ในวินาทีนี้ คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า Social Media เป็นเครื่องมือที่จำเป็น และทรงพลังมากๆ ในการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ (รู้นะว่ากำลังพยักหน้าอยู่ เพราะว่าถ้าคุณไม่เห็นด้วย คุณก็คงไม่ได้มานั่งอ่านบทความนี้อยู่แน่ๆ)

แต่คุณเคยถามตัวเองไหมครับว่า คุณใช้เวลาไปกับมันมากแค่ไหน? แล้วผลที่ได้กลับมามันคุ้มค่ารึเปล่า?

ไม่ว่าคำตอบของคุณจะเป็นอะไร มันมีวิธีพัฒนาให้ดีขึ้นได้อยู่เสมอครับ : )

วันนี้ผมมีเครื่องมือเจ๋งๆ ที่จะติดปีกให้กับคุณบนโลกแห่ง Social Media มาแนะนำ

ผมสัญญาเลยว่า ถ้าคุณเลือกเครื่องมือในเครื่องมือหนึ่งในนี้ไปเป็นผู้ช่วยของคุณ คุณจะ

  • ชีวิตดี๊ดีขึ้นอีกเยอะ เพราะคุณจะใช้เวลากับการจัดการ Social Media น้อยลง แต่ได้งานมากขึ้น
  • สามารถทำในสิ่งที่คุณไม่สามารถทำบน Facebook, LINE, Twitter หรือ Social Media อื่นๆ ได้
  • ประหยัดเงิน
Shifu แนะนำ
ผมเป็นคนคนหนึ่งที่ชอบใช้เครื่องมือต่างๆ มาก เพราะถ้าผมสามารถเลือกเครื่องมือที่ดี/ที่ถูกต้องมาใช้ มันจะทำให้ผมได้สิ่งที่มีค่าที่สุดเพิ่มขึ้นมา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ เวลา

ถ้าเครื่องมือตัวนั้นทั้งดี และฟรี ผมจะ Bookmark เก็บไว้ไม่ให้ห่างตัว

แต่ถ้าเครื่องมือนั้นดี แต่ว่าต้องเสียเงิน ผมจะมีวิธีตัดสินใจง่ายๆ แบบนี้ครับ ผมจะลองคำนวณดูคร่าวๆ ว่าถ้าผมซื้อเครื่องมือตัวนี้มาใช้ มันจะคุ้มค่ากับเวลาที่ผมได้มารึเปล่า เช่นในตอนนี้ผมใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Buffer อยู่ (ราคาประมาณ 360 บาทต่อเดือน) และจากการคำนวณคร่าวๆ ถ้าผมยอมจ่ายราคานี้ทุกเดือน มันจะทำให้ผมประหยัดเวลาไปได้อย่างน้อยๆ 3-4 ชั่วโมงต่อเดือน ซึ่งผมมองว่ามันคุ้มค่ากับการที่จ่ายออกไป 360 บาทเพื่อแลกกับเวลาที่ได้กลับคืนมา 3-4 ชั่วโมงครับ

อ่านเพิ่มเติม: วิธีตามไปหลอกหลอนลูกค้าที่เข้าเว็บไซต์ด้วย Facebook Remarketing

วิธีในการเลือกเครื่องมือสำหรับจัดการ Social Media

ในบทความนี้ผมได้คัดแต่ตัวเด็ดๆ มาให้อ่าน 20 ตัว โดยเครื่องมือที่อยู่ในบทความนี้เป็นเครื่องที่ผมคิดว่าไม่ซับซ้อน ราคาไม่แพงจนเกินไป และเหมาะสมกับการใช้งานของคนไทยที่จะเน้น Facebook, Instagram และ LINE เป็นหลัก

เครื่องมือบางตัวในบทความนี้เป็นตัวที่ผมหลงรักมันมาก และก็ใช้มันอยู่เกือบจะทุกวัน หลายๆ ตัวเป็นตัวที่ผมเคยลองใช้มาแล้ว และมันดีมากๆ แต่ผมรู้สึกว่ามันยังไม่ใช่คู่แท้ผม เพราะผมไม่ได้ต้องการเครื่องมือที่ดีที่สุด แต่ผมต้องการเครื่องมือที่เข้ากับผมได้ดีที่สุด ก็เลยเป็นอันต้องเลิกรากันไป

ผมจะพยายามอธิบายจุดเด่น จุดด้อยของแต่ละตัวให้กระชับที่สุดนะ แล้วคุณก็ลองดูว่าตัวไหนจะเหมาะกับธุรกิจของคุณบ้าง 🙂

20 เครื่องมือที่จะช่วยติดปีกให้กับ Social Media ของคุณ

Social Media Management Tools

มี Social Media หลายตัว? ไม่ต้องห่วง! ใช้เครื่องมือพวกนี้แล้วรับรองว่าเอาอยู่!

1. Buffer

Buffer เครื่องมือจัดการ Social Media

ผมขอเริ่มตัวแรกด้วยตัวที่ใช้อยู่ และเป็นตัวที่ผมชอบที่สุดแล้วกันนะครับ

Buffer เป็นหนึ่งในเครื่องมือจัดการ Social Media ที่มีคนรู้จักมากที่สุดในโลก จริงๆ แล้วผมไม่สามารถเรียก Buffer ว่าเป็น Social Media Management Tool ได้อย่างเต็มปากสักเท่าไหร่ เพราะว่าสิ่งที่ Buffer โฟกัสนั้นมีอยู่แค่อย่างเดียวก็คือการทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้าสามารถ Publish โพสต์บน Facebook, Twitter, Google+, Linkedin, Pinterest และล่าสุดคือ Instagram ของตัวเองได้ง่าย เร็วและดีที่สุด เพราะฉะนั้นแล้วมันน่าจะถูกเรียกว่า Social Media Publishing Tool ซะมากกว่า

และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ผมชอบ Buffer มากๆ เพราะว่ามันโฟกัสสุดๆ แบบไม่มีแตกแถว อะไรที่ไม่ใช่จุดแข็ง หรือจุดโฟกัส Buffer เลือกที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องมืออื่นๆ แทนที่จะมาเสียเวลาทำเอง ซึ่งถ้าเทียบกับเจ้าอื่นๆ ในแง่ Publishing แล้ว ผมคิดว่า Buffer ทำออกมาได้ดีที่สุดครับ ถ้าอยากรู้ว่า Buffer เจ๋งยังไง/ทำอะไรได้บ้าง สามารถดูได้จากบทความนี้เลยครับ

ส่วนข้อด้อยของมันก็คือเรื่องราคาครับ ดูเผินๆ อาจจะดูเหมือนถูก แต่ถ้าเทียบกับเจ้าอื่นๆ ที่สามารถทำอะไรได้หลากหลายกว่าในราคาที่ไม่ต่างกันมากจึงทำให้ราคาสูงไปนิดนึงครับเมื่อเทียบกับสิ่งที่มันทำได้ และถ้ากลุ่มลูกค้าเราเป็นคนไทย ประเทศไทย ตัวที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็น Facebook กับ Instagram (และ LINE อีกตัวหนึ่ง) ซึ่งอาจจะทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จาก Buffer ได้อย่างเต็มที่ เลยอาจจะไม่คุ้มจ่าย (ต่างประเทศใช้ Twitter กับ Pinterest รวมถึง Social อื่นๆ กันหนักมาก)

ราคา: เริ่มต้นฟรี (มีได้แค่ 3 Social Accounts และตั้งเวลาโพสต์ได้ไม่เกิน 10 โพสต์)

ดูรีวิวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Buffer แบบวีดีโอได้ที่นี่

2. Coschedule

Coschedule

ผมเชื่อว่าน้อยคนมากที่จะเคยได้ยินชื่อของ Coschedule เพราะว่ามันเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างเฉพาะทางที่เหมาะสำหรับ Blogger, Marketer และ Publisher ที่สร้างคอนเทนต์จำนวนมหาศาล

ซึ่งตัว Coschedule นั้นจะเชื่อมต่อเข้ากับ WordPress, Evernote, Google Docs และ Social Media (Facebook, Twitter, Google+, Linkedin, Tumblr และ Pinterest) และจะทำให้เราสามารถตั้งเวลาในการปล่อยคอนเทนต์ และเห็นภาพแผนคอนเทนต์ทั้งหมดของเราได้บนแพลตฟอร์มเดียว ผมคิดว่าใครที่ใช้ WordPress ในการทำเว็บไซต์ และมีการผลิตคอนเทนต์จำนวนมาก Coschedule น่าจะเป็นตัวที่ตอบโจทย์มากๆ เลยครับ ถ้าอยากลองอ่านรีวิวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Coschedule สามารถอ่านได้ที่บทความนี้ครับ

สำหรับข้อด้อย จากที่ผมได้เคยลองเข้าไปใช้งานดูสัก 2-3 อาทิตย์ ผมรู้สึกว่าตัวระบบมีความซับซ้อนในระดับหนึ่ง และมันยังต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของผมค่อนข้างเยอะด้วย เพราะถ้าจะใช้ Coschedule ให้ได้ประสิทธิภาพที่สุดต้องเปลี่ยนจากการใช้ Calendar ตัวอื่นๆ มาใช้ Coschedule ในการวางแผนคอนเทนต์แทน ข้อด้อยอีกอย่างที่สำคัญก็คือ มันไม่มีให้ใช้ฟรีครับ

ราคา: เริ่มต้นที่ $15 ต่อเดือน (ทดลองใช้ได้ฟรี 14 วัน)

3. Hootsuite

Hootsuite

Hootsuite น่าจะเป็น Social Media Management Tool ตัวแรกๆ ที่ปล่อยออกมาในตลาด และน่าจะเป็นตัวที่ดังที่สุด และครบเครื่องที่สุดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ Publish คอนเทนต์ลงบน Social Media, การจัดการกับข้อความ และคอมเมนต์, การสร้างแคมเปญ และอื่นๆ อีกมากมาย

ข้อดีของ Hootsuite คือมันทำได้แทบจะทุกอย่างเท่าที่ Social Media Management Tool ดีๆ ควรจะทำได้ และที่สำคัญเราสามารถเริ่มต้นใช้งานมันได้ฟรี ส่วนราคาแบบพรีเมียมนั้นก็เริ่มต้นในราคา $9.99 ซึ่งถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่มันทำได้ ถ้าอยากอ่านเพิ่มเติมว่าทำไมคุณถึงควรใช้ Hootsuite ก็ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ

อ่านๆ เกี่ยวกับ Hootsuite มาได้สักพัก คุณอาจจะรู้สึกดี และเห็นว่านี่แหละคือรักแท้ที่กำลังตามหาอยู่ แต่ก่อนตัดสินใจผมอยากจะให้อ่านข้อด้อยของมันก่อน เพราะมันเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ทำให้หลายๆ คนเบือนหน้าหนี Hootsuite และหันไปใช้เครื่องมือตัวอื่นแทนนั่นก็เพราะว่า Hootsuite นั้น ‘ทำอะไรได้หลายอย่างเกินไป'  จนทำให้คนรู้สึกว่ามันใช้งานยาก ซึ่งจากที่ผมลองใช้มา มันก็ใช้งานยากจริงๆ แหละครับ ฮ่าๆ และอีกเหตุผลที่สำคัญมากๆ เลยก็คือยิ่งทีมเราใหญ่เท่าไหร่ ราคามันจะยิ่งแพงมากขึ้นเท่านั้น (และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ Hootsuite ไม่ยอมบอกราคาสำหรับทีมที่มีคนใช้งานมากกว่า 10 คนขึ้นไป) ถ้าอยากอ่านเพิ่มเติมว่าทำไมคุณถึงไม่ควรใช้ Hootsuite ก็ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ

ราคา: เริ่มต้นฟรี (มีได้แค่ 3 Social Profile และสามารถตั้งเวลาโพสต์ได้ไม่เกิน 30 โพสต์)

ดูรีวิวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hootsuite แบบวีดีโอได้ที่นี่

4.MeetEdgar

MeetEdgar

MeetEdgar เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการ Social Media ที่คุณสามารถตั้งเวลาโพสต์คอนเทนต์บน Accounts ต่างๆ ของคุณ จึงช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการบริหารจัดการข้อมูลบน Social Media ได้อย่างมากทีเดียว

ข้อดีของ MeetEdgar คือสามารถนำเอาคอนเทนต์ที่เคยเผยแพร่ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโพสต์ที่เป็นข้อความ รูปภาพ วิดีโอ มาจัดคิวโพสต์ซ้ำเรื่อยๆ บนหน้า Feed ให้มียอด Reach แบบ Organic เพิ่มมากขึ้น แต่มีข้อจำกัดอย่างนึงคือ MeetEdgar สามารถจัดการ Social Media ได้เพียง 4 ช่องทางนั่นคือ Facebook (ทั้งบน Fanpage และ Group), Twitter, LinkedIn และ Instagram

ราคา: สำหรับราคาของ MeetEdgar รายเดือนจะอยู่ที่ $49 ซึ่งคุณสามารถใส่บัญชีใช้งานบน Social Media ได้ถึง 25 Accounts และหากว่าคุณไม่ประทับใจในการใช้งานสามารถขอเงินคืนเต็มจำนวนได้ภายใน 30 วัน

Image Editor

รูปภาพบน Social Media เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้าง Engagement บน Social Media ถ้าคอนเทนต์คุณดี รูปคุณสวย รับรองว่าคนไลก์ คอมเมนต์ แชร์ โลดแน่นอน!

5. Canva

Canva Homepage

ถ้าผมต้องเลือกเครื่องมือที่ชอบที่สุดในบทความนี้ เครื่องมือนั้นคงหนีไม่พ้น Canva เพราะว่ามันทำให้คนที่โง่เรื่องการออกแบบสุดๆ อย่างผมสามารถทำรูปออกมาให้ดูเป็นผู้เป็นคนกับเขาได้

เครื่องมือที่แสนวิเศษอย่าง Canva นั้นสามารถช่วยให้คนธรรมดาๆ ที่ไม่มีหัวด้านการออกแบบสามารถออกแบบ Facebook Cover, รูปบน Blog, Infographic หรือแม้แต่ eBook ได้อย่างง่ายๆ และดูสวยงามผ่าน Template ที่ Canva สร้างมาให้อยู่แล้ว ที่สำคัญคือเวอร์ชั่นฟรีของ Canva มันสามารถใช้งานได้ดีมากๆ ดีเกินไป จนบางครั้งผมรู้สึกผิดที่ไม่ต้องจ่ายเงินเวลาใช้งานเลยล่ะ

ข้อด้อยของที่เป็นจุดสำคัญมากๆ ของ Canva ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นฟรีหรือเวอร์ชั่นเสียเงิน ($12.95 ต่อเดือน) ก็ตามคือ Canva ไม่สามารถเชื่อมต่อ และทำงานร่วมกับโปรแกรมออกแบบชื่อดังอย่าง Adobe Photoshop หรือ Adobe Illustrator ได้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่า Canva น่าจะเหมาะกับคนที่ไม่ใช่นักออกแบบมากกว่า

ราคา: เริ่มต้นฟรี (มี Folder ให้ 2 Folder และสามารถดาวน์โหลดไฟล์นามสกุล PDF, JPEG และ PNG แบบที่พื้นหลังไม่ Transparent)

Shifu แนะนำ
อย่างที่บอกไปว่า Canva มันดีพอๆ กับเวอร์ชั่นเสียเงิน คุณอาจจะสงสัยว่า Canva ทำเงินจากไหนใช่ไหมล่ะครับ?

คำตอบก็คือ Canva ทำเงินจากการขายรูปภาพบนแพลตฟอร์มด้วย เวลาค้นหารูปภาพที่จะเอามาใช้ลองสังเกตสัญลักษณ์ที่มุมขวาล่างของรูปดู มันจะมีสัญลักษณ์เขียนว่า Free หรือไม่ก็ $1 ถ้าคุณไม่อยากเสียเงินอย่าลืมสังเกตสัญลักษณ์อันนี้ดีๆ ด้วยล่ะครับ

ดูรีวิวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Canva แบบวีดีโอได้ที่นี่

6. Pablo

Pablo Homepage

Pablo เป็นโปรเจคที่ Buffer ทำเล่นๆ เป็น Side Project แต่ดันมีคนใช้เยอะจน Buffer ต้องดันออกมาเป็น Product อีกตัวหนึ่ง

นอกจากเรื่องการช่วยปรับแต่งขนาดรูปภาพให้เหมาะสมกับ Social Media ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram และ Pinterest แล้ว คุณยังสามารถใส่ Filter, Text หรือ Logo แบรนด์ของคุณลงไปได้อีกด้วย ยัง แค่นั้นยังไม่พอ คุณยังสามารถค้นหารูปภาพฟรี ไม่ติดลิขสิทธ์กว่า 6 แสนรูปภาพได้ผ่าน Pablo เลย หลักจากปรับแต่งรูปเสร็จแล้ว คุณสามารถที่จะเซฟเก็บไว้ หรือแชร์ไปยัง Social Media ต่างๆ ได้ทันที

สำหรับข้อด้อยของ Pablo ก็คือคุณไม่สามารถเซฟเทมเพลต หรือรูปภาพไว้ได้เลย ถ้าคุณเข้ามาใช้งานมันใหม่อีกครั้ง คุณจะต้องเริ่มทำใหม่ทั้งหมด

ราคา: ฟรี

7. Crello

Crello Homepage

Crello เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบจาก Depositphotos ซึ่งเป็นบริษัท Stock Photography โดยคุณสามารถสร้างโพสต์สำหรับแชร์บน Social Media ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ, Banners, โปสเตอร์บน Template หรือสามารถกำหนดขนาดเองได้

ข้อดีของ Crello คือมี Templates ให้เลือกใช้มากกว่า 10,000 รูปแบบและยังสามารถเลือกขนาดของ Format ให้เข้ากับขนาดที่ต้องการโพสต์ลงบน Social Media ของคุณ นอกจากนี้คุณยังสามารถตกแต่งงานดีไซน์ของคุณด้วยรูปภาพและ Vectors ที่มีให้เลือกถึง 60 ล้านรูปที่มีให้เลือกทั้งแบบฟรีและเสียเงินด้วย

ราคา: สำหรับ Crello คุณสามารถเข้าใช้งานได้ฟรี โดยต้องสมัครสมาชิกก่อน และบางรูปภาพที่ใช้ตกแต่งอาจจะต้องเสียเงินซื้อในราคา $0.99

8. Yala

Yala Homepage

Yala เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสร้าง Social Video Ads เพื่อช่วยในการสร้าง Traffic บน Social Media ของคุณ และถึงแม้ว่าคุณจะไม่เคยตัดต่อวิดีโอมาก่อน แต่ Yala ก็ช่วยให้คุณสร้างวิดีโอสำหรับโฆษณาบน Social Media ได้อย่างมืออาชีพ

การใช้งาน Yala ค่อนข้างง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมาก เพียงแค่คุณอัปโหลดไฟล์โลโก้ของคุณลงไปและจากนั้นเลือกสี CI (Corporate Identity) ขององค์กร เมื่อกดต่อไปคุณจะพบว่ามี Template ให้เลือกอยู่จำนวนหนึ่งและสามารถเลือกวิดีโอที่ทางเว็ปมีให้มาใส่ไว้ในคลิปได้

ข้อจำกัดของ Yala คือยังไม่สามารถ Custom การทำวิดีโอได้เท่าที่ควร รวมถึงยังมีลูกเล่นให้ใช้งานที่น้อย

ราคา: สำหรับ Yala สามารถใช้งานได้ฟรี 7 วัน และถ้าหากต้องการสมัครเพื่อใช้งานต่อจะมีราคาให้เลือกระหว่าง $39 ต่อเดือน กับ $390 ต่อปี

Workflow Management

เครื่องมือตัวนี้จะทำให้แพลตฟอร์ม และแอคเคาท์ Social Media ของคุณเชื่อมต่อกันได้ดีกว่าที่เคย

9. IFTTT (If This, Then That)

 IFTTT Homepage

เนื่องจากว่า Social Media แต่ละตัวนั้นถูกสร้างขึ้นมาโดยบริษัทที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นมันจะมีข้อจำกัดในเรื่องการเชื่อมต่อกันของแพลตฟอร์มค่อนข้างสูง แต่ข้อจำกัดนั้นถูกทำให้ลดลงด้วยเครื่องมือที่ชื่อว่า IFTTT นี่เอง

IFTTT เป็นเครื่องมือที่ช่วยเชื่อมต่อแอพพลิเคชั่นดังๆ ต่างๆ กว่า 500 แอพเข้าด้วยกัน และช่วยให้แอพต่างๆ ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ พูดแบบนี้อาจจะยังไม่เห็นภาพ เดี๋ยวเราลองมาดูตัวอย่างกันนะครับ

คุณสามารถส่งโพสต์ของ Facebook ไปยัง Twitter ได้ ด้วย Hashtag เฉพาะ (อย่างของ Content Shifu เอง ถ้าโพสต์ไหนบน Facebook เราใส่ Hashtag ว่า #Contentshifu ตัวโพสต์จะถูกส่งไปยัง Twitter, Google+ และ Linkedin โดยอันโตมัติครับ)

หรืออีกตัวอย่างก็คือคุณสามารถตั้งให้รูปทุกรูปที่คุณโพสต์บน Facebook ถูกเซฟเข้า Google Drive ของคุณโดยอัตโนมัติได้

ถ้าจะให้ผมสาธยายฟีเจอร์ของมัน รับรองว่าพูดทั้งวันก็ไม่หมดครับ แนะนำว่าให้ลองไปเล่นเอง IFTTT หรือไม่ก็ไปอ่านบทความ How to use IFTTT for Social Media Automation ดู น่าจะเป็นเครื่องมือที่ถูกใจคนที่ชอบอะไรแบบอัตโนมัติอยู่พอสมควรครับ

ข้อด้อยของ IFTTT เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Zapier ก็คือ ตัว Zapier สามารถสร้าง Workflow หลายชั้นติดต่อกันได้ครับ ตัวอย่างเช่นคุณอาจจะตั้งค่าว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณได้รับอีเมลใหม่บน Gmail ตัว Copy ของ Email นั้นจะถูกส่งไปยัง Dropbox (Cloud Storage Service) โดยอัตโนมัติ และพออีเมลนั้นถูก Copy ใส่ Dropbox แล้ว Dropbox จะส่งข้อความแจ้งเตือนต่อไปยัง Slack (messaging app สำหรับบริษัท) ของคุณ

ราคา: ฟรี

10. Zapier

Zapier Homepage

Zapier เป็นกาวที่เชื่อมต่อได้มากกว่า 1,000 เว็ปแอปพลิเคชัน” เป็นคอนเส็ปหลักของ Zapier ที่เป็นเครื่องมือสำหรับ Online Automation ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลของเว็ปไซต์ที่คุณใช้งานบ่อย เช่น Gmail, Slack, MailChimp, Google Calendar, Evernote, Todoist และอื่นๆ กว่า 1,000 เว็ปไซต์ โดยที่คุณไม่ต้องเขียนโค๊ดไว้ที่หลังบ้านของเว็ปไซต์

Zapier ทำงานได้ด้วยการวางแผนการทำงานด้วยการตั้งค่าของคุณ เพียงแค่ตั้งค่าว่า “เมื่อเกิดขั้นตอน A แล้ว ขั้น B ต้องทำอะไรต่อ”

เช่น ถ้าคุณมี Lead จำนวนมากที่ได้รับมาจาก Facebook แล้วคุณต้องนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปใส่ไว้ในระบบ CRM ทาง Zapier จะช่วยทำงานนี้ให้กับคุณได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่คุณตั้งค่าในโปรแกรมว่า เมื่อคุณได้รับข้อมูลของ Lead บน Facebookให้ Zapier นำข้อมูลไปใส่ในระบบ CRM ต่อได้เลย

ข้อดีของ Zapier คือมีระบบ Autoreplay (ตั้งแต่ราคา $50 ขึ้นไป) ที่เมื่อระบบ API ที่เชื่อมต่อระหว่างเว็บไซต์มีการล่มชั่วคราว Zapier จะพยายามทำงานอัตโนมัติซ้ำให้อีกครั้งใน 10 ชั่วโมง โดยถึงแม้จะดูว่าเป็นข้อดีแต่ระบบ Autoreplay จะต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนที่แพงขึ้น และสำหรับผู้ที่ใช้งานฟรีทาง Zapier จะส่ง email แจ้งเตือนไปให้กับผู้ใช้งานเข้าไปเรียกใช้งานซ้ำด้วยตัวเอง

ราคา: การใช้งานเริ่มต้นของ Zapier ทำได้ฟรี และใน 14 วันแรกจะสามารถใช้งานเครื่องมือแบบ Premium ได้ สำหรับ Starter Account แบบเสียเงินรายเดือน $20 ที่สามารถใช้งานเครื่องมือแบบ Premium และ Professional accounts รายเดือน $50 ไปจนถึง Professional Plus account รายเดือน $125 จะสามารถใช้งานระบบ Autoreplay ได้

ดูรีวิวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Zapier แบบวีดีโอได้ที่นี่

Social Media Conversion Tools

อีกหนึ่งวิธีการในการที่ทำให้กลุ่มคนที่แม้จะกำลังอยู่ในช่วง Awareness ก็สามารถกลายเป็นลูกค้าของคุณอย่างรวดเร็วด้วย Conversion Tools ที่สามารถติดตั้งได้ทั้งบนเว็ปไซต์และ Social Media

11. snip.ly

snip.ly Homepage

เครื่องมือสำหรับการสร้าง Call-to-Action บนเว็ปไซต์ให้ผู้ที่เข้าชมเว็ปไซต์อื่นอยู่ สามารถเข้ามาที่หน้าเว็ปของคุณได้ผ่าน Slide in ที่วิ่งขึ้นมาบนเว็ปไซต์ที่พวกเขากำลังเข้าชมอยู่

โดยปกติแล้วถ้าคุณกำลังชมเว็ปไซต์อยู่หนึ่งเว็ปไซต์ คุณจะพบว่ามีปุ่ม Call-to-Action โผล่ขึ้นมาในเว็ปไซต์เหล่านั้นหลากหลายวิธี แต่ปุ่มเหล่านั้นก็ยังเชื่อมต่อไปยังภายในเว็ปไซต์เหล่านั้นอยู่ดี แต่สำหรับการทำงานของ snip.ly แล้วจะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือปุ่ม Call-to-Action บนเว็ปไซต์ที่คุณกำลังเข้าชมอยู่ จะเชื่อมต่อคุณไปยังเว็ปไซต์อื่น

เช่น ถ้าคุณมีเว็ปไซต์แล้วต้องการโปรโมทบนหน้าเว็ปไซต์อื่น คุณเพียงแค่นำเอาลิงค์เว็ปไซต์นั้นมาฝากไว้ที่ snip.ly แล้วเมื่อมีผู้เข้าชมเว็ปไซต์ผ่านลิงค์ที่คุณฝากเอาไว้ ปุ่ม Call-to-action ที่เชื่อมไปยังหน้าเว็ปของคุณจะแสดงออกมา

ข้อดีของ snip.ly คือการดึงให้คนเข้ามายังเว็ปไซต์ของคุณได้ผ่านปุ่ม Call-to-Action ที่ดึงดูดให้คลิกเข้ามา ส่วนข้อเสียอาจมีเพียงเล็กน้อยคือการสร้างความรำคาญใจได้ ถ้าผู้ที่เข้าชมนั้นไม่ได้ต้องการเป็นปุ่มที่เด้งออกมาในระหว่างที่พวกเขากำลังชมเว็ปไซต์

ราคา: snip.ly สามารถทดลองใช้ได้ฟรี 14 วัน สำหรับ Premium มีราคาให้เลือกจ่ายทั้งรายเดือนและรายปี ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปตามข้อเสนอของทางเว็ป

12. Pixelme

Pixelme Homepage

Pixelme เป็นเครื่องมือที่มีทั้ง URL Shortener ที่ใช้สำหรับการย่อลิงค์ให้คุณได้ติดตามผลจากลิงค์ที่คุณฝากเอาไว้ รวมถึง UTM เพื่อตดตามวัดผล Conversion จากการคลิกเพื่อให้สามารถ Retarget บน Ad บนช่องทางหลากหลายทั้ง Facebook, Twitter, LinkedIn และอื่นๆ

ข้อดีของ Pixelme คือการที่สามารถติดตามผล, นับการคลิก, และติดตาม Conversion จากทุกแคมเปญที่คุณสร้างเอาไว้มารวมไว้ในที่เดียว เพื่อให้คุณได้เก็บข้อมูลของคนที่คลิกลิงค์ที่คุณติดเอาไว้ ให้สามารถยิงโฆษณาให้กับพวกเขาได้ในอนาคต

ราคา: Pixelme สามารถเข้าใช้งานได้ฟรี 7 วัน โดยมีให้เลือกทั้งแบบรายเดือนและรายปี (ใช้งานฟรีอีก 2 เดือน) โดยราคาที่สูงขึ้นจะช่วยให้ได้รับคลิกที่เยอะมากขึ้น

Chatbot

นอกจากเครื่องมือที่ช่วยจัดการการทำ Social Commerce (เช่นจัดการ Inbox) ของคุณแล้ว “Chatbot” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปีที่ผ่านๆ มา ซึ่งเครื่องมืออย่าง “Chatbot” นั้นจะช่วยให้คุณสามารถช่วยให้คุณทำ Social Commerce หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Social Media ได้อย่างเป็นอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

13. ManyChat

ManyChat Homepage

Manychat เป็นเครื่องมือในการสร้าง Chatbot สำหรับ Facebook Messenger ที่ผมคิดว่าครบเครื่องสำหรับการทำการตลาดและใช้งานง่ายที่สุดตัวหนึ่ง

นอกจากที่คุณจะสามารถสร้าง Bot เพื่อให้มันช่วยตอบช่วยคุยกับคนที่ติดต่อคุณเข้ามาแล้ว Manychat ยังมีเครื่องมืออื่นๆ อีกหลายอย่างอย่างเช่น Growth Tools (เครื่องมือในการสร้าง Popup, Slide in หรือ Landing Page เพื่อทำให้คนติดตามหรือพูดคุยกับ Bot ของคุณ) Audience Segmentation รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับเครื่องมือการทำการตลาดอื่นๆ อีกหลายตัว

14. Chatfuel

Chatfuel Homepage

Chatfuel เป็นเครื่องมือสำหรับธุรกิจที่ใช้ Facebook เป็นหลัก ซึ่งคุณสามารถสร้าง Chat bots เพื่อตอบโต้กับลูกค้าบน Facebook Messenger โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการใส่โค๊ด เพียงแค่กดปุ่มเชื่อมต่อกับ Facebook ก็สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที

บน Chatfuel คุณสามารถสร้างคอนเทนต์เพื่อใช้ใน Messenger ได้อย่างหลากหลายบนหน้า Interface ที่ใช้งานง่าย โดยคุณสามารถสร้างคอนเทนต์ได้ทั้งข้อความ รูปภาพ ไฟล์เสียง ปุ่มแชร์ ปุ่มโทร วิดีโอ รวมถึงสร้าง Campaigns เพื่อส่งไปยังกลุ่มผู้ใช้งานเฉพาะที่เคยพูดคุยบน Messenger

นอกจากการสร้าง Bot Chat แล้ว Chatfuel ยังสามารถแสดงข้อมูลภาพรวมบน Dashboard ให้คุณเห็นภาพรวมทั้งจำนวนผู้คลิก เวลาการเปิดดูแชทล่าสุด และจำนวนการตอบโต้ออกมาเป็นรูปแบบกราฟให้เห็นภาพได้ชัดเจน

ถึงแม้ว่า Chatfuel จะสร้างคอนเทนต์ได้อย่างหลากหลายเพื่อเป็น Chatbot ไปยังกลุ่มผู้ติดตามบน Facebook Messenger แต่ก็ยังไม่สามารถส่งคอนเทนต์ประเภทที่เป็นไฟล์แนบหรือ Emoji ได้

ราคา: สำหรับ Chatfuel สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ฟรี โดยจะได้ใช้งาน Feature พื้นฐาน ติดข้อความโฆษณาของแบรนด์ “Powered by Chatfuel” และจำกัดที่ 1,000 Subscribers นอกจากนี้ยังมีรูปแบบ Pro และ Premium ที่ต้องจ่ายรายเดือนโดยได้รับสิทธิ์ในการใช้งาน Feature อื่นๆ ตามเงื่อนไขที่แสดงบนหน้าเว็ป และไม่ติดข้อความโฆษณาของแบรนด์

URL Shortener

หลายๆ ครั้งผมก็รู้สึกนะว่า Link ที่ผมแชร์มันยาวเกินไป โดยเฉพาะ Link ภาษาไทย แชร์ทีไร ภาษาต่างดาวขึ้นทุกที ถ้าคุณรู้สึกเหมือนกันกับผม ผมมีตัวช่วยให้คุณ

15. Bit.ly

Bitly Homepage

Bit.ly เป็นบริการทำ URL ให้สั้นลงที่มีชื่อเสียงที่สุดตัวหนึ่งบนโลกออนไลน์ ซึ่งนอกจากที่ Bit.ly จะสามารถทำให้ลิงก์สั้นลงแล้ว คุณยังสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการคลิกลิงก์ที่ใช้ Bit.ly ย่อได้ว่ามีคนเข้าในแต่ละวันเท่าไหร่และคนมาจากช่องทางไหนบ้าง

Shifu แนะนำ
ตัวอย่างการทำลิงก์ให้สั้นลงเช่นการย่อจาก https://contentshifu.com/best-social-media-management-tools/ เป็น bit.ly.com/leki3 หรือ bit.ly.com/shifu-social-tool

จริงๆ แล้วบนโลกใบนี้ยังมีบริการทำ URL ให้สั้นลงอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นของ Tinyurl, Tiny.cc, Yourls หรือ Rebrandly เป็นต้น คุณสามารถไปทดลองใช้ดูได้ครับว่าตัวไหนเหมาะกับคุณที่สุด

ราคา: เริ่มต้นใช้งานฟรี

16. Rebrandly

Rebrandly Homepage

อีกหนึ่งเครื่องมือย่อลิงค์ที่น่าสนใจ โดยเมื่อทำการย่อลิงค์แล้วคุณสามารถ Custom โดเมนเนมให้เป็นชื่อแบรนด์ของคุณและปิดท้ายด้วย Keyword ที่คุณต้องการ ทำให้ได้ลิงค์ที่สั้น มีความน่าเชื่อถือและทำให้มี CTR เพิ่มขึ้นถึง 39% เมื่อเทียบกับ URL ที่ยังไม่ได้ย่อ ซึ่งเหมาะกับทั้งธุรกิจแบรนด์ใหญ่, ธุรกิจขนาดเล็ก, Influencer รวมถึงใช้ในรายบุคคลได้อีกด้วย

นอกจากการย่อลิงค์แล้ว Rebrandly ยังช่วย Track การคลิกลิงค์ออกมาเป็นข้อมูลภาพรวมให้คุณได้เห็น Traffic จากการคลิกเพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพของลิงค์ปลายทางได้ดียิ่งขึ้น

ราคา: Rebrandly เริ่มต้นใช้งานได้ฟรีสำหรับรายบุคคล แต่จะจำกัด 5,000 Clicks Tracked ต่อเดือน โดยสำหรับราคาสมาชิกจะมีแบบ Starter $29 ต่อเดือน และแบบทีม $499 รวมถึงรูปแบบองค์กรที่สามารถ Custom ราคาได้

Social Monitoring & Analytics

โลก Social เป็นโลกที่ประกอบด้วยคอนเทนต์จำนวนมหาศาล คุณจะรู้ได้ยังไงว่าตอนนี้เรื่องไหนกำลังเป็นกระแส? หรือผู้ติดตามบน Facebook Page / Twitter Account คนไหนที่เป็นแฟนอันเหนียวแน่นของคุณ?

ข้อมูลคือพลังอำนาจ และข้อมูลที่ถูกต้องคือพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ครับ : )

17. Social.gg

Socialgg Homepage

คุณเคยอยากรู้เรื่องชาวบ้านไหมครับ?

พูดแบบนี้อาจจะดูเหมือนผมพูดจาหาเรื่อง แต่ในหลายๆ ครั้ง การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ ใครเร็วกว่าจะได้เปรียบ

ซึ่งเครื่องมือตัวแรกที่ผมอยากจะแนะนำเป็นเครื่องมือฟรีที่ชื่อว่า Social.gg ซึ่งถูกสร้างโดยบริษัทสัญชาติไทยที่ชื่อว่า Computerlogy

หลักการทำงานของมันก็คือตัวระบบจะดึงข้อมูล Social ของทั้งประเทศไทยมา แล้วดูว่าเรื่องไหนกำลังเป็นกระแส แล้วก็นำเรื่องเหล่านั้นมาจัดเรียงเป็นหมวดหมู่

ใครที่ทำสายข่าวอยู่ เครื่องมือนี้น่าจะช่วยให้หาข่าวได้ง่ายขึ้นเยอะเลย

ข้อด้อยก็คือเครื่องมือตัวนี้ทำได้แค่ดูกระแสครับ ถ้าเราต้องการที่จะเอากระแสไปวิเคราะห์ต่อ แล้วเอาไปใช้งาน อาจจะต้องนั่งวิเคราะห์เอาเองครับ

ราคา: ฟรี

18. Buzzsumo

Buzzsumo Homepage

Buzzumo เป็นหนึ่งในเครื่องมือ Social Analytics ที่ทรงพลังสำหรับการทำ Content Marketing ซึ่งจะช่วยให้คุณค้นหาว่าคอนเทนต์ไหน หรือ Topic ไหน กำลังเป็นที่พูดถึงทั้งบน Facebook, LinkedIn, Twitter, Pinterest และ Google+

ข้อดีของ Buzzsumo คือการรวมเอาข้อมูลจาก Keyword ที่คุณค้นหาว่าหัวข้อจากเว็ปไซต์ไหน ที่คนแชร์ลงบน Social Media มารวมไว้ให้ในที่เดียว รวมถึงแสดงจำนวนการแชร์และจำนวน Engagement ของคอนเทนต์เหล่านั้นด้วย

นอกจากนี้คุณยัง Filter การค้นหาได้อย่างละเอียดทั้งประเทศที่ต้องการดู, ภาษา, โดเมน, ประเภทของคอนเทนต์, จำนวน Word Count รวมถึงขนาดของ Publisher ด้วย ถ้าคุณเป็นผู้ใช้งานฟรีคุณจะมีข้อจำกัดของ Buzzsumo อยู่นั่นคือจะถูกจำกัดการค้นหาได้เพียง 5 ครั้งต่อวัน และข้อมูลที่แสดงให้เห็นก็มีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ราคา: คุณสามารถใช้งาน Buzzumo แบบเริ่มต้นได้ฟรี และการใช้งานแบบจ่ายเงินกับ Buzzsumo จะมีราคาให้เลือกทั้งรายเดือนและรายปี และมี 4 Packages ราคาให้เลือกตาม Feature ที่แตกต่างกัน

สรุป

และนี่ก็คือเครื่องมือที่ช่วยจัดการ Social Media ทั้ง 18 ตัวที่ผมคิดว่าน่าจะช่วยติดปีกให้คุณบินได้นะครับ

เครื่องมือต่างๆ ถ้าใช้ให้ดี ใช้ให้เป็น มันจะมีประโยชน์มาก เพราะมันจะช่วยทุ่นแรง หรือแม้แต่ทำงานบางอย่างแทนคนได้อย่างอัตโนมัติเลยล่ะ

แต่แน่นอนว่าถ้าเครื่องมือที่ดี อยู่ในมือของคนที่ไม่ใช่ มันก็คงไม่สามารถเปล่งประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่

เพราะฉะนั้นเรามาหาเครื่องมือที่ดี และทำตัวเองให้เป็นคนที่ใช่กันดีกว่าครับ : )

Shifu แนะนำ
ถ้าคุณคิดว่าเครื่องมือแค่ 18 ตัวนี้ยังไม่พอ คุณอยากจะมีตัวเลือกเยอะกว่านี้ Content Shifu ได้จัดทำ eBook “70 เครื่องมือที่จะติดปีกให้กับ Social Media ของคุณ” มาแจกให้คุณด้วยครับ คุณสามารถเข้าไปโหลดได้ฟรีที่นี่เลย

Social Media Tools

ตาคุณแล้ว

อ่านมาถึงตรงจุดนี้แล้ว ได้ลองเข้าไปใช้เครื่องมือที่ผมแชร์ไปบ้างรึยังเอ่ย? หรือมีเครื่องมืออื่นๆ อยากแนะนำผมบ้างรึเปล่า? พิมพ์มาคุยกันได้ในคอมเมนต์เลยยย

ป.ล. ขอให้สนุกกับการเลือกเครื่องมือมาใช้กันนะครับ!