Blog

ChatGPT ใช้ยังไง? สอน ChatGPT แบบเบื้องต้น อ่านจบใช้เป็นทันที

• 23 พฤษภาคม 2025

ChatGPT ใช้ยังไง? สอน ChatGPT แบบเบื้องต้น อ่านจบใช้เป็นทันที

Share on

Share on

ในยุคที่ AI ถูกพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ChatGPT กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือยอดฮิตที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานและการสื่อสารของเรา ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม การเขียนคอนเทนต์ หรือการแก้ปัญหาเชิงซับซ้อน

จากเดิมที่ Google เคยเป็นตัวช่วยแรกในการหาคำตอบของทุกคำถาม ปัจจุบัน คิดอะไรไม่ออก “ลองถาม ChatGPT ดู” กลายเป็น Solution ที่นิยมมากขึ้น เพราะเป็นเครื่องมือที่ไม่ใช่แค่ตอบคำถามได้ แต่ยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาด้วย แม้จะยังไม่ได้ถาม

ในบทความนี้ Content Shifu จะมาสอนใช้ ChatGPT ตั้งแต่เครื่องมือพื้นฐาน พร้อมเทคนิคการเขียน Prompt (คำสั่งใช้งาน AI) เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ แบบที่อ่านบทความนี้จบ สามารถนำไปทำตามได้เลย !

ChatGPT คืออะไร?

ChatGPT คือโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model หรือ LLM) ที่พัฒนาโดย OpenAI ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้เทคนิคปัญญาประดิษฐ์ที่เรียกว่า Deep Learning โดยตัวโมเดลถูกออกแบบมาให้สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ChatGPT มีทั้งความสามารถในการทำความเข้าใจคำสั่งเชิงซับซ้อน, สร้างข้อความที่หลากหลาย, แก้ไขปัญหา, และช่วยเหลืองานในหลายๆ ด้าน เช่น การเขียนโค้ด การออกไอเดีย และการทำการวิจัย ทั้งนี้ ChatGPT ยังคงพัฒนาและกลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับธุรกิจและบุคคลทั่วไป (อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น AI ตัวไหน ควรมีการตรวจเช็กความถูกต้องของเนื้อหาที่ AI สร้างก่อนนำไปใช้จริงด้วยนะคะ)


ที่มา Make Use Of

Prompt คืออะไร ?

สำหรับการใช้ Generative AI ทุกตัว รวมถึง ChatGPT สิ่งที่สำคัญคือ “Prompt” หรือก็คือ “คำสั่ง” ที่เราป้อนให้กับ AI เพื่อให้มันเข้าใจสิ่งที่เราต้องการและสามารถให้คำตอบที่ครบถ้วนตรงประเด็นได้ โดยพื้นฐานอาจจะเป็นคำสั่งง่าย ๆ เหมือนประโยคที่เราพิมพ์ไปถามในแชทเพื่อนหรือค้นหาใน Google ก็ได้ค่ะ แต่เพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุด เราแนะนำว่าให้ลอง Prompt โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของ Prompt กันดูค่ะ

องค์ประกอบของ Prompt ที่ดี

  1. คำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังจะทำ

  เขียนคำอธิบายสั้น ๆ 1-2 ประโยค ว่าตอนนี้เรากำลังจะทำอะไร มีจุดประสงค์อะไร กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร พร้อมทั้งระบุผลลัพธ์ที่ต้องการให้ ChatGPT ช่วยสร้างแบบเฉพาะเจาะจง

  1. กำหนดบทบาทของ ChatGPT 

กำหนดบทบาทหรือหน้าที่ของ ChatGPT เพื่อช่วยให้คำตอบของ ChatGPT เป็นไปในทิศทางที่เราต้องการมากที่สุด

  1. บริบทของโปรเจกต์นี้ 

  กำหนดบริบทที่ชัดเจนเกี่ยวกับโปรเจกต์นี้ เช่น เหตุผลที่ต้องการทำโครงการนี้หรือข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อเท็จจริง สถิติ หรือเป้าหมายระยะยาว จะช่วยให้ ChatGPT สร้างคำตอบที่เหมาะสมและตรงมากขึ้น

  1. ตัวอย่างหรือรายละเอียดของผลลัพธ์ที่ต้องการ 

  ใน Prompt ควรระบุรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ต้องการจาก ChatGPT เช่น โทนเสียง ความยาว รูปแบบ และโครงสร้างการเขียน ถ้าให้ดีควรระบุด้วยว่าต้องการให้ ChatGPT ทำการค้นคว้าจากที่ไหนหรือไม่

  1. ระบุกฎและข้อจำกัดที่ไม่ต้องการ 

  เพิ่มข้อกำหนดหรือข้อห้ามต่าง ๆ ลงในคำสั่ง เช่น สิ่งที่ต้องเลี่ยงหรือคำที่ไม่ควรใช้ เพื่อช่วยให้ ChatGPT สร้างคำตอบได้ตามความต้องการมากขึ้น 

  1. ให้ตัวอย่างคำตอบที่ต้องการ

การให้ตัวอย่างผลลัพธ์หรือคำตอบจะช่วยลดความเสี่ยงที่ ChatGPT จะสร้างคำตอบผิดทิศทาง

ตัวอย่าง การเขียน Prompt ที่ครบตามองค์ประกอบ

Prompt สำหรับการวางแผนคอนเทนต์โซเชียลมีเดีย 

เรากำลังวางแผนสร้างเนื้อหาสำหรับโซเชียลมีเดีย เพื่อเพิ่ม Engagement และสร้างการจดจำแบรนด์ในกลุ่มเป้าหมาย Gen Z โดยเน้นทั้งคอนเทนต์ที่ให้ข้อมูล มีความสนุกสนาน และส่งเสริมการขาย

คุณจะทำหน้าที่เป็น Social Content Writer ช่วยคิดแคปชัน Facebook ในหัวข้อที่สอดคล้องกับแบรนด์ “XXX” ธุรกิจเสื้อผ้าแนวสตรีทแฟชั่นสำหรับวัยรุ่น โทนต้องสนุก เป็นกันเอง และดูคูล โดยเน้นช่องทาง Instagram และ TikTok พร้อมสร้างแคปชันกระชับ (2-3 บรรทัด) และเพิ่มแฮชแท็กน่าสนใจ

ตัวอย่างหัวข้อที่ต้องการ เช่น เปิดตัวคอลเล็กชันใหม่, โปรโมชั่นลดราคา, แชร์เคล็ดลับการแต่งตัว

หลีกเลี่ยงคำเชิงลบ เช่น “ไม่ดีพอ” และห้ามกล่าวถึงแบรนด์คู่แข่ง ตัวอย่างแคปชัน: “เพิ่มความมั่นใจในทุกๆ ก้าว ด้วยเสื้อยืดที่ออกแบบมาเพื่อ #ตัวตนของคุณ 👕✨ ใส่เลยวันนี้! #แฟชั่นที่ใช่ #StreetwearStyle”

Prompt สำหรับการเขียนบทความ 

​​ฉันต้องการบทความความรู้สำหรับเว็บไซต์แบรนด์สกินแคร์ เนื้อหาเกี่ยวกับ “มอยส์เจอร์ไรเซอร์คืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับผิว”

กลุ่มเป้าหมายคือผู้หญิงวัยทำงาน 25–35 ปี จุดประสงค์คือให้ความรู้และสร้างภาพลักษณ์ความเชี่ยวชาญของแบรนด์ โดยไม่เน้นขายของ

ให้คุณรับบทเป็นนักเขียนบทความด้านการตลาด ช่วยเขียนบทความสไตล์นักเขียนความงามมืออาชีพ ใช้ภาษาที่เป็นมิตร เข้าใจง่าย ไม่วิชาการ ความยาวประมาณ 800 คำ เขียนในรูปแบบ Blog SEO-friendly มีหัวข้อย่อย (H2, H3) และ Bullet Points ถ้าเหมาะสม และหลีกเลี่ยงคำเชิงขาย เช่น “ซื้อเลย” หรือ “โปรโมชั่น”

อ้างอิงโทนและโครงสร้างจากบทความตัวอย่างเหล่านี้: (แนบลิงก์ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เราชอบ 2-3 ลิงก์)

Prompt สำหรับการออกแบบอีเมลการตลาด

เราเตรียมสร้างแคมเปญอีเมลเพื่อโปรโมตส่วนลดประจำปีของแบรนด์ เป้าหมายคือกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้า โดยคุณจะทำหน้าที่เป็น Email Content Writer ช่วยออกแบบหัวข้ออีเมลและเขียนเนื้อหาที่สั้น กระชับ ดึงดูดใจ และกระตุ้นการคลิก

โดยแบรนด์ของเราจำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี เช่น หูฟังและแกดเจ็ต กลุ่มเป้าหมายคือคนรุ่นใหม่อายุ 20-35 ปี ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีและมองหาความคุ้มค่า

เงื่อนไขการเขียนอีเมล:

  • ความยาวไม่เกิน 150 คำ
  • เริ่มต้นด้วยข้อความที่น่าสนใจ โทนมิตรภาพและดูทันสมัย
  • หลีกเลี่ยงคำที่ดูเป็นสแปม (เช่น การใช้คำว่า “ฟรี” ซ้ำๆ)
  • ห้ามเขียนข้อความที่อาจทำให้ผู้อ่านรู้สึกกดดัน

ตัวอย่าง

Subject Line: “ดีลแห่งปีที่คุณรอคอยมาถึงแล้ว! ”
Email Body: “สำหรับคนรักเทคโนโลยีแบบคุณ ห้ามพลาด! โปรโมชั่นลดสูงสุด 50% เฉพาะสินค้ารุ่นใหม่ล่าสุด รีบจับจองก่อนสินค้าหมด!”

💡 Shifu แนะนำ

7 เทคนิคช่วยพัฒนา Prompt ให้ดียิ่งขึ้น

  1. ตรวจสอบและแก้ไข Prompt : หากไม่พอใจกับคำตอบ ให้ทดลองปรับ Prompt ใหม่ ด้วยการเพิ่มรายละเอียดหรือแก้ไขคำถาม
  2. เริ่มด้วยข้อมูลพื้นฐาน : ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับจุดประสงค์ของคำถาม เช่น “ฉันเป็นมือใหม่เกี่ยวกับ…” หรือ “ฉันต้องการไอเดียเกี่ยวกับ…”
  3. ถามคำถามที่ชัดเจน : หลีกเลี่ยงคำถามแบบกว้างๆ เช่น “บอกฉันเกี่ยวกับ Python” แต่ควรถามว่า “ช่วยอธิบายการใช้ฟังก์ชันใน Python สำหรับการอ่านไฟล์ได้ไหม?”
  4. ระบุข้อจำกัดหรือเงื่อนไข : กำหนดเกณฑ์ชัดเจน เช่น “ฉันต้องการข้อมูลที่อัปเดตล่าสุด” หรือ “ช่วยเขียนให้กระชับไม่เกิน 2 ย่อหน้า”
  5. เน้นคำที่ต้องการให้ AI โฟกัส : ใช้คำที่ระบุถึงหัวข้อชัดเจน เช่น “การเปรียบเทียบ”, “ข้อดี”, “ตัวอย่าง”
  6. กำหนดระดับของคำตอบ : แจ้งความลึกของข้อมูลที่ต้องการ เช่น “อธิบายแบบง่ายๆ สำหรับผู้เริ่มต้น” หรือ “ให้รายละเอียดเชิงลึก”
  7. ถามคำถามทีละประเด็น : ถ้าประเด็นซับซ้อน ให้แยกเป็นคำถามย่อย เช่น “ช่วยอธิบายขั้นตอนนี้ก่อน แล้วค่อยพูดถึงตัวอย่าง”

เมนูต่าง ๆ และวิธีการใช้งาน ChatGPT

1. สร้างบัญชีผู้ใช้ OpenAI

เริ่มต้นใช้งาน ChatGPT ได้โดยการเข้าไปที่เว็บไซต์ chat.openai.com แล้วสร้างบัญชี OpenAI ก่อน (สมัครฟรี) กดที่ปุ่ม Log in หรือ Sign up ตรงมุมขวาบน โดยสามารถเลือกใช้บัญชี Google, Microsoft, Apple, Phone Number ได้

2. เลือกโมเดลที่ต้องการใช้งาน

เมื่อ Log In เข้ามาแล้ว ChatGPT เวอร์ชันเริ่มต้นจะใช้ GPT-3.5 หรือ GPT-4o (ขึ้นอยู่กับการอัปเดต)

แต่หากมีการสมัครแพ็กเกจ ChatGPT Plus (แบบชำระเงิน) ไว้แล้ว จะสามารถเลือก Model ได้จากเมนูด้านบนซ้ายในหน้าการสนทนา (หน้าแรกที่จะใช้พูดคุยกับ ChatGPT นี่แหละค่ะ)

สอนใช้ ChatGPT ตั้งแต่เครื่องมือพื้นฐาน พร้อมเทคนิคการเขียน Prompt (คำสั่งใช้งาน AI) เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ แบบที่อ่านบทความนี้จบ สามารถนำไปทำตามได้เลย !

3. เริ่มต้นถามคำถาม ChatGPT

สอนใช้ ChatGPT ตั้งแต่เครื่องมือพื้นฐาน พร้อมเทคนิคการเขียน Prompt (คำสั่งใช้งาน AI) เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ แบบที่อ่านบทความนี้จบ สามารถนำไปทำตามได้เลย !

สามารถพิมพ์คำถามหรือคำสั่งต่าง ๆ ในช่องข้อความของหน้าแรกได้เลย เริ่มต้นอาจจะลองคุยด้วยภาษาง่าย ๆ ดูก่อน เพื่อเช็กความสามารถในการตอบคำถาม/คิดวิเคราะห์ของ ChatGPT หรือจะเขียนคำสั่ง Prompt แบบสมบูรณ์ไปเลยก็ได้ แล้วกด Enter หรือลูกศร (↑) เพื่อส่งคำถามค่ะ (แนะนำว่าหากต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ในระหว่างเขียนคำสั่ง ให้กด Shift+Enter แทนการกด Enter อย่างเดียว)


เครื่องมือเสริมของ ChatGPT

  • สัญลักษณ์เครื่องหมายบวก (+) : เพื่ออัปโหลดรูปหรือไฟล์เพิ่มเติมจากคอมพิวเตอร์, One Drive, Google Drive
  • Create an image : สร้างภาพจากข้อความ โดยพิมพ์คำอธิบายของภาพที่ต้องการ ระบบจะประมวลผลและสร้างภาพที่ใกล้เคียงกับคำสั่งมาให้
  • Search the web : ค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์จริงเพื่ออัปเดตข้อมูลที่ AI ยังไม่มีอยู่ในฐานข้อมูล เหมาะสำหรับคำถามที่ต้องการคำตอบที่อัปเดต เช่น ข่าวล่าสุดหรือข้อมูลเหตุการณ์สำคัญ
  • Write or code : สร้างเนื้อหาที่เป็นข้อความ (เช่น บทความ, Email ฯลฯ) และเขียนหรือแก้ไข Programming Code ได้หลายภาษา เช่น Python, JavaScript, หรือ HTML
  • Run deep research : ค้นคว้าข้อมูลเชิงลึกด้วยการวิเคราะห์จากหลายแหล่งข้อมูล พร้อมอ้างอิงแหล่งข้อมูลเพื่อให้เราตรวจสอบได้
  • Think for longer : ขยายการวิเคราะห์และตอบคำถามในเชิงลึกกว่าเดิม ตัวนี้จะใช้เวลาประมวลผลนานกว่าเดิมนิดนึงแต่จะได้คำตอบที่ละเอียดและรอบด้านขึ้น (ให้เขาใช้เวลาคิดนิดนึง)
  • Dictate (ไอคอนไมค์) : แปลงเสียงพูดเป็นข้อความ ถ้าไม่สะดวกพิมพ์ก็พูดเล่าไปเลย แต่อย่าลืมตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาก่อนส่งคำสั่งด้วยนะคะ
  • Use Voice Mode (ไอคอนเสียง) : สนทนากับ ChatGPT ด้วยเสียงเหมือนคุยกับเพื่อนได้เลย

4. ตอบสนองกับคำตอบของ ChatGPT

  1. วิธีแก้ไข Prompt หลังจากส่งไปแล้ว

เมื่อส่งคำถามออกไปแล้ว เรายังสามารถคัดลอกหรือแก้ไขคำถามหรือคำสั่ง (Prompt) ของเราได้ ด้วยการเลือกเครื่องมือ Copy และ Edit message ที่มุมขวาล่างของคำสั่งเดิมของเรา และเมื่อแก้ไขแล้ว ChatGPT จะ Generate คำตอบใหม่สำหรับคำถามใหม่มาให้ โดยเรายังย้อนกลับไปดูคำตอบเดิมก่อนแก้ไขได้เช่นกัน

สอนใช้ ChatGPT ตั้งแต่เครื่องมือพื้นฐาน พร้อมเทคนิคการเขียน Prompt (คำสั่งใช้งาน AI) เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ แบบที่อ่านบทความนี้จบ สามารถนำไปทำตามได้เลย !
  1. ตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบ

อย่าลืมว่า หลังจากได้รับคำตอบของ ChatGPT มา ต้องพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหาเสมอ โดยถ้าคำตอบนั้นมีแหล่งข้อมูลอ้างอิง จะมีการแนบลิงก์อ้างอิงมาด้วย หรือถ้ามันไม่ให้มา เราก็สามารถส่งคำถามไปเพื่อขอแหล่งอ้างอิงได้ค่ะ

สอนใช้ ChatGPT ตั้งแต่เครื่องมือพื้นฐาน พร้อมเทคนิคการเขียน Prompt (คำสั่งใช้งาน AI) เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ แบบที่อ่านบทความนี้จบ สามารถนำไปทำตามได้เลย !
  1. ให้ Feedback กับคำตอบของ ChatGPT
  • คัดลอกคำตอบ : หากพอใจกับคำตอบสามารถกดปุ่ม Copy เพื่อนำไปใช้ได้ทันที
  • ปุ่ม Try Again เพื่อให้ ChayGPT สร้างคำตอบใหม่ในบริบทเดิม หรือลองเปลี่ยน AI Model เพื่อให้ได้คำตอบที่แตกต่าง
  • ปุ่ม Good / Bad : ให้ Feedback กับ AI เพื่อให้เรียนรู้ว่านี่คือรูปแบบคำตอบที่เราชอบหรือไม่ชอบ และคราวหน้าจะได้ Generate คำตอบที่ตรงใจเรามากขึ้น
  • ปุ่ม Read Aloud : ให้ ChatGPT อ่านคำตอบออกเสียงให้เราฟังได้ โดยสามารถกด Pause, Resume หรือปรับความเร็วเสียงได้ด้วย
  • ปุ่ม Make a Canva : ปรับแต่งหรือแก้ไขคำตอบของ ChatGPT ได้ทันทีโดยไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ
  • แชร์บทสนทนา : ส่งลิงก์การสนทนานี้ให้กับเพื่อน ๆ ได้ด้วยการกดปุ่ม Share ที่ขวาบนของจอ
  • ปุ่ม Try Again (ที่อยู่ในเมนู Switch Model): เพื่อให้ ChatGPT สร้างคำตอบใหม่ในบริบทเดิม หรือลองเปลี่ยน AI Model เพื่อให้ได้คำตอบที่แตกต่างได้
สอนใช้ ChatGPT ตั้งแต่เครื่องมือพื้นฐาน พร้อมเทคนิคการเขียน Prompt (คำสั่งใช้งาน AI) เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ แบบที่อ่านบทความนี้จบ สามารถนำไปทำตามได้เลย !

ข้อดีและข้อเสียของ ChatGPT สำหรับงานการตลาด

ข้อดีของ ChatGPT 

  • ความสามารถในการสร้างเนื้อหาหลากหลาย 

ChatGPT สามารถสร้างเนื้อหาสำหรับโซเชียลมีเดีย ข้อความโฆษณา หรือแคปชันได้อย่างรวดเร็ว และให้เลือกโทนเสียงหรือสไตล์ที่ต้องการได้ไม่ยาก

  • การปรับแต่งการใช้งานได้ 

สามารถใช้คำสั่ง (Prompt) เพื่อให้สร้างเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์ เช่น การออกแบบเนื้อหาอีเมล โปรโมชั่น หรือการสร้างสคริปต์โฆษณา ตามความต้องการได้ทันที

  • การสรุปข้อมูลและวิเคราะห์แนวโน้ม 

ChatGPT สามารถสรุปข้อมูลจำนวนมากได้และค่อนข้างทำได้ดี เช่น การวิเคราะห์รีวิวสินค้า คอมเมนต์จากโซเชียลมีเดีย หรือเทรนด์ที่เกิดขึ้น ช่วยให้เราสามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ใช้งานง่าย และเข้าถึงได้ทุกที่ 

ChatGPT ใช้งานง่ายทั้งบนเว็บไซต์และบนมือถือ ถ้า Login ไว้ก็สามารถทำงานได้ต่อเนื่องจาก Device ที่หลากหลาย

ข้อเสียและข้อจำกัดของ ChatGPT 

  • ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่จำกัด 

เนื้อหาที่ได้จาก ChatGPT อาจไม่ลึกพอสำหรับเรื่องเฉพาะทาง เช่น ความรู้วิชาการหรืองานที่ต้องการการวิเคราะห์เชิงลึก ทำให้บางครั้งต้องพึ่งพา AI อื่น ๆ เช่น Gemini เพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิชาการหรือเฉพาะเจาะจง

  • การอัปเดตข้อมูลล้าหลังในบางกรณี 

ChatGPT ให้ข้อมูลตามการฝึกฝนบนชุดข้อมูลที่มีอยู่เดิม และเมื่อเทียบกับ AI อย่าง Gemini ที่สามารถดึงข้อมูลใหม่จากแหล่งที่หลากหลายได้เลย ChatGPT อาจให้ข้อมูลที่ล้าหลังไปบ้าง

  • ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลเชิงมัลติมีเดีย 

แม้ว่า ChatGPT รุ่นล่าสุดจะรองรับการทำงานกับภาพและเสียงได้ แต่ Gemini ของ Google อาจมีประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูลมัลติมีเดีย เช่น รูปภาพ วิดีโอ หรือเสียง ที่ซับซ้อนกว่า

  • ข้อจำกัดในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 

ChatGPT สร้างข้อความที่ดูน่าเชื่อถือได้เนียนมาก แต่ต้องตรวจให้ดีเพราะบางครั้งก็เป็นข้อมูลที่ผิดพลาด ซึ่งอาจก่อปัญหาในงานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น เนื้อหาในหัวข้อกฎหมายหรือการเงิน

  • ขาดฟีเจอร์การทำงานร่วมกับเครื่องมืออื่นภายในระบบองค์กร 

ChatGPT อาจต้องใช้อินทิเกรตกับระบบอื่นผ่าน API ซึ่งบางครั้งอาจซับซ้อนเมื่อเทียบกับโมเดลที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับองค์กรโดยเฉพาะ เช่น Gemini ที่ทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันใน Google Workspace ได้อย่างไร้รอยต่อ

สรุปเกี่ยวกับการใช้งาน ChatGPT

ChatGPT เป็นเครื่องมือทรงพลังที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานได้ทุกสายงาน ด้วยความสามารถในการตอบสนองอย่างรวดเร็วและจัดการเนื้อหาได้หลากหลาย ทั้งนี้ ความสำคัญอยู่ที่การเลือกโมเดล AI ที่เหมาะสมและการออกแบบ Prompt ให้ชัดเจนและตรงประเด็น เพื่อให้ ChatGPT ตอบคำถามได้ดีที่สุดค่ะ

ตาคุณแล้ว

อย่าลืมว่า การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล คือขั้นตอนสำคัญที่ห้ามละเลยเด็ดขาดโดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและการสื่อสารกับผู้บริโภค เพราะท้ายที่สุดแล้ว ChatGPT หรือ AI ตัวไหนก็ตาม เป็นแค่เครื่องมือที่ช่วยให้งานง่ายขึ้น แต่ประสิทธิภาพที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์อย่างเรานำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์แค่ไหนด้วยนะคะ

Share on

Chama

Writer

Chama

ชมา Content Creator จาก Content Shifu - ชอบสังเกตกลยุทธ์การสร้างแบรนด์และ Customer Experience ส่วนตัวสนใจเรื่อง Productivity ของคนทำงาน และกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับ ESG เวลาว่างมักใช้เวลาบน Netflix กับเรียลลิตี้และสารคดีอาชญากร

More From Me