ในปี 2023 นี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก Social Listening หรือ เจ้าเครื่องมือฟังเสียงโซเชียลอีกแล้ว
ยิ่งในวงการการตลาดที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงราวพายุ จนการเก็บข้อมูลแบบเดิมๆ ไร้ผล เครื่องมือ Martech อย่าง Social Listening Tools จึงเข้ามาช่วยยกระดับการเก็บข้อมูลมหาศาลที่ล่องลอยอยู่ในโลกดิจิทัล และนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมพร้อมทั้งหากลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ
Social Listening สามารถเอาไปทำได้หลายจุดประสงค์ แต่วันนี้ขิงจะลองนำ Social Listening Tools ตัวฮิตจาก WISESIGHT อย่าง ZOCIAL EYE มาวิเคราะห์ Market Research แบบทีละขั้นตอนสักหน่อย ใครสนใจก็มาอ่านแล้วทำตามกันได้เลยนะคะ!
ป.ล. ปกติ ZOCIAL EYE เป็นระบบที่แบรนด์ใหญ่ๆ ใช้กันเพราะราคาค่อนข้างสูง เริ่มต้นที่ประมาณเดือนละ 30,000 บาท แต่ Content Shifu ไปคุยกับทาง Wisesight มา แล้วเขาเข้าใจดีว่า Social Listening ก็สำคัญสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเหมือนกัน พวกเขาก็เลยทำ Package พิเศษที่เล็กลงมา (ฟีเจอร์น้อยกว่า) และถูกกว่า Package สำหรับบริษัทใหญ่กว่า 10 เท่า เริ่มต้นที่เดือนละ 2,500 บาทเพิ่มขึ้นมา
อันนี้เป็น Package เฉพาะที่เขาไม่ได้เปิดขายแบบทั่วๆ ไป ถ้าใครสนใจ คลิกที่ลิงก์นี้หรือทัก LINE ของ Wisesight (@zocialeye.sb) ไปแล้วแจ้ง Code ‘contentshifu’ ทาง Wisesight จะเสนอ Package พิเศษให้
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
- Social Listening Tools คืออะไร?
- ZOCIAL EYE คืออะไร?
- รีวิวใช้ Social Listening ทำ Market Research ยังไงให้เวิร์คแบบ Step by Step [ทำตามได้]
- สรุป Market Research คอร์สเรียนออนไลน์
- แนะนำเพิ่มเติม
Social Listening Tools คืออะไร?
Social Listening Tools คือ เครื่องมือการตลาดออนไลน์สำหรับเก็บข้อมูล Insight ของกลุ่มเป้าหมายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, Twitter ฯลฯ ว่าใครพูดถึงแบรนด์เรายังไงบ้าง ใช้คีย์เวิร์ดอะไร และพวกเขาต้องการอะไรจากแบรนด์
โดยจุดประสงค์หลักของเครื่องมือนี้ มีเพื่อให้เรา ‘ได้ยินเสียงของลูกค้า (Sentiment)’ ทั้งแง่ดีและไม่ดีเพื่อใช้วิเคราะห์ความต้องการ จับกระแสเทรนด์ วางกลยุทธ์การตลาด และ มอนิเตอร์เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลกับแบรนด์ได้อย่างทันท่วงที
ZOCIAL EYE คืออะไร?
ZOCIAL EYE คือ เครื่องมือ Social Listening จาก WISESIGHT ที่ครบสูตรสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ด้วยฟีเจอร์ที่ครอบคลุมทุกจุดประสงค์การใช้งาน Zocial Eye มี AI ตัวเก่งอย่าง KIRIN ENGINE ที่ช่วยในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์
และในปี 2022 ทาง WISESIGHT ได้อัปเดตฟีเจอร์ใหม่ที่ละเอียดกว่าเดิมในการดักจับ Insight ผ่านภาพและโลโก้ เพิ่มฟีเจอร์ Intelligence Analytics ที่จะช่วยให้นักการตลาดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเก็บข้อมูลผ่าน Instagram Reel และ TikTok ได้แล้วด้วย
ZOCIAL EYE มีหน้าแสดงผลอยู่ 3 แบบคือ
- Campaign View: ภาพรวมแคมเปญที่เก็บข้อมูลจากคีย์เวิร์ดที่เราเลือกใช้
- Comparison View: หน้าแสดงผลเปรียบเทียบคีย์เวิร์ดแต่ละกลุ่ม เหมาะสำหรับแบรนด์ที่มี Product Line หรือ สำรวจตลาดที่มีหลาย Category
- Trend View: แสดงเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดที่เราเลือกค้นหา
เหมาะกับ: ธุรกิจระดับ Enterprise หรือกลุ่ม Advertising & Entertainment และ Branding ที่ต้องติดตามกระแสสังคมและจำเป็นต้องมีข้อมูลมหาศาลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์วางแผนกลยุทธ์การตลาด กับ โฆษณาของแบรนด์ ด้วยฟีเจอร์ของ ZOCIAL EYE จึงเหมาะมากๆ กับองค์กรและธุรกิจแนวนี้
รีวิวใช้ Social Listening ทำ Market Research ยังไงให้เวิร์คแบบ Step by Step [ทำตามได้]
ZOCIAL EYE เป็น Social Listening Tools ที่นำไปใช้ได้หลากหลายจุดประสงค์ ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ในการ Monitoring Brand เพื่อฟังเสียงจากลูกค้าที่ใช้งาน และเจาะเทรนด์ที่นำมาทำกลยุทธ์การตลาดได้ แต่ถ้าเรายังไม่ได้มีแบรนด์ที่ใหญ่จนเป็นที่พูดถึง อีกจุดประสงค์ในการใช้งานก็คือการทำ Market Research
ในที่นี่ขิงจะลองทำ Market Research สำหรับตลาดคอร์สเรียนออนไลน์ในประเทศไทยกันดูนะคะ โดยเก็บข้อมูลสัก 1 เดือนมาก่อน แต่ความจริงจะขยายเป็น 3-4 เดือนก็กำลังดีนะ
1. ใส่ Main Keyword และ Sub Keyword ที่เกี่ยวข้อง
คีย์เวิร์ดเป็นส่วนสำคัญที่สุดของ Social Listening ที่ใช้ในการดึงข้อมูลกระแสโซเชียลจากทุกแพลตฟอร์มมาทำเป็น Data Visualization ดังนั้น จำเป็นจะต้องใส่โดยคำนึงถึงรูปแบบการเขียนของตลาดเป้าหมาย
ยกตัวอย่าง เราเลือกตั้งคีย์เวิร์ดเป็น ‘(เว้นวรรค)AISมีโปรอะไรบ้าง’ ระบบจะดึงมาเฉพาะข้อความที่เว้นวรรคด้านหน้าคำว่า AIS เช่น ‘วันนี้ AISมีโปรอะไรบ้าง’ แต่จะไม่ดึงข้อความที่ไม่เว้นข้างหน้าอย่าง ‘วันนี้AISมีโปรอะไรบ้าง’
คิดภาพตามง่ายๆ ก็คือ ระบบจะจับคีย์เวิร์ดและรูปแบบการเขียนของคีย์เวิร์ดนั้นๆ ด้วย วันนี้ขิงเลยมีสรุปเทคนิคการใส่ Keyword สำหรับ Social Listening Tools มาฝากกันตามด้านล่างเลยค่ะ
**หลังจากนี้จะขอแทนการเว้นวรรคด้วยเครื่องหมาย _ นะคะ
หลักการใส่ Keyword สำหรับ Social Listening Tools
- ไม่ต้องมีเว้นวรรค เช่น AIS
จะจับทุกประโยคที่มีคีย์เวิร์ด AIS เช่น AISมีอะไร , วันนี้AIS มีงาน แต่ข้อเสียสำหรับคีย์เวิร์ดที่เป็นคำย่อ คือ ระบบอาจจะไปจับกับคำที่มีคีย์เวิร์ดนี้เป็นส่วนประกอบ เช่น raise, waist เป็นต้น การใส่คีย์เวิร์ดแล้วตามด้วยรูปประโยคจึงมีส่วนช่วยในการคัดกรอง
- เว้นวรรคทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านหน้า-หลัง เช่น _AIS_มีอะไร, _AISมีอะไร, AIS_มีอะไร
การใส่คีย์เวิร์ด ไม่ได้ใส่แค่คำอย่างเดียว แต่วลีที่แสดงถึง ‘Search Intent’ ก็สำคัญ เพราะ จะทำให้เราค้นหาวัตถุประสงค์ และแนวโน้มของตลาดได้ดีขึ้น โดยเราควรใส่ทั้งแบบเว้นด้านหน้า, ด้านหลัง, เว้นทั้งหน้าทั้งหลัง ซึ่งคิดจากรูปแบบการเขียนที่เราเคยเห็น
- ใช้เครื่องหมาย + ระหว่างคีย์เวิร์ด เช่น AIS+โปรอะไร
เพื่อให้จับคีย์เวิร์ดมากกว่า 1 ตัวในประโยคเดียวกัน และ กันกรณีที่คีย์เวิร์ดทั้งสองคำไม่ได้อยู่ติดกัน เช่น AIS กำลังมีโปรอะไร
ในกรณีนี้เราจะลองใส่ Main Keyword และ Sub Keyword สำหรับทำ Market Research คอร์สเรียนออนไลน์ในระยะเวลา 1 เดือน (20 ม.ค. 66 – 20 ก.พ. 66) โดยมีทั้งคีย์เวิร์ดคอร์สทั่วไป และ คอร์สที่แยกตามเนื้อหา เช่น คอร์สออนไลน์, คอร์สออนไลน์+ฟรี, คอร์สออนไลน์+การตลาด
และ Exclude Keyword ที่อาจทำให้สับสน เช่น เรียนออนไลน์ (ที่อาจหมายถึงนักเรียนเรียนตอนโควิด), คลินิก หรือ เทรนหุ่นที่มักใช้คำว่าคอร์สออนไลน์เหมือนกัน
ใช้เวลาสักครู่ ระบบจะรวบรวมข้อมูลจากโซเชียลมีเดียทั้ง Facebook, Twitter, Instagram, TikTok, Forum และช่องทางอื่นๆ มาให้เราแล้ว ตามมาดูกัน Step ต่อไปเลย!
2. วิเคราะห์ภาพรวมแล้วตั้งคำถามสำหรับทำ Research
2.1 Channel ไหนมีคนพูดถึงมากที่สุด
ใน 1 เดือน (20 ม.ค. 66 – 20 ก.พ. 66) มีการพูดถึงคอร์สเรียนออนไลน์อยู่ที่ 3,538 Mentions เฉลี่ยรายวันมีการพูดถึงประมาณ 100-150 Mentions
เมื่อแบ่งตามแพลตฟอร์มแล้วจะเห็นว่า Facebook เป็นช่องทางที่คนพูดถึงคอร์สออนไลน์มากที่สุด รองลงมาเป็น Instagram และ Twitter ซึ่งเครื่องมือ ZOCIAL EYE สามารถกดดูผลลัพธ์แต่ละแพลตฟอร์มได้เลย ไว้เราจะมาตามดูกันใน Step ต่อไปนะคะ
2.2 คีย์เวิร์ดอะไรที่ถูกพูดถึงมากที่สุด
นอกจากแพลตฟอร์มแล้ว เรายังเห็นอีกว่า คีย์เวิร์ดที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ คอร์ส+ออนไลน์ รองลงมาเป็นพวกคอร์สฟรี คอร์ส Facebook และคอร์สภาษา
เมื่อมาดูที่ Sub Keyword จะเห็นว่าคอร์สสอนภาษามาแรงที่สุด รองลงมาเป็นเกี่ยวกับสมัครงาน
และในภาพด้านล่างคือ Matching Detail ที่มีการพูดถึง Main Keyword และ Sub Keyword ในประโยคเดียวกัน ทำให้เราเห็นจุดประสงค์และกระแสตลาดคอร์สออนไลน์ว่า คอร์สายภาษามาแรงที่สุด และ รองลงมาเป็นคอร์สออนไลน์สำหรับสมัครงาน
เมื่อเราเห็นภาพรวมคร่าวๆ แล้ว ก็ลองมาตั้งคำถามกันต่อว่า เราอยากจะรู้อะไรจากการทำ Market Research ครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์ไปที่ละจุดนะคะ
- แต่ละแพลตฟอร์มที่จะทำตลาด (Facebook, Instagram Twitter) กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร คอร์สแบบไหนที่ได้รับความนิยม
- แต่ละแพลตฟอร์มคอนเทนต์แบบไหนที่ได้รับ Engagement ที่ดี
- เทรนด์และกระแสอะไรที่กำลังมาแรงสำหรับคอร์สเรียนออนไลน์
เมื่อได้คำถามมาบางส่วนแล้ว ขิงจะมาวิเคราะห์ไปทีละจุด โดยเริ่มจากการดูภาพรวมแต่ละแพลตฟอร์มกันก่อนเลย
3. Facebook คอร์สสายภาษาและศิลปะมาแรงในกลุ่ม #Dek66
มีการพูดถึงคอร์สเรียนออนไลน์ในแพลตฟอร์ม Facebook อยู่ที่ 2,678 Mentions และ ยอด Engagement 714,97 ใน 1 เดือน
กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานช่วง 25-34, 35-44 และรองลงมาเป็นวัยรุ่น และ วัยผู้ใหญ่มากกว่า 45 ปี ในที่นี่การแบ่งเพศ อัลกอริทึ่มของ ZOCIAL EYE จะจับจากการใช้คำลงท้าย จึงอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ จึงดูแค่ช่วงอายุเป็นหลักค่ะ
ต่อมาในด้านการใช้คีย์เวิร์ด คอร์สออนไลน์และภาษา ยังคงติดอันดับหนึ่ง แต่เมื่อดูใน Hashtag ก็มี Hashtag ที่เกี่ยวข้องกับ #Dek66 อยู่ค่อนข้างเยอะ ทั้งการติวออนไลน์ และติววาดรูปสายสถาปัตย์ พอคลิกเข้าไปดูว่ามีโพสต์อะไรที่เกี่ยวข้องกับ Hashtag เหล่านี้มาก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโพสต์ขายคอร์สสอนภาษา และ Drawing ในการติวเข้าสถาปัตย์
สรุปตลาดคอร์สเรียนออนไลน์ใน Facebook มีการพูดถึงมากที่สุด และ ส่วนใหญ่เป็นคอร์สเกี่ยวกับภาษา ที่กลุ่มเป้าหมายคือวัยทำงานและเตรียมเข้ามหาลัย คอนเทนต์ที่ควรทำคือ พวกรูปภาพและอัลบั้ม
จากตรงนี้จะเห็นว่าตลาดไปทางเด็กเตรียมสอบมากที่สุด แต่ผู้ใช้งานกลับเป็นวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น กลุ่มเด็กวัยรุ่นอาจจะไม่ได้เห็นโพสต์ใน Facebook แต่เป็นพ่อแม่ที่มองเห็นซะมากกว่า ตรงนี้ก็ทำให้เราได้ Insight ที่น่าสนใจบางส่วนก่อนไปทำคอนเทนต์และกลยุทธ์การตลาด
และถ้าเราอยากจับกลุ่มคนทำงานมากขึ้น ให้เราไป Exclude Keyword ที่เกี่ยวกับ #Dek66 #สถาปัตย์ ออก เพื่อเจาะจงกลุ่มคอร์สวัยทำงานมากขึ้นก็ได้ค่ะ
4. Instagram กับเทรนด์ #Studygram ที่น่าสนใจ
มีการพูดถึงคอร์สเรียนออนไลน์ในแพลตฟอร์ม Instagram อยู่ที่ 493 Mentions และ ยอด Engagement 61,269 ใน 1 เดือน
กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นวัย First Jobber และวัยเรียน และใน Instagram คีย์เวิร์ดที่ถูกพูดถึงที่สุดก็ยังคงเป็นคอร์สออนไลน์สายภาษา แต่พอเราดูที่ Hashtag ก็เจอคำที่น่าสนใจอย่าง #Studygram #Studygramthailand ด้วย
ความหมายของ Studygram จริงๆ คือกลุ่มคนที่ทำคอนเทนต์สร้างแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Influencer สายความรู้ แต่พอขิงลองกดเข้าไปใน #Studygramthailand ก็เจอแต่โพสต์ขายคอร์ส ทำให้เรารู้ว่าโรงเรียนมักนำ Hashtag นี้ไปใช้เพื่อเพิ่ม Awareness
แต่ขณะเดียวกันถ้าเราไล่ดูเรื่อยๆ เราก็จะเจอ Influencer สายการเรียนรู้อยู่เหมือนกัน ทางที่ง่ายขึ้นให้เรา Exclude Account ของโรงเรียนที่ใช้ Hashtag นี้เพื่อตัดเหลือแต่โพสต์จากคนธรรมดาทั่วไปแทน
สรุปตลาดคอร์สเรียนออนไลน์ใน Instagram มี Engagement ที่ดีกับคอนเทนต์รูปภาพ คอร์สส่วนใหญ่ยังคงเป็นสายภาษาสำหรับเด็กเตรียมสอบและวัยทำงาน First Jobber แต่เราได้เจอเทรนด์ #Studygram ที่เอามาเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ หรือ จับกลุ่ม Influencer มาช่วยโปรโมตคอร์สของเราได้
5. Twitter จับกลุ่มติ่งเกาหลี ด้วยคอร์สอนภาษาเกาหลี
มีการพูดถึงคอร์สเรียนออนไลน์ในแพลตฟอร์ม Twitter อยู่ที่ 203 Mentions และ ยอด Engagement 40,934 ใน 1 เดือน
ใน Twitter ไม่สามารถจำแนกอายุได้ แต่จากเทรนด์การใช้ Twitter ของคนไทย ก็ทำให้เราพอจะรู้ว่ากลุ่มคนที่เล่น Twitter มันเป็นกลุ่มวัยทำงาน First Jobber ลงไปจนถึงเด็กยุคใหม่ โดยใช้ในการสื่อสารและแสดงความคิดเห็นส่วนตัวแบบเต็มที่
Twitter จึงเป็นช่องทางสำหรับเก็บรีวิวชั้นดีอีกช่องทางหนึ่ง และทำให้เราได้เห็นความคิดของผู้บริโภคจริงๆ หรือ เราสามารถจ้าง Influencer ใน Twitter เพื่อให้เขียนรีวิวให้เราก็ได้ด้วยเหมือนกัน
เราจะเห็น Hashtag ที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็น #ภาษาเกาหลี เพราะ กลุ่มวัยรุ่นที่เล่น Twitter มักไว้ใช้เป็น Community สำหรับคนติ่งเกาหลี ซีรี่ส์ ซะส่วนใหญ่ จึงมีหลายโรงเรียนที่เลือกทำการตลาดเกี่ยวกับภาษาเกาหลีใน Twitter และได้ผลตอบรับที่ดี
สรุป Market Research คอร์สเรียนออนไลน์
จากภาพรวมคอร์สเรียนออนไลน์ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่เด็กเตรียมสอบ #Dek66 ให้ความสนใจคอร์สเรียนออนไลน์มากที่สุด ทำให้คอร์สส่วนใหญ่ที่ถูกพูดถึงจึงเป็น คอร์สสายภาษา หรือ คอร์สเตรียมสอบ
Facebook – คอร์สออนไลน์สายภาษาถูกพูดถึงมากที่สุด เพื่อเจาะกลุ่ม #Dek66 แต่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นรุ่นพ่อแม่ การทำการตลาดใน Facebook จึงควรทำโดยวางกลยุทธ์ให้พ่อแม่ที่เป็นคนจ่ายเงินตัวจริงถูกใจกับคอร์สของเรา
Instagram – กลุ่มเป้าหมายเป็นวัยเรียนซะส่วนใหญ่ และคอร์สสายภาษาก็ยังคงถูกพูดถึงมากที่สุด แต่มีเทรนด์ที่ชื่อว่า #Studygram ที่เด็กเตรียมสอบมาทำคอนเทนต์สร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งเราสามารถใช้เทรนด์นี้ในการหา Influencer มาโปรโมตคอร์สของเราได้
Twitter – กลุ่มค่อนข้างเจาะไปที่สายเกาหลี และการเรียนภาษาเกาหลีเป็นหลัก เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่มี Community K-Pop เยอะที่สุด
จากที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นแค่ตัวอย่างการใช้งาน Social Listening Tools เพื่อทำ Market Research แบบภาพรวมเท่านั้น ซึ่งวิธีการควรเริ่มจากการมองภาพใหญ่ และค่อยๆ เจาะไปที่ละแพลตฟอร์มที่เราสนใจเพื่อวิเคราะห์ตลาด
ยังมีวิธีการใช้ Social Listening Tools อีกหลายมิติเพื่อค้นหา Insight และ พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย บทความต่อไปของ Content Shifu เราจะนำเครื่องมือตัวนี้ไปยกระดับประสิทธิภาพการตลาดให้ดีขึ้น จะมีกลยุทธ์การใช้งานอะไรอีกบ้าง รอติดตามกันได้เลยนะคะ
จัดทําข้อมูลและวิเคราะห์โดยทีมงาน Content Shifu ผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE
แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปค่ะ 😉
แนะนำเพิ่มเติม
ปกติ ZOCIAL EYE เป็นระบบที่แบรนด์ใหญ่ๆ ใช้กันเพราะราคาค่อนข้างสูง เริ่มต้นที่ประมาณเดือนละ 30,000 บาท แต่ Content Shifu ไปคุยกับทาง Wisesight มา แล้วเขาเข้าใจดีว่า Social Listening ก็สำคัญสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเหมือนกัน พวกเขาก็เลยทำ Package พิเศษที่เล็กลงมา (ฟีเจอร์น้อยกว่า) และถูกกว่า Package สำหรับบริษัทใหญ่กว่า 10 เท่า เริ่มต้นที่เดือนละ 2,500 บาทเพิ่มขึ้นมา
อันนี้เป็น Package เฉพาะที่เขาไม่ได้เปิดขายแบบทั่วๆ ไป ถ้าใครสนใจ คลิกที่ลิงก์นี้หรือทัก LINE ของ Wisesight (@zocialeye.sb) ไปแล้วแจ้ง Code ‘contentshifu’ ทาง Wisesight จะเสนอ Package พิเศษให้