การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis) เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นักการตลาดทำกลยุทธ์ทางการตลาดได้ตรงจุด ด้วยการวิเคราะห์คู่แข่ง นักการตลาดจะสามารถรู้ได้ว่าลูกค้าซื้อสินค้า/บริการ จริงๆ แล้วพวกเขานิยมใช้สินค้า/บริการใด ของเราหรือของคู่แข่งมากกว่า อีกทั้งยังสามารถดูความเป็นไปได้ของการตลาดและปรับแผนกลยุทธ์ให้ตรงจุด เพื่อเอาชนะคู่แข่งได้
ซึ่งการนำ Social Listening Tools เข้ามาช่วยวิเคราะห์คู่แข่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว นักการตลาดสามารถใช้ Social Listening Tools เพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อฟังเสียงของลูกค้า หรือการพูดคุยของผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับสินค้า/บริการของเราได้ เช่น โพสต์บนโซเชียลมีเดีย, รีวิวสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
และในบทความนี้ เราจะชวนคุณไปรู้จักกับฟีเจอร์ช่วยวิเคราะห์คู่แข่งจากหนึ่งใน Social Listening Tools ที่หลายๆ คนน่าจะพอคุ้นเคยก็คือ ZOCIAL EYE กันค่ะ
ป.ล. ปกติ ZOCIAL EYE เป็นระบบที่แบรนด์ใหญ่ๆ ใช้กันเพราะราคาค่อนข้างสูง เริ่มต้นที่ประมาณเดือนละ 30,000 บาท แต่ Content Shifu ไปคุยกับทาง Wisesight มา แล้วเขาเข้าใจดีว่า Social Listening ก็สำคัญสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเหมือนกัน พวกเขาก็เลยทำ Package พิเศษที่เล็กลงมา (ฟีเจอร์น้อยกว่า) และถูกกว่า Package สำหรับบริษัทใหญ่กว่า 10 เท่า เริ่มต้นที่เดือนละ 2,500 บาทเพิ่มขึ้นมา
อันนี้เป็น Package เฉพาะที่เขาไม่ได้เปิดขายแบบทั่วๆ ไป ถ้าใครสนใจ คลิกที่ลิงก์นี้หรือทัก LINE ของ Wisesight (@zocialeye.sb) ไปแล้วแจ้ง Code ‘contentshifu’ ทาง Wisesight จะเสนอ Package พิเศษให้
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
การทำ Competitor Analysis คืออะไร?
การทำ Competitor Analysis คือ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งในตลาดหรือธุรกิจเดียวกัน เพื่อให้เข้าใจแนวโน้มและกลยุทธ์ของพวกเขา ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจและพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันขององค์กรหรือธุรกิจของเราได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งการวิเคราะห์คู่แข่งจะช่วยให้นักการตลาดสามารถระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของคู่แข่ง รวมไปถึงเทคนิคและกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การวิเคราะห์คู่แข่งยังช่วยให้เห็นโอกาสในตลาดและพัฒนากลยุทธ์การตลาดได้ดีขึ้นด้วย
ความสำคัญของการใช้ Social Listening Tools เพื่อทำ Competitor Analysis
ช่วยให้เข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้นถึง Insight
การใช้ Social Listening Tools เพื่อทำ Competitor Analysis จะช่วยให้นักการตลาดรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ลูกค้าไม่พอใจหรือชอบอะไร ด้วย data ที่ละเอียด นอกจากจะเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้นแล้วยังสามารถต่อยอดข้อมูลที่ได้ไปสร้างกลยุทธ์การตลาดหรือทำแคมเปญการตลาดในอนาคตได้เลยทีเดียว
ต่อยอดข้อมูลสร้างแคมเปญการตลาด หรือคอนเทนต์แบบ real-time
ช่วยให้นักการตลาดสามารถจับประเด็นและนำ data ที่ได้มาทำคอนเทนต์แบบ real-time หรือต่อยอดแคมเปญการตลาดลงบนโซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ ได้ทันแบบไม่ตกเทรนด์
เข้าใจภาพรวมของธุรกิจ/แบรนด์
ช่วยให้นักการตลาดรู้ทันทุกความเคลื่อนไหวในการทำธุรกิจ/แบรนด์ เข้าใจภาพรวมของธุรกิจ/แบรนด์ ว่ามีคนพูดถึงเราอย่างไรบ้าง หรือรู้ความเคลื่อนไหวของ/ธุรกิจแบรนด์ที่เป็นคู่แข่งว่าเขามีการใช้แคมเปญใด เสียงตอบรับของลูกค้าเป็นอย่างไร หรือเขาใช้สื่อที่มีอิทธิพลอย่างอินฟลูเอนเซอร์เจ้าไหนบ้าง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้นักการตลาดทำงานได้ง่ายขึ้น
ช่วยหาอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมมาต่อยอดในการทำการตลาด
ช่วยให้ธุรกิจ/แบรนด์ได้รู้ว่าใครคือผู้มีอิธิพลกับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า/บริการของเรา เช่นฟีเจอร์ที่แสดงผลของ Top User โดยจะเรียงลำดับผู้ที่ได้รับเอนเกจเมนต์มากที่สุดในแต่ละแพลตฟอร์ม ของ ZOCIAL EYE ซึ่งจะช่วยให้นักการตลาดสามารถตัดสินใจเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะกับธุรกิจหรือแบรนด์ของเราได้
แนะนำการวิเคราะห์คู่แข่งด้วย Social Listening Tools จาก ZOCIAL EYE
เริ่มจากมารู้จักกับฟีเจอร์ “Comparison View” ตัวช่วยวิเคราะห์คู่แข่งจาก ZOCIAL EYE ซึ่งเจ้าฟีเจอร์ Comparison View นี้ เป็นหนึ่งในฟีเจอร์หลักของ ZOCIAL EYE ที่มีฟังก์ชันสำหรับนำมาใช้เปรียบเทียบเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียตามที่ผู้ใช้งานต้องการ ดังนี้
Daily messages
คือ ส่วนที่ใช้ในการเปรียบเทียบจำนวนของข้อความ (Messages) ในแต่ละหมวดหมู่ของคีย์เวิร์ดที่ตั้งไว้ โดยสามารถเลือกระยะเวลาในการเปรียบเทียบได้ เช่น ใช้เปรียบเทียบว่าเดือนไหนมีจำนวนข้อความมากหรือน้อยกว่ากัน อย่างในตัวอย่างจะเห็นว่าในวันที่ 12 เมษายนมีจำนวนข้อความมากกว่าวันอื่นๆ และเมื่อคลิกเข้าไปดูก็พบว่าวันที่ 12 เมษายน เป็นวันที่หลายๆ เพจและแบรนด์มีการประกาศโปรโมชันและเริ่มเล่นคอนเทนต์เกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์พร้อมๆ กัน ซึ่งทำให้เห็นเทรนด์และกระแสแบบรายวันของคู่แข่งว่ากำลังทำอะไร มีการออกแคมเปญอะไรบ้าง ทำไมคนพูดถึง หรือคู่แข่งเราเขามีการทำคอนเทนต์อะไรที่น่าสนใจจนกลายเป็นไวรัล เป็นต้น
Period Comparison
Period Comparison จะแบ่งออกเป็น 2 ฟังก์ชันด้วยกัน คือ
Period-over-Period Channel: เป็นการเปรียบเทียบแพลตฟอร์มที่มีการพูดถึงแบรนด์นั้นๆ ในช่วงเวลาที่ต้องการทราบ
จากตัวอย่าง ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-ปลายเดือนมีนาคม เปรียบเทียบกับช่วงปลายเดือนมีนาคม-ปลายเดือนเมษายน โดยจะเห็นว่า ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-ปลายเดือนมีนาคม ตลาด Food delivery มีการเน้นโปรโมตในช่องทาง Twitter มากที่สุด ในขณะที่ต่อมาในช่วงปลายเดือนมีนาคม-ปลายเดือนเมษายน หรือช่วงของเทศกาลสงกรานต์ จะมีกระแสจาก Facebook มากที่สุด
Period-over-Period Comparison: เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลากับหมวดหมู่ของคู่แข่งที่จัดทำเอาไว้ เพื่อให้เห็นว่าในช่วงเดือนที่แล้วกับช่วงเดือนนี้มีแบรนด์ไหนถูกพูดถึงใน % เท่าไหร่ โดยวงกลมวงในจะเป็นสัดส่วนของช่วงเวลาในเดือนที่แล้ว และวงกลมวงนอกจะเป็นสัดส่วนของแบรนด์แต่ละแบรนด์ในช่วงเดือนปัจจุบัน
จากตัวอย่าง จะเห็นว่าในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-ปลายเดือนมีนาคม Grab มีสัดส่วนของข้อความที่ถูกพูดถึงมากที่สุด และยังคงถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงปลายเดือนมีนาคม-ปลายเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์อีกด้วย
ฟังก์ชันที่ทำให้เห็นว่าเกิดการพูดถึง (Voice) คำค้นหาที่เราต้องการทราบเกิดในช่องทางไหนมากที่สุด แพลตฟอร์มไหนพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง ได้รับความสนใจในแง่มุมไหน เพื่อที่เราจะได้นำมาปรับใช้กับกลยุทธ์การตลาด หรือเพื่อเป็นแนวทางตัดสินใจเลือกช่องทางการใช้สื่อในการแข่งขันที่จะได้รับความสนใจมากกว่า เป็นต้น
Sentiments
เป็นมุมมองของการทำ Competitor Analysis ที่ทำให้เห็นว่า ในแต่ละ Category ของคำค้นหาถูกพูดถึงในแง่บวก (แถบสีเขียว) แง่ลบ (แถบสีแดง) หรือแบบกลางๆ (แถบสีเหลือง) ซึ่งช่วยให้นักการตลาดสามารถวิเคราะห์คู่แข่งได้ว่า แต่ละแบรนด์หรือแต่ละแคมเปญในสายตาของลูกค้าเป็นอย่างไรบ้าง และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแบรนด์ของเราเป็นอย่างไร หรือถ้าแบรนด์ไหนถูกพูดถึงในแง่ลบมากเป็นพิเศษ ก็สามารถดูแล้วนำมาปรับกับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด หรือวางแผนเพื่อแก้ Crisis ที่อาจเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์กับแบรนด์/ธุรกิจของเราได้
และนอกจากมุมมองข้างต้น ฟีเจอร์ Comparison View จาก ZOCIAL EYE ยังมีมุมมองอื่นๆ ที่นักการตลาดสามารถนำมาใช้ดูประกอบเพิ่มเติมเพื่อปรับแผนการทำการตลาดเพื่อเอาชนะคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็น Word Clouds ที่แสดงให้เห็นคำ (Tag) ที่ถูกใช้มากที่สุด, Influencers ที่พูดถึงแบรนด์ในคีย์เวิร์ดที่เราต้องการค้นหามากที่สุดและยังดูประสิทธิภาพของแต่ละเพจว่ามีเอ็นเกจเมนต์ต่อโพสต์มากน้อยแค่ไหนได้อีกด้วย หรือมุมมอง Top messages เพื่อใช้ดูโพสต์ที่ได้รับความนิยมจากเพจ/อินฟลูเอนเซอร์ที่พูดถึงคำค้นหาที่เราต้องการทราบ ทำให้นักการตลาดเห็นได้ว่าโพสต์หรือคอนเทนต์แนวไหนที่ได้รับความนิยม ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์/แคมเปญการตลาดต่อไปได้
Shifu แนะนำ
Content shifu ยังมีบทความแนะนำเกี่ยวกับ ZOCIAL EYE ดังนี้
สรุป
จะเห็นได้ว่า การนำ Social Listening Tools เข้ามาใช้ช่วยทำ Competitor Analysis นั้น นอกจากจะทำให้นักการตลาดได้เห็นประสิทธิภาพหรือการพูดถึงของธุรกิจฝแบรนด์เราเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งได้แล้ว ยังสามารถใช้วิเคราะห์ภาพรวมของตลาด (Market Analysis) เพื่อดูว่ามีคนพูดถึงสินค้า/บริการของเราอย่างไรบ้าง หรือจะใช้เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสื่อสารในช่องทางต่างๆ ก็ได้เช่นกัน
ตาคุณแล้ว
หากใครที่สนใจการทำ Competitor Analysis ด้วย Social Listening Tools อย่าง ZOCIAL EYE ที่เรานำมายกตัวอย่างให้ดูด้านบน ก็สามารถติดต่อ Wisesight เพื่อขอรับคำแนะนำการใช้งานเพิ่มเติมกันได้เลย
ปกติ ZOCIAL EYE เป็นระบบที่แบรนด์ใหญ่ๆ ใช้กันเพราะราคาค่อนข้างสูง เริ่มต้นที่ประมาณเดือนละ 30,000 บาท แต่ Content Shifu ไปคุยกับทาง Wisesight มา แล้วเขาเข้าใจดีว่า Social Listening ก็สำคัญสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเหมือนกัน พวกเขาก็เลยทำ Package พิเศษที่เล็กลงมา (ฟีเจอร์น้อยกว่า) และถูกกว่า Package สำหรับบริษัทใหญ่กว่า 10 เท่า เริ่มต้นที่เดือนละ 2,500 บาทเพิ่มขึ้นมา
อันนี้เป็น Package เฉพาะที่เขาไม่ได้เปิดขายแบบทั่วๆ ไป ถ้าใครสนใจ คลิกที่ลิงก์นี้หรือทัก LINE ของ Wisesight (@zocialeye.sb) ไปแล้วแจ้ง Code ‘contentshifu’ ทาง Wisesight จะเสนอ Package พิเศษให้