คำว่า “คอนเทนต์” นั้นสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งตามรูปแบบเช่นตัวอักษร/ภาพ/วีดีโอ หรือการแบ่งตามอายุของคอนเทนต์เช่นคอนเทนต์ที่ไม่เสื่อมค่าตามกาลเวลา และคอนเทนต์ที่ตามกระแส ซึ่งคอนเทนต์แต่ละแบบก็จะมีจุดเด่นจุดด้อย วิธีการใช้งาน และแพลตฟอร์มที่เหมาะสมแตกต่างกันไป
Content Shifu เองก็เคยเขียนถึงบทความในลักษณะนี้อยู่หลายบทความเช่น 8 โปรแกรมสร้างวีดีโอ Animation ที่ทำให้คุณดูเหมือนมือโปร หรือ Evergreen Content vs Topical Content คอนเทนต์แบบไหนน่าทำกว่ากัน?
แต่สำหรับการแบ่งคอนเทนต์แบบ Mindset กับคอนเทนต์แบบ How-to นั้นเป็นการแบ่งในแบบที่ Content Shifu ไม่เคยเขียนถึงมาก่อนเลย ทั้งๆ ที่คอนเทนต์ 2 รูปแบบนี้ก็เป็นรูปแบบของคอนเทนต์ที่สำคัญ
เพราะฉะนั้นในบทความนี้ผมขอเอาคอนเทนต์ทั้ง 2 รูปแบบนี้มาเปรียบเทียบกัน รวมถึงแชร์ความเห็นของผมว่าคอนเทนต์แบบไหนน่าทำกว่ากันนะครับ
รับรองว่าได้ประโยชน์!
hbspt.cta.load(3944609, '46ad8de0-da24-44f0-a0dc-4261f76df884′, {“useNewLoader”:”true”,”region”:”na1″});
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
คอนเทนต์ Mindset คืออะไร? คอนเทนต์ How-to คืออะไร?
คอนเทนต์ Mindset คืออะไร?
ในความเห็นของผมคอนเทนต์แบบ Mindset เป็นคอนเทนต์แบบที่ “สรุปรวมความคิด และประสบการณ์” ของผู้สร้าง และย่อยออกมาเป็นรูปแบบที่เสพได้ง่าย โดยที่ไม่ได้บอกวิธีการแบบเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งตัวอย่างของคอนเทนต์แบบ Mindset ที่ผมเคยเขียนก็เช่น ปีใหม่ คนใหม่! 7 วิธีการทำให้ตัวเองเป็นนักการตลาดสายคอนเทนต์ที่ดีกว่าเดิม หรือ 7 เรื่องเกี่ยวกับการทำ Content Marketing ที่คนมักเข้าใจผิด (พร้อมวิธีปรับความเข้าใจ) เป็นต้น
วิธีการทำคอนเทนต์แบบ Mindset ให้ดี
ส่วนตัวผมเอง ผมเชื่อว่าคอนเทนต์แบบ Mindset ที่ดีที่สุดนั้นควรจะถูกทำ เรียนรู้ เชี่ยวชาญ และตกผลึกมาจากประสบการณ์จริงของผู้สร้างคอนเทนต์ เพราะฉะนั้นคอนเทนต์แบบ Mindset ที่ดีๆ เลยมีค่อนข้างน้อย
ส่วนตัวผมเอง ผมจะค่อนข้างระวังเวลาสร้างคอนเทนต์ประเภท Mindset เพราะหลายๆ เรื่อง (จริงๆ แล้วเกือบจะทุกเรื่องเลยแหละ) ผมไม่ได้รู้จริง ไม่ได้มีประสบการณ์จริง เช่นผมจะพยายามหลีกเลี่ยงเรื่อง แนวคิดทำให้ตัวเองรวย (เพราะผมยังไม่รวย) แนวคิดเลี้ยงลูก (เพราะผมยังไม่เคยมีลูก) หรือกินยังไงให้ผอม (เพราะผมกินเท่าไหร่ก็ไม่ผอม ฮา)
เพราะฉะนั้นในความเห็นของผม การที่จะทำคอนเทนต์แบบ Mindset ให้ดีนั้น สำคัญที่สุดคือการลงมือทำจริง ผิดจริง ถูกจริง สำเร็จจริง ล้มเหลวจริง จากนั้นเอาสิ่งที่ได้มาทำเป็นคอนเทนต์
คอนเทนต์ How-to คืออะไร?
ในความเห็นของผมคอนเทนต์แบบ How-to เป็นคอนเทนต์แบบที่ “สรุปรวมความรู้ หรือประสบการณ์เป็นแบบขั้นตอน” ของผู้สร้าง และย่อยออกมาเป็นรูปแบบที่เสพได้ง่าย และที่สำคัญพอเสพคอนเทนต์นั้นๆ จบแล้วสามารถเอากลับไปใช้ทำตามได้จริง ซึ่งตัวอย่างของคอนเทนต์แบบ How-to ที่ผมเคยเขียนก็เช่น วิธีตามไปหลอกหลอนลูกค้าที่เข้าเว็บไซต์ด้วย Facebook Remarketing หรือ ชื่อดีมีชัยไปกว่าครึ่ง! 7 วิธีตั้งชื่อบทความให้น่าสนใจจนคนต้องกดอ่าน เป็นต้น
วิธีการทำคอนเทนต์แบบ How-to ให้ดี
ในความเห็นของผมคอนเทนต์แบบ How-to นั้นเป็นคอนเทนต์ที่สามารถทำได้ง่ายกว่ามากเมื่อเทียบกับคอนเทนต์แบบ Mindset เพราะสิ่งที่จำเป็นสำหรับคอนเทนต์แบบ How-to นั้นคือ 1. การลงมือทำจริง 2. การค้นคว้าหาข้อมูล
ตัวอย่างเช่นถ้าคุณจะเขียนวิธีการซื้อโฆษณา Facebook สิ่งที่คุณต้องทำก็คือการทดลองซื้อโฆษณาจริงๆ และระหว่างการทดลอง ถ้ามีตรงไหน ส่วนไหน ที่คุณไม่รู้ สิ่งที่คุณต้องทำต่อไปก็คือการค้นคว้าหาข้อมูล (อาจจะจากอินเตอร์เน็ต หรือถามคนอื่น) จากนั้นก็เอาเรื่องที่เรียนรู้มา มาทดลองทำต่อ
สรุป แล้วในฐานะคนทำคอนเทนต์ เลือกทำคอนเทนต์แบบไหนดีกว่ากัน?
ในความเห็นของผม ถ้าในเรื่องไหนที่คุณยังมีประสบการณ์น้อย และอยู่ระหว่างการเรียนรู้ ให้คุณเน้นทำคอนเทนต์แบบ How-to เพราะมันสามารถเริ่มต้นทำได้ง่ายกว่า และไม่ต้องการการตกผลึกมากเหมือนการทำคอนเทนต์แบบ Mindset
แต่ถ้าเรื่องไหนที่คุณมีประสบการณ์ผ่านมันมามากพอ มันก็คงจะดีถ้าคุณเอาสิ่งที่คุณตกผลึกมาทำเป็นคอนเทนต์ในรูปแบบ Mindset ให้คนได้เรียนรู้กัน
สุดท้ายสิ่งที่อยากจะฝากไว้คือการสร้างคอนเทนต์ที่ให้ความรู้ และส่งมอบคุณค่าให้กับผู้คนไม่ว่าจะเป็นแบบ Mindset หรือ How-to สิ่งสำคัญคือ “การลงมือทำ” และถ้าหากใครสนใจศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Content Marketing ทาง Content Shifu เราก็มีบทความดีๆ รอคุณอยู่อีกเพียบ
ตาคุณแล้ว
คุณเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับเรื่องการทำคอนเทนต์ Mindset และ How-to ที่ผมเขียนมา? มาคุยกันต่อได้ในคอมเมนต์เลยครับ 🙂
hbspt.cta.load(3944609, '46ad8de0-da24-44f0-a0dc-4261f76df884′, {“useNewLoader”:”true”,”region”:”na1″});
เป็นบทความที่ดีมากครับ วิเคราะห์ ถ่ายทอดได้อย่างลึกซึ๊ง.. ขอบคุณครับ ติดตามตลอด 🙂
ขอบคุณมากครับ : )
บทความดีมากเลย ตามอ่านมาตลอดครับ
ขอบคุณมากๆ ครับ 🙂