“ทำไมบางคนถึงซื้อคอนโดหลังละหลายสิบล้านบาท?”

“ทำไมโทรศัพท์มือถือบางแบรนด์ถึงกล้าที่จะตั้งราคาเกินครึ่งแสน?” 

หรือสินค้าที่ทำให้ลูกค้าต้องเปรียบเทียบข้อมูลจำนวนมาก ธุรกิจประเภท B2B อย่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บ้าน ที่ดิน การซื้อขายซอฟต์แวร์ระบบความปลอดภัยเพื่อใช้ในองค์กร

เหล่านี้ล้วนเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันและมูลค่าที่สูง ส่งผลให้ลูกค้าจำเป็นต้องใช้เวลาและข้อมูลในการไตรตรองและตัดสินใจ

นอกจากนี้ จากสถิติยังพบว่า “ในปีที่ผ่านมา มีการออกรถป้ายแดงถึง 2.6 ล้านคัน ทั้งๆ ที่สินค้าเหล่านี้มีมูลค่าสูง” แต่ทำไมคนถึงยังซื้อกัน?

เราขอเปิดประเด็นด้วยคำถามและสถิติข้างต้น ชวนคุณตั้งข้อสงสัยว่าทำไมสินค้าหรือบริการที่มีราคาสูงถึงยังมีคนซื้อ? พร้อมไปค้นหาคำตอบเบื้องหลังของคำถามเหล่านี้ “ว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้สินค้าหรือบริการประเภท High-Involvement ขายดีแม้จะดูเหมือนมีราคาแพงก็ตาม”

และจะมีวิธีการหรือกลยุทธ์ในการทำการตลาดอย่างไรเพื่อให้สินค้าหรือบริการประเภท High-Involvement นำหน้าคู่แข่งได้ในระยะยาว?

มาทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค High Involvement พร้อมรู้จักกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความนี้เลยค่ะ 🙂

ยาวไปอยากเลือกอ่าน

High-Involvement คืออะไร?

High Involvement คือ สินค้าหรือบริการที่ต้องอาศัยการหาข้อมูลเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจ เปรียบเทียบก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นสินค้าหรือบริการที่มีราคาสูง ทำให้คนตัดสินใจซื้อยาก อาจจะต้องหาข้อมูลประกอบและใช้กระบวนการไตร่ตรองในการตัดสินใจซื้อค่อนข้างนาน เพราะหากซื้อแล้วเกิดข้อผิดพลาดอาจจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาวได้ เช่น ธุรกิจประกัน, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจประเภท B2B เป็นต้น

ทำความรู้จักธุรกิจประเภท High-Involvement

เราจะอธิบายประเภทของสินค้าหรือบริการ High Involvement โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของธุรกิจ ดังนี้

Informative – กลุ่มที่เน้นการให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

High Involvement ประเภทนี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการลงทุนแบบนานๆ ครั้ง หรือกลุ่มสินค้าที่ผู้บริโภคมักจะต้องการข้อมูลสำหรับใช้ในการพิจารณาแบบ Learn – Feel – DoI 

คือ เริ่มต้นจากการที่ผู้บริโภคถูกกระตุ้นจนเกิดความต้องการหรือรับรู้ถึงปัญหาที่มีอยู่ > นำไปสู่การหาข้อมูลเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจ หรือใช้ในการเปรียบเทียบ ซึ่งหากสิ่งที่พวกเขาพบคือข้อมูลที่มอบประโยชน์และมีคุณค่า ก็จะเกิดความไว้วางใจ > นำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าในท้ายที่สุด

ซึ่งประเภทธุรกิจ High Involvement ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ธุรกิจประเภทการเงินและการธนาคาร (Financial & Banking), บริษัทด้านพลังงาน (Energy), บริษัทประกัน (Insurance), บริการด้านสุขภาพ (Healthcare) หรือสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (Education) เป็นต้น

Affective – กลุ่มที่ผู้บริโภคมักใช้อารมณ์ตัดสินใจ

สินค้าหรือบริการ High Involvement ประเภทนี้ เป็นการผสมผสานสินค้าราคาสูงที่เน้นความพึงพอใจหรือสินค้าและบริการกลุ่มที่ใช้ความรู้สึกตัดสินใจเป็นหลักแบบ Feel – Learn – Do ความรู้สึกมาก่อนเหตุผลนั่นเอง ยอมจ่ายเพื่อความสบาย ซื้อเพื่อสะท้อนตัวตนให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี เป็นต้น

ซึ่งประเภทธุรกิจ High Involvement ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ธุรกิจสินค้าหรูหรา (Luxury) หรือบริษัทอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) อย่างเช่น บ้าน คอนโด เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ใช้การตัดสินใจแบบ Learn – Feel – Do หรือ Feel – Learn – Do ก็ล้วนแต่ต้องอาศัยข้อมูลเข้ามาพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือรับบริการ ดังนั้น จึงต้องอาศัยกลยุทธ์การตลาดที่หลากหลายและตรงจุดเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดนั่นเองค่ะ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าประเภท High-Involvement

เคยสังเกตกันไหมคะว่า ทำไมสินค้าหรือบริการบางอย่างถึงใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อนานกว่าอีกอย่าง? ถ้านึกไม่ออก ลองคิดดูว่า หากคุณต้องเลือกซื้อระหว่าง ปากกาสักแท่ง กับ คอนโดสักหลัง คุณคิดว่าอย่างไหนที่คุณยังไม่สามารถตัดสินใจซื้อได้ทันที หรือต้องใช้ระยะเวลา รวมถึงหาข้อมูลประกอบในการพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ?

แน่นอนว่า โดยส่วนใหญ่แล้วคำตอบของคุณจะต้องเป็น ‘คอนโด’ นั่นก็เพราะว่า คอนโดจัดเป็นสินค้าประเภท High Involvement ที่ต้องอาศัยเวลาในการหาข้อมูลประกอบและใช้กระบวนการไตร่ตรองในการตัดสินใจซื้อค่อนข้างมากนั่นเอง

ดังนั้น เรามาดูกันว่าอะไรคือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าประเภท High Involvement กันค่ะ

1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อสินค้า/บริการ

เป็นปัจจัยที่ผู้ซื้อไม่สามารถตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริโภคด้วยเพียงตัวคนเดียว ต้องอาศัยความคิดเห็นหรือการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจจากบุคคลอื่นๆ เช่น การซื้อบ้าน/คอนโดสำหรับครอบครัวที่ต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกัน เป็นต้น

2. ความเสี่ยงที่จะตัดสินใจผิดพลาด

เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของบริโภคเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงด้านการเงิน เพราะจากที่เรารู้กันดีว่าสินค้าหรือบริการประเภท High Involvement นั้นจะมีราคาสูง จึงต้องอาศัยการพิจารณาให้รอบคอบในการตัดสินใจซื้อแต่ละครั้งเพื่อที่จะได้มาซึ่งความคุ้มค่ากับการใช้งานมากที่สุด นอกจากนี้ยังอาจจะหมายถึงความเสี่ยงของสภาพคล่องทางการเงินของผู้ซื้อก็ได้

3. ความเสี่ยงต่อผลประโยชน์สูงสุดส่วนบุคคลหรือระดับองค์กร

คือ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้งานตามความต้องการที่ครบถ้วนแล้ว สินค้าหรือบริการนั้นมีความคุ้มค่าคุ้มราคา โดยหลักๆ แล้วปัจจัยนี้จะพบมากในการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในองค์กรหรือธุรกิจ ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจซื้อร่วมกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อเปรียบเทียบและได้สินค้าที่คุ้มค่าและตรงตามความต้องการมากที่สุด

4. การแสดงออกถึงภาพลักษณ์และตัวตนของผู้บริโภค

เป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคมองเห็นว่า หากมีสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกมั่นใจ ดูดี หรือรู้สึกมีความเป็นหนึ่งเดียวกับสังคมที่มีความนิยมและชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน โดยเฉพาะสินค้าประเภท Luxury ที่จะเน้นเรื่องของภาพลักษณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

เช่น การเลือกซื้อนาฬิกาโรเล็กซ์, การซื้อสินค้าแบรนด์เนม หรือการเลือกซื้อรถสปอร์ตสุดหรู เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคไม่ได้ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการจากประโยชน์การใช้งานเป็นหลัก แต่เป็นเพราะว่าสินค้าเหล่านั้นจะช่วยแสดงออกและส่งเสริมภาพลักษณ์รวมถึงตัวตนของผู้ที่เป็นเจ้าของได้

จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคในกลุ่มสินค้าประเภท High Involvement นั้นล้วนมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง และมักจะต้องใช้ข้อมูลและระยะเวลาในการไตร่ตรองให้ดี เพราะอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตในระยะยาวได้นั่นเอง

กลยุทธ์ Inbound Marketing ดึงดูดลูกค้ากลุ่ม High-Involvement อย่างไร?

ก่อนอื่นมาเริ่มจากการทำความรู้จักกับกระบวนการทำ Inbound Marketing กันก่อนค่ะ โดยจะแบ่งกระบวนการนี้เป็นวงล้อตามเส้นทางการเดินทางของลูกค้า หรือ Framework ในการทำ Inbound Marketing ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ Attract, Engage และ Delight

1. Attract – ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย

ขั้นแรกเป็นการ “ดึงดูด” กลุ่มเป้าหมาย เปลี่ยนจากคนแปลกหน้าให้เป็นคนรู้จัก ซึ่งคนรู้จักที่ว่านั้นไม่ใช่คนรู้จักที่ไม่ทราบที่มาที่ไป แต่ต้องเป็นคนรู้จักที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของคุณ ด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบ Inbound Marketing

2. Engage – ปฏิสัมพันธ์กับคนรู้จัก

ต่อมา ขั้นที่สอง คือการปฏิสัมพันธ์กับคนรู้จัก ได้แก่ การพูดคุย สื่อสาร และฟูมฟักให้คนรู้จักกลายเป็นลูกค้าในท้ายที่สุด ด้วยกลยุทธ์ CRM และ Inbound Sales

3. Delight – ประทับใจและบอกต่อ

และ ขั้นสุดท้าย คือการทําให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจกับสินค้าหรือบริการของคุณ เพื่อทําให้พวกเขา

กลายเป็นลูกค้า Loyalty ที่ช่วยโปรโมตหรือบอกต่อความประทับใจสินค้าหรือบริการของคุณและดึงดูดคนแปลกหน้าหน้าใหม่เข้ามา

เทคนิคการขายสินค้าหรือบริการ High-Involvement

1. ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับคุณค่ามากกว่าราคาที่จ่าย 

เริ่มด้วยเทคนิคแรก การขายของราคาสูงโดยสร้างการรับรู้และส่งมอบคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ให้ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจและรู้สึกว่าได้รับคุณค่ามากกว่าราคาที่จ่าย

ตัวอย่าง นาย ก เป็นคนใส่ใจสุขภาพ เขามักมองหาสินค้าเพื่อสุขภาพมาใช้งานอยู่เป็นประจำ หลังจากหาข้อมูลจนมั่นใจ นาย ก ตัดสินใจซื้อเก้าอี้เพื่อสุขภาพยี่ห้อ A ในราคา 50,000 บาท ผ่อนชำระได้ พร้อมการรับประกันสินค้าระยะเวลา 10 ปี

จะเห็นได้ว่า จริงๆ แล้วคุณค่าที่นาย ก ได้รับมีมากกว่าแค่ความเป็นเก้าอี้ แต่สิ่งที่นาย ก ได้รับคือ การลงทุนดูแลสุขภาพในระยะยาว เทียบกับการรักษาออฟฟิศซินโดรมหรือจ่ายค่าหมอที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายแพงกว่า 50,000 บาทก็ได้

ที่สำคัญ เก้าอี้เพื่อสุขภาพตัวนี้ยังใช้ได้อย่างยาวนานกว่า 10 ปี หรือลองคิดง่ายๆ ก็คือประมาณ 3650 วัน หากมองแบบนี้ก็จะรู้สึกว่าเก้าอี้ตัวนี้ไม่ได้แพงขนาดนั้น ดังนั้น ทำไมสินค้าบางอย่างถึงจะมีราคาสูงแต่ก็ยังมีคนซื้อ นั่นก็เพราะว่าสินค้านั้นทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ‘ได้รับคุณค่ามากกว่าราคาที่จ่าย’ นั่นเองค่ะ

2. ช่วยเพิ่มมูลค่า ไม่ใช่ ‘ค่าใช้จ่าย’

ตามมาด้วยเทคนิคที่สอง เป็นการขายของราคาสูงโดยการคำนวณให้ลูกค้าได้เห็นภาพรวมและรับรู้ว่าสินค้าหรือบริการของคุณไม่ใช่ ‘ค่าใช้จ่าย’ แต่คือสิ่งที่จะเข้ามาช่วย ‘เพิ่มมูลค่าใ้ห้กับธุรกิจของลูกค้า’

ตัวอย่าง เครื่องมือช่วยคำนวณจากบริษัทที่มี Services รับทำเว็บไซต์ เครื่องมือนี้จะช่วยให้ลูกค้ารู้ที่มาที่ไปของการจ่าย ได้เห็นว่า จริงๆ การทำเว็บไซต์มันไม่ง่ายนะ ราคาเว็บไซต์มีความแตกต่างกันจากปัจจัยอะไรบ้าง? เช่น ถ้าลูกค้าอยากได้ร้านค้าออนไลน์ ราคาในการทำเว็บไซต์ที่เป็นร้านค้าออนไลน์กับเว็บไซต์ธรรมดาก็แตกต่างกันแล้ว เป็นต้น


อยากทำเว็บไซต์ดีๆ ต้องมีงบเท่าไร?

Calculato ตัวอย่างเครื่องมือคำนวณราคาเว็บไซต์ตาม Requirement จาก Magnetolabs ที่ทั้งรองรับการออกแบบ การตลาด และให้การดูแลแบบมืออาชีพ ลองใช้เครื่องมือคำนวณนี้ดูก่อนว่าความต้องการของคุณถ้าคิดเป็นงบประมาณจะมีราคาเท่าไร? ลองคำนวณด้วย Calculato เลย!

 

3. เปรียบเทียบด้วยราคา

เทคนิคการขายของราคาสูงเทคนิคที่สาม เป็นการตั้งราคาให้มีตัวเปรียบเทียบ เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะคุ้นเคยและเคยเห็นกันมาบ้าง โดยหลักในการใช้เทคนิคนี้คือ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ‘เพิ่มอีกหน่อยก็ได้ของดีกว่า’

เป็นเทคนิคการขายที่เน้นกระตุ้นความคิดด้าน ‘ความคุ้มค่า’ ของลูกค้าออกมา ซึ่งเทคนิคการตั้งราคาแบบนี้จะเข้ามาเปลี่ยนความคิดของลูกค้าจากเดิมที่มีความพอใจในปริมาณและคุณภาพตามราคาอยู่แล้ว ให้เป็นความต้องการให้ได้มาซึ่ง ‘ความคุ้มค่า’ แทน

ตัวอย่าง หากคุณเป็นบริษัทเกี่ยวกับการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการประเภทซอฟต์แวร์ คุณอาจจะตั้งราคาเป็น 3 Packages ได้แก่ Standard, Professional และ Premium ซึ่งแต่ละ Package จะมาพร้อมฟังก์ชันการทำงานที่แตกต่างกัน เรียงจากน้อยไปมาก

โดย Standard Package จะเป็น Entry Version และหากเปรียบเทียบระหว่างแพคเกจ Professional กับแพคเกจ Premium จริงๆ แล้วหากคุณเพิ่มเงินขึ้นมาอีกนิดหน่อย คุณก็จะได้รับเป็นแพคเกจ Premium ซึ่งมีฟีเจอร์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่มากขึ้นเพิ่มเข้ามา และนี่จึงเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องของความคุ้มค่าได้ดี เป็นต้น

4. ‘ให้’ ก่อน ‘รับ’

เทคนิคการขายของราคาสูงเทคนิคที่สี่นี้ เป็นเทคนิคที่เน้นการขายแบบ ‘Give bfore Take’ คือการดึงดูดความสนใจหรือความต้องการของลูกค้าด้วยการ ‘ให้’ ไปก่อน เชื่อมโยงระหว่างลูกค้ากับสินค้าหรือบริการของคุณเข้าด้วยกัน ด้วยการสร้างคอนเทนต์ เช่น

  • ธุรกิจประเภท B2B คุณค่าที่คุณ ‘ให้’ กับลูกค้าอาจจะเป็นความรู้ ผ่าน Resources ในรูปแบบ eBook ที่มีประโยชน์
  • ธุรกิจประเภท B2C คุณค่าที่คุณ‘ให้’ อาจจะเป็นคอนเทนต์การสร้างแรงบันดาลใจ ดึงดูดให้ลูกค้าเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของสินค้าหรือบริการของคุณที่เขาจะได้รับ
  • ธุรกิจบริการหรือซอฟต์แวร์ คุณค่าที่คุณสามารถ ‘ให้’ ได้ก็อาจจะเป็นในรูปแบบการให้คำปรึกษา คำแนะนำ หรือแม้กระทั่งการให้ทดลองใช้ฟรี เป็นต้น

5. สื่อสารกับลูกค้าให้ถูกจุด วาง Position ของแบรนด์ให้ถูกต้อง

เทคนิคการขายของราคาสูงข้อที่ห้า เน้นการสร้าง Customer Journey ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้อง แน่นอนว่าการขายของอะไรก็ตามที่มีราคาสูง  หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ การสื่อสารกับลูกค้าให้ถูกจุด วาง Position ของแบรนด์ให้ถูกต้อง จะช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้าและเอาชนะใจพวกเขาได้ในที่สุด

ตัวอย่าง ถ้าคุณเป็นบริษัทที่มีบริการรับทำเว็บไซต์ การทำเว็บไซต์บริษัทของตัวเองให้ดูดี จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีรวมทั้งช่วยส่งเสริมมูลค่าของแบรนด์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าที่มาใช้บริการสร้างเว็บไซต์กับบริษัทของคุณได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ

สิ่งสำคัญที่สุดของการขายสินค้าหรือบริการประเภท High Involvement ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจประเภท B2C หรือ B2B ก็คือ การสื่อสารและให้ข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ หรือเรียกกลยุทธ์การทำการตลาดแบบนี้ว่า Inbound Marketing


ถ้าคุณกำลังมองหาทีมผู้เชี่ยวชาญในการทำ Inbound Marketing หรือต้องการคำปรึกษา เราขอแนะนำ Magnetolabs ผู้เชี่ยวชาญด้าน Inbound Marketing หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ Inbound Marketing หรืออยากรู้ว่า Magnetolabs จะช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างไรบ้าง ติดต่อเพื่อพูดคุยกับ Magnetolabs ได้ที่นี่

 

Case Studies การทำ Inbound Marketing สำหรับธุรกิจ High-Involvement ในอุตสาหกรรมต่างๆ จาก Magnetolabs

ตัวอย่างกรณีศึกษาจาก Magnetolabs บริษัท Inbound Marketing Agency ผู้มีประสบการณ์การทำธุรกิจด้าน Cousult ช่วยให้คำปรึกษาและวางแผนกลยุทธ์ให้ธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม

Venture Capital

บริษัท FinTech แห่งหนึ่งเป็นบริษัทระดมทุนสำหรับ Startup โดยเฉพาะ Startup สาย Fintech ที่มีบริการทั้งส่วนที่เป็นการระดมทุนจากนักลงทุน (Corporate Venture Capital) และส่วนที่เป็นการร่วมมือกับ Startup เพื่อพัฒนาธุรกิจ (Strategic Partnership) ซึ่งทำให้มีการใช้งบประมาณในการทำธุรกิจที่ค่อนข้างสูง

ปัญหาที่พบ คือ Brand Voice ที่ยังไม่มั่นคงทำให้ไม่สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักลงทุนและ Startup ที่ต้องการร่วมมือได้ ดังนั้นบริษัท FinTech นี้จึงมองหากลยุทธ์การตลาดที่จะเข้ามาช่วย

จุดประสงค์ในการทำ Inbound Marketing

เพื่อสร้าง Brand Awareness และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักลงทุนที่สนใจลงทุนในธุรกิจ Fintech Startup รวมทั้ง Potential Startup ในสาย Fintech และประชาชนทั่วไปเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมกับเนื้อหาของแบรนด์ให้มากขึ้น

กลยุทธ์การตลาดแบบ Inbound และ Magnetolabs

  • สร้าง Brand Voice เพื่อให้บริษัทสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สร้าง Facebook Business สำหรับบริษัท FinTech และออกแบบเนื้อหาด้วยคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์เป้าหมายและ ‘Pain Point’ ของธุรกิจ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย
  • ซื้อสื่อโฆษณาออนไลน์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการลงทุน

ผลลัพธ์ที่ได้หลังจากทำการตลาดแบบ Inbound ช่วยได้อย่างไร?

จากกลยุทธ์การตลาดข้างต้น ช่วยสร้าง Brand Awareness รวมถึงแบรนด์ยังได้รับ Facebook Engagement สูงกว่าที่วางแผนไว้ ช่วยให้แบรนด์สามารถต่อยอดในการทำการตลาดในอนาคตให้มีความเหมาะสมและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น

Banking

บริษัท A เป็นบริษัทด้านธนาคารและการเงินที่มีการทำเว็บไซต์ลงเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผนการเงินแบบเข้าใจง่าย เช่น แบบประเมินความเสี่ยงก่อนลงทุน, เครื่องคำนวณภาษี, คำแนะนำการจัดพอร์ตตามช่วงอายุ และความรู้เกี่ยวกับการลงทุน 

โดยปัญหาที่พบคือ ธุรกิจกลุ่มสถาบันการเงินมีการแข่งขันค่อนข้างสูงในการทำการตลาดผ่าน Search Engine แต่เว็บไซต์ A ยังขาดการทำ SEO ที่ถูกต้อง และยังไม่มีการทำ Lead Generation Strategy ที่ชัดเจน

จุดประสงค์ในการทำ Inbound Marketing

เพื่อเพิ่ม Website Traffic และเพิ่มยอด Conversion จาก Traffic ให้ไปกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อธนาคาร เพื่อให้​​สามารถเก็บฐานข้อมูลลูกค้าปัจจุบันและต่อยอดขยายฐานลูกค้าในอนาคตได้ 

กลยุทธ์การตลาดแบบ Inbound และ Magnetolabs

  • ทำ Content Strategy ในรูปแบบของ Evergreen Content เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินและการวางแผนเกษียณ
  • Optimize บทความบนเว็บไซต์ให้ถูกต้องและเป็นไปตามหลัก SEO เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนเข้าสู่หน้าเว็บไซต์มากขึ้น
  • สร้าง CTA/ Pop-up/ Slide-in เพื่อเก็บ Lead เป็นฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อต่อยอดทำการตลาดในอนาคต

ผลลัพธ์ที่ได้หลังจากทำการตลาดแบบ Inbound ช่วยได้อย่างไร?

จากกลยุทธ์การตลาดข้างต้น สามารถเพิ่มยอด Organic Traffic ได้มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ช่วยให้เว็บไซต์ A ได้ยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์และยอด Lead เพิ่มมากขึ้น

Industrial Supplier

บริษัท B ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลคุณภาพแห่งหนึ่ง กำลังเผชิญกับปัญหา Product มีความเข้าใจยาก และไม่รู้วิธีการทำ Content Marketing ที่สามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้ (กลุ่มวิศกรการผลิต, ทีมจัดซื้อ และทีมผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจ)

จุดประสงค์ในการทำ Inbound Marketing

เพื่อเพิ่ม Website Traffic และต้องการหา Lead Generation และฟูมฟักเปลี่ยนจาก Lead ให้กลายเป็นลูกค้าในอนาคต

กลยุทธ์การตลาดแบบ Inbound และ Magnetolabs

  • Website Redesign เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้าเว็บไซต์มากยิ่งขึ้นด้วยดีไซน์
  • เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย Inbound Marketing Strategy เช่น การทำ SEO Content Strategy จากเรื่องที่เข้าใจอุตสาหกรรมการผลิตที่ค่อนข้างเข้าถึงยากให้เข้าถึงได้ง่าย ย่อยง่าย
  • ทำ Lead Magnet Strategy เพื่อเพิ่ม Lead Generation
  • เปลี่ยนจาก Marketing Lead ให้กลายเป็น Sales Qualified Lead โดยการใช้ HubSpot Software เข้ามาช่วย

ผลลัพธ์ที่ได้หลังจากทำการตลาดแบบ Inbound ช่วยได้อย่างไร?

จากกลยุทธ์การตลาดข้างต้น ช่วยให้บริษัทได้ยอด Website Traffic สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และยอด Lead ที่กลายมาเป็นลูกค้าในอนาคตสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

สรุป

สิ่งสำคัญที่สุดของการขายสินค้า/บริการประเภท High-Involvement ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจประเภท B2B หรือ B2C คือ ‘การสื่อสารให้ข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจและเป็นประโยชน์’ ในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ และการเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคก็จะช่วยให้คุณสามารถหากลยุทธ์เพื่อดึงดูดและเข้าถึงลูกค้าได้อย่างตรงจุด และปิดการขายได้ในที่สุด

ตาคุณแล้ว

หวังว่า บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจคอนเซ็ปต์และพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้ากลุ่ม High-Involvement กันมากขึ้นนะคะ หากคุณสนใจใช้บริการเอเจนซี่ผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์การทำ Inbound Marketing ติดต่อ Magnetolabs เพื่อพูดคุยได้ที่นี่ เลยค่ะ 🙂