คุณอาจจะเคยเห็นโฆษณาบน Platform ต่างๆ อยู่บ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็นโฆษณาในหน้าค้นหาของ Google โฆษณา Display บนหน้าฟีด Facebook หรือแม้แต่โฆษณาที่เด้งขึ้นมาระหว่างรายการของคอนเทนต์ครีเอเตอร์คนโปรดของคุณบน YouTube ก็ตาม
สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็น ช่องทางโฆษณาออนไลน์ (Digital Advetising Channels) ที่คุณสามารถใช้ในสื่อสารกับลูกค้า
แต่ว่าช่องทางโฆษณาออนไลน์ไม่มีแค่พื้นที่เหล่านั้นเท่านั้น เพราะว่าบนโลกอินเตอร์เน็ตนั้นมีช่องทางเยอะแยะมากมายให้แบรนด์เลือกใช้พื้นที่โปรโมทสินค้าและบริการของคุณ
ในบทความนี้ คุณจะได้รู้จักกับช่องทางโปรโมทโฆษณาออนไลน์กว่า 10 ช่องทาง พร้อมบอกวิธีการทำงาน จุดเด่นและจุดด้อยของช่องทางเหล่านั้น
ถ้าคุณสนใจเรียนรู้การทำ Digital Advertising ทาง Content Shifu มีคอร์สเรียน Facebook Ads Certification และ Google Ads Certification ให้คุณไปศึกษาเพิ่มเติม เรียนรู้ตั้งแต่ระดับ Basic จนถึง Intermediate พร้อมรับใบ Certification ของ Content Shifu หลังเรียนจบ
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
- ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Facebook Ads
- ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Instagram
- ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Twitter
- ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ LinkedIn Ads
- ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ LINE Ads Platform (LAP)
- ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ TikTok Ads
- ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Google Ads
- ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ YouTube Ads
- ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Shopee Ads
- ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Lazada
- สรุป
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Facebook Ads
ทุกครั้งที่คุณเข้าใช้งาน Social Media Platform ชื่อดังอย่าง Facebook ไม่ว่าจะเข้าผ่าน Mobile หรือ Desktop คุณจะเจอโฆษณาอยู่ตลอดและจะเจอโฆษณาในหลายๆ พื้นที่ทั้งในหน้า Timeline ของคุณ หรือจะมาอยู่ในรูปแบบ Banner ฝั่งด้านขวาก็ตาม
ซึ่งถ้าคุณลองสังเกตดูโฆษณาเหล่านี้มักจะมีความเกี่ยวข้องกับคุณบางอย่าง เช่น มันอาจจะเป็นความชอบ ความสนใจเดิมของคุณอยู่ก่อน หรือเป็นโฆษณาของสินค้าหรือบริการที่คุณพึ่งเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือ Facebook Page ของพวกเขา
Facebook ทำได้อย่างไร?
มาดูวิธีการทำงานของ Facebook Ads กัน
วิธีการทำงาน Facebook Ads
แบรนด์สามารถใช้งาน Facebook Ads ได้อย่างหลากหลายเพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของแบรนด์ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการโปรโมท Facebook Page ของแบรนด์, การโปรโมทโพสต์ของแบรนด์, หรือแม้แต่โปรโมทเว็บไซต์ รวมไปถึงการสร้างโฆษณาเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายถูกกระตุ้นเพื่อทำ บางอย่างตาม Call-To-Action ที่แบรนด์ตั้งไว้ เช่น Contact Us, Learn More หรือ Register now เป็นต้น
แล้วโฆษณาเหล่านั้นไปพบเจอกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร?
Facebook แบ่งการทำโฆษณาออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ การ Boost Post ผ่าน Page และ การสร้าง Campaign ผ่าน Facebook Ads Manager ซึ่งอย่างหลังจะละเอียดมากกว่า
มาทำความรู้จักกับโครงสร้างของ Facebook Ads กัน ซึ่งมีอยู่ 3 ขั้นตอนนั้นก็คือ
- Campaign มีไว้เพื่อให้แบรนด์ตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการลงโฆษณาโดยที่แบรนด์สามารถเลือก Objective ที่อยู่ภายใต้ Awareness, Consideration, และ Conversion ได้ และ Objective 3 ประเภทนี้ยังแยกย่อยลงไปได้อีก
- Ad sets มีไว้เพื่อตั้งค่า Target Audience, Ad Placement, รวมไปถึง Budget ต่างๆ ซึ่งเรื่อง Audience ที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
- Core Audience แบ่งกลุ่มเป้าหมายตาม Demographic เช่น อายุ, เพศ, สถานที่, ภาษา, การศึกษา เป็นต้น / Interests ความสนใจของผู้ใช้งานบน Facebook เช่น การถูกใจ Page หรือ Post / Behavior ที่รวบรวมมาจากกิจกรรมบน Facebook เช่น การซื้อของ หรือการท่องเที่ยว เป็นต้น
- Custom Audience คือการสร้างโฆษณาออนไลน์เพื่อยิงไปหากลุ่มเป้าหมายที่เคยมีปฎิสัมพันธ์กับแบรนด์มาแล้วและแบรนด์มีความต้องการที่จะ Retarget ลูกค้าเหล่านั้น เช่น ลูกค้าที่เคยเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือลูกค้าที่เคยกดเลือกของเข้าตะกร้า เป็นต้น โดยสามารถดึงข้อมูลผ่าน Facebook Pixel เพื่อไปสร้างโฆษณาได้
- Lookalike Audience คือกลุ่มเป้าหมายที่มีความคล้ายคลึงกับ Custom Audience ของแบรนด์หรือแม้แต่ลูกค้าปัจจุบัน
- Individual Ads มีไว้สำหรับสร้างโฆษณาที่แบรนด์สามารถดีไซน์ความครีเอทีฟลงไป โดยที่ Facebook จะแบ่งรูปแบบของโฆษณาเป็น 5 อย่างคือ Single Image / Video / Slideshow / Corousel และ Collection แบรนด์มีอิสระในการเลือกว่ารูปแบบไหนเหมาะกับสินค้าและบริการที่จะโปรโมทผ่านช่องทางโฆษณาออนไลน์นี้
จุดเด่นของ Facebook Ads
- Facebook Ads สนับสนุน Cross-media platform หรือก็คือแบรนด์จ่ายเงินซื้อโฆษณาผ่าน Facebook Manager และแบรนด์สามารถควบคุมโฆษณาให้แสดงผ่านทั้ง Facebook, Instagram, Messenger รวมไปถึง Audience Network อื่นๆ ด้วย
- Facebook Ads มีระบบ Automation สำหรับคนที่พึ่งเริ่มยิงโฆษณาผ่าน Facebook Ads Manager หรือถ้าเชี่ยวชาญแล้วสามารถ Custom แคมเปญได้ด้วยตัวเอง
- Facebook Ads ช่วยเจาะกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงผ่าน Custom Audience ที่สามารถลงรายละเอียดได้ยิบย่อยเพื่อยิงให้ตรงเป้าหมายยิ่งขึ้น หรือแม้แต่การ Retarget ไปยังกลุ่ม ลูกค้าเดิมก็สามารถทำได้
จุดด้อยของ Facebook Ads
- Facebook Ads มีนโยบายในการลงโฆษณาที่เข้มงวด ถ้าทำผิดกฎอาจะถูกแบนได้
- Facebook Ads มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดจำเป็นต้องคอย update ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Instagram
อีกหนึ่ง Cross-Media Platform จาก Facebook นั่นก็คือ Instagram แอปพลิเคชั่นที่ผู้คนเข้ามาใช้พื้นที่สร้างสรรค์และบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาผ่านรูปภาพและวิดีโอ และมีลูกเล่นมากมายที่ผู้ใช้งานสามารถสนุกไปกับการเลื่อนหน้าจอไปมาบนแอปพลิเคชั่นนี้ ไม่ว่าจะเป็น Post, Stories, Reels, หรือแม้แต่ Shopping ก็สามารถทำได้บนช่องทางนี้
แต่ว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักจะพบเจอโฆษณาได้บ่อยจาก Story หรือหน้า Feed ของพวกเขา ซึ่งในความเป็นจริงมีมากกว่านั้น มาดูวิธีการทำงานบนช่องทางโฆษณาออนไลน์อย่าง Instagram กัน
วิธีการทำงานของ Instagram Ads
เนื่องจาก Instagram มี Facebook เป็นเจ้าของ ดังนั้นวิธีการทำงานของช่องทางโฆษณาออนไลน์ตัวนี้เหมือนกับ Facebook แทบทุกประการ เพราะว่าแบรนด์สามารถเลือกโปรโมทสินค้าและบริการผ่าน 2 ทางนั่นก็คือ การ Promote Post โดยตรงและการสร้างแคมเปญบน Facebook Ads Manager
สำหรับการสร้างโฆษณาออนไลน์บน Facebook Ads Manager มี 3 ขั้นตอนเช่นเดียวกัน คือ
- Campaign สำหรับแบรนด์เพื่อเลือกวัตถุประสงค์ของโฆษณา ไม่ว่าจะเป็น Awareness, Considerastion, และ Convertion
- Ads Set สร้าง Target Audience, ตั้งค่า Budget และเลือก Ads Placement โดยในขั้นตอนนี้แบรนด์ที่สนใจยิงโฆษณาบน Instagram เพียงอย่างเดียวควรเลือกขั้นตอน ตามนี้
- Placement > Edit Placement > Instagram > Stories หรือ Feed
- Ads ขั้นตอนสุดท้ายที่แบรนด์สามารถเลือกรูปแบบของโฆษณาที่จะแสดงผลบน Instagram ซึ่งจะมีรูปแบบให้เลือก 7 แบบด้วยกัน
Image Feed Ads คือรูปแบบการโพสต์รูปภาพลงหน้า Timeline
Image Story Ads คือรูปแบบการโพสต์รูปภาพลงบน Instagram Story
Video Feed Ads คือรูปแบบการโพสต์วิดีโอลงหน้า Timeline
Video Story Ads คือรูปแบบการโพสต์วิดีโอลงหน้า Instagram Story
Carousel Feed Ads คือรูปแบบการโพสต์หลายรูปภาพหรือวิดีโอลงหน้า Timeline
Carousel Story Ads คือรูปแบบการโพสต์หลายรูปภาพหรือวิดีโอลงหน้า Instagram Story
Slideshow Ads คือรูปแบบการลงโฆษณาหลายๆ รูปภาพแบบเคลื่อนไหว และสามารถใส่ Background Sound ได้ด้วย
นอกเหนือจาก Display Ads แล้ว Instagram ยังให้โอกาสแบรนด์จับมือกับเหล่าคนดังหรือ Influencer ในการทำ Paid Partnership Feature กับแบรนด์ขึ้นบน Label ของโพสต์ที่ต้องการโฆษณา
จุดเด่นของ Instagram Ads
- Instagram Ads ทำงานผ่าน Facebook Ads Manager ซึ่งแบรนด์ที่มีการสร้างแคมเปญผ่านทั้งสองช่องทางโฆษณาออนไลน์นี้สามารถติดตามและดูแลการทำงานได้จากที่เดียว
- Instagram Ads ให้โอกาสแบรนด์แสดงความเป็นตัวของตัวเองผ่าน Visual เป็นพื้นที่ที่สามารถนำเสนอสินค้าและบริการผ่านรูปภาพและวิดีโอได้อย่างเต็มที่
- Instagram Ads มีลูกเล่นเยอะไม่ว่าจะเป็นการเล่นกับ Hashtag ดังระดับโลกหรือเจาะกลุ่มเป้าหมาย หรือแม้แต่การสร้าง Interaction กับลูกค้าบน Story ผ่านฟีเจอร์ Question หรือ Poll
- Instagram Ads เปิดโอกาสให้แบรนด์ร่วมเป็น Partner กับเหล่าคนดัง
จุดด้อยของ Instagram Ads
- Instagram Ads มีผู้ใช้งานที่ค่อนข้างจำกัด เพราะว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 18-34 ปี ในขณะที่ช่วงอายุอื่นมีน้อยกว่ามาก ดังนั้น Instagram อาจจะไม่ใช่ช่องทางที่ใช่สำหรับแบรนด์ที่ไม่ได้มีกลุ่มเป้าหมายในช่วงอายุนี้
- Instagram Ads ไม่เหมาะกับการโฆษณาที่เน้นใช้ข้อความหรือตัวอักษรที่เยอะ แถมยังไม่สามารถใส่ลิงก์ไว้ใน Caption ด้วย
- Instagram Ads อาจเหมาะแค่บางอุตสาหกรรมที่เน้น Visual มากกว่าธุรกิจที่มีสินค้าหรือบริการที่ซับซ้อน เช่น ธุรกิจ B2B แต่ยังสามารถใช้ช่องทางนี้สร้าง Awareness ของแบรนด์ได้อยู่
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Twitter
มาถึงช่องทางโฆษณาออนไลน์ที่ผู้คนสามารถมาเจอกันหรือสร้าง Community ด้วยกันผ่านตัวอักษร 280 ตัว อย่าง Twitter ที่นับว่าเป็นแอปพลิเคชั่นที่คอนเทนต์ไหลไปมาอย่างรวดเร็ว และสามารถสร้าง Trends ยอดฮิตผ่าน Hashtag ได้โดดเด่นกว่าแอปไหนๆ
วิธีการทำงานของ Twitter Ads
โครงสร้างภายในของ Twitter Ads นี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน
- Campaign ในส่วนนี้แบรนด์สามารถเลือกวัตถุประสงค์ของโฆษณาได้ ไม่ว่าจะเป็น Awareness, Consideration, หรือ Conversion และเป็นส่วนที่ควบคุมในเรื่องค่าใช้จ่าย
- Ad Groups ในส่วนนี้แบรนด์สามารถตั้งชื่อโฆษณา และเลือก Target Audience ของแบรนด์ผ่าน Demographic เช่น อายุ เพศ สถานที่ รวมไปถึงผ่าน Keywords และ Interest และเลือกการแสดงผลของโฆษณาไม่ว่าจะเป็น Timeline, Profile หรือ Search Results
- Review ขั้นตอนสุดท้ายที่แบรนด์ต้องตรวจเช็คความเรียบร้อยก่อนปล่อยโฆษณา
โดยที่โฆษณาของ Twitter Ads จะมีอยู่ 3 ประเภทคือ
- Promoted Tweet โฆษณารูปแบบนี้จะคล้ายคลึงกับทวิตทั่วไปที่สามารถกด Like หรือกด Retweet ได้ เพียงแต่ว่าจะมีสัญลักษณ์เขียนไว้ว่า ‘Promoted’
- Promoted Account โฆษณารูปแบบนี้จะไม่ใช่การโฆษณาแค่ตัวทวิต แต่เป็นการโฆษณาบัญชีทวิตเตอร์ของแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ติดตามแบรนด์แต่แรก
- Promoted Trends เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ผู้คนสามารถคุยกันผ่านแฮชแท็ก การโฆษณาชนิดนี้จึงเป็นการโฆษณาผ่านการใช้แฮชแท็กและผู้คนสามารถเข้ามาร่วมพูดคุยภายใต้ Topic เดียวกันได้
จุดเด่นของ Twitter Ads
- Twitter Ads มีการแบ่ง segmentation ที่ละเอียดทำให้เป้าหมายของโฆษณาแบรนด์แคบลงและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น โดยที่แบรนด์สามารถเลือก Keyword ในการทำโฆษณาได้และเลือก Objective ของโฆษณาได้เช่นเดียวกัน
- Twitter Ads คือพื้นที่ที่แบรนด์สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายได้ผ่านการใช้แฮชแท็กและนี่คือช่องทางออนไลน์ที่ผู้คนปฏิสัมพันธ์กับเทรนด์ในช่วงนั้นได้ดีที่สุด
จุดด้อยของ Twitter Ads
- Twitter Ads มีการติดตามผลการดำเนินงานของโฆษณา แต่อาจจะยังไม่ละเอียดเท่า Facebook หรือ Google Ads
- Twittter Ads อาจจะไม่เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการให้โฆษณาอยู่บนหน้าไทม์ไลน์เป็นเวลานาน เพราะว่าเป็นช่องทางออนไลน์ที่ Timeline ไหลเร็วไปตามเทรนด์ ณ ขณะนั้น
- Twitter Ads เป็นการโฆษณาที่คำนวณ ROI (Return On Investment) ได้ยาก
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ LinkedIn Ads
LinkedIn ไม่ใช่ช่องทางออนไลน์ที่มีไว้เพื่อสมัครงานเพียงอย่างเดียว ยังสามารถใช้เป็นช่องทางที่แบรนด์สามารถสร้าง Branding และหา Lead ให้ธุรกิจได้อีก
พื้นที่นี้ไม่ได้มีไว้เฉพาะแค่บริษัทแบบ B2B เท่านั้น แม้แต่บริษัท B2C มหาวิทยาลัย องค์กรไม่แสวงผลกำไร หรือบริษัทอื่นๆก็สามารถใช้พื้นที่นี้ในการทำโฆษณาเครื่องส่งสารไปยังกลุ่มเป้าหมายของเขาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งแบรนด์ของคุณอาจจะเติบโตได้ดีผ่านการโฆษณาบนช่องทางออนไลน์นี้ก็ได้
วิธีการทำงานของ LinkedIn Ads
การซื้อโฆษณาผ่าน LinkedIn นั้นสามารถทำได้ผ่านแพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า LinkedIn Campaign Manager
โครงสร้างของเครื่องมือนี้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ประกอบไปด้วย
- Campaign Group เป็นขั้นตอนแรกที่แบรนด์เอาไว้ตั้งชื่อแคมเปญ ตั้งค่าช่วงเวลาดำเนินโฆษณาและตั้งค่าค่าใช้จ่ายของโฆษณา
- Set up Campaign ขั้นตอนนี้แบรนด์ต้องตั้งค่าสิ่งเหล่านี้
- Objective
- Target Audience
- Ads Format
- Placement
- Budget and Schedule
- Conversion tracking
- Set up Ads ขั้นตอนที่แบรนด์ต้องสร้างตัวโฆษณาขึ้นมาพร้อม Preview ให้ทันที
- Review and Launch ขั้นตอนสุดท้ายคือเช็คความเรียบร้อยของโฆษณาและสามารถปล่อยโฆษณาได้เลย
ประเภทของโฆษณาบนช่องทางออนไลน์นี้ค่อนข้างแตกต่างจากช่องทางออนไลน์แบบอื่นๆ มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน
- Sponsored Content สามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า Native Ads คือโฆษณาที่คล้ายกับ Content ทั่วไปบนหน้าไทม์ไลน์ เพียงแต่ว่าจะมีการกำกับเอาไว้ว่าสิ่งนี้ได้รับการโปรโมท
- Sponsored Inmail โฆษณาที่แบรนด์สามารถส่งข้อความไปหาลูกค้าได้โดยตรงผ่าน message อาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้างในบางเรื่อง เช่น จำนวนครั้งของการส่งโฆษณา
- Text Ads เป็นโฆษณา display ads ที่แสดงอยู่ด้านบนหรือด้านข้างของหน้าจอตลอดเวลา
จุดเด่นของ LinkedIn Ads
- LinkedIn Ads ใช้งานง่ายและสามารถสร้างโฆษณาได้อย่างรวดเร็ว
- LinkedIn Ads มีรูปแบบของโฆษณาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพนิ่งหรือวีดีโอก็สามารถเลือกใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างอิสระ
- LinkedIn Ads มีโฆษณาแบบพิเศษสำหรับช่องทางนี้เท่านั้นนั่นก็คือการส่งโฆษณาผ่านทางข้อความไปหากลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคลได้
จุดด้อยของ LinkedIn Ads
- การสร้างโฆษณาผ่าน LinkedIn Ads จะต้องมีงบประมาณขั้นต่ำประมาณ 300 บาทต่อวัน อาจจะไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีงบประมาณน้อยหรืองบประมาณไม่สามารถยืดหยุ่นได้
- LinkedIn Ads อาจเข้าถึงกลุ่ม Audience ได้ไม่หลากหลายในประเทศไทยและเหมาะกับการใช้งานแค่บางอย่าง เช่น Recruitment หรือ Lead Generation สำหรับ B2B
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ LINE Ads Platform (LAP)
อีกหนึ่งช่องทางที่คนไทยส่วนใหญ่เอาไว้ใช้เป็นช่องทางสื่อสารในชีวิตประจำวันอย่าง LINE โดยแอปพลิเคชั่น LINE ไม่ได้ใช้ติดต่อสื่อสารเพียงอย่างเดียว แต่แบรนด์สามารถเข้ามาร่วมใช้พื้นที่โปรโมทโฆษณาของตนเองผ่านระบบ LINE Ads Platform และโฆษณาที่เปิดใช้งานมักจะพบเห็นในแทบทุกหน้าต่างของแอปพลิเคชั่น ไม่ว่าจะเป็นหน้า Chat, LINE Today, Timeline, LINE TV รวมถึงหน้า Wallet ด้วย
วิธีการทำงานของ LINE Ads Platform (LAP)
LINE Ads Platform (LAP) จะมีขั้นตอนในการสร้างโฆษณาออนไลน์ 5 ขั้นตอน ดังนี้
- Media Objective คือขั้นตอนแรกหลังจากลงทะเบียนใช้งาน แบรนด์จำเป็นต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณาก่อน ซึ่งทาง LAP จะแบ่งวัตถุประสงค์ออกเป็น 4 ส่วน
- Brand Awareness การสร้างความรับรู้ของแบรนด์ เช่น จำนวนของผู้เข้าชมเว็บไซต์, จำนวนการเข้าถึงและความถี่การเห็นโฆษณา และเพิ่มจำนวนการดูวิดีโอ
- Increase Customer Base หรือเป้าหมายในการเพิ่มฐานลูกค้า เช่น การเพิ่มจำนวนเพื่อนบน LINEOA และเพิ่มจำนวนผู้ติดตั้ง application เป็นต้น
- Increase Sales หรือเป้าหมายในการเพิ่มยอดขาย เช่น การเพิ่มจำนวน Conversion บนเว็บไซต์หรือเพิ่มการมี Engagement เป็นต้น
- Customer Retention ส่วนสุดท้ายคือการรักษาลูกค้าเอาไว้ เช่น การทำ Dynamic Sale แบบรายบุคคล (Personalization)
- Budget & Schedule ขั้นตอนที่แบรนด์ต้องกำหนดค่าใช้จ่ายของโฆษณาออนไลน์ รวมไปถึงระยะเวลาทำงานของโฆษณาด้วย
- Targeting & Bidding Configuration ขั้นตอนต่อไปคือการระบุกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทาง LAP จะแบ่งกลุ่มเป้าหมายเอาไว้ 2 กลุ่มหลักคือ
- Core Audience หรือกลุ่มเป้าหมายหลักที่ระบุผ่าน Demographics
- Custom Audience หรือกลุ่มเป้าหมายกำหนดเองที่แบรนด์สามารถนำข้อมูลที่มีมาสร้างฐานลูกค้าได้ ไม่ว่าจาก Website, Apps, Phone, Email, LINE Official Account, หรือ Smart Channel ก็ตาม รวมถึงสามารถสร้าง Lokkalike Audience ได้อีกด้วย
- Ad Format แบรนด์ต้องกำหนดรูปแบบโฆษณาให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ซึ่งทาง LAP จะมีรูปแบบให้เลือก 3 รูปแบบคือ Image, Video และ Slideshow
- Reviewing ส่วนสุดท้ายคือรอให้ LINE ประเมินโฆษณาและสามารถ Launch ได้ภายใน 48 ชั่วโมง
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ตัวนี้ มีรูปแบบการซื้อโฆษณาในแบรนด์เลือก 6 ประเภทคือ
- Cost Per Impression (CPM)
- Cost Per Click (CPC)
- Cost Per Friend (CPF)
- Cost Per Video View (CPV)
- Cost Per Action (CPA)
- Cost Per Install (CPI)
จุดเด่นของ Line Ads Platform
- LINE มีผู้ใช้งานกว่า 49 ล้านคนและมีโอกาสที่จะมีผู้พบเห็นหรือเข้าชมโฆษณาสูงขึ้น
- LINE มีทีมซัพพอร์ตเป็นคนไทย สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยได้
จุดด้อยของ LINE Ads Platform
- LINE คือแอปพลิเคชั่นที่ผู้คนมักจะใช้ chat กันมากที่สุด ดังนั้นโอกาสที่พวกเขาจะเข้าไปหน้าอื่นๆ นอกเหนือจากหน้า Chat จะน้อยลง
- แบรนด์ที่ซื้อโฆษณาผ่าน LINE Ads Platform ด้วยตนเองไม่สามารถเลือกวัตถุประสงค์บางข้อได้จำเป็นต้องพึ่งพาเอเจนซี่
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ TikTok Ads
สำหรับช่องทางโฆษณาออนไลน์อย่าง Tiktok ที่มีผู้ใช้งานกว่า 800 คนต่อเดือนก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับแบรนด์ที่มีเป้าหมายในการสื่อสารกับลูกค้าช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี Tiktok ยิ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ มาดูกันว่าการสร้างโฆษณาบนช่องทางนี้ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
วิธีการทำงานของ Tiktok Ads
โดยที่ขั้นตอนของ Tiktok Ads นั้นมี 3 ขั้นตอนก็คือ
- Campaign ที่แบรนด์กำหนดวัตถุประสงค์ซึ่งตรงนี้จะขึ้นอยู่กับประเทศหรือพื้นที่ที่แบรนด์อยู่ บางพื้นที่อาจจะมี Objective ให้เลือกเยอะแต่บางพื้นที่มีให้เลือกน้อย
- Ads Group กำหนด Target Audience ผ่าน Demographic และยังสามารถสร้าง Audience ได้ 3 ประเภท เช่น Core Audience, Custom Audience, และ Lookalike เหมือน Facebook และ Instagram Ads
- Ads ขั้นตอนสุดท้ายคือการสร้างโฆษณา โดยที่ Tiktok จะให้แบรนด์เลือกใช้ได้ 2 รูปแบบคือ รูปภาพและวิดีโอ (สำหรับรูปภาพหลายภาพ Tiktok จะสร้าง Slideshow มาเป็นวิดีโอให้)
และหลังจากที่แบรนด์ได้ทำการเผยแพร่โฆษณาแล้ว แบรนด์จะมี Dashboard ไว้สำหรับติดตาม Performance ของโฆษณาและยังสามารถใช้ Filter เพื่อกรองข้อมูลและเลือกตรวจสอบได้ อย่างเฉพาะเจาะจงได้ด้วย
รูปแบบโฆษณาที่ช่องทางออนไลน์นี้มีไว้ให้แบรนด์มีอยู่ 5 ประเภทคือ
- In-Feed Ads คือโฆษณาที่จะโผล่มาระหว่างคอนเทนต์ ทำให้ดูกลมกลืนไปกับวิดีโอของ Creator คนอื่นๆ มีเพียงแค่ Call-to-Action กำกับไว้
- Brand Takeover Ads คือโฆษณาที่ผู้ใช้งานจะเจอเป็นอันดับแรกหลังกดเข้าใช้งาน Tiktok ซึ่งจะเป็นการ Takeover หน้าจอของผู้ใช้งาน เหมาะกับการทำโฆษณาประเภท Awareness หรือ Conversion (ราคาแพงพอสมควร)
- Top View Ads คือโฆษณาที่คล้ายคลึงกับ Takeover แต่ว่า Top view จะอยู่อันดับแรกของหน้าฟีดเท่านั้น ไม่ได้เจอแบบ Full-Screen เหมือน Takeover
- Hashtag Challenge Ads คือโฆษณาที่มีความเป็น Tiktok สูงมาก เพราะว่าแบรนด์สามารถสร้าง # ขึ้นมาเพื่อให้เหล่า Creator ร่วมสร้างวิดีโอแนว User-generated Content (UGC) และช่วยสร้าง Brand Awareness ด้วยเช่นกัน
- Branded Effects Ads หรือโฆษณาที่แบรนด์สามารถสร้าง Sticker หรือ Filter ไว้ให้ผู้ใช้ งานเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์ เป็นช่องทางการสร้าง UGC ที่ดีอีกทาง
ซึ่งโฆษณาแต่ละประเภทจะมีราคาที่แตกต่างกัน โดยที่ราคาเริ่มต้นของ Campaign จะอยู่ที่ประมาณ $500 และสำหรับ Ads Group อยู่ที่ $50 ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประเภทและเวลาติดตั้งโฆษณาหรือสามารถทำความรู้จักกับการทำโฆษณาบน Tiktok ก่อนลงมือทำจริงจังได้
จุดเด่นของ Tiktok Ads
- Tiktok Ads เปิดพื้นที่ให้แบรนด์ที่อยากใช้ความสร้างสรรค์ของตัวเองมาโปรโมทสินค้าและบริการ รวมถึงยังให้โอกาสเหล่า Creator ร่วมสร้าง UGC ของตัวเองช่วยสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ออกเป็นวงกว้าง
- Tiktok Ads คือ Social Media ที่ไม่เป็นรองแอปพลิเคชั่นอื่นเลย ไม่ว่าจะจำนวนผู้ใช้งานหรือจำนวนผู้ดาวน์โหลดก็มีเยอะพอกับแอปยักษ์ใหญ่ตัวอื่น มีโอกาสสูงที่จะมีคนมารู้จักหรือเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางนี้
จุดด้อยของ Tiktok Ads
- Tiktok Ads ไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีงบโฆษณาจำกัดหรือไม่สามารถยืดหยุ่นได้ เพราะมีราคาค่อนข้างแพงโดยเฉพาะโฆษณารูปแบบ Takeover
- Tiktok Ads ไม่เหมาะกับโฆษณาที่ต้องใช้ Text หรือรูปภาพที่เยอะเกินไป Tiktok อาจะไม่ใช่ทางเลือก ถ้าแบรนด์ไม่ได้มีความตั้งใจจะโปรโมทโฆษณาผ่านรูปแบบวิดีโอ
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Google Ads
มาถึงช่องทางโฆษณาออนไลน์ที่เป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักอย่างมากในโลกของการยิง Ads นั่นก็คือ Google หรือระบบ Search Engine ยักษ์ใหญ่ที่เป็นที่พึ่งพาในการช่วยหาคำตอบของผู้คนทั่วโลก
แต่นอกจากจะเป็นห้องสมุดออนไลน์ของผู้ใช้งานแล้ว Google ยังเป็นพื้นที่ที่คุณสามารถดึงดูดผู้คน เข้ามาหาธุรกิจของคุณผ่านโฆษณาบนหน้าผลลัพธ์หรือ Search Engine Result Page (SERP) และพาร์ทเนอร์ของ Google ซึ่งตัวอย่างที่คุณเคยพบเจอมา อาจจะเป็นในรูปแบบของ Paid Search ที่มีคำว่า Ads กำกับไว้ หรือ เป็นโฆษณาแบนเนอร์ที่พบเจอตามเว็บไซต์
มาดูกันว่า Google Ads ทำงานอย่างไร
วิธีการทำงานของ Google Ads
หลักการทำงานของ Google Ads นั้นจะใช้ระบบ Bid หรือการที่แบรนด์ต้องประมูลซื้อคีย์เวิร์ดเพื่อให้อยู่บนอันดับต้นของพื้นที่โฆษณา (Ad Rank) ของ Google, Youtube, รวมไปถึงเว็บไซต์ที่เป็น Partner กับ Google ซึ่งการที่จะให้โฆษณาของแบรนด์ไต่ขึ้นไปอยู่บนทำเลที่ดีและปรากฎบนหน้าจอของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบไปด้วยปัจจัยที่หลากหลาย นั่นคือ
- Quality Score หรือคะแนนวัดคุณภาพของโฆษณา Google จะตรวจสอบโฆษณาของแบรนด์ว่ามีเนื้อหาตรงตาม Search Intent ของผู้ใช้งานหรือไม่ รวมถึงการตอบสนองของเว็บไซต์ต่อ Google ว่ารองรับการใช้งานทั้ง Desktop และ Mobile หรือไม่
- Maximum Bid หรือจำนวนเงินที่สูงที่สุดที่แบรนด์สามารถจ่ายได้ในแต่ละครั้ง เมื่อมีผู้ใช้งานเข้าไปชมเว็บไซต์
- Location หรือสถานที่ที่แบรนด์กำหนดในการแสดงโฆษณา ซึ่งส่วนนี้มีผลกับ placement ของโฆษณาเหมือนกันเพราะ Google จะแสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานมากที่สุด
- Keyword ปัจจัยข้อนี้สำคัญกับแบรนด์อย่างมาก เพราะแบรนด์ต้องศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและเลือกยิงโฆษณาไปปสื่อสารกับพวกเขาผ่านคีย์เวิร์ดเหล่านั้น
- Match Types คือเครื่องมือที่ Google เอาไว้ให้แบรนด์สามารถจัดกลุ่มคีย์เวิร์ดในการยิงโฆษณาได้โดยเครื่องมือนี้แบ่งคีย์เวิร์ดออกเป็น 3 ประเภท (ฉบับอัพเดต 2021)
- Broad Keyword คือค่าเริ่มต้นที่ Google จะทำการแสดงผลโฆษณาของแบรนด์ผ่านทุกคำในคีย์เวิร์ดที่แบรนด์เลือกใช้ ทำให้แบรนด์เสียค่าคลิ๊กค่อนข้างเยอะ
- Phrase Keyword คือชุดคีย์เวิร์ดที่ Google จะแสดงผลโฆษณาของแบรนด์ผ่านทุกประโยคหรือคำที่มีคีย์เวิร์ดของแบรนด์อยู่ ซึ่งประโยคนั้นอาจจะเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ไม่มากก็น้อย
- Exact Keyword คือชุดคีย์เวิร์ดที่ Google เลือกแสดงผลโฆษณาตามคีย์เวิร์ดของ แบรนด์แบบเป๊ะๆ ทุกคำ โดยชุดนี้จะตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
- Headline & Description สองสิ่งนี้บนหน้า Search Engine Result Page มีความสำคัญ ถึงแม้คีย์เวิร์ดจะตรงตามกลุ่มเป้าหมาย แต่ถ้า Headline หรือคำอธิบายของเว็บไซต์ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายก็ส่งผลให้คลิ๊กก็น้อยลง
- Ad Extension หรือส่วนขยายของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้งานรู้จักข้อมูลของแบรนด์มากยิ่งขึ้น โดยที่การแสดงผลของ Extension มีหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น Sitelink, Call Extension, Location Extension และ App extension เป็นต้น
หลังจากแบรนด์ได้ทำการ bid คีย์เวิร์ดเพื่อให้โฆษณาแสดงผลแล้วนั้น รูปแบบของโฆษณาของ Google Ads ไม่ได้มีแค่โฆษณาที่ขึ้นอยู่บน Ad Rank เพียงอย่างเดียว แต่มีถึง 5 ประเภทด้วยกัน
- Search Ads หรือโฆษณาที่แสดงผลหลังจากการเสิร์ชคีย์เวิร์ดผ่าน Google โดยที่โฆษณา ประเภทนี้คือส่วนหนึ่งของ Search Engine Marketing (SEM) โดยมีคำว่า Ads กำกับไว้
- Display Ads (GDN) หรือโฆษณาที่มักจะปรากฎเป็นรูปแบบ Display บนเว็บไซต์ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google โดยที่ผู้ใช้งานมักจะพบเห็นอยู่บ่อยครั้งเวลาเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆ ส่วนประกอบหลักของ Display Ads ที่มักพบเห็นกันจะมีรูปภาพหรือวิดีโอ, Copy Writing และ Call-to-Action เชิญชวนให้คลิ๊กเข้าไปและโฆษณาประเภทนี้มีอีกชื่อคือ Google Display Network (GDN)
- Video คือโฆษณาคั่นระหว่างที่กลุ่มเป้าหมายกำลังรับชมโฆษณาบน Youtube อยู่ (Youtube คืออีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Google) โดยที่ระยะเวลาของโฆษณามักจะไม่เกิน 1-2 นาที
- App อีกรูปแบบโฆษณาของ Google ที่เปิดโอกาสให้สายผลิตหรือ App Developer สามารถโปรโมทแอปพลิเคชั่นของตัวเองได้ผ่าน Google Displat Network เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายดาวน์โหลดแอปพลิชั่น โดยที่แบรนด์ทำเพียงแค่บอกข้อมูลของแอป, กลุ่มเป้าหมาย, และราคากับ Google ก็เพียงพอและหลังจากนั้น Google จะจัดการแสดงผลโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เอง
- Shopping อีกรูปแบบโฆษณาที่น่าสนใจและดึงดูดกลุ่มเป้าหมายพอสมควรคือการแสดงผลโฆษณาพร้อมรายการสินค้าประกอบด้วย รูปภาพ ชื่อ ราคา และเว็บไซต์ปลายทางช่วยให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจได้ง่ายขึ้นและสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าได้ทันที (แบรนด์ต้องสร้างบัญชีกับ Google Merchant Ads ก่อนลงโฆษณาประเภทนี้)
จุดเด่นของ Google Ads
- Google Ads สามาถเจาะกลุ่มลูกค้าได้อย่างชัดเจนและแสดงผลได้หลากหลายรูปแบบ
- Google Ads มี Google Dispay Network ที่เป็นพาร์ทเนอร์ครอบคลุมทั่วโลก
- Google Ads ทำงานแบบระบบ Bid ที่แบรนด์จะจ่ายเงินต่อเมื่อมีคนคลิ๊กเข้าเว็บไซต์
จุดด้อยของ Google Ads
- Google Ads มีการใช้งานที่ค่อนข้างซับซ้อนต้องเรียนรู้และต้องทำการ Research Keyword อย่างละเอียดและเพิ่ม Negative Keyword ให้เพียงพอก่อนทำการลงโฆษณาเพื่อให้มั่นใจว่า Google Ads จะแสดงผลโฆษณาให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ YouTube Ads
YouTube หรือช่องทางวิดีโอที่จัดเป็น Search Engine ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจาก Google และนับว่าเป็นอีกช่องทางที่สร้างความบันเทิงให้ผู้เข้าชม ซึ่ง YouTube เป็นเครื่องมือสำหรับแบรนด์ที่อยากเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยคอนเทนต์หลากหลาย รูปแบบ มาดูกันว่า YouTube Ads ทำงานอย่างไร
วิธีการทำงานของ YouTube Ads
เนื่องจากว่า YouTube เป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้ Alphabet (เจ้าของเดียวกับ Google) ดังนั้นการจะสร้างแคมเปญจึงต้องต้องซื้อผ่าน Google Ads ซื้อโฆษณาบนช่องทางออนไลน์นี้ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ
- Campaign คือขั้นตอนที่แบรนด์จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์และรูปแบบของโฆษณาโดยที่วัตถุประสงค์ของ Youtube Ad จะมีอยู่ 6 อย่าง
- Sales
- Leads
- Website Traffic
- Product and Brand Consideration
- Brands Awareness and Reach
- Without a goal’s guidance
และหลังจากกำหนด Objective ของโฆษณาแล้วแบรนด์ต้องเลือกรูปแบบของโฆษณาโดยในทีนี้ต้องเลือกรูปแบบ Video และ Display เพื่อแสดงผลในรูปแบบของ Thumbnail ซึ่งในส่วนนี้จะต้องเลือกรูปแบบย่อย (Subtype) ของโฆษณาด้วย
- Campaign Parameters คือขั้นตอนกำหนดตัวแปรของโฆษณา ไม่ว่าจะเป็น Bid Strategy, Budget & Schedule, Ads Placement, และ Sensitivity ของโฆษณา
- Target Audience คือขั้นตอนที่แบรนด์ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายผ่าน Demographic
- Launch Campaign หลังจากกำหนดทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็สามารถปล่อยโฆษณาได้เลย
ซึ่งประเภทของโฆษณาที่ YouTube มีให้แบรนด์เลือกใช้งานหรือแสดงผลนั้นมีอยู่ 4 ประเภท
- Skippable In-Stream Ads คือโฆษณาที่ผู้ใช้งานสามารถกด Skip ได้หลังจากการแสดงผล 5 วินาทีโดยมักจะปรากฎช่วงก่อนวิดีโอเล่นหรือระหว่างที่วิดีโอกำลังเล่น
- Non-Skippable In-Stream Ads คือโฆษณาที่ผู้ใช้งานไม่สามารถกด Skip ได้เลยและผู้ใช้งานจะอยู่กับโฆษณาของแบรนด์ถึง 15 วินาที
- Video Discovery Ads คือการโฆษณาประเภท Native ที่จะแฝงตัวไว้ตามหน้าต่างๆ ของ YouTube ไม่ว่าจะเป็น Search Result Page, Watch Page, หรือ Homepage ก็ตาม
- Non-Video Ads หรือโฆษณา Display ที่ไม่ใช่วิดีโอ มักจะโผล่มาเป็นรูปภาพตรง Sidebar หรือ Overlay อยู่ในวิดีโอ
คุณสามารถทำความรู้จักกับการทำ YouTube Ads แบบละเอียดผ่านบทความหรือ YouTube สอนลง YouTube Ads แบบ Step-by-Step ได้
จุดเด่นของ YouTube Ads
- YouTube Ads เป็นช่องทางโฆษณาออนไลน์ที่เหมาะกับการนำเสนอคอนเทนต์แบบวิดีโอ
- YouTube Ads ทำงานผ่าน Google Ads และแบรนด์สามารถวัดผลได้จากที่เดียวเลย
จุดด้อยของ YouTube Ads
- สำหรับการทำ YouTube Ads นั้นแบรนด์ต้องลงทุนในการสร้างวิดีโอ
- YouTube Ads อาจมีข้อจำกัดในเรื่อง Targeting ซึ่งแบรนด์ต้องทำความเข้าใจก่อนใช้งาน
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Shopee Ads
สำหรับแพลตฟอร์ม e-commerce ยักษ์ใหญ่อย่าง Shopee ที่เป็นพื้นที่คู่ใจขาช็อปปิ้ง เชื่อไหมว่าช่องทางนี้ก็เป็นอีกช่องทางที่แบรนด์ควรจับตามองเพราะ Shopee นับว่าเป็นช่องทางออนไลน์ที่มีจำนวนผู้ใช้งานเยอะและมีรูปแบบการทำโฆษณาที่น่าสนใจ
มาดูกันว่าบนช่องทางออนไลน์นี้จะมีรูปแบบโฆษณาอะไรและทำงานอย่างไรบ้าง
วิธีการทำงานของ Shopee Ads
สำหรับ Shopee แล้วนั้นการทำโฆษณาบนหน้า Shopping Platform จะทำออกมาในรูปแบบของ Native Ads ซึ่งทำให้เกิดความกลมกลืนไปกับภาพรวมของหน้าต่างนั้นเลย และแน่นอนว่ามีแนวโน้มส่งผลให้คนคลิกเข้าไปดูสินค้าด้วยเช่นกัน และก่อนการทำการลงโฆษณาทุกประเภท แบรนด์ต้องมีบัญชีร้านค้าอยู่ก่อนแล้ว โดยที่ทาง Shopee มีบริการลงโฆษณาอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท นั่นคือ
- Product Search Ads หรือการโฆษณาสินค้าผ่าน Keyword ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการทำ โฆษณาผ่านระบบ Search Engine เลย ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ
- เลือกสินค้าที่ต้องการโฆษณา
- เลือก Keyword ด้วยตัวเองหรือคำแนะนำจาก Shopee
- กำหนดราคา Bid หรือราคาประมูลของ keyword
- กำหนดงบประมาณและระยะเวลาแสดงผล
- Discovery Ads หรือพูดอีกอย่างก็คือโฆษณาที่จะแสดงบนพื้นที่ที่ผู้ใช้งานมีโอกาสพบเจอสูง เช่น Category สินค้าประจำวันบนหน้า Homepage และหน้าสินค้าที่คล้ายกัน เป็นต้น โดยที่จะไปปรากฎอยู่ใน 100 อันดับแรกของหน้าสินค้าที่คล้ายกันและ 35 อันดับแรกของสินค้าที่คุณอาจจะชื่นชอบและ 55 ตำแหน่งแรกของสินค้าแนะนำประจำวัน โดยมีขั้นตอนดังนี้
- เลือกสินค้าที่ต้องการโฆษณา
- กำหนดงบประมาณและช่วงเวลาแสดงผลของโฆษณา
- Shop Search Ads หรือการโฆษณาร้านค้าของแบรนด์ คราวนี้ไม่ใช่การโฆษณาสินค้าอีกต่อไป แต่เป็นการแสดงผลร้านผ่าน Keyword แทน โดยที่ร้านค้าของแบรนด์จะไปปรากฎที่หน้าผลลัพธ์การค้นหา มีขั้นตอนดังนี้
- กำหนดงบประมาณและช่วงเวลาแสดงผลของโฆษณา
- เลือก Landing Page หรือร้านค้าปลายทางของแบรนด์
- เลือก Keyword ด้วยตัวเองหรือคำแนะนำจาก Shopee
- กำหนดราคา Bid หรือราคาประมูลของ keyword
โดยที่การจ่ายเงินจะเป็นระบบ PPC หรือ Pay Per Click ถ้ามีผู้ใช้งานคลิกเข้าไปบนสินค้าของแบรนด์ ระบบจะทำการตัดเงินตั้งแต่ตอนนั้นและอันดับของ Ad Rank ก็ขึ้นอยู่กับมูลค่าของ Bid ที่แบรนด์ยอมจ่ายบวกกับคุณภาพของสินค้าว่ามีความเกี่ยวข้องกับ Keyword มากน้อยแค่ไหน
หรือสามารถเข้าไปดาวน์โหลดเอกสารเพื่อศึกษาการตั้งค่าโฆษณาผ่านช่องทาง Shopee อย่างละเอียดได้
จุดเด่นของ Shopee Ads
- Shopee Ads มีระบบที่คล้ายคลึงกับ Google Ads ดังนั้นถ้ามีประสบการณ์อาจจะไม่ใช่เรื่องยากมาก
- Shopee Ads เน้นการทำ Native Ads ที่สามารถกลมกลืนโฆษณาไปกับหน้า Timeline ได้
จุดด้อยของ Shopee Ads
- Ad Rank ขึ้นอยู่กับจำนวนราคาประมูล Keyword อาจะไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีงบจำกัด
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Lazada
มาถึงช่องทางโฆษณาออนไลน์ตัวสุดท้ายที่เป็นบริษัท e-commerce ชื่อดังอย่าง Lazada ซึ่งก็เป็นอีกช่องทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกกับพ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์ และ Lazada เองก็มีช่องทางสำหรับการโฆษณาบนแอปพลิเคชั่นในรูปแบบที่หลากหลายเช่นเดียวกัน
มาดูกันว่า Lazada จะมีรูปแบบโฆษณาประเภทไหนบ้าง
วิธีการทำงานของ Lazada Ads
สำหรับการทำงานของโฆษณาบนช่องทางออนไลน์นี้นั้นจะเป็นในรูปแบบของ PPC ซะส่วนใหญ่ ซึ่งการซื้อโฆษณา Lazada Ads มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
- Sponsored Product หรือการสปอนเซอร์สินค้าและบริการบน Lazada โดยที่จะทำงานผ่านระบบ CPC หรือ Cost Per Click คือระบบจะตัดเงินหลังจากมีการคลิกบนสินค้าบนหน้าสปอนเซอร์ ขั้นตอนการสร้างโฆษณาชนิดนี้มีดังนี้
- ตั้งชื่อ Campaign และ กำหนดงบประมาณต่อวัน
- เพิ่มสินค้าที่ต้องการโปรโมทผ่านสปอนเซอร์
- ทำการ Launch โฆษณาได้
- Partner Promotion หรือการโปรโมทสินค้าผ่านพาร์ทเนอร์ของ Lazada คล้ายกับการทำงานของ Google Display Network (GDN) โดยที่ Lazada จะนำแบนเนอร์ของแบรนด์ไปโปรโมทบนพื้นที่เหล่านั้น ซึ่งการคิดเงินจะเป็นระบบ CPS หรือ Cost Per Sale จะตัดเงินก็ต่อเมื่อสินค้าขายได้เท่านั้น
- Search Ads หรือการโปรโมทสินค้าผ่านหน้าผลลัพธ์คล้ายกับการทำงานของ Google Ads
- ตั้งค่า Campaign ของโฆษณาที่จะทำ
- เลือกสินค้าที่ต้องการโฆษณา
- เลือก Keyword ที่ต้องการ
- ทำการประมูล Keyword (ยิ่งมาก Ad Rank ยิ่งสูง)
จุดเด่นของ Lazada Ads
- Lazada Ads มีการทำงานคล้าย Google Ads ที่สามารถจ่ายเงินเพื่อทำ Search Ads รวมถึง Display Ads ภายนอก
- Lazada Ads แบบ Partner Promotion จะไม่คิดเงินจากการคลิก แต่จากการซื้อขาย ทำให้แบรนด์ไม่ต้องเสียเงินหลายต่อ
จุดด้อยของ Lazada Ads
- Search Ads บน Lazada อาจไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มี Budget จำกัดหรือไม่สามารถยืดหยุ่นได้
สรุป
จากการรวบรวมช่องทางโฆษณาออนไลน์ทั้งหมดกว่า 10 ช่องทางทั้ง Facebook Ads, Instagram Ads, Twitter Ads, LinkedIn Ads, Tiktok Ads, LINE Ads platform, Google Ads, YouTube Ads, Shopee Ads และ Lazada Ads ซึ่งทั้งหมดก็มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของตัวเอง
พื้นที่เหล่านี้ล้วนเป็นเหมือนเครื่องช่วยกระจายเสียงของแบรนด์ไปยังผู้ฟัง ดังนั้นก่อนการเลือกจ่ายเงินเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการนั้น แบรนด์จำเป็นต้องรู้ว่าสินค้าและบริการของตัวเองคืออะไรและผู้ฟังของแบรนด์คือใครมีพฤติกรรมอย่างไร มักจะอยู่ในพื้นที่ออนไลน์แบบไหน คำถามเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถวาดภาพของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถสร้างแคมเปญที่ไปถึงกลุ่มลูกค้าอย่างแท้จริงเพราะว่ากลยุทธ์คือคือกำลังหลักของการทำธุรกิจ
ในบทความถัดไป เราจะพาคุณมาสร้างกลยุทธ์และวางแผนการทำโฆษณาออนไลน์แบบละเอียด