Chapter 8



SEO Techniques

เทคนิค SEO ในคีย์เวิร์ดที่แข่งขันสูง เว็บเล็กก็สู้เว็บใหญ่ได้

คุณอยากทราบ เทคนิค SEO ที่ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณปรากฏในอันดับต้นๆ เมื่อคนค้นหาด้วย คีย์เวิร์ดทำเงิน ไหมครับ

คนที่ทำการตลาดผ่าน Search Marketing (SEO & SEM) จะทราบว่า คำบางคำ ถือเป็นคีย์เวิร์ดทำเงิน โดยหากเว็บไซต์เราปรากฏในลำดับต้นๆของผลการค้นหาของคีย์เวิร์ดทำเงิน จะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างมาก

แต่ปัญหาคือ เมื่อมีมูลค่าการตลาดมาก คีย์เวิร์ดทำเงินจึงมีการแข่งขันทาง SEO สูงและเข้มข้นตาม

บทความนี้ ผมจะขอแชร์ 5 เทคนิค SEO ที่เป็นส่วนหนึ่งของ คอร์สเรียน SEO สายคุณภาพ ซึ่งผมใช้เทคนิคดังกล่าว ทำให้ shifu ปรากฏในลำดับต้นๆของผลการค้นหาในคีย์เวิร์ดทำเงินหรือคำที่มีปริมาณค้นหาสูงมาแล้ว

ปัจจัยที่ทำให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกของ Google

เรื่องแรกที่คุณทราบคือ อะไระคือปัจจัยหลัก (Main Factor) ที่ส่งผลต่ออันดับผลการค้นหา

จากประสบการ์ณทำ SEO หลายปี ผมพบว่า มี 3 ปัจจัยหลัก คือ

  • ปริมาณคนเข้าชม
  • ประสบการณ์ของผู้ชม (User Singal)
  • ค่าความน่าเชื่อถือ (Authority)

โดยยิ่งเว็บเพจหรือคอนเทนต์ไหน ทำ 3 ปัจจัยข้างบนได้ดีเท่าไหร่ โอกาสเว็บไซต์ติดหน้าแรกในลำดับต้นๆยิ่งมากเท่านั้น

แล้วเทคนิค SEO อะไรบ้างที่ช่วในการทำ SEO ขั้นตอนหนึ่งที่ต้องทำทุกครั้งคือ หาคีย์เวิร์ดที่ต้องการทำอันดับ

ซึ่งคีย์เวิร์ดยอดฮิตที่คนทำ SEO อยากทำอันดับ คือ High Commercial Intent Keyword เพราะเป็นคำที่ใช้โดยคนที่ต้องการสินค้าอยู่แล้ว จึงมีโอกาสสูงที่ผู้เข้าเว็บไซต์จะจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการจากเว็บไซต์

อย่างไรก็ตาม สำหรับสินค้าบางชนิด เว็บไซต์ที่อยู่ในผลการค้นหาหน้า 1 ของคีย์เวิร์ดดังกล่าว คืออีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่าง Lazada , Shopee , Priceza และอื่นๆ ทำให้คีย์เวิร์ดเหล่านี้มีการแข่งขันสูงและยากต่อการทำอันดับ

คำถามคือ หากเราเป็นเว็บไซต์ขายของซึ่งไม่ได้มีทุนมหาศาลแบบคู่แข่ง จะมี วิธีการทำ SEO เพื่อสู้กับคู่แข่งอย่างไร?

บทความนี้ จะแชร์เทคนิคการทำ SEO ในคีย์เวิร์ดที่แข่งขันสูง ซึ่งคุณสามารถนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาผลลัพธ์การทำ SEO ของคุณได้อย่างแน่นอน

เทคนิคทำ SEO ในคีย์เวิร์ดที่แข่งขันสูง

หลักการที่ใช้คือทำเว็บไซต์ให้ “แตกต่างและดีกว่า” คู่แข่ง หรือพูดอีกอย่างคือ คู่แข่งมีจุดอ่อนตรงไหน เราทำตรงนั้นให้ดีกว่า

คุณอาจมีคำถามว่า เว็บไซต์อย่าง Lazada , Shopee จะมีจุดอ่อนได้อย่างไร

คำตอบคือ ส่วนตัวคิดว่า ไม่มีอะไรในโลกสมบูรณ์ 100% เพราะเว็บไซต์ใหญ่แม้จะแข็งแกร่งในการทำ SEO ด้วยคีย์เวิร์ดที่เป็นคำหลัก แต่ก็มักจะไม่โฟกัส Niche Longtail Keyword

1. เลือกคีย์เวิร์ดให้เป็น

สิ่งแรกที่เราควรทำคือ เน้นทำอันดับในคีย์เวิร์ดที่เป็น Niche Longtail Keyword ซึ่งเป็นวลีซึ่งมีความหมายเฉพาะเจาะจง มีคำย่อยที่ขยายคำหลัก

ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ขายชุดหุ้มเบาะรถยนต์ มีคำหลักคือ “ชุดหุ้มเบาะรถยนต์” “ชุดคลุมเบาะรถยนต์”

โดยมีคำที่เป็น Niche Longtail Keyword คือ

  • ชุดหุ้มเบาะรถยนต์ ลายการ์ตูน ราคาถูก
  • ผ้าหุ้มเบาะรถยนต์ ลายการ์ตูน ราคาถูก
  • ชุดคลุมเบาะรถยนต์ แมนยู

ซี่งข้อดีของการเน้นทำอันดับใน Niche Longtail Keyword มีอยู่ 2 ข้อ

ปรับแต่งเว็บให้ “เกี่ยวข้อง” ง่ายกว่า

โดยปกติ E-commerce ยักษ์ใหญ่ จะมุ่งทำอันดับในคำหลัก แต่มักไม่ทำอันดับแบบเฉพาะเจาะจงใน Niche Longtail Keyword บางคำ ซึ่งหากเราปรับแต่งเว็บไซต์ให้เน้นเฉพาะไปที่ Niche Longtail Keyword ผลลัพธ์คือ Google จะมองว่า เว็บไซต์เราดีกว่าในแง่ “ความเกี่ยวข้อง” กับสิ่งที่ผู้ค้นหาต้องการ

มีลักษณะเป็น High Commercial Intent

เนื่องด้วย Niche Longtail Keyword มักเป็นวลีที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นัยยะคือ มันถูกใช้โดยคนที่สนใจสิ่งนั้นอยู่แล้ว จึงเป็นคีย์เวิร์ดที่เปลี่ยนผู้เข้าชมให้เป็นลูกค้าได้ง่าย

2. หนึ่งเว็บเพจ หลายคีย์เวิร์ด

เรื่องต่อมาที่อยากแนะนำคือ ปรับแต่งให้หนึ่งเว็บเพจ ปรากฏในผลการค้นหาของหลายคีย์เวิร์ด

ตัวอย่างเช่น ต้องการทำอันดับ 3 คีย์เวิร์ด คือ คีย์เวิร์ด A , B และ C สิ่งที่จะทำคือ ปรับแต่งให้เมื่อคนค้นหาคีย์เวิร์ด A หรือ B หรือ C คนจะเห็นเว็บเพจเดียวกัน ปรากฏในผลการค้นหาของ Google

คำถามคือ ทำไมต้องทำแบบนั้น

ที่ทำแบบนั้นเพราะว่า เราพยายามที่จะเพิ่มปริมาณคนเข้าชมเว็บเพจ (Page Views) ให้มากที่สุด เพราะปริมาณคนเข้าชม คือหนึ่งในปัจจัยที่ Google ใช้ตัดสินว่าเว็บเพจนั้นเป็นที่ต้องการของผู้ค้นหาข้อมูลหรือไม่เพื่อให้คุณเข้าใจมากขึ้น ขอยกตัวอย่าง ด้วย วิธีการทำ SEO ของ 2 เว็บไซต์ที่มีกลยุทธ์แตกต่างกัน ซึ่งทั้ง 2 เว็บไซต์ต้องการทำอันดับใน 3 คีย์เวิร์ดที่เหมือนกัน สมมุติมีรายละเอียดดังนี้

ปริมาณค้นหา SEO Keyword

เว็บไซต์ A ใช้กลยุทธ์ “หนึ่งเว็บเพจ หลายคีย์เวิร์ด” ทำให้เกิดผลตามรูปด้านล่าง

สอน SEO หลาย Keyword

แต่เว็บไซต์ B ใช้กลยุทธ์ “หนึ่งเว็บเพจ หนึ่งคีย์เวิร์ด” เกิดผลลัพธ์ตามรูปด้านล่าง

ทำ SEO มี Keyword เดียว

จะเห็นได้ว่า เว็บเพจมุ่งหวังของเว็บไซต์ A จะมีคนเข้าชมมากกว่า เพราะคนเข้าชมของทุกคีย์เวิร์ดจะไหลไปรวมที่เว็บเพจเดียว ขณะที่เว็บไซต์ B จะกระจายออกไป

ยิ่งเว็บเพจไหนมีคนเข้าชมมากเท่าไหร่ โอกาสขึ้นหน้า 1 ยิ่งสูงเท่านั้น

3. ทำ User Signal ให้ดี

User Signal คือ ค่าที่สะท้อนประสบการณ์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ มี 3 ค่า ดังนี้

  1. Click Through Rate (CTR) คือ อัตราการคลิกเข้าชมเว็บไซต์
  2. Time On Site คือ เวลาที่คนใช้งานเว็บเพจ
  3. Bounce Rate คือ สัดส่วนของคนที่เข้ามายังหน้าใดหน้าหนึ่งของเว็บเพียงแค่หน้าเดียว แล้วไม่คลิกไปหน้าไหนต่อ (ยิ่งน้อยยิ่งดี)

โดยยิ่งทำให้เว็บไชต์เรามีค่าทั้ง 3 ข้างต้นดีเท่าไหร่ โอกาสที่จะขึ้นหน้า 1 ยิ่งมากเท่านั้น เพราะ Google มองว่า เว็บไซต์เราสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับผู้เข้าชม สะท้อนว่าเป็นเว็บไซต์ดีมีคุณภาพ

จุดอ่อนอย่างหนึ่งของ E-commerce ยักษ์ใหญ่ คือ 99% ของเว็บเพจผู้ขายสินค้า มักจะมีลักษณะเป็น Template คือ โครงสร้างเนื้อหาเหมือนกันหมด ไม่สามารถปรับแต่งได้แบบอิสระ

จุดนี้แหละคือข้อได้เปรียบของเรา เพราะเราสามารถใส่รายละเอียดและปรับแต่งหน้าเว็บเพจได้อย่างเต็มที่ เพื่อจะสร้างประสบการณ์ที่ดีของผู้ชมให้มากกว่าคู่แข่ง โดยเทคนิคการเพิ่ม User Signal ที่แนะนำ ได้แก่

เขียนหัวข้อน่าสนใจและชวนคลิก

พยายามเขียนหัวข้อของเว็บเพจให้น่าสนใจและดึงดูดให้คลิกเข้าชม ซึ่งส่งผลให้ค่า CTR สูงขึ้น

โดยวิธีเขียนหัวข้อที่ดี คือ หัวข้อที่บอกว่าผู้อ่านกำลังจะได้อ่านเรื่องอะไร และให้คุณค่าอะไรแก่ผู้อ่านบ้าง เพราะเมื่อรู้ว่าดูแล้วได้ประโยชน์อะไร คนมักสนใจคลิกชมเว็บไซต์นั้น

ทำ SEO ที่ดี สร้างหัวข้อ
ตัวอย่างการตั้งชื่อบทความที่ดีต่อ SEO

Related Link

Related Link คือ การลิงค์ไปยังเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและมีประโยชน์ต่อผู้ชม ซึ่งส่งผลให้ค่า Time On Site และ Bounce Rate ดีขึ้น เช่น วิดีโอ หรือบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เพิ่ม Page Speed

Page Speed หรือความเร็วในการมองเห็นเนื้อหาของเว็บไซต์ คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อค่า User Signal เพราะหากปล่อยให้คนรอนานมากกว่าจะเห็นเนื้อหา ก็มีโอกาสสูงที่เขาจะออกจากเว็บไซต์ทันที (Google พบว่า 53% ของผู้ใช้งานจะปิดเว็บบนมือถือทันที ถ้าเว็บนั้นใช้เวลาโหลดนานกว่า 3 วิ) หรือไม่เข้าดูหน้าเว็บเพจอื่นอีก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อค่า Bounce Rate และ Time On Site อย่างมาก

ดังนั้นการทำให้เว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะส่งผลต่อเรื่อง SEO นั่นเอง

4. สร้าง Quality Backlink

Quality Backlink คือ Backlink ที่ได้รับมาจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือและคุณภาพสูง

จากการเก็บข้อมูลแรมปี พบว่า Quality Backlink คือสิ่งที่ผลต่ออันดับอย่างมีนัยยะสำคัญ หากเว็บไซต์เราได้รับ Quality Backlink อย่างต่อเนื่อง อันดับในผลการค้นหาจะพุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดด

โดยหลักการสร้าง Quality Backlink มี 3 ข้อ ดังนี้

คุณภาพมาก่อนปริมาณ

เนื่องด้วยเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ มักมี Backlink จำนวนมหาศาล เราจึงไม่ควรแข่งเรื่องปริมาณ เพราะแพ้ตั้งแต่ในมุ้ง ควรเน้นที่คุณภาพมากกว่า

เลือกเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง (Relevance)

ควรติดตั้ง Backlink จากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์เรา ตัวอย่างเช่น หากเว็บไซต์ของเราขายชุดคลุมเบาะรถยนต์ หากได้รับ Backlink จากเว็บไซต์เกี่ยวกับรถยนต์หรือประดับยนต์ แบบนี้ถือว่าเกี่ยวข้อง

ข้อดีของการสร้างลิงค์ในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องคือ มีโอกาสสูงที่คนจะคลิกเข้าชมเว็บไซต์อย่างเป็นธรรมชาติ เพราะเว็บไซต์เราเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ชมต้องการ

โดยจากการเก็บข้อมูลของพบว่า Backlink ที่ได้รับการคลิกอย่างเป็นธรรมชาตินี่ล่ะ คือทีเด็ด เพราะส่งผลดีต่ออันดับเป็นอย่างมาก

เลือกเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง (High Authority)

Authority คือความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ยิ่งได้ Backlink จากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือมากเท่าไหร่ โอกาสที่เว็บไซต์เราจะขึ้นสู่หน้า 1 ยิ่งมากเท่านั้น