ถ้าพูดถึงคำว่า “Keyword Research” แล้ว ผมเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะคุ้นเคยกับการทำ Keyword Research สำหรับการทำ SEM (SEO & PPC) กันดี คือทำ Keyword Research เพื่อเช็คดูว่าคนมีการค้นหาเรื่องต่างๆ มากน้อยแค่ไหน และการแข่งขันสูงหรือต่ำแค่ไหน

แต่จุดประสงค์หลักของการทำ Keyword Research แบบนี้นั้นถูกทำเพื่อเอาไปใช้งานต่อสำหรับ Search Engine Platform อย่าง Google หรือ YouTube เป็นหลัก

แน่นอนว่าการทำ Keyword Research แบบนี้นั้นมีประโยชน์กับการเอาไปใช้ทำแผน Digital Marketing อื่นๆ เพียงแต่ว่าถ้าคุณอยากให้คอนเทนต์ที่คุณทำนั้นตอบโจทย์ Platform อื่นๆ เช่น Social Media, Marketplace, Landing Page หรือแม้แต่การทำคอนเทนต์บนโลก Offline ด้วย คุณต้องรู้จักการทำ Keyword Research ในรูปแบบอื่นๆ ด้วยครับ

ผมได้ไปอ่านบทความของคุณ Rand Fishkin ที่เคยเป็นเจ้าพ่อเรื่อง SEO และเป็นเจ้าของ Moz (ในอดีต คนชอบเรียกเขาว่าเป็น The Wizard of Moz ซึ่งแปลงมาจากหนังสือ The Wizard of Oz) และปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของ Audience Research Platform ที่ชื่อว่า SparkToro

ซึ่งคุณ Rand ได้แนะนำวิธีการทำ Keyword Research มาทั้งหมด 4 วิธี

ผมก็เลยขอเอาหัวข้อที่คุณ Rand เขียนถึง เอามาปรับบริบทให้เข้ากับประเทศไทย และเพิ่มการทำ Keyword Research แบบที่ 5 ที่ผมคิดว่าสำคัญสำหรับคนไทยเข้ามาด้วยนะครับ

อ่านบทความนี้จบ รับรองว่ามุมมองของการทำ Keyword Research ของคุณจะกว้างขึ้นครับ!

5 ประเภทของการทำ Keyword Research ที่นักการตลาดควรรู้!

1. การทำ Keyword Research แบบที่ 1: Keyword Research สำหรับ SEO/PPC

การทำ Keyword Research ในรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ Digital Marketer สาย Search น่าจะคุ้นเคยกันดี คือการทำ Keyword Research เพื่อเช็ก 

1. Search Term: Keyword นั้นๆ มีคนค้นหารึเปล่า

2. Search Volume: Keyword นั้นๆ มีคนค้นหาเป็นจำนวนเฉลี่ยต่อเดือนเท่าไหร่

3. Search Difficulty: Keyword นั้นๆ มีการแข่งขันที่สูงต่ำแค่ไหนสำหรับ SEO

4. Paid Difficult: Keyword นั้นๆ มีการแข่งขันที่สูงต่ำแค่ไหนสำหรับการซื้อโฆษณาแบบ PPC

5. Average CPC (Cost per click): Keyword นั้นๆ มีราคาเฉลี่ยต่อคลิกเท่าไหร่

จากนั้นเอา Insights ที่ได้มาไปวางแผนในการทำ SEO (เช่นการเขียนบทความ และการไป Optimize หน้า Product Page ต่างๆ) และวางแผนในการทำ PPC (เลือก Keyword ที่จะเอาไป Bid บน Google และการใส่ Keyword ใน Landing Page)

สำหรับเครื่องมือสำหรับการทำ Keyword Research แบบนี้มีอยู่หลายตัว 

ตัวที่ผมอยากเอามาแนะนำสำหรับมือใหม่ให้ลองใช้ก่อนคือ Google Keyword Planner ที่เป็น Research Tool ของ google เองครับ ข้อดีของมันคือคุณสามารถใช้งานได้ฟรี แต่ข้อด้อยคือตัวข้อมูลที่คุณได้อาจจะมี Insights น้อยกว่า Paid Tools ตัวอื่นๆ ครับ

อีกตัวที่เป็นเครื่องมือสำหรับ Entry Level ที่ผมอยากแนะนำคือ UberSuggest ของป๋า Neil Patel ที่ราคาไม่แรงมาก และเขาทยอยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ มาเรื่อยๆ ครับ

และถ้าอยากได้เครื่องมือที่ Advance ขึ้นมาอีกหน่อย ผมแนะนำให้ลองไปเล่น Semrush หรือ Ahrefs ดูครับ 2 ตัวนี้จะมีฟีเจอร์ที่เยอะกว่าตัวอื่นๆ ราคาก็สูงกว่าตัวอื่นๆ เช่นกันครับ

อ่านเพิ่มเติม: รีวิว ‘Keysearch’ สุดยอดโปรแกรมหา Keyword ที่แทน Keyword Planner ได้อย่างลงตัว

2. การทำ Keyword Research แบบที่ 2:  Keyword Research สำหรับ Social Media Marketing

การทำ Keyword Research ในรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ใช้ในการหา Insights บน Social Media ต่างๆ เพื่อเอาไปเช็กว่าแฮชแท๊ก หัวข้อ หรือวลี แบบไหนที่คนใช้ค้นหาบน Instagram, Twitter, Facebook, Tiktok และอื่นๆ

การทำ Keyword Research แบบนี้นั้น คุณอาจจะต้องแยกทำตามแต่ละ Platform ไป เพราะ Character แต่ละ Platform นั้นมีความแตกต่างกัน เช่นอะไรที่ถูกพูดถึงเยอะ ติด Trend บน Twitter อาจจะไม่ได้เป็นเทรนด์บน Instagram ก็เป็นได้

เมื่อคุณรู้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว จะทำให้คุณสามารถสร้าง Social Media Content ที่ทำให้คนอยากจะเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมด้วยได้ดีขึ้น

เครื่องมือที่ผมแนะนำให้คุณลองไปใช้ก่อนเลยคือฟีเจอร์ Search ใน Social Media Plaform แต่ละตัว

อย่างของ Facebook คุณสามารถ ใส่ #keyword ในกล่อง Search ได้เลย เช่นผมลองใส่ #เชียงใหม่ ลงไปในกล่อง Search ผมก็จะเห็นข้อมูลเพิ่มเติมว่า Hashtag นี้มีคนพูดถึงเกือบๆ 2 แสนครั้ง และผมยังไปไล่ดูคอนเทนต์ต่างๆ ต่อได้อีกว่าคอนเทนต์ไหนน่าสนใจและมีคนปฏิสัมพันธ์ด้วยเยอะ

ด้วยการค้นหาด้วย Keyword แบบเดียวกันบน TikTok และเลือกให้แสดงผลเป็น Hashtag ผมก็จะได้ชุดข้อมูลอีกแบบมาเพื่อใช้ดูว่าคนสนใจเรื่องอะไรเกี่ยวกับเชียงใหม่บ้าง ซึ่งคุณสามารถคลิกแต่ละ Hashtag เข้าไปดูว่าคอนเทนต์ที่คนชอบปฏิสัมพันธ์กับเรื่องอะไรได้อีกด้วย

3. การทำ Keyword Research แบบที่ 3: สำหรับการสร้างคอนเทนต์

การทำ Keyword Research ในรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่เอาไว้ดูว่าหัวข้อไหน คอนเทนต์แบบไหน น่าจะเป็นหัวข้อ/คอนเทนต์ที่คนสนใจ ซึ่งการทำ Keyword Research แบบนี้จะเป็นการทำ Research ที่นอกเหนือจากแค่เรื่องตัวเลข Search Volume บน Search Engine โดยที่คุณ​ Rand ได้บอกไว้ว่าวิธีการทำ Keyword Research แบบนี้สามารถช่วยให้

– คุณสร้าง Thought Leadership และเพิ่มผู้ติดตาม

– เพิ่มโอกาสในการขายของหรือขายบริการ

– สร้างสัมพันธ์กับ Content Creator หรือลูกค้า

– สร้างโอกาสในการได้มาซึ่งลิงก์​ (ซึ่งนอกจากจะทำให้มีโอกาสที่คนจะเห็นคอนเทนต์ของคุณมากขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้ Off-page SEO ดีขึ้นอีกด้วย)

เครื่องมือตัวแรกที่ผมอยากจะเอามาแนะนำให้คุณใช้คือ Webboard อย่าง Pantip เพื่อ Research ดูได้ว่าเนื้อหาที่คนมักจะพูดถึงหรือถามกันได้ ตำแหน่งที่ผมอยากแนะนำให้คุณลองไปดูเป็นตำแหน่งแรกๆ คือในส่วนของ Pantip Real Time และ Pantip Pick

หรือลองคลิกไปดูตามห้องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณหรือเกี่ยวข้องกับหัวข้อของคอนเทนต์ที่คุณอยากทำก็ได้ เช่นจากรูปด้านบน ผมคลิกเข้าไปห้องสีลม ซึ่งเป็นห้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การตลาด งานขาย และ SME ผมก็จะเห็นหัวข้อที่คนแนะนำหรือสนใจเข้ามาพูดคุยสอบถาม ซึ่งข้อมูลตรวจส่วนนี้เป็นอีกหนึ่งใน Insights ชั้นดีที่ช่วยให้คุณเลือกหัวข้อมาทำคอนเทนต์ได้

เครื่องมืออย่าง Wisesight Trend หรือ Social.gg ก็เป็นอีกกลุ่มเครื่องมือที่ช่วยทำให้คุณรู้ว่าคอนเทนต์เรื่องไหนกำลังเป็นกระแสอยู่บน Social Media ต่างๆ ซึ่งนอกจากที่คุณสามารถดูกระแสในภาพรวมได้แล้ว คุณยังสามารถดูกระแสรายอุตสาหกรรมได้อีกด้วย

4. การทำ Keyword Research แบบที่ 4: สำหรับการทำ Marketing/Audience Research

การทำ Keyword Research ในรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่เอาไว้ใช้เพื่อศึกษาพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ ภาษาที่ใช้ (ไม่ใช่แค่ว่าใช้ภาษาไทยหรืออังกฤษนะ แต่หมายถึงวิธีการเขียน วิธีการพูด) ความสนใจ รวมไปถึงความชอบ ของคนหรือกลุ่มคนที่คุณสนใจ

การทำ Research แบบนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้าของคุณมากขึ้น คำว่าเข้าใจในที่นี้คือไม่ได้เป็นการเข้าใจในรูปแบบของคนที่นั่งอยู่บนหอคอยงาช้างแล้วเห็นภาพลูกค้าแบบกว้างๆ แต่จะเป็นการ “เข้าถึงใจ” ของลูกค้าของคุณจริงๆ

ซึ่งจะทำให้คุณมีข้อมูลและมีไอเดียเพิ่มเติมในการเขียน Product Description หรือเขียน Ad Copy เพื่อช่วยเพิ่ม Conversion Rate ให้กับคอนเทนต์หรือโฆษณาของคุณ

สำหรับการทำ Keyword Research ในรูปแบบนี้ คุณสามารถใช้ Social Listening Tool ของไทยในการหา Keyword Cloud (คำที่ User ของคุณมักจะใช้พิมพ์อยู่บ่อยๆ บนโลก Social) เพื่อเอามาเป็นวัตถุดิบในการทำการตลาดของคุณได้

ตัวอย่าง Customer Persona / Buyer Persona

นอกจากนั้นแล้ว การทำการสัมภาษณ์ Persona ก็จะช่วยให้คุณเห็นภาพมากขึ้นว่าลูกค้าของคุณนั้นมีความสนใจ มีปัญหา หรือชอบพูดเรื่องอะไรบ้าง (Content Shifu เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการทำ Buyer Persona ไว้ คุณสามารถเข้าไปอ่านได้ที่นี่ครับ)

Note: ปกติแล้วการทำ Research ในรูปแบบนี้จะมีบริษัท Research ที่ให้บริการเรื่องนี้อย่างละเอียดเลย ซึ่งแน่นอนว่าการ Research อย่างละเอียดก็จะต้องแลกมาด้วยที่ราคาค่อนข้างสูง การทำ Research แบบนี้จึงอาจจะเหมาะกับ​ Corporate สาย Consumer เป็นหลัก

5. การทำ Keyword Research แบบที่ 5: สำหรับการทำ Marketplace

การทำ Keyword Research รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ผมเพิ่มขึ้นมาจากบทความของคุณ Rand Fishkin เพราะผมคิดว่ามันสำคัญมากๆ สำหรับการทำการตลาดและการทำธุรกิจในประเทศไทย

การทำ Keyword Research ในรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่เอาไว้ใช้เพื่อทำให้คุณรู้ว่าคนนิยมค้นหาคำว่าอะไรบน Marketplace ต่างๆ เช่น Lazada, Shopee หรือ JD ซึ่งการรู้ว่า Keyword ไหนคนสนใจเยอะจะทำให้คุณสามารถปรับแต่หน้า Product Page ของคุณเพื่อให้ Ranking บน Marketplace สูงขึ้น ส่งผลให้มีคนเห็นมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้นได้

วิธีการทำ Keyword Research สำหรับ Marketplace แบบง่ายๆ เลยก็คือให้คุณลองไปใช้ Search Bar ของแต่ละ Marketplace

ตัวอย่างเช่นถ้าผมลองพิมพ์คำว่า “กระเป๋า” ลงไปใน Shopee และ Lazada ตัว Engine ของ Marketplace ทั้ง 2 รายก็จะขึ้น “ผลการค้นหาที่แนะนำ” มาให้ ซึ่งคุณสามารถจดข้อมูลตรงส่วนนี้แล้วเอาคำเหล่านี้ไปใส่ใน  Product Page ของคุณได้

หรือถ้าคุณอยากได้เครื่องมือที่ Advance ขึ้น ผมก็ได้ลองไปค้นหาดูและเจอเครื่องมือการทำ Keyword Research สำหรับ Shopee และ Lazada โดยเฉพาะอย่าง Split Dragon ที่คุณสามารถไปทดลองใช้งานได้ครับ

Note: ผมยังไม่ได้ทำการทดสอบ Split Dragon ด้วยตัวเอง และเอาข้อมูลที่ได้ไปใช้ Optimize Product Page ของผมจริงๆ เนื่องจากว่าในทุกๆ ธุรกิจที่ผมมีอยู่ ไม่ได้มีธุรกิจไหนที่ผมใช้ Marketplace ในการขายเลย ผมก็เลยไม่อาจบอกได้ว่ามันแม่นยำแค่ไหนนะครับ ผมแนะนำให้คุณลองทดสอบดูก่อนที่คุณจะซื้อมันมาใช้นะครับ

สรุป

และนี่คือการทำ Keyword Research 5 ประเภทที่คุณควรจะทำความรู้จักไว้เพื่อทำให้การทำการตลาดออนไลน์ของคุณดีขึ้นนะครับ

ผมขอ Recap การทำ Keyword Research ทั้ง 5 แบบให้คุณอีกครั้งนะครับ

1. การทำ Keyword Research แบบที่ 1: Keyword Research สำหรับ SEO/PPC
2. การทำ Keyword Research แบบที่ 2:  Keyword Research สำหรับ Social Media Marketing
3. การทำ Keyword Research แบบที่ 3: สำหรับการสร้างคอนเทนต์
4. การทำ Keyword Research แบบที่ 4: สำหรับการทำ Marketing/Audience Research
5. การทำ Keyword Research แบบที่ 5: สำหรับการทำ Marketplace

ลองหยิบเอาวิธีที่คุณคิดว่าเหมาะสมกับธุรกิจของคุณไปใช้ดูนะครับ 

ขอให้การทำ Keyword Research ของคุณประสบความสำเร็จตามที่คุณตั้งใจไว้นะครับ 🙂

ตาคุณแล้ว

คุณเคยทำ Keyword Research แบบไหนทางด้านบนบ้างรึเปล่า? เวิร์คไม่เวิร์คยังไงบ้าง? หรือมีวิธีการทำ Keyword Research แบบอื่นที่น่าสนใจมาแนะนำผมกับผู้อ่านคนอื่นๆ เพิ่มเติมรึเปล่า? มาคุยกันต่อได้ในคอมเมนต์เลยนะครับ!


Shifu แนะนำ

📣 แนะนำคอร์สเรียน Content Marketing ที่ไม่ควรพลาด! 📣

คอร์สเรียนสดออนไลน์ Ultimate Content Marketing 

ตะลุย 2 วัน จัดเต็ม ติวเข้มกลยุทธ์ Content Marketing ทักษะสำหรับธุรกิจและครีเอเตอร์ ครอบคลุมทุกเนื้อหาตั้งแต่พื้นฐานจนถึงโปร

🚀 เรียนย้อนหลังได้อีกถึง 3 เดือน พร้อมรับใบ Certification!

🔥 พิเศษ! กับโปรโมชั่น Lucky 7 ส่วนลดไปเลย 12% 🔥 ตั้งแต่วันนี้ – 27 ก.ค 2567 นี้เท่านั้น!

Button