โลกมันกว้าง ทุกวันนี้การค้นหาตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากจะต้องค้นหาอาชีพที่ใช่แล้ว คุณยังพบอีกว่าในอาชีพนั้นๆ มีสายงานอีกมากมาย ไม่เว้นแม้แต่สาย Content Creator เองก็มีสายย่อยอีกหลายสายเช่นกัน คำถามคือ…คุณรู้หรือยังว่าบุคลิกของคุณเหมาะกับการเขียนหรือทำคอนเทนต์ประเภทใด? และสไตล์การทำงานของคุณเป็นอย่างไร? มาค้นหาคำตอบไปด้วยกัน

10 คำถามค้นหาว่าคุณคือ Content Creator ประเภทไหน

คำอธิบายเกี่ยวกับแบบทดสอบ

  1. เรามีคำถามทั้งหมด 10 ข้อแบ่งเป็น 2 ตอนคือทดสอบ Personality Style 5 ข้อและทดสอบ Working Style อีก 5 ข้อ
  2. เมื่อได้คำตอบบุคลิกและสไตล์การทำงานของคุณแล้ว เราจะมีคำอธิบายเกี่ยวกับคำตอบแต่ละข้อให้หลังจากนี้  

EM = Emotional

L = Logical

S = Sell/Convince

ED = Educate

Part I Personality Style คำถามบ่งบอกสไตล์การเขียนคอนเทนต์ของคุณ

Quiz นี้จะประกอบไปด้วยคำถามทั้งหมด 5 ข้อ เพื่อถามเกี่ยวกับรูปแบบการคิดและตัดสินใจของคุณ เริ่มต้นทำแบบทดสอบได้ที่ด้านล่างนี้

  1. เมื่อคุณมีข้อมูลที่จะต้องพิจารณา คุณสนใจอะไรมากกว่ากัน
  • สนใจข้อมูล ข้อเท็จจริง >> L
  • สังเกตวิธีการเขียน การใช้ภาษามากกว่า >> EM
  1. คุณมักเริ่มต้นเขียนคอนเทนต์หัวข้อใหม่อย่างไร?
  • คุณเริ่มเขียนจากโจทย์ที่ได้รับหรือตามเป้าหมาย >> L
  • คุณเริ่มเขียนจากความรู้สึก หรืออารมณ์ของตัวเองในตอนนั้น >> EM
  1. คนอื่นมักจะพูดถึงคอนเทนต์ของคุณอย่างไร?
  • เหมาะกับการใช้เป็น Reference ในหัวข้อที่เก่ียวข้อง >> L
  • ถูกเอาไปแชร์หรือเล่าต่อแบบไม่เป็นทางการ >> EM
  1. คุณชอบใช้คำพรรณนาเพื่อทำให้เห็นภาพหรือแสดงความรู้สึก >> ใช่ (EM) ไม่ใช่ (L)
  2. เนื้อหาคอนเทนต์คุณละเอียดแค่ไหน?
  • ไม่ละเอียดมาก เน้นให้เห็นภาพรวม >> EM
  • ละเอียด เน้นเจาะลึกข้อมูล >> L

ได้คำตอบออกมาแล้ว เก็บไว้ในใจก่อน มาลองดูคำถามในส่วนถัดไป

Part II Working Style คำถามค้นหาการทำงานที่ใช่

Quiz นี้จะประกอบไปด้วยคำถามทั้งหมด 5 ข้อ เพื่อถามเกี่ยวกับผลงานและเป้าหมายที่คุณมักจะชอบทำ

  1. บทความของคุณมักจะมีการสื่อสารอย่างไร?
  • บอกว่า “ทำอะไร” หรือ “ทำอย่างไร” >> ED
  • บอกว่า “ทำไมต้องทำ” >> S
  1. คุณชอบเขียนคอนเทนต์แบบเป็นขั้นเป็นตอน (Step-by-step) >> ใช่ (ED) ไม่ใช่ (S)
  2. คุณมักจะเขียนบทความขนาดยาว (มากกว่า 1,000 คำ) >> ใช่ (ED) ไม่ (S) 
  3. ให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่ากัน
  • เนื้อหาครบถ้วน มีประโยชน์
  • โดนใจคนอ่าน มี Copywriting ที่ดี 
  1. คอนเทนต์ของคุณมีการยกตัวอย่างแบบไหน
  • เรื่องเล่า >> S
  • ข้อมูลที่ผ่านการค้นคว้า >> ED 

ถ้าคุณได้คำตอบแล้ว เรามาดูคำอธิบายแต่ละประเภทกันเลย

Personality Style คอนเทนต์สไตล์ไหนใช่คุณ?

Content Creator

ตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนตัดสินใจมี 2 ตัวแปรหลักๆ คือ ‘อารมณ์’ และ ‘เหตุผล’ คุณถนัดเขียนหรือทำคอนเทนต์แบบไหนมากกว่ากัน…ถ่ายทอดด้วยอารมณ์หรือถ่ายทอดด้วยเหตุผล?

1. Emotional : สื่อสารด้วยอารมณ์

คอนเทนต์ที่สะท้อนอารมณ์ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเขียนงานนิยาย รักหวานแหววหรือดราม่าเคล้าน้ำตา ทำหนังสั้น แต่คุณสามารถบอกเล่าเรื่องราวที่สามารถใช้อารมณ์สื่อสารเพื่อทำให้ผู้อ่านรับรู้ จดจำได้ คุณอาจจะใช้การบรรยาย การเล่าเรื่อง ภาพประกอบ ตั้งคำถาม แทรกมุขตลก เป็นต้น

ข้อดี

งานวิจัยกล่าวว่า ผู้คนมักจะตัดสินใจบนพื้นฐานของอารมณ์ คอนเทนต์ลักษณะนี้จึงสามารถชี้นำความรู้สึกของผู้อ่านได้ เมื่อคน “มีความสุข” ก็จะอยากแบ่งปัน คนที่ “รู้สึกเศร้า” จะมีความเห็นอกเห็นใจและเกิดการเชื่อมต่อกัน นอกจากนี้ ‘อารมณ์’ ยังสามารถสร้าง First Impression ได้เป็นอย่างดี ทำให้แบรนด์ของคุณมีความโดดเด่นมากขึ้น

ข้อเสีย

แม้อารมณ์จะเป็นเหมือนกับ ‘อาวุธ’ ที่มีประสิทธิภาพ แต่มันก็เปรียบเป็น ‘สภาพอากาศ’ ด้วยเช่นกัน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา ดังนั้นอารมณ์อาจจะดึงความสนใจได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น และไม่สามารถสื่อสารวัตถุประสงค์ได้ชัดเจนเท่าที่ควร

ตัวอย่าง

“My Father is a Liar” (MetLife Heart-touching Commercial) https://www.youtube.com/watch?v=dBw5rjWjZSk เป็นโฆษณาที่เรียกน้ำตาเกือบทุกคน คอนเทนต์สามารถทำให้ผู้ชมจดจำแบรนด์ได้ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวซาบซึ้งจับใจของพ่อที่พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกมีชีวิตดีขึ้น

2. Logical : นำเสนอด้วยข้อมูลและเหตุผล

คอนเทนต์ลักษณะนี้เหมาะกับคนสายข้อมูล เน้นข้อเท็จจริงหรือสรุปจากประสบการณ์โดยตรง การเขียนหรือทำคอนเทนต์รูปแบบนี้ต้องผ่านกระบวนการค้นคว้า คิดวิเคราะห์ เรียบเรียงข้อมูลและอธิบายรายละเอียด ดังนั้นไม่แปลกที่คอนเทนต์จะค่อนข้างยาว (เกิน 1,000 คำไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณ) หรือถ้าเป็นวิดีโออาจจะมีเนื้อหาข้อมูลเยอะสักหน่อย

ข้อดี

แม้การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคจะขึ้นกับอารมณ์…แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะผู้บริโภคยุคนี้มีการ Research ก่อนซื้อของมากขึ้น สินค้าบางกลุ่มเองก็จำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อใช้ไตร่ตรองก่อน เช่น สินค้าราคาสูงอย่างบ้าน รถยนต์ ประกันชีวิต นอกจากนี้การที่คุณรู้จักการใช้ข้อมูลและความรู้ยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ “ผู้เชี่ยวชาญ” ที่น่าเชื่อถือ น่าไว้วางใจให้กับแบรนด์ของคุณได้อีกด้วย

ข้อเสีย

อย่าสนใจแต่ส่วน “สมอง” จนลืม “หัวใจ” เพราะคอนเทนต์ที่อัดแน่นด้วยข้อมูลแต่ขาดการเล่าเรื่องที่ดีอาจจะทำให้ความน่าสนใจลดลง ไม่ต่างอะไรจากอาหารที่ไร้รสชาติ

ตัวอย่าง

  • คอนเทนต์สายข้อมูลของ Content Shifu เช่น บทความเกี่ยวกับ Facebook Ads หรือเทคนิคการทำ SEO มีทั้งข้อมูลและสรุปประสบการณ์ตรงจากผู้เขียนโดยตรง เน้นสื่อสารโดยการใช้ข้อมูลค่อนข้างมา

Digital Content Writer hbspt.cta.load(3944609, ‘0594cf2a-25fd-4a59-a653-25a01034c6d2', {});

Working Style คุณชอบทำงานแบบใด?

คอนเทนต์ส่วนใหญ่ล้วนมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร เราจะมาดูว่าคุณมักจะเขียนคอนเทนต์เพื่ออะไร? ต้องการโน้มน้าวใจคน หรือเน้นที่การให้ความรู้มากกว่ากัน?

1. Sell หรือ Convince : ชักจูงให้ทำตาม

เราเห็นการโน้มน้าวเป็นประจำอยู่แล้วบนโลกอินเทอร์เน็ต สื่อต่างๆ ตามท้องถนนและร้านค้า คอนเทนต์ประเภทนี้ต้องการชักจูงผู้อ่านให้คล้อยตามเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ คุณมักจะมีสไตล์การเขียนที่บอกว่า “ทำไมต้องทำ” โดยแทรกแสดงความคิดเห็นหรือเหตุผลลงไป ใส่เรื่องเล่าเพื่อขยายความและตอกย้ำไอเดีย แล้วก็มี Call-to-Action บอกให้ผู้อ่านทำอะไรต่อ

ข้อดี

การขายหรือการโน้มน้าวถือเป็น “ท่าไม้ตาย” เมื่อคุณต้องการเพิ่มการตัดสินใจซื้อ เพราะจะตอกย้ำให้ผู้อ่านเห็นถึงความสำคัญและความคุ้มค่า หากคุณชอบทำงานสไตล์นี้ คุณเหมาะกับการทำงานเขียนอย่าง Copywriting, วิดีโอ, เกมส์, Quiz, เป็นต้น

ข้อเสีย

ระวังหากคอนเทนต์ของคุณสื่อสารแบบทื่อจนเกินไป เช่น แสดงเจตนาขายอย่างชัดเจนโดยที่ขาดศิลปะการสื่อสาร หรือไม่สามารถทำให้คนเข้าใจว่าสินค้าของคุณจะแก้ปัญหาเขาได้อย่างไร แทนที่จะรู้สึกคล้อยตามกลายเป็นการสร้างกำแพง เพราะไม่มีใครชอบที่จะถูกบอกว่าต้องทำอะไร (เหมือนประโยคคำสั่ง)

ตัวอย่าง

ที่มารูป theguardian.com

แคมเปญโฆษณา “Look at Me” ผสมผสานเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ แสดงภาพใบหน้าของหญิงสาวที่ถูกทำร้าย จนเมื่อมีใครเดินผ่านแล้วมองที่ป้ายโฆษณา ภาพผู้หญิงจะถูกเปลี่ยนเป็นใบหน้าที่ได้รับการรักษาแล้ว เป็นการสื่อสารว่า “WE CAN STOP IT” เราทุกคนสามารถช่วยเหลือและสร้างการเปลี่ยนแปลงปัญหาความรุนแรงนี้ได้

2. Educate : เน้นให้ความรู้

คุณเลือกส่งมอบคุณค่าโดยใช้ ‘ความรู้’ เป็นสื่อกลาง เน้นการสอนเปรียบเป็นอาชีพครู คอนเทนต์ของคุณจึงมีการอธิบายแบบเป็นขั้นเป็นตอน (Step-by-Step) มักจะตั้งชื่อโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า “How to…”

ข้อดี

คอนเทนต์เพื่อให้ความรู้เป็นการโฟกัสที่การ ‘ให้’ คุณค่าแก่ผู้เสพ สามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ในเชิงบวกให้กับแบรนด์ได้ คุณเหมาะกับการทำงานเขียนบทความ, รายงาน, Checklist, eBook, วิดีโอความรู้ เป็นต้น

ข้อเสีย

ลักษณะคอนเทนต์ของคุณจะเน้นอธิบายว่า “ทำอะไร?” หรือ “ทำอย่างไร?” แต่ไม่ได้บอกเหตุผลว่า “ทำเพื่ออะไร?” อาจจะไม่สามารถทำให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างคอนเทนต์และตัวเขา เนื่องจากจุดประสงค์ ผลลัพธ์หรือความคุ้มค่าไม่ชัดเจน

ตัวอย่าง

Shifu แนะนำ
ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าสินค้าที่คุณมีเหมาะกับการใช้คอนเทนต์รูปแบบใด เราขอแนะนำบทความการวางกลยุทธ์ Content Marketing ด้วยการใช้ FCB Grid ช่วยคุณวางแผนคอนเทนต์ให้เข้ากับสินค้าแต่ละประเภท

สรุป

คอนเทนต์คือภาพสะท้อนตัวตนของคุณ บุคลิกและความคิดของคุณมักจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านผลงาน อย่างไรก็ตามคุณอาจจะไม่ได้มีบุคลิกแบบใดแบบหนึ่งชัดเจนฉีกแนวไป เพราะในการทำงานจริงอาจจะต้องใช้การผสมผสานกันหลายๆ แบบ ซึ่งแต่ละสไตล์ก็มีประโยชน์แตกต่างกันไป ยิ่งคุณรู้จักสไตล์การเขียนของตัวเองมากเท่าไร คุณก็จะยิ่งเข้าใจข้อดี ข้อเสียได้มากขึ้นเท่านั้น และนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาต่อไป

ตาคุณแล้ว

คุณเป็น Content Creator สายไหน? ชอบผลิตคอนเทนต์สไตล์ไหน แล้วอยากจะพัฒนาอย่างไรต่อไป? ได้ออกมาแล้ว อย่าลืมแชร์คำตอบของคุณให้กับเราและเพื่อนๆ ได้รู้ 🙂