Chapter 6



วิธีเขียนบทความ SEO (SEO Content)

จะเขียนบทความให้เป็นอมตะบน Google ต้องรู้เทคนิคเหล่านี้

คอนเทนต์หรืองานเขียนถือเป็น “Body” หรือแกนหลักของการทำ SEO เว็บไซต์ ให้ขึ้นหน้าหนึ่งของ Google เพราะคอนเทนต์คือสิ่งที่ผู้เสิร์ชมองหา และงานเขียนคือคำตอบที่เว็บไซต์จะมอบให้กับพวกเขา

คำถามคือ เราจะเขียนบทความอย่างไร ให้ถูกหลัก SEO เพื่อให้บทความปรากฏบนอันดับต้นๆของผลการค้นหา

บทความนี้ จะอธิบาย วิธีการเขียนบทความ SEO (SEO Content) และวิธีการใส่คีย์เวิร์ดในบทความ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า เมื่อคุณอ่านจบและลองทำตาม จะช่วยให้บทความของคุณทะยานไต่อันดับไปอยู่หน้าแรกๆ ได้แน่นอน

บทความ SEO (SEO Content) คืออะไร

บทความ SEO (SEO Content) คือ บทความที่ถูกปรับแต่งให้สอดคล้องกับ search engine algorithm ทำให้ search engine เข้าใจง่ายว่า บทความเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร จึงส่งผลให้มีโอกาสติดอันดับดีๆ ในผลการค้นหา และมียอดผู้ชมเว็บไซต์ (Traffic) มากขึ้น โดยที่เราไม่ต้องเสียเงินโปรโมตอะไรมาก

SEO เกี่ยวข้องอย่างไรกับนักเขียน

แน่นอนว่า บทความถูกหลัก SEO นั้น ต้องเริ่มจากนักเขียนเป็นคนช่วยทำ จะมองว่าเป็นเรื่องของนักการตลาดอย่างเดียวไม่ได้ (เพราะนักการตลาดอาจรู้เรื่อง SEO แต่อาจจะเขียนออกมาไม่ได้อย่างนักเขียน)

ในฐานะของนักเขียนออนไลน์ SEO คือ หนึ่งในสิ่งที่คุณต้องเรียนรู้ เพราะจะช่วยให้งานเขียนโลดแล่นบนโลกดิจิทัล ลองคิดดูว่าถ้างานที่เขียนของเราสามารถติดอันดับ Google เสิร์ชกี่ครั้งก็เจอ ในทางหนึ่งก็ดีต่อเว็บไซต์และ SEO ในภาพรวม และในทางหนึ่งมันก็น่าภูมิใจใช่ไหม


หากคุณต้องการเรียนรู้วิธีการทำ SEO ที่ช่วยให้บทความหรือเว็บไซต์ของคุณมีปริมาณผู้ชมมากขึ้น สอนแบบ Step by Step ตั้งแต่พื้นฐานจนทำได้ ดูได้ที่

วิธีทำ seo 2023 แบบ Step by Step รู้ครบในโพสเดียว

 

อยากเริ่มต้นเขียนบทความ SEO แล้ว ต้องรู้อะไรบ้าง?

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเขียนหรือเป็นคนที่ปลูกปั้นทำเว็บไซต์ทำบล็อกของตัวเอง เทคนิคการเขียนบทความ SEO ต่อไปนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณทะยานไต่อันดับไปอยู่หน้าแรกๆ ได้แน่นอน

เทคนิคเขียนบทความ SEO (SEO Content) ให้ติดอันดับเป็นอมตะบน Google

1. ทุกๆ บทความต้องมี Keyword

Keyword คือ ‘คำสำคัญ’ หรือ ‘วลีสำคัญ’ ที่เราอยากให้คนเสิร์ชเจอด้วยวลีนี้ 

เมื่อก่อนเวลาจะเขียน บทความเราอาจคิดแค่ชื่อเรื่อง โครงเรื่อง และเล่าเรื่องไปตามนั้น แต่เมื่อมาเขียนบทความออนไลน์ เราควรตั้งต้นว่าเขียนเพื่อใคร แล้วเรื่องที่เราจะเขียน เขาจะค้นหาด้วย Keyword อะไร

ยกตัวอย่างมุมมองการเลือกคีย์เวิร์ด

  • เขียนในสิ่งที่อยากนำเสนอ

ส่วนใหญ่แล้ว เริ่มง่ายๆ ว่าเราจะเขียนเกี่ยวกับอะไร ประเด็นนั้นล่ะ คือ Keyword เช่น Content Shifu จะเขียนเกี่ยวกับ การสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress คีย์เวิร์ดที่เลือกใช้ก็อย่างเช่น “การสร้างเว็บไซต์” “WordPress” เป็นต้น

  • คิดในมุมผู้ใช้ คนที่สนใจบทความนี้ น่าจะสนใจอะไร

นอกจากเราหา Keyword ในมุมของเราแล้ว ลองคิดเพิ่มว่าในมุมของคนที่จะเสิร์ชเข้ามา จริงๆ แล้วเขาต้องการอะไร เช่น ถ้าเราจะเขียนเรื่องการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress สิ่งที่คนน่าจะค้นหาเข้ามาก็อย่างเช่น “ทำเว็บไซต์ด้วยตัวเอง” “วิธีสร้างเว็บไซต์” “วิธีใช้ WordPress” เป็นต้น

เราสามารถเลือกใช้ Keyword ที่เราต้องการร่วมกับ Keyword อื่นๆ ที่คิดว่าคนน่าจะเสิร์ชมาใช้ร่วมกันได้ ไม่จำเป็นต้องมุ่งโฟกัสแค่ Keyword คำเดียว ก็จะเพิ่มโอกาสที่คนจะเสิร์ชเจอบทความของเรา
เราเรียก Keyword อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องว่า “Keyword ร่วม” หรือ “Related Keyword”

  • ใช้ Keyword Research Tools ในการหาคีย์เวิร์ด

ตัวอย่างใน 2 ข้อแรก คือ Keyword ที่เราเริ่มต้น ‘เดาเอาเอง’ แต่ถ้าเราอยากเลือก Keyword ที่ช่วยทำอันดับเว็บไซต์ได้จริงๆ มีคนค้นหาจริงๆ การใช้เครื่องมือ Keyword Research เช่น Google Keyword Planner, Ubersuggest, Keysearch ก็จะเป็นประโยชน์มากๆ 

Keyword Research Tools จะช่วยบอก Volume ปริมาณการค้นหาของคีย์เวิร์ด รวมถึงประเมินความยากในการแข่งขันของคีย์เวิร์ดนั้นๆ ด้วย และอีกประโยชน์ คือ มันเอาไว้ใช้ช่วยหาวลีที่ใกล้เคียงกันเผื่อให้เราเลือกใช้ด้วย

KW Finfer เครื่องมือ เขียนบทความ SEO
ตัวอย่างการทำ Keyword Research ค้นหาคำว่า “การสร้างเว็บไซต์” ด้วย KWFider

 

New call-to-action 

2. ใส่ Keyword เพื่อให้ Search เจอง่าย

เมื่อทราบ Keyword แล้ว สิ่งต่อมาคือ รู้เทคนิคใส่ Keyword เพื่อให้ Search เจอง่าย โดย Google จะให้ความสำคัญกับเนื้อหาแต่ละส่วนไม่เท่ากัน ถ้าอยากบอก Google ว่า นี่เป็นวลีสำคัญนะ ก็ให้ใส่ Keyword เข้าไปในจุดสำคัญทั้ง 5 ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

  1. Title หรือ ชื่อบทความ

  1. URL ชื่อลิงก์ของบทความ (เรียกอีกอย่างว่า Slug)

ถ้าคีย์เวิร์ดของคุณเป็นภาษาอังกฤษ ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดเป็นภาษาไทย คุณอาจจะต้องเลือกระหว่างไม่ใส่มันลงไป กับใช้ไปเลย ซึ่งข้อเสียคือ URL จะไม่สวยและอาจเละได้เวลาเอาไปแชร์

  1. Description หรือ คำบรรยายบทความ

โดย Default แล้ว หมายถึงย่อหน้าแรก แต่เราก็สามารถปรับเปลี่ยน Description เองได้เหมือนกัน ถ้าคุณใช้ WordPress ก็สามารถโหลด SEO plugin เช่น Yoast SEO แล้ว Edit แก้ไขได้

  1. Headings หรือ หัวข้อต่างๆ

Headings สำหรับทำ SEO ในบทความ

การคิด Heading เขียนบทความ SEO
ตำแหน่งในการวาง Keyword
ที่มารูปภาพ: backlinko.com

  1. ชื่อภาพ และ Alt Text ของภาพ

หลายๆ คนอาจไม่ทราบว่า ชื่อของรูปภาพก็ส่งผลต่อ SEO ด้วย ก่อนอัปโหลดควรตั้งชื่อให้มีคีย์เวิร์ด และเมื่ออัปโหลดเข้าไปแล้ว ให้คลิกแก้ไขรูปภาพ และใส่คีย์เวิร์ดใน Alternative Text ด้วย (ปกติแล้ว Alt Text มีไว้สำหรับเวลาที่ภาพโหลดไม่ขึ้น ก็จะโชว์เพื่อบอกว่ารูปภาพนี้เกี่ยวข้องกับอะไร)

การใส่ Alt Text คำอธิบายภาพ

ตำแหน่งในการใส่ Alt Text และ Image Title ใน WordPress

การแทรก Keyword เข้าไปในตำแหน่งยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ตำแหน่งข้างต้น อาจดูเป็นเรื่องทางเทคนิค แต่เทคนิคนี้ก็ต้องอาศัย ‘ความคิดสร้างสรรค์’ เพื่อทำให้ข้อความยังมีความเป็นธรรมชาติ อ่านแล้วน่าสนใจ ซึ่งจุดที่ยากที่สุดน่าจะเป็นการเขียนหัวข้อ Heading

ยกตัวอย่างเช่น คนขายผลไม้อยากจ้างเราเขียนบทความซึ่งมีไอเดียว่า “4 ผลไม้ ลดความอ้วน” (Keyword คือ “ลดความอ้วน”) โดยเนื้อหาจะต้องพูดถึงผลไม้ 4 ชนิด ได้แก่ 1.แอปเปิ้ล 2.มะละกอ 3.กล้วย 4.ส้ม เราอาจเขียน Heading ว่า

  1. ลดความอ้วน ด้วยแอปเปิ้ล
  2. มะละกอ ช่วยขับถ่าย ลดความอ้วน
  3. กล้วยหอม อิ่มท้อง ไม่ต้องอด
  4. ลดน้ำหนัก แถมหวานฉ่ำ ต้องกินส้ม

ถ้าเราใส่คีย์เวิร์ดได้ก็ใส่ ถ้าเยอะไปก็เปลี่ยน ใส่พวก Related Keyword หรือคำที่มีความหมายใกล้เคียงเข้าไปแทน

3. ปริมาณและการกระจายตัวอย่างเป็นธรรมชาติของ Keyword

แน่นอนว่าคีย์เวิร์ดไม่ได้ใส่ลงไปในจุดยุทธศาสตร์ทั้งห้าอย่างเดียว แต่ควรมีเขียนถึงในเนื้อบทความบ้าง 

เราใช้คำว่า “บ้าง” แปลว่า ไม่ควรใส่มากเกินไป เพราะ Google จะมองว่าเราพยายามใส่มากเกินไป คำแนะนำส่วนใหญ่บอกว่า Keyword density ไม่ควรเกิน 2.5% ซึ่ง Keyword density หมายถึง สัดส่วนของคีย์เวิร์ดเมื่อเทียบกับปริมาณ Text ทั้งหมดในบทความ 

คำแนะนำคือ ถ้าเป็นไปได้ เราควรใส่คีย์เวิร์ดในประโยคแรกของบทความ จากนั้นคือให้กระจายหลวมๆ ทั่วทั้งบทความ

ใน WordPress วิธีดู Keyword density ก็สามารถใช้ SEO plugin อย่าง Yoast SEO ตรวจสอบได้เช่นกัน

ข้อดีของ Yoast SEO ในการเขียนบทความ SEO


ผลลัพธ์ที่ Yoast พูดถึงบทความ Inbound Marketing การตลาดแบบจอมยุทธ์

สีส้มๆ คือเขาเตือนว่าเราลืมเอา stop word (คำฟุ่มเฟือย) ตรง Url ออก เช่น introduction-to-inbound-marketing ควรเปลี่ยนเป็น inbound-marketing-introduction ไม่ต้องมี to

4. เขียนบทความคุณภาพ คือ การทำ SEO ที่ดีที่สุด

Search Engine ระดับโลกย่อมต้องการให้ผลลัพธ์การค้นหาของตนถูกใจผู้ใช้ผู้อ่าน นั่นหมายความว่าระบบจะต้องอยากนำเสนอคอนเทนต์ที่เขาคิดว่ามีคุณภาพ

แล้ว Google รู้ได้ยังไง ว่าบทความไหนมีคุณภาพ? 

มีหลายเรื่องให้มองมาก แต่ขอยกตัวอย่างมา 3 ปัจจัยพื้นฐาน ดังนี้

  • ความยาวของบทความ

บทความที่ยาว มีแนวโน้มจะเป็นบทความที่มีคุณภาพ บ่งบอกว่า “ไม่ได้มาเล่นๆ” ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านบอกว่าถ้าเป็นไปได้ซัก 500 – 700 คำ กำลังดี แต่สำหรับชเราแนะนำว่าควรอยู่ที่เฉียดๆ 1,000 คำขึ้นไป

  • บทความสดใหม่ (Original Content)

คำว่าสดใหม่มีสองนัย คือ เขียนขึ้นเอง ไม่ซ้ำใคร (และต้องไม่ก๊อปปี้หรือเอาบทความอื่นมาเขียนใหม่ด้วย) กับอีกนัยนึง คือ เขียนก่อนใคร

  • ยอด Engagement บน Social Media

โดยเฉพาะถ้าบทความของคุณได้รับการแชร์เยอะๆ ก็จะมีผลต่อ SEO สูงมาก หากบทความของคุณมีประโยชน์จริงๆ หรือทำให้ผู้อ่านประทับใจได้ เชื่อว่าผู้อ่านต้องอยากแชร์

5. ความสม่ำเสมอและคอยอัปเดตคอนเทนต์

บทความที่ตั้งใจเขียน เช็คแล้วเช็คอีกว่าดีกับ SEO หรือเปล่า อาจไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่หวัง เพราะขาด ‘ความสม่ำเสมอ’ 

เพราะกว่าเว็บไซต์จะเติบโต มี Authority สูงๆ ได้รับการยอมรับจาก Google ก็ต้องใช้เวลาสะสมประสบการณ์ 

ในสายตาของ Search Engine อย่าง Google คอนเทนต์ที่ลงบนเว็บอย่างสม่ำเสมอ หมายถึง เว็บไซต์ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เป็นเว็บไซต์ที่เติบโตอยู่เรื่อย เพราะมีคนเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ (การแชร์ไปบนโซเชียลมีเดียจะช่วยให้ได้คนเข้ามายังเว็บไซต์ทันที ไม่ต้องรอ Google จัดอันดับ)

ส่วนด้าน Branding การที่เว็บไซต์ใดมีคอนเทนต์ออกมาอย่างต่อเนื่องก็ช่วยให้แบรนด์ได้ปฏิสัมพันธ์และรักษาความสัมพันธ์กับผู้อ่านเรื่อยๆ และถ้ายิ่งมีการวางแผนทำคอนเทนต์ในด้านที่เฉพาะๆ แล้วด้วย แบรนด์ก็จะยิ่งได้รับความน่าเชื่อถือ ดูเป็นผู้ชี่ยวชาญในเรื่องที่เล่า

นอกจากนี้ ถ้าทำคอนเทนต์เผยแพร่ได้แล้ว จะนิ่งนอนใจไม่ได้ ต้องคอยเช็คอันดับเว็บไซต์ วิเคราะห์เว็บคู่แข่ง และอัปเดตคอนเทนต์ของเราให้ดีกว่า –ในสายตาของ Google คอนเทนต์ใหม่หรือคอนเทนต์ที่อัปเดตจะน่าเชื่อถือกว่าด้วย เพราะมองว่าข้อมูลจะเป็นปัจจุบันที่สุด