันให้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว เมื่อไม่มีตัวอย่างที่ผ่านการทดลองมาแล้วทำให้ไม่มี insight จากผู้ใช้บริการ การเปิดตัวสินค้าและบริการใหม่จึงมีความเสี่ยงที่สูง
- ความไม่แน่นอนของตลาด: Blue Ocean เป็นตลาดที่ไร้คู่แข่งก็จริง แต่เมื่อเรากลายเป็นผู้เล่นในตลาดไปแล้ว สินค้าและบริการของเราอาจจะถูกลอกเลียนแบบ เมื่อเวลาผ่านไป Blue Ocean อาจจะกลายเป็น Red Ocean ก็ได้
- งบประมาณสูง: การเป็นผู้เล่นรายแรกในตลาดใหม่อาจต้องใช้งบประมาณในการทำการตลาดที่สูงกว่าตลาดทั่วไป เนื่องจากต้องพยายามทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริงของสินค้าและบริการที่ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งยังต้องสร้างการจดจำเพื่อทำให้สินค้าถูกบอกต่อปากต่อปาก นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่เป็นเวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ
6 วิธีตามหา Blue Ocean ที่ใช่
1. วิเคราะห์ตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Red Ocean)
ขั้นตอนแรกในการตามหา Blue Ocean ให้เจอจะต้องเริ่มจากการศึกษาและวิเคราะห์ตลาดที่มีการแข่งขันอยู่ในปัจจุบัน หรือ Red Ocean เพื่อเข้าใจโครงสร้างของตลาด คู่แข่ง ความต้องการของลูกค้า
จุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ และโอกาสในการสร้างธุรกิจที่แตกต่างจากที่มีอยู่แล้วใน Red Ocean
2. หาจุดเด่นของธุรกิจที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ
หลังจากทราบโครงสร้างของตลาด คู่แข่ง ความต้องการของลูกค้า จุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ และโอกาสในการสร้างธุรกิจที่แตกต่างแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการพยายามหาจุดเด่นให้กับธุรกิจของเราเอง โดยควรเป็นจุดเด่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำกับธุรกิจอื่นๆ เป็นสิ่งที่ให้คุณค่าตามเป้าหมายของธุรกิจ อาจจะลองคิดนอกกรอบ มองหาสิ่งที่คู่แข่งมองข้าม
3. ศึกษาพื้นที่ตลาดและความต้องการของลูกค้า
อีกสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นรายแรกใน Blue Ocean คือการหมั่นศึกษาพื้นที่ตลาดใหม่ๆ และความต้องการของลูกค้าในตลาดเหล่านั้น ต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจปัญหาและอุปสรรคของลูกค้าอย่างละเอียดถี่ถ้วน และพยายามมองหาโอกาสในการแก้ปัญหาผ่านการสร้างคุณค่าใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์คุณค่าลูกค้ากำลังของหาอยู่
4. ออกแบบและพัฒนาสินค้าที่มีคุณค่าและความแตกต่างสูง
เมื่อทราบถึงความต้องการของลูกค้าแล้ว หัวใจสำคัญของการไปสู่ Blue Ocean คือ การออกแบบและพัฒนาสินค้าหรือบริการที่มีความเป็นเอกลักษณ์ สิ่งสำคัญคือสินค้าและบริการควรตอบสนองความต้องการใหม่ของลูกค้าและมีคุณค่าที่แตกต่างจากคู่แข่งนั่นเอง
5. หาวิธีก้าวข้ามข้อจำกัด
ในระหว่างการไปสู่ Blue Ocean ธุรกิจอาจเจอกับความท้าทายเนื่องจากเป็นตลาดใหม่ที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาสินค้า หรือการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ถ้าเจอข้อจำกัดระหว่างทาง สิ่งที่ทำได้คือการพิจารณาวิธีการที่สามารถทำให้ก้าวข้ามข้อจำกัดในตลาดและสร้างความแตกต่างได้ เช่น การใช้เทคโนโลยีใหม่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างราคา หรือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการการผลิต
6. สร้างสูตรสำเร็จของธุรกิจในแบบของตัวเอง
สิ่งที่ควรคำนึงอยู่เสมอคือธุรกิจ Blue Ocean ไม่จำเป็นต้องทำตามสูตรสำเร็จของธุรกิจอื่น
ธุรกิจที่ดีควรสร้างสูตรสำเร็จที่เหมาะสมกับตัวเองและปรับเปลี่ยนการดำเนินการพัฒนาธุรกิจให้เหมาะสมไปตามสถานการณ์ ถ้าเจออุปสรรคหรือปัญหา การหมั่นเรียนรู้วิธีใหม่ๆ และประยุกต์ใช้กับธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ควรทำ
Six Paths Framework
© Chan Kim & Renée Mauborgne. All rights reserved.
นอกจาก 6 วิธีด้านบนแล้ว การหา Blue Ocean ยังสามารถทำได้ผ่านการใช้ Six Paths Framework เครื่องมือทางธุรกิจที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย W. Chan Kim และ Renée Mauborgne เพื่อช่วยธุรกิจในการค้นหาทางเลือกที่นอกเหนือจากตลาดและคู่แข่งทั่วไปอย่าง Red Ocean โดยมองหาไอเดียใหม่ๆ ที่จะนำธุรกิจไปสู่ Blue Ocean ได้จาก 6 สิ่งรอบตัว ได้แก่
เส้นทางที่ 1 : มองหาอุตสาหกรรมทางเลือก
สิ่งแรกคือ การมองหาว่าถ้าลูกค้าต้องการแก้ปัญหาสิ่งที่เขากำลังเผชิญอยู่ ถ้าเขาไม่ซื้อสินค้าและบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันจากธุรกิจอื่นๆ เขาสามารถซื้อสินค้าและบริการอะไรทดแทนได้บ้าง โดยพยายามพัฒนาไอเดียที่แตกต่างจากธุรกิจเหล่านั้นแต่ยังสามารถตอบวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับสินค้าเดิมได้ และมีประโยชน์ใช้งานที่แตกต่างออกไปเพื่อเกิดเป็น Blue Ocean
เส้นทางที่ 2 : มองหากลุ่มกลยุทธ์อื่นภายในอุตสาหกรรม
มองหาธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันกับคุณ แต่มีกลุ่มกลยุทธ์ที่แตกต่างจากธุรกิจของคุณโดยใช้ขั้นตอนดังนี้
- เก็บปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
- ตัดปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
- วิเคราะห์ว่ายังมีกลุ่มลูกค้าใดที่ยังไม่ซื้อสินค้าและใช้บริการ
- สร้างปัจจัยเสริมจากการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ซื้อสินค้าและใช้บริการ
- โดยใช้ปัจจัยนี้เป็นจุดขาย
- สร้างกลุ่มกลยุทธ์ใหม่นอกเหนือจากปัจจัยด้านราคา จากการดึงปัจจัยเด่น ตัดปัจจัยที่ไม่จำเป็น และสร้างปัจจัยใหม่
เส้นทางที่ 3 : มองข้ามกลุ่มผู้ซื้อ
ในบางธุรกิจ ผู้ที่ซื้อสินค้าอาจจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงเสมอไป เช่น อุปกรณ์สำนักงาน คนที่ตัดสินใจเลือกซื้ออาจเป็นแผนกจัดซื้อ ที่เน้นดูราคาและความสะดวกในการซื้อไปพร้อมกัน ดังนั้นควรสำรวจห่วงโซ่ของผู้ซื้อที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ ผู้ซื้อ ผู้ใช้ และผู้มีอิทธิพล โดยพยายามให้สินค้าหรือบริการของคุณเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มผู้มีอิทธิพล
เส้นทางที่ 4 : มองหาจาก Pain Points
วิเคราะห์และทำความเข้าใจปัญหาหรือความไม่พอใจที่กลุ่มเป้าหมายกำลังเผชิญอยู่จากการใช้สินค้าหรือบริการที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน แล้วพัฒนาสินค้าที่สามารถแก้ไขหรือบรรเทาปัญหานั้นขึ้นมาเพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
เส้นทางที่ 5 : การพิจารณาว่าสินค้าดึงดูดลูกค้าด้วย Function หรือ Emotion
ลูกค้าแต่ละคนถูกดึงดูดด้วยสิ่งที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะถูกดึงดูดด้วยประโยชน์ใช้งานของสินค้าและบริการ ในขณะที่บางคนถูกดึงดูดด้วยความสวยงาม การตอบโจทย์ทางด้านจิตใจ ดังนั้นควรทดลองเพิ่มปัจจัยบางอย่าง ที่ดึงดูดอีกขั้วหนึ่งของการตัดสินใจซื้อ หรือหาจุดสมดุลระหว่าง Function และ Emotion บางครั้งอาจทำให้เกิดการกลุ่มลูกค้าใหม่ใน Blue Ocean
เส้นทางที่ 6 : มองหาจากเทรนด์
ลองวิเคราะห์เทรนด์ในอุตสาหกรรมและสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีหรือพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ๆ
ตัวอย่างของธุรกิจ Blue Ocean
Nintendo
Cr. Nintendo
Just Dance:
Nintendo จับกลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบการทำกิจกรรมที่มีความ Active มากขึ้น โดยออกสินค้าใหม่ “Just Dance” ที่เน้นการเคลื่อนไหวและการเล่นเกมที่ให้ความสนุกสนาน ซึ่งเป็น Blue Ocean ที่มีลูกค้าที่เคยชื่นชอบการเล่นเกมมาก่อนแต่กำลังจะเปลี่ยนพฤติกรรมไปสนใจกิจกรรมภายนอกแทนการเล่นเกม
Nintendo Switch:
Nintendo สร้าง Blue Ocean ด้วย Nintendo Switch ที่เป็นเครื่องเล่นเกมพกพาที่สามารถเล่นในโหมดที่เชื่อมต่อกับทีวีหรือโหมดพกพาได้ ด้วยความหลากหลายและความยืดหยุ่นในการใช้งาน, พวกเขามุ่งเน้นที่การดึงดูดกลุ่มคนที่ชอบการออกกำลังกายไปด้วยและเล่นเกมไปด้วย
Nintendo V:
Nintendo V เป็นเกมที่ออกแบบมาเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกเพศทุกวัยสามารถใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันได้ผ่านการเล่นเกมที่ตอบโจทย์ทุกเพศทุกวัย ซึ่งเป็นการสร้าง Blue Ocean ที่มุ่งเน้นที่ความหลากหลายและความเข้าใจต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้เป็นผู้เล่นเกมบ่อย
HONDA
Honda Cub (Super Cub):
Honda Cub เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคที่ไม่ได้มีความสนใจในการขับขี่รถจักรยานยนต์มีโอกาสในการตกแต่งรถจักรยานยนต์ตามไลฟ์สไตล์ของผู้ขับขี่ ออกแบบได้ไม่เหมือนใคร มีเอกลักษณ์ และเป็นสไตล์แบบที่ผู้ขับขี่ชอบทำให้สามารถเข้าถึงตลาดแห่งใหม่ที่ Honda ไม่เคยเข้าถึงมาก่อนได้
Honda CR-V Hybrid:
Honda สร้าง Blue Ocean ในตลาดรถยนต์ SUV Hybrid ด้วยรถ Honda CR-V Hybrid ที่ให้ผู้บริโภคทั้งความสปอร์ต ประหยัดพลังงาน และมีคุณสมบัติที่ทำให้แตกต่างจากรถยนต์ SUV อื่นๆ ในตลาด
Apple
Cr. MacThai
iPod:
iPod เป็นเครื่องเล่น MP3 เครื่องแรกที่เสนอ Hard Drive ขนาดใหญ่และ User Interface ที่ใช้งานง่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถพกพาเพลงทั้งหมดติดตัวไปได้ทุกที่ ช่วยให้ Apple ครองตลาดเครื่องเล่น MP3 ได้
iPhone:
iPhone เป็นสมาร์ตโฟนเครื่องแรกที่เสนอหน้าจอสัมผัสแบบ Muti Touch และ App Store ทำให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับโทรศัพท์ของตนในรูปแบบใหม่ทั้งหมด
iPad:
iPad เป็นแท็บเล็ตเครื่องแรกที่นำเสนอหน้าจอขนาดใหญ่และประสบการณ์การใช้งานที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับแท็บเล็ต ผู้ใช้สามารถรับชมคอนเทนต์และทำงานได้บนอุปกรณ์พกพาในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม
สรุป
Blue Ocean เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทุกธุรกิจควรหันมาให้ความสนใจ โดยการเข้าไปเป็นผู้เล่นใน Blue Ocean อาจมีความเสี่ยงและใช้ต้นทุนที่มากกว่า Red Ocean แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงธุรกิจของคุณไปตลอดกาล
ตาคุณแล้ว
อ่านจบแล้วอย่าลืมประยุกต์ใช้ 6 ขั้นตอนในการเปลี่ยนจาก Red Ocean เป็น Blue Ocean และ Six Paths Framework โดยมองหาไอเดียใหม่ๆ ที่จะนำธุรกิจไปสู่ Blue Ocean ได้จาก 6 สิ่งรอบตัว
เพื่อนๆ ชอบไอเดียการเข้าไปสู่ Blue Ocean ของธุรกิจไหน สามารถคอมเมนต์แชร์ไอเดียกันได้เลย!