ในทุกวันนี้ Personal Branding มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล

โดย Personal Branding (การสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล) ก็ไม่ต่างอะไรจากวิธีการที่คุณนำเสนอตัวเองต่อโลก และอาจมีผลกระทบอย่างมากต่อความสำเร็จของแบรนด์ต่างๆ

การสร้าง Personal Branding ที่แข็งแกร่งและมั่นคงจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดูโดดเด่นกว่าแบรนด์อื่นๆ และ ดึงดูดโอกาสใหม่ๆ ให้เข้ามา รวมถึงยังช่วยสร้างฐานกลุ่มผู้ติดตามในระยะยาวได้อีกด้วย

ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปสำรวจโลกของการสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล และแบ่งปัน 5 เคล็ดลับในการสร้าง Personal Branding ที่ทรงพลังและน่าจดจำซึ่งสามารถช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

Personal Branding คืออะไร? 

Personal Branding คือ การสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ตัวบุคคลโดยมุ่งหมายให้ผู้อื่นมีการรับรู้ถึงภาพลักษณ์ตามแบบที่เราได้นำเสนอออกไป

ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้มีทั้งการประกาศจุดยืนทางค่านิยมขององค์กรให้โดดเด่น การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาเอกลักษณ์ของแบรนด์ และการกำหนดกลยุทธ์การส่งข้อความที่สอดคล้องกัน 

การมีแผนสร้างแบรนด์ส่วนบุคคลที่ดีและมีประสิทธิภาพจึงจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจและ Authority ตามรูปแบบสายงาน รวมถึงการดึงดูดลูกค้าใหม่หรือโอกาสใหม่ๆ ในการทำงาน ได้ด้วย แต่ก็ใช้เวลาและทรัพยากรอย่างมาก ซึ่งต้องอาศัยความเต็มใจและความพร้อมที่จะเสี่ยงกับผลลัพธ์ที่จะตามมาเช่นกัน

Personal Branding แตกต่างจาก Business Branding ยังไง?

Personal Branding และ Business Branding ต่างก็เป็นแนวทางที่ถูกใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจต่างๆ แต่คำถามที่สำคัญคือสองสิ่งนี้ต่างกันยังไงบ้าง?

Personal Branding และ Business Branding ต่างกันอย่างไร

ถ้าให้ตอบคำถามนี้แบบกำปั้นทุบดินก็คงมองได้ว่า Personal Branding คือ แนวทางที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับแต่ละบุคคล ส่วน Business Branding (การสร้างแบรนด์ธุรกิจ) จะเป็นแนวทางการสร้างเอกลักษณ์ให้กับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นตัวผลิตภัณฑ์ หรือบริการนั่นเอง

ดังนั้น การสร้างแบรนด์ส่วนบุคคลจึงมีเป้าหมายในการสร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจกับผู้ติดตามแบรนด์ และช่วยสร้างการรับรู้ของคนคนนั้นในฐานะผู้เชี่ยวชาญ หรือหนึ่งผู้มีอิทธิพลในธุรกิจนั้นๆ  ในทางกลับกัน การสร้างแบรนด์ธุรกิจมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่และเพิ่มยอดขายโดยการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นนั่นเอง

สรุปได้ว่าความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Personal Branding กับ Business Branding ก็คือ “กลุ่มเป้าหมาย” 

Personal Branding มุ่งเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่ม Audience ในแบบ Person-to-Person ในขณะที่ Business Branding มุ่งเป้าไปที่การดึงดูดลูกค้ามาสู่ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ หรือในรูปแบบ Person-to-Product 

จะเห็นได้ว่าการสร้างแบรนด์ส่วนบุคคลมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามกระแสของความสนใจของผู้คนได้ ส่วนการสร้างแบรนด์ธุรกิจจำเป็นจะต้องมีการวางแผนอย่างมีโครงสร้างเพื่อสื่อสารในฐานะผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ได้อย่างตรงไปตรงมา

แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าคุณจำเป็นต้องเลือกทำแนวทางใดแนวทางหนึ่ง กลับกันคือทั้งสองแนวทางนี้ต่างมีส่วนเสริมให้ธุรกิจต่างๆ สามารถรักษาความไว้ใจของกลุ่มลูกค้าได้ไม่แพ้กันเลย

ทำไมถึงควรทำ Personal Branding?

คำตอบนั้นง่ายมาก หัวใจสำคัญที่ช่วยให้แบรนด์ต่างๆ ยังรักษาฐานลูกค้าได้อย่างยาวนานก็คือความไว้ใจ ดังคำกล่าวของ Zig Ziglar นักสร้างแรงบันดาลใจระดับโลกที่กล่าวไว้ว่า “ถ้าคนชอบคุณ พวกเขาจะฟังคุณ แต่ถ้าพวกเขาไว้ใจคุณ พวกเขาจะทำธุรกิจกับคุณ” 

ที่มา: azquotes.com

มีตัวอย่างของภาพลักษณ์ของตัวบุคคลนับไม่ถ้วนที่ถูกส่งต่อ และใช้เพื่อเชื่อมต่อกับผู้บริโภค ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็อย่างเช่นในกลุ่มของธุรกิจ Fast Food ธุรกิจเครื่องดื่ม และแบรนด์รองเท้ายักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่ยอมลงทุนเซ็นสัญญากับเหล่าคนมีชื่อเสียงมากมายเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์และบริการของพวกเขา

ที่มา: meer.com

ตัวอย่าง เช่น เรื่องของผู้พันแซนเดอส์ หรือ Harland Sanders ผู้ก่อตั้ง KFC ที่ยังคงเป็นสัญลักษณ์และแบรนด์แอมบาสเดอร์ของแบรนด์ไก่ทอดของเขามาอย่างยาวนานแม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 1980

ตัวผู้พันแซนเดอส์มีวิสัยทัศน์ถึงแนวโน้มของธุรกิจของเขาในอนาคต โดยจะเห็นได้ว่าในช่วงปี 1950 เป็นต้นมา เขาพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ของตนเองให้กลายเป็นหน้าตาของ KFC ไม่ว่าจะเป็นการไว้เคราแพะ การย้อมหนวดและเคราเป็นสีขาว และผูกไทร์แบบเป็นเส้น (String tie)

ที่มา: blog.logomyway.com

แท้จริงแล้ว หัวใจสำคัญของ Personal Branding ก็คือ ความซื่อสัตย์และความไว้วางใจ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพเป็นรากฐานที่สำคัญของธุรกิจ แต่ความต้องการลูกค้าก็ยังประกอบไปด้วยเรื่องค่านิยมส่วนบุคคลที่เชื่อมโยงถึงตัวองค์กรธุรกิจโดยตรงก

การมีตัวตนของผู้นำภายในองค์กรในฐานะบุคคลที่ฉายแสงให้กับการแสดงค่านิยมที่ใช้สื่อวารอย่างซื่อสัตย์กับลูกค้าก็เป็นกลยุทธ์ที่ขาดไม่ได้เช่นกัน

และหากแบรนด์สามารถสร้างตัวตนของผู้นำขององค์กรได้ หลักการหรือค่านิยมที่คอยเชื่อมสามสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าไม่เพียงแต่จะถูกหล่อเลี้ยงให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังพัฒนาให้กลายเป็นจิตวิญญาณของแบรนด์ได้อีกด้วย

การขับเคลื่อนแคมเปญการตลาดของบริษัทด้วยชื่อแบรนด์หรือตราสัญลักษณ์ไม่เพียงพออีกอีกต่อไป ซึ่งนั่นเป็นเรื่องจริงที่ปรากฎให้เห็นมากขึ้นในทุกวันนี้ โดยในโลกออนไลน์

ความไว้ใจในตัวสินค้าและบริการต่างๆ กลายเป็นเรื่องยากขึ้นในสมัยนี้ ด้วยเหตุนี้ ใครบางคนจำเป็นต้องกลายเป็น “หน้าตา” และตัวแทนของแบรนด์ที่สร้างความน่าเชื่อถือและปลูกฝังความไว้ในใจให้แก่ผู้บริโภค และวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ “การบอกต่อแบบปากต่อปาก”

ตามรายงาน “Global Trust in Advertising” ของ Neilsen ในปี 2015 พบว่า มากกว่า 80% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกกล่าวว่าพวกเขาค่อนข้างเชื่อคำแนะนำของเพื่อนและครอบครัว

ผลสำรวจนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นในการสร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ซึ่งไม่จำกัดอยู่แค่การแนะนำแบบปากต่อปากผ่านทางคนรู้จัก แต่ยังรวมถึงโพสต์ของกลุ่มผู้บริโภคในสื่อออนไลน์ที่เรามักกันเป็นประจำอีกด้วย

5 วิธีการสร้าง Personal Branding ให้มีประสิทธิภาพ

1. กำหนดภาพลักษณ์เฉพาะตัว (Personal Brand)

ในขั้นตอนนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับการระบุคุณค่าหรือค่านิยมเฉพาะตัวของคุณ รวมทั้งลักษณะบุคลิกภาพ ทักษะ และความเชี่ยวชาญของคุณ ที่จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับตัวคุณ และสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ของคุณ

เมื่อคุณมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตัวตนของคุณแล้ว คุณสามารถใช้จุดแข็งเหล่านี้เพื่อสร้างการโปรโมต หรือคำโฆษณาเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อดึงดูดให้ผู้ติดตามรับรู้ว่า “ทำไมพวกเขาควรฟังสิ่งที่คุณพูด?”

พูดง่ายๆ ก็คือ คุณจำเป็นต้องพึ่งพิงทักษะการคิดสำนวนการขายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสื่อสารว่าคุณเป็นใครและสิ่งที่คุณพยายามจะนำเสนอ และแน่นอนว่าข้อความพวกนี้ควรจะกระชับ น่าจดจำ และดึงดูดใจ เพื่อช่วยให้คุณโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ

2. สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ (Online Presence)

ในยุคดิจิทัลแบบสมัยนี้ การมีตัวตนบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ระดับมืออาชีพ การสร้างโปรไฟล์ในสื่อโซเชียลมีเดีย

ตัวอย่างที่มักเห็นได้บ่อยก็คือ การปรับแต่งโปรไฟล์ LinkedIn เพื่อแสดงทั้งทักษะ หน้าที่การงาน ประวัติความสำเร็จ หรือแม้กระทั่งการแสดงให้ผู้ติดตามเห็นถึงบุคลิกภาพของคนคนนั้น

หลายๆ บริษัทมองว่า LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มที่ยอดเยี่ยมสำหรับการสร้างตัวตนทางออนไลน์แบบมืออาชีพ เพราะคุณสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ทั้งแบบ Personal Branding และ Business Branding อย่างมืออาชีพ และเฉพาะเจาะจงในอุตสาหกรรมนั้นๆ ขององค์กรไปพร้อมกันได้ง่าย

และส่วนที่ขาดไม่ได้เลยก็คือโปรไฟล์โซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นส่วนที่ควรเป็นมืออาชีพและสอดคล้องกับสิ่งที่จะเสนอให้แก่เหล่าผู้ติดตาม LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มที่ยอดเยี่ยมสำหรับการสร้างตัวตนทางออนไลน์แบบมืออาชีพ ดังนั้นอย่าลืมเพิ่มประสิทธิภาพโปรไฟล์ของคุณและมีส่วนร่วมกับมืออาชีพคนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมของคุณ

3. การสร้างเครือข่าย (Networking)

การสร้างเครือข่ายเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความสัมพันธ์ และขยายการเข้าถึงของคุณ เข้าร่วมกิจกรรมในอุตสาหกรรม เข้าร่วมองค์กรมืออาชีพ และมีส่วนร่วมกับผู้ชมของคุณบนโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างตัวเองให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาของคุณ

การสร้างเครือข่าย หรือ Networking ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้ผลอย่างมากในการสร้างความสัมพันธ์และขยายยอด Reach ของคุณในสื่ออนไลน์

สิ่งจำเป็นที่สุดคือการพยายามเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมของธุรกิจคุณ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมองค์กรมืออาชีพในธุรกิจสายนั้นๆ  การเพิ่มความมีส่วนร่วมกับผู้ติดตามของคุณบนโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างตัวเองให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาของแบรนด์คุณ

แน่นอนว่าสร้างเครือข่าย ให้มุ่งเน้นที่การสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายมากกว่าแค่การแจกหรือรวบรวมนามบัตรจากคนในวงการ แต่คุณจำเป็นต้องใช้ความพยายามเพื่อรักษาการติดต่อสื่อสารกับคนเหล่านั้นแม้จะแยกย้ายจากงานสังคมไปแล้ว

4. มีจุดยืน (Value)

การจะสร้างพื้นที่ในโลกออนไลน์ก็คงหนีไม่พ้นการสร้างและแบ่งปันเนื้อหาที่มีคุณค่าและ Impact ให้ตรงใจกลุ่มผู้ติดตามของคุณอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเขียน Blog การอัปเดตโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย หรือเนื้อหาวิดีโอ ให้มุ่งเน้นที่การให้คุณค่าและสร้างความไว้วางใจกับกลุ่ม Audience

โดยเนื้อหาที่สร้างนั้นควรมุ่งเน้นที่การให้คุณค่าและสร้างความไว้วางใจกับผู้ชมของคุณ วิธีที่เริ่มต้นง่ายๆ ก็เช่น การแบ่งปันความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของคุณ และมุ่งมั่นที่จะให้ความรู้ หรืออาจเป็นการส่งข้อความที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ รวมไปถึงการให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมก็ได้เช่นกัน

5. มีความจริงใจ (Authentic)

นอกนจากเนื้อหาที่ส่งไปยังผู้ติดตามควรจะมีคุณค่าและสร้างความไว้วางจแล้ว ความถูกต้องของเนื้อหาเองก็ยังเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการสร้าง Personal Branding ที่มั่นคง มีความเป็นตัวของตัวเอง

และเมื่อมีความถูกต้องและเป็นตัวของตัวเองของเนื้อหาผสมผสานกับการแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัว หรือประสบการณ์โดยตรงนั้นก็จะทำให้คุณสามารถสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงกับกลุ่ม Audience ในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

สุดท้ายแล้ว Personal Branding ก็ควรเป็นภาพสะท้อนที่ถูกต้องและซื่อสัตย์ว่าคุณเป็นใคร ดังนั้นอย่ากลัวที่จะเปิดเผยให้บุคลิกของคุณเปล่งประกายออกมา ความสอดคล้องกับข้อความและการสร้างแบรนด์ของคุณในทุกแพลตฟอร์มจะส่งเสริมให้เกิดความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือให้กับผู้ติดตามของคุณเอง

4 บุคคลตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการทำ Personal Branding

Elon Musk

ที่มา: tradebrains.in

ณ วินาทีนี้ ไม่ว่าใครก็คงไม่รู้จัก Elon Musk ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวงการเทคโนโลยี หรือการตลาด หรือแม้กระทั่งผู้คนทั่วไป โดยเขาถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน Personal Brand ที่มีอิทธิพลและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก

แค่พูดชื่อแบรนด์อย่าง SpaceX, Tesla หรือแม้กระทั่ง Twitter แน่นอนว่าหน้าของ Elon Musk คงเป็นสิ่งแรกที่โผล่ขึ้นมาในใจของใครหลายๆ คน

แต่เราเองก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมี Personal Brand ขนาดใหญ่ของเขาเองก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะในฐานะที่เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ทุกย่างก้าวของเขาล้วนแต่นำมาซึ่งกระแสข้อถกเถียงในสังคมอยู่เสมอ

แต่สุดท้ายแล้ว Elon Musk ก็ยังคงเป็นบุคคลประสบความสำเร็จในการแบรนด์ส่วนบุคคลที่ทรงพลังอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เขากลายเป็นหน้าตาของบริษัทนวัตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Twitter บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla บริษัทยานอวกาศอย่าง SpaceX บริษัทวิจัยระบบประสาท Neuralink และอีกมากมาย

สิ่งที่เราเรียนรู้ได้จาก Musk ก็คือ Personal Brand นั้นสามารถมีอิทธิพลต่อมูลค่าของบริษัทได้อย่างไรบ้าง ตัวอย่างเช่น ความนิยมของ Musk เพิ่มขึ้น(และลดลง) ควบคู่ไปกับราคาหุ้นของ Twitter

Gary Vaynerchuk

ที่มา: garyvaynerchuk.com

Gary Vaynerchuk หรือที่รู้จักกันในนาม Gary Vee เจ้าพ่อสื่อประเภท Self-Help, นักเขียนหนังสือขายดีที่สุดของ New York Times, นักลงทุน,  นักทำ Podcast และ Vlog และหนึ่งในนักพูดที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดคนหนึ่ง

Gary Vee ถือเป็นหนึ่งในนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดในยุคปัจจุบันเกี่ยวกับการทำธุรกิจและการสร้างสื่อ หลังจากที่สามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตาของที่ไม่แน่นอนบริษัท 1,000 แห่งให้กลายเป็นเพชรได้

ด้วยเอเจนซี่โฆษณา (Advertising Agency) ที่ให้บริการเต็มรูปแบบของเขาที่ชื่อว่า “VaynerMedia” นั่นก็ได้สร้าง Personal Brand และอิทธิพลระดับโลกให้แก่เขาในฐานะนักการตลาดดิจิทัลที่ช่ำชองที่สุดคนนึง

Neil Patel

ที่มา: neilpatel.com

หากคุณเป็นนักการตลาดดิจิทัลหรือสนใจเรื่องนี้ คงจะเป็นไปไม่ได้ถ้าคุณไม่เคยบังเอิญเจอ Neil Patel อย่างน้อยคุณอาจเคยเห็นใบหน้าของ Neil ในเนื้อหาออนไลน์ทั้งหมดของเขา

โดย Neil Patel เป็นทั้งนักการตลาดออนไลน์ คนเขียนบล็อก (blogger) ผู้ประกอบการ และนักลงทุนที่มีชื่อเสียง ซึ่งได้รับการยอมรับจากองค์การสหประชาชาติว่าเป็นผู้ประกอบการ 100 อันดับแรกที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี

แนวทางในการสร้าง Personal Beand ที่สำคัญของเขาก็คือการหล่อเลี้ยงกลุ่มผู้ติดตามทางโลกออนไลน์ด้วยเนื้อหาและบริการที่มีคุณค่า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงอย่าง Ubersuggest

และด้วยวิสัยทัศน์ก้าวไกลของเขาในการรักษาความต่อเนื่องของการผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและคุณค่ามาตลอดทำให้ Neil Patel มีผู้อ่านบล็อกของเขาทั้งหมด 2.4 ล้านคน มีกลุ่มผู้ติดตาม 1.6 ล้านคนบนโซเชียลมีเดีย และกลุ่มผู้ฟังพอดแคสต์ 600,000 ครั้งต่อเดือน และยอดดูวิดีโอ 730,000 ครั้งต่อเดือน

Brian Dean

ในโลกออนไลน์ที่เต็มไปด้วย “ผู้เชี่ยวชาญ SEO” (SEO splecialist) ซึ่งต่างก็มีอำนาจในการเพิ่มการเข้าชมเว็บได้อย่างทันตาเห็นภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทำให้เเป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้ว่าเราควรเชื่อเนื้อหาจากใครดี

Brian Dean เป็นนักเขียนบทความออนไลน์ โดยเฉพาเนื้อหาเรื่อง  Google SEO ที่มีคุณภาพ ละเอียดและความเป็น  Original สูง จะเห็นได้ว่าแหล่งข้อมูลของเขามักมาจากความรู้ที่สามารถรับรองความถูกต้องได้จากบุคคลที่มีประสบการณ์จริง และมีความชัดเจนอยู่เสมอ

เว็บไซต์ของเขาจึงถูกจัดตำแหน่งให้กลายเป็นเว็บไวต์ของผู้เชี่ยวชาญที่มีความน่าเชื่อถือ และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Personal Brand ของเขามักเป็นการยกประเด็นเรื่องความไว้วางใจในวงการ SEO นั่นเอง

สรุป

จะเห็นได้ว่า Personal Branding นั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำธุรกิจในยุคดิจิทัลที่จำเป็นจะต้องสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก และสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ของตัวเองในตลาดที่มีการแข่งขันสูง

โดยการจะสร้างกลยุทธ์สำหรับการสร้างแบรนด์ส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพ หัวใจหลักก็คือการมีจุดยืนและสร้างคุณค่าของแบรนด์ที่ไม่เหมือนใคร

คุณสามารถใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพหรือสร้าง Networking หรือปแม้กระทั่งการรับฟัง Feedback พื่อปรับปรุงแนวทางของแบรนด์ในอนาคต

 การใช้กลยุทธ์เหล่านี้จะทำให้คุณสามารถเพิ่มการรับรู้ Personal Brand ในหมู่ผู้ติดตามและช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจได้

Content shifu ยังมีบทความแนะนำซึ่งเป็น Material ที่ช่วยให้คุณสร้างสรรค์รูปบน Facebook เจ๋งๆได้ ดูได้ที่

ยิ่งพื้นฐานแน่นเท่าไร ก็ยิ่งต่อยอดได้ไกลเท่านั้น รวมบทความกลยุทธ์การตลาดที่เป็นเสมือนหัวใจของธุรกิจ และ นักการตลาดทุกคน ต้องเข้าใจให้ลึกซึ้ง จดจำให้ได้!