ทำไมเวลาค้นหา Keyword หรือ Topic บางอย่างที่อยากรู้ ถึงต้องเจอเว็บไซต์นั้นขึ้นมาเป็นอันดับแรก บนหน้า Google ด้วยนะ ลองค้นหาคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็เจอเว็บไซต์นี้อีกแล้วแซงหน้าเว็บอื่นๆ หมดเลย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของกลุ่มคนที่ที่ชื่อเรียกว่า SEO Specialist 

หลายคนอาจจะร้องอ๋อหรือเอ๊ะกันออกมาบ้าง

ถ้าคุณกำลังสนใจในสายอาชีพนี้และอยากรู้ว่า อาชีพนี้วันๆ ต้องทำอะไรบ้าง ต้องการทักษะอะไรบ้าง วิธีก้าวสู่การทำงานสาย SEO ต้องทำอะไรบ้าง มาร่วมค้นหาคำตอบกันในบทความนี้

SEO Specialist คืออะไร

SEO Specialist คือ อาชีพสำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ ที่สุดบน Seach Engine นั้นๆ เพื่อให้ติดหน้าแรกของการค้นหา 

ซึ่งในปัจจุบันนั้น Google ถือว่าเป็น Search Engine ที่ใหญ่และมีผู้ใช้งานมาที่สุดในโลก ดังนั้น Specialist เหล่านี้จะให้ความสนใจในการพัฒนาเว็บไซต์ให้แสดงบนหน้าผลลัพธ์ของ Google โดยเฉพาะหน้าแรกนั่นเองหรืออีกชื่อคือ Google SERP (Google Search Engine Result Page)

ตัวอย่าง Google SERP
ตัวอย่าง Google SERP (Search Engine Result Page)

เท่ากับว่า SEO Specialist นั่นเองที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาเว็บไซต์เหล่านี้ออกมาเพื่อตอบสิ่งที่คุณ กำลังสนใจหรือตั้งคำถามผ่าน Keyword บางอย่างบน Search Engine และได้คำตอบเป็นเว็บไซต์ ที่มีการพูดถึงหรืออธิบาย Keyword เหล่านั้นอยู่ 

แล้วแบบนี้เขาต้องทำอะไรบ้างถึงสามารถสร้างเว็บไซต์ที่มีปประสิทธิภาพเหล่านี้ได้? มาดูกัน 🙂 

SEO Specialist มีหน้าที่อะไรบ้าง

มาตามดู a day in life ของผู้ชำนาญเหล่านี้กันว่า SEO Specialist มีหน้าที่อะไร และ ใช้เวลาในหนึ่งวันอย่างไรบ้าง ถึงสามารถสร้างเว็บไซต์ออกมาเพื่อตอบคำถามผู้คนมากมายบน Search Engine ได้ โดยจะพูดใน มุมมองแบบภาพรวม เพราะอาชีพนี้อาจจะมีหน้าที่ยิบย่อยอื่นๆ ตามหน้าที่และอุตสาหกรรมที่พวกเขา ทำอยู่ ประกอบไปด้วย 

  • การค้นหาคีย์เวิร์ด 
  • การทำ Site Structure
  • การวางแผนสร้างคอนเทนต์ให้ถูกหลัก SEO
  • การทำ Link Building 
  • การเช็ค Performance ของเว็บไซต์ เป็นต้น 

มาเริ่มกันทีละหน้าที่เลยดีกว่า

การค้นหาคีย์เวิร์ด

หน้าที่แรกคือคำตอบที่ว่าแล้วเว็บไซต์รู้ได้อย่างไรว่าผู้คนนั้นค้นหาหรือให้ความสนใจกับอะไรอยู่ ซึ่งการได้มาถึงข้อมูลเหล่านี้ต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การค้นหาคีย์เวิร์ด หรือ Keyword Research นั่นเอง 

ซึ่ง Keyword คือกลุ่มคำที่สะท้อนปัญหาที่ผู้ใช้งานต้องการอยากรู้ ซึ่งต้องทำการค้นหาคำเหล่านั้น และนำมาวิเคราะห์ว่า Keyword นี้คุณภาพมากพอไหมและสามารถนำมาใช้งานเพื่อดันประสิทธิภาพ ของเว็บไซต์ให้ขึ้นหน้า Google SERP ดีหรือไม่ ซึ่งระหว่างการค้นหานั้น SEO Specialist จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น Keyword นี้มีจำนวนการค้นหาเยอะไหม, Keyword นี้มีความยากง่ายในการแข่งขันเท่าไหร่, รวมถึงการค้นหา Keyword ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยยกระดับ ประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน 

ซึ่งจะต้องทำการค้นหา Keyword ด้วยกัน 3 ประเภทได้แก่ Seed Keyword, Niche Keyword และ Niche Longtail Keyword 

โดยเครื่องมือที่เหล่า SEO specialist มักจะใช้ในการค้นหาเทรนด์หรือคีย์เวิร์ดในการนำมา ใช้งานนั้นคือ Google Trends หรือ Social Listening Tools ในการค้นหาเทรนด์หรือจำนวน ความสนใจ และ Google Keyword Planner, Ubersuggest, และ KWFinder ในการค้นหาและวิเคราะห์ Keyword เป็นต้น 

ตัวอย่าง Ubersuggest สำหรับทำ SEO
ตัวอย่าง Ubersuggest สำหรับทำ Keyword Research
ตัวอย่าง KWFinder สำหรับทำ SEO
ตัวอย่าง KWFinder by Mangools สำหรับทำ Keyword Research

การวางโครงสร้างเว็บไซต์

หน้าที่ต่อมาของผู้เชี่ยวชาญในการทำ SEO ก็คือการวางผังโครงสร้างเว็บไซต์หรืออีกชื่อคือ Site Structure เพื่อเป็นการสร้าง First Impression ที่ดีแก่ผู้ใช้งานว่าเข้าถึงข้อมูลที่อยากได้อย่างสะดวก และรวดเร็วแค่ไหน รวมถึงแผนที่สำหรับ Search Engine Bot ว่าเว็บไซต์นั้นเกี่ยวกับอะไร และพูดถึงอะไรบ้าง 

ดังนั้นการที่เว็บไซต์มีการวาง Site Structure ที่ดีนั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันบนหน้า Google SERP ทำให้งานของ SEO Specialist นั้นจำเป็นที่จะต้องมองภาพรวมของเว็บไซต์ให้ออก ว่าต้องการวางโครงสร้างแบบไหน ให้ผู้ใช้งานเข้ามาเจออะไรก่อนและต้องไปทางไหนต่อ รวมไปถึงแต่ละหน้า Webpage ต้องวาง Keyword แบบไหนลงไป 

ตัวอย่าง Site Structure
ตัวอย่าง การวางโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) จาก Hubspot

วางแผนสร้าง SEO Content

หลังวางโครงสร้างเว็บไซต์เสร็จ งานต่อไปคือการวางแผนสร้างคอนเทนต์ที่ง่ายต่อการปรากฎในลำดับต้นๆของผลการค้นหา หรือที่เรียกว่า SEO Content

โดยภาพรวมของการวางแผนสร้าง SEO Content คือ การกำหนด “รายละเอียดของเนื้อหาและองค์ประกอบของคอนเทนต์ให้ถูกต้องตามหลัก SEO ” จากนั้นจึงแจ้งให้กับ Content Creator นำเป็นเขียนเป็นบทความหรือสร้างคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับรายละเอียดนั้น

โดยรายละเอียดเนื้อหาที่ SEO Specialist ต้องกำหนดได้แก่

  • การกำหนดรูปแบบเนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ค้นหาข้อมูล (Search Intent)
  • กำหนด Meta Tag ให้สอดคล้องกับคีย์เวิร์ดของเว็บเพจ
  • กำหนดหัวข้อ (Heading ของบทความ)
  • กำหนดองค์ประกอบอื่นๆ (Image Name , Alt Text , Internal link) ให้ถูกหลัก SEO  
ตัวอย่าง การทำ On-page SEO
ตัวอย่าง การปรับแต่งเว็บไซต์หรือ On-page SEO จาก Mangools

เมื่อชิ้นงานเสร็จและทำการอัพโหลดลงเว็บไซต์เรียบร้อย สิ่งที่ SEO Specialist ต้องทำต่อไปคือการ ตรวจสอบความเร็วของเว็บไซต์ (Page Speed) เพื่อตรวจสอบว่าเว็บไซต์นั้นอืดหรือเร็ว เพราะสิ่งนี้มีผลต่ออันดับบน Google SERP เพราะถ้าเว็บช้าแล้วละก็ คนจะออกจากเว็บเร็วส่งผลให้ เกิด Bounce Rate สูง ดังนั้นเหล่าผู้เชี่ยวชาญต้องจัดการทั้งตรวจสอบ On-page รวมถึง Page Speed ให้มีคุณภาพ 

การค้นหา Backlink คุณภาพ

เมื่อจัดการปรับแต่งภายในเว็บไซต์แล้วนั้น หน้าที่ต่อไปของเหล่า SEO Specialist คือการทำ Link Building หรือการหา Backlink ที่ลิงค์มายังเว็บไซต์ของพวกเขาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ดีมากยิ่งขึ้น และมีโอกาสขึ้น Google SERP ได้สูงขึ้น 

ซึ่งจำเป็นต้องหา Link ที่มาจากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันและรวมไปถึงต้อง เป็น Link จากเว็บไซต์ที่ไม่ร้างซึ่งยิ่งหา Link ที่มีคุณภาพได้เท่าไหร่ ก็จะช่วยให้ Search Engine มองออกว่าเว็บไซต์ของพวกเขานั้นมีประโยชน์กับผู้ใช้งานอย่างแท้จริง อาจจะต้องทำการบ้าน สักหน่อยในการค้นคว้าหา Website ที่มีคุณภาพจริงๆ 

การวิเคราะห์ผลลัพธ์ 

เมื่อทุกอย่างถูกปล่อยและรันบน Search Engine เรียบร้อย หน้าที่สุดท้ายของเหล่า SEO Speacialist คือการรวบรวมข้อมูลว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การค้นหาคีย์เวิร์ดจนมาถึงการปั้น Link Building เนี่ยมันประสบความสำเร็จจริงไหมผ่านการ เช็คอันดับเว็บไซต์ หรือการหา SEO Ranking  

โดยพวกเขาจะใช้เครื่องมือในการตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของพวกเขาอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่แล้วบน SERP มันขึ้นหน้าแรกหรือยังนะ ผ่านเครื่องมืออย่าง Google Search Console ที่รวบรวมทั้งจำนวน คลิ๊ก, จำนวน Impression, อันดับโดยเฉลี่ยนบน SERP เป็นต้น หรือถ้าอยากตรวจสอบแบบเร็วๆ ก็สามารถดูได้ผ่าน Google Chrome แบบ Incognito Mode โดยทำการค้นหาคีย์เวิร์ดที่วางแผนไว้ และดูว่าเว็บไซต์อยู่ที่หน้าแรกหรือไม่ 

ถ้าผลลัพธ์ออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ พวกเขาก็ต้องวางแผนการปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่ โดยย้อนขึ้นไปตามแต่ละขั้นตอนว่าช่องโหว่เกิดขึ้นที่ตรงไหนนั่นเอง 

ตำแหน่ง SEO Specialist ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

เป็นอาชีพที่น่าสนใจนะเนี่ย แล้วถ้าอยากทำอาชีพ SEO Specialist ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

สำหรับการจะทำงานเป็น SEO Specialist นั้นจำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะทางอย่าง Hard Skills และทักษะทางจิตวิทยาและสังคมอย่าง Soft Skills ควบคู่ไปด้วยกัน มาดูทีละ Skill กันดีกว่าว่าคุณสมบัติที่ SEO Specialist ต้องมีคืออะไรบ้าง 

Hard Skills

ขอเริ่มจากทักษะเฉพาะทางหรือทักษะที่สำคัญกับสายอาชีพอย่าง Hard Skills ดีกว่า โดยทักษะที่เหล่า ผู้เชี่ยวชาญต้องมีนั้นประกอบไปด้วย 

  • Research Skill หรือทักษะในการค้นหาข้อมูล ซึ่งข้อมูลในที่นี้ก็ไม่ใช่ข้อมูลอื่นไกลเลย ล้วนเป็นข้อมูลในเรื่องของ Keyword ที่ควรมีบนเว็บไซต์เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งาน รวมถึงค้นหา Keyword ที่เว็บไซต์คู่แข่งทำอยู่ด้วยเพื่อนำมาวางแผน
  • Programming Skill หรือทักษะในภาษา Programming ซึ่งไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดขนาด IT Developer แต่ควรมีความรู้ HTML หรือ CSS พื้นฐานในเวลาที่เว็บไซต์มีปัญหา ก็สามารถแก้โค้ดได้ด้วยตัวเอง 
  • Tool Skill หรือทักษะในการเข้าใจและใช้งานเครื่องมือต่างๆ อย่างชำนาญ เช่น เครื่องมือในการทำ Keyword Research หรือเครื่องมือสำหรับตรวจสอบประสิทธิภาพ เว็บไซต์ เป็นต้น 
  • Writing Skill หรือทักษะในการเขียน ซึ่งอาจจะเน้นหนักไปที่การเขียนเพื่อสนับสนุน On-page SEO ซะมากกว่าเพราะทักษะนี้จะช่วยมองเห็นการกระจาย Keyword ในบทความได้ดียิ่งขึ้น 
  • Data-Driven Skill หรือทักษะที่ใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อน เพราะการทำ SEO สิ่งสำคัญคือผลลลัพธ์ว่าสิ่งที่ทำลงไปเวิร์คหรือไม่เวิร์ค โดยต้องนำข้อมูลจากหลายที่มารวม และวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบว่ามันได้ผลไหม ถ้าไม่ ต้องหาทางแก้ไขอย่างไร 
  • Detail-Oriented Skill หรือทักษะในการใส่ใจรายละเอียด เป็นสิ่งที่จำเป็นกับสายอาชีพนี้ ค่อนข้างมาก เพราะหน้าที่แต่ละอย่างของ SEO Specialist นั้นมีรายละเอียดที่เยอะ ดังนั้นความรอบคอบกับสิ่งที่ทำเป็นเรื่องสำคัญ 

Soft Skills

คุณสมบัติของ SEO Specialist ทางจิตวิทยาและสังคมที่ควรจะมีนั้น ประกอบไปด้วย

  • Interpersonal Skill หรือทักษะในการสื่อสารระหว่างบุคคล ซึ่งการเป็น SEO Specialist นั้นจำเป็นต้องมีเพราะตำแหน่งนี้สามารถทำงานแบบ In-House ก็ได้ หรือแบบ Freelance ก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งต้องมีการสื่อสารระหว่างทีมหรือผู้ว่าจ้างอยู่แล้ว 
  • Big-Picture Skill หรือทักษะการมองภาพมุมกว้าง ถือว่าเป็นทักษะควรมีติดตัวเพราะจำเป็น สำหรับการวางโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี เพราะเมื่อมองเห็นภาพที่ใหญ่แล้วนั้นจะช่วยให้โฟกัส สิ่งที่เล็กๆ ได้ดียิ่งขึ้นเพราะรู้เป้าหมายของตัวเอง
  • Independent Skill หรือทักษะในการพึ่งพาตนเอง เพราะอาชีพนี้ค่อนข้าง Technical สามารถทำงานกับตัวเองได้ดี แต่ก็ยังคงต้องมีการร่วมมือกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องบ้าง เช่น การทำ Report ส่งทีม หรือการร่วมมือกับ Content เรื่อง On-page เป็นต้น
  • Adaptability Skill หรือทักษะในการปรับตัว เพราะว่าอาชีพนี้สร้างผลงานจาก Search Engine ที่เป็นเทคโนโลยีและสิ่งเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเหล่าผู้เชี่ยวชาญต้องปรับตัวตามให้ทันเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด

เหล่านี้เองล้วนเป้นคุณสมบัติที่อยู่ภายในตัวของคนที่จะมีเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้าน Search Engine และอาจจะมีเยอะและยิบย่อยมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับระดับตำแหน่งของพวกเขา 

SEO Specialist รับเงินเดือนหรือรายได้เท่าไหร่

รายได้หรือ เงินเดือนของ SEO Specialist นั้น จากการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์หางานก็ค้นพบว่า อยู่ที่ประมาณ 30,000 – 100,000 ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและระดับตำแหน่งที่เปิดรับในแต่ละบริษัทด้วย 

ในส่วนของ Freelance นั้นก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้จ้างและผู้ถูกจ้างว่าโอเคกันที่ราคาเท่าไหร่ 

อยากเป็น SEO Specialist ต้องทำอะไรบ้าง

เห็นแบบนี้แล้วอยากทำงานด้าน SEO บ้าง หรืออยากสมัครงานเป็น SEO Specialist แต่ยังไม่มีประสบการณ์ แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไรดี

เรามี 3 ขั้นตอนช่วยปูทางในการเป็น SEO Specialist สำหรับผู้ที่สนใจมาให้ชมกัน ซึ่งประกอบไปด้วย 

  • การเพิ่มพูนความรู้ 
  • การสั่งสมประสบการณ์
  • การต่อยอดผลงาน เป็นต้น

มาดูแต่ละขั้นตอนกันเลยดีกว่า 

ศึกษาหาความรู้ให้ตัวเอง

สำหรับความรู้ในเรื่องของ Search Engine นั้นอาจจะหาได้ยากจากระบบการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย ดังนั้นการศึกษาหาความรู้ในเรื่อง SEO ต้องเริ่มต้นค้นคว้าด้วยตัวเองจาก 

เว็บไซต์รวบรวมความรู้ เพราะในตอนนี้มีเว็บไซต์ที่โฟกัสในเรื่อง Education เยอะแยะมากมาย และรวบรวมความรู้ชั้นเลิศในเรื่องของ Technology มาไว้ให้ศึกษาได้ฟรีทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพียงแค่ค้นหาก็มีเว็บไซต์ให้เรียนรู้ฟรีๆ เรียงกันมายาวเหยียดบนหน้า Google SERP 

แหล่งเรียนรู้ SEO ออนไลน์
ตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้ SEO ออนไลน์

คอร์สออนไลน์หรือ Workshop เป็นอีกช่องทางพัฒนาความรู้ในด้านนี้คือการเข้าไปเรียน SEO กับกูรูที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้หรือสมัครเข้าร่วม Workshop ที่ได้ร่วมทำกิจกรรมจริงกับคนที่มีประสบการณ์ ซึ่งข้อดีคือได้เรียนรู้แบบเป็นขั้นเป็นตอนมากกว่าการ เรียนรู้ด้วยตนเอง เหมาะกับคนที่ไม่มีประสบการณ์ 

เริ่มฝึกทำ SEO

เมื่อเข้าไปตระเวนศึกษาหาความรู้จนมีความเข้าใจในการทำ SEO จริงๆ แล้วนั้น ขั้นตอนต่อมาคือการ นำความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้จริง โดยมักจะเป็นการสร้างเว็บไซต์บน WordPress ขึ้นมา ฝึกใช้งานปลั๊กอินของ WordPress ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ และพยายามฝึกการ Optimize เว็บไซต์ให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพอใจ 

ตัวอย่าง WordPress สำหรับสร้างเว็บไซต์
ตัวอย่าง Website Builder อย่าง WordPress

เมื่อลงมือสร้างผลงานของตัวเองเรียบร้อย จนเกิดผลลัพธ์บนหน้า Google SERP แล้วก็สามารถนำ ผลงานนี้ไปใช้ในการสมัครทำงานกับบริษัท เพื่อลองทำ In-House ให้มีผลงานเยอะขึ้น พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม รวมถึงสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวเองมากขึ้นได้เลย 

ต่อยอดผลงานของตัวเอง

เมื่อร่วมงานกับ In-House แล้วนั้นข้อดีก็คือคุณสามารถขยับตำแหน่งได้เรื่อยๆ ตามประสิทธิภาพ และผลงาน ซึ่งนั่นช่วยให้โปรไฟล์ของคุณดูดีและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นกว่าเดิมเพราะได้รับ ความไว้วางใจให้ดูแลงาน SEO ในส่วนที่ลึกและกว้างขึ้นกว่าเดิมให้องค์กร 

และในจุดนี้คุณก็สามารถนำผลงานนี้ไปรับจ้างเป็น Freelance หรือเป็น Consultant ให้กับที่ต่างๆ ได้โดยง่าย เพราะคุณมีทั้งประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงผลงานเป็นหลักฐานแสดงความสำเร็จ ของตัวเองในเรื่อง SEO อีกด้วย 

ฟังดูอาจจะง่าย แต่เส้นทางอาชีพนั้นอาจจะต้องใช้เวลาในการสะสมชั่วโมงบินกันสักหน่อย ดังนั้นไม่แปลกเลยที่แต่ละขั้นตอนจะมีระยะเป็นของตัวเอง ค่อยๆ ศึกษา สั่งสมและต่อยอดเรื่อยๆ ก็สามารถเป็น SEO Specialist มืออาชีพได้ไม่ยาก 

สรุป

ถ้าใครกำลังมองหาสายอาชีพที่เป็นกำลังหลักสำคัญในวงการ Digital Marketing ที่ช่วยพัฒนา ประสิทธิภาพเว็บไซต์บน Google และรู้สึกว่าหน้าที่ในแต่ละวันที่ต้องทำนั้นน่าสนใจมากๆ แถมเรทเงินเดือนก็อยู่ในเกณฑ์ดี ทักษะที่จำเป็นก็ไม่ยากเกินความสามารถ พร้อมที่จะลุยหาความรู้ สั่งสมประสบการณ์เพื่อต่อยอดสายอาชีพในอนาคตนั้น บอกเลยว่าคุณเหมาะที่จะเป็น SEO Specialist เป็นอย่างมาก 

ถ้าไม่อยากพลาดหางานในตำแหน่ง SEO Specialist สามารถหาบริษัทที่ใช่ Job Description ที่ชอบผ่านทาง Content Shifu Job board ได้เลย อย่าพลาดโอกาสร่วมงานกับบริษัทชั้นนำ!