ถ้าพูดถึง The Coffee Club หลายคนอาจนึกถึงร้านกาแฟระดับพรีเมียมจากออสเตรเลีย แต่สำหรับ พี่จุ๊บ — นงชนก สถานานนท์ The Coffee Club เป็นมากกว่านั้น
ที่นี่ไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ แต่เป็น ‘พื้นที่’ ที่คนอยากมา นั่งได้นาน และกลับมาเสมอ จากแนวคิด All-Day Dining ที่ให้ความสำคัญกับทั้งกาแฟและอาหาร ไปจนถึงกลยุทธ์การเลือกทำเลที่ไม่ใช่แค่โลเคชันดีๆ แต่ต้องเป็น Neighborhood Cafe ที่อยู่ในจุดที่ผู้คนใช้ชีวิตจริงๆ

The Coffee Club ถือกำเนิดขึ้นในออสเตรเลียจากความเชื่อที่ว่า คาเฟ่ควรเป็นมากกว่าจุดแวะซื้อกาแฟ แต่เป็นสถานที่ที่ผู้คนสามารถใช้ชีวิตได้จริง—จะนั่งทำงาน ผ่อนคลาย หรือพบปะสังสรรค์โดยไม่ต้องเร่งรีบ
เมื่อขยายสู่ไทยในปี 2010 The Coffee Club ไม่ได้แค่นำโมเดลเดิมมาใช้ แต่ พัฒนาให้เป็นคาเฟ่ที่เข้าถึงง่ายและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
อย่างไรก็ตาม การสร้างแบรนด์คาเฟ่ให้เติบโตในตลาดที่เต็มไปด้วยคู่แข่งไม่ใช่เรื่องง่าย การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อแบรนด์ต้องปรับตัวจากการพึ่งพานักท่องเที่ยวเป็นหลัก ไปสู่การเป็นคาเฟ่ที่คนไทยรู้จักและอยากกลับมาใช้บริการซ้ำ
แล้วอะไรคือ ‘สูตรลับ’ ที่ทำให้ The Coffee Club แตกต่าง?
เบื้องหลังของกลยุทธ์ที่ทำให้คาเฟ่นี้เติบโตและเป็น ‘ที่ของทุกคน’ คืออะไร?
และพี่จุ๊บเข้ามาเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง?
มาดูกันว่า สูตรลับของพี่จุ๊บคืออะไร และ The Coffee Club มีแผนเดินหน้าสู่อนาคตอย่างไร
จากเอเจนซี่สู่ The Coffee Club: เส้นทางสู่ถนนสายกาแฟของ “พี่จุ๊บ”

“พี่เริ่มงานแรกในสายเอเจนซี่” พี่จุ๊บ — นงชนก สถานานนท์ เล่าพลางหัวเราะ
เธอเริ่มต้นจากโลกของโฆษณา มุ่งสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ ผ่านกลยุทธ์ที่เฉียบคมและไอเดียสร้างสรรค์ จากนั้นขยับเข้าสู่โลกของ FMCG, Personal Care, อสังหาริมทรัพย์ และสายการแพทย์ การเดินทางที่หลากหลายทำให้เธอไม่ได้แค่เข้าใจเรื่องการตลาด แต่ เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในมิติต่างๆ อย่างลึกซึ้ง
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญคือเมื่อเธอก้าวเข้าสู่ Minor Food และในที่สุด ได้เข้ามาดูแล The Coffee Club
“จากการสร้างแบรนด์บนโฆษณา สู่การสร้างแบรนด์ที่เป็น ‘สถานที่’ ที่คนอยากมา”
ตำแหน่ง General Manager ของเธอไม่ได้หมายถึงแค่ดูแลแคมเปญการตลาด แต่คือ บริหารทุกอย่างตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การเลือกทำเล พัฒนาเมนู ไปจนถึงการสร้างประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับ
“ร้านกาแฟทุกวันนี้เยอะมาก เราจะทำยังไงให้คนเลือกเรา ไม่ใช่แค่เพราะกาแฟดี แต่อยากกลับมาเพราะ ‘ที่ของเรา’ คือที่ที่เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง”
และนี่คือความแตกต่างของ The Coffee Club ที่เธอสร้างขึ้น
The Coffee Club: มากกว่าร้านกาแฟ แต่คือ ‘ที่ของเรา’
ถ้าพูดถึง The Coffee Club คนออสเตรเลียคงร้องอ๋อ เพราะนี่คือแบรนด์คาเฟ่อันดับหนึ่งของออสเตรเลีย ที่เปิดมาแล้วกว่า 30 ปี แต่สำหรับคนไทย คำถามคือ “Coffee Club แตกต่างจากร้านกาแฟอื่นยังไง?”
“เราไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ เราคือ Neighborhood Cafe ที่พร้อมเสิร์ฟตลอดวัน”
สิ่งที่ทำให้ The Coffee Club เป็น The Coffee Club ไม่ใช่แค่กาแฟคุณภาพดี แต่เป็นการสร้างพื้นที่ที่คนอยากมา ร้านไม่ได้มีเพียงขนมอบหรือครัวซองต์ แต่มีเมนูที่ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าใช้เวลาที่นี่ได้นานขึ้น อาหารจึงไม่ใช่แค่ตัวเสริม แต่เป็นเมนูที่คิดมาอย่างตั้งใจ ตั้งแต่ Eggs Benedict, Avocado Toast ไปจนถึงเมนูท้องถิ่นแบบไทยๆ ที่ตอบโจทย์คนไทยโดยเฉพาะ
อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ The Coffee Club แตกต่างคือโรงคั่วกาแฟของตัวเองที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ซึ่งช่วยให้กาแฟที่เสิร์ฟมีความสดใหม่และปรับรสชาติให้เข้ากับความต้องการของคนในพื้นที่ ไม่ใช่แค่การนำเข้าเมล็ดจากต่างประเทศ แต่คือการเลือกใช้กาแฟที่เข้ากับรสนิยมของลูกค้าในไทย
“Coffee Club เปิดในไทยมา 13-14 ปีแล้ว เราปรับตัวให้เข้ากับตลาดไทยโดยไม่ทิ้งตัวตน เราไม่ได้แค่นำเข้าเมนูจากออสเตรเลีย แต่เราทำให้มันเข้ากับรสนิยมคนไทย”
The Coffee Club ไม่ใช่แค่ร้านกาแฟที่คุณแวะมาซื้อแล้วเดินออกไป แต่เป็นที่ที่คุณอยากนั่ง มีความสุข และกลับมาอีกครั้ง
“กาแฟของเราต้องอร่อย แต่เราไม่ได้หยุดแค่นั้น”
The Coffee Club มีกาแฟให้เลือกทั้งคั่วเข้มและคั่วกลาง รวมถึงเมนูเครื่องดื่มที่ครอบคลุมกาแฟทุกสไตล์ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่ชอบกาแฟรสเข้ม คนที่มองหาความหอมของกาแฟพิเศษ หรือคนที่ดื่มกาแฟเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ เรามีตัวเลือกให้หมด พร้อมซิกเนเจอร์จากออสเตรเลียแบบฉบับ The Coffee Club รวมถึงกาแฟสยามเบลนด์ คั่วกลางเกือบเข้มที่มีแค่ในประเทศไทย
“หลายคนมาที่นี่ไม่ได้สั่งกาแฟ แต่สั่ง Healthy Drinks”
Avocado Drink เป็นเมนูขายดีที่กลายเป็นตัวเลือกหลักของลูกค้า มากกว่าการเป็นเพียงเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เมนูนี้กลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าหลายคนกลับมาหาซ้ำ นอกจากนั้น The Coffee Club ยังมีเมนูสแน็ค เบเกอรี่ และอาหาร Brunch หลากหลาย ที่ช่วยให้ร้านกลายเป็นมากกว่าคาเฟ่ แต่เป็นสถานที่ที่คนสามารถใช้เวลาได้นานขึ้น
The Coffee Club ไม่ได้มีแค่ขนมหรือของทานเล่น แต่มีอาหารครบมื้อ ไม่ได้มีแค่กาแฟ แต่มี Non-Coffee ที่แข็งแกร่งพอจะดึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ร้านถูกออกแบบมาให้เป็นพื้นที่ที่นั่งสบาย อยู่ได้นาน ไม่เร่ง ไม่รีบ เป็นที่ที่คุณสามารถใช้เวลาอย่างมีความหมายและกลับมาได้เสมอ
‘Neighbourhood Cafe’ ศูนย์กลางของชุมชนที่มาได้ทุกวัน
The Coffee Club ไม่ได้เติบโตจากแค่การทำร้านกาแฟให้อร่อย แต่เติบโตจากความเข้าใจลูกค้าและการสร้าง ‘ที่ของเรา’ ที่คนอยากมา ไม่ว่าคุณจะเป็นนักท่องเที่ยวที่แวะพักระหว่างการเดินทาง หรือเป็นคนไทยที่มองหาคาเฟ่ใกล้ตัว The Coffee Club ต้องเป็น “ที่ที่คุณหาเจอ และอยู่ในที่ที่คุณใช้ชีวิตจริงๆ”
“เราวางตัวเองเป็น ‘Neighbourhood Cafe’ – ร้านที่อยู่ใกล้คุณ สะดวก และเข้าถึงง่าย”
ทำเลของ The Coffee Club ไม่ใช่แค่เรื่องของพื้นที่ว่าง แต่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า (Data-Driven Location Strategy) เพื่อให้แน่ใจว่าร้านของเราอยู่ในทำเลที่ใช่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จริง
สำหรับนักท่องเที่ยว ร้านตั้งอยู่ใน ทำเลท่องเที่ยวหลัก เช่น แนวรถไฟฟ้า BTS, โรงแรมระดับบน, และเมืองท่องเที่ยวชื่อดังอย่าง ภูเก็ต หัวหิน พัทยา สมุย กระบี่ และเกาะพีพี
สำหรับลูกค้าคนไทย เราขยายสาขาไปตาม อาคารสำนักงาน และล่าสุดคือโรงพยาบาล เพื่อให้ The Coffee Club ไม่ใช่แค่จุดแวะพักของนักเดินทาง แต่เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์คนเมือง
เปลี่ยนเกมหลังโควิด
ก่อนโควิด ลูกค้า The Coffee Club กว่า 80% เป็นนักท่องเที่ยว แต่เมื่อการเดินทางหยุดชะงัก เราจึงต้องปรับตัวเพื่อให้แบรนด์เติบโตไปกับคนไทยมากขึ้น
“เราไม่ได้แค่ขาย แต่ใช้ Digital & CRM ดึงลูกค้าเข้ามาด้วย ทำให้สัดส่วนคนไทยเพิ่มเป็น 30% แล้วตอนนี้”
กลยุทธ์การตลาดถูกปรับให้ตอบโจทย์ลูกค้าทั้งสองกลุ่ม
สำหรับนักท่องเที่ยว – เน้นกลยุทธ์ รีวิว และทำให้แบรนด์ติดอันดับบนแพลตฟอร์มสำคัญ เพื่อให้คนค้นหาเราเจอ
สำหรับคนไทย – ใช้ CRM & Membership ดึงลูกค้าให้กลับมาซื้อซ้ำ
ให้ใจลูกค้าก่อน และเขาก็จะให้ใจเรา
ช่วงสองปีแรก The Coffee Club ให้ลูกค้าได้ลองก่อน ด้วยโปรโมชันที่เต็มใจให้จริง
“โหลดแอป รับกาแฟฟรี 1 แก้วทันที เราไม่ได้ให้เขาใช้เวลาเยอะ ลูกค้าก็จะเปิดใจ”
แคมเปญนี้ไม่ใช่แค่การแจกฟรี แต่เป็นโอกาสให้คนไทยได้รู้จักรสชาติของ The Coffee Club และสร้างโอกาสให้พวกเขากลับมาอีก
จากนั้นจึงเปิดตัว Subscription Model ที่ให้ลูกค้าสามารถจ่ายล่วงหน้าเพื่อดื่มกาแฟ 5 – 15 แก้วต่อเดือน ในราคาต่อแก้วที่คุ้มค่ากว่า ทำให้กาแฟกลายเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ประจำวัน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นชัดเจน จากสมาชิกเพียง 20,000 คนก่อนโควิด เติบโตเป็น 200,000 คนในปัจจุบัน
“กาแฟของเราต้องดี ได้รางวัล Golden Bean Award ทั้งจากออสเตรเลียและอเมริกา มีซิกเนเจอร์ และปรับให้เหมาะกับคนไทย”
จากข้อมูลที่ได้ เราพบว่า กาแฟคั่วกลางเกือบเข้มเป็นที่นิยมที่สุดในไทย ทางทีมจึงเลือกใช้เมล็ดกาแฟไทยและปรับสูตรให้เหมาะกับรสนิยมของลูกค้า ทำให้ The Coffee Club ในไทยมีเมนูที่ไม่ใช่แค่ยกมาจากออสเตรเลีย แต่พัฒนาให้เข้ากับวัฒนธรรมการดื่มของคนไทยโดยเฉพาะ
กลยุทธ์ที่มากกว่าแค่ ‘เปิดร้าน’ แต่คือการสร้าง ‘ที่ของคุณ’
อยู่ในที่ที่เข้าถึงง่าย – เราเลือกโลเคชันให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลูกค้า
เข้าถึงง่าย – ใช้ Digital Marketing ดึงลูกค้าใหม่ และ CRM สร้างลูกค้าประจำ
มีเหตุผลให้กลับมา – พัฒนาเมนูที่คนรัก และใช้ Subscription Model ให้แบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์
สิ่งเหล่านี้ทำให้ The Coffee Club ไม่ใช่แค่คาเฟ่ แต่คือ ‘Neighbourhood Cafe’ – ร้านที่อยู่ใกล้คุณ และอยากให้คุณกลับมาทุกวัน
การตลาดไม่ใช่สูตรสำเร็จ เราต้องปรับตัวให้เร็วเสมอ
“สิ่งที่เคยเวิร์ค อาจไม่เวิร์คอีกต่อไป และสิ่งที่เราไม่คิดว่าจะเวิร์ค อาจกลายเป็นกลยุทธ์หลักของเรา”
การเติบโตของ The Coffee Club ไม่ใช่แค่เรื่องของการขายดี แต่คือ การเข้าใจลูกค้าและปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง การทำธุรกิจไม่มีสูตรตายตัว และเราต้องพร้อมเรียนรู้จากทั้งความสำเร็จและข้อผิดพลาด
“ตอนแรกเราใช้วิธีให้พนักงานในร้านช่วย Recruit ลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ”
ฟังดูเป็นไอเดียที่ดี เพราะนักท่องเที่ยวคือกลุ่มลูกค้าหลักของร้านในช่วงก่อนโควิด แต่ปัญหาคือ… พวกเขากลับมาใช้บริการเพียงช่วงเวลาสั้นๆ และเมื่อเดินทางกลับประเทศ ยอดซื้อซ้ำก็หายไปเลย
จากบทเรียนนี้ The Coffee Club ได้เรียนรู้ว่า การสร้างฐานลูกค้าที่ยั่งยืน ต้องเลือกกลุ่มที่สามารถผูกพันกับร้านได้ในระยะยาว
จากนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่—เปลี่ยนจากร้านที่พึ่งพานักท่องเที่ยว เป็นร้านที่อยู่ในไลฟ์สไตล์ของคนไทย
The Coffee Club หันมาเน้นลูกค้า Local ผ่านกลยุทธ์ CRM & Membership สร้างความผูกพันให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ ใช้ Subscription Model ให้กาแฟกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และพัฒนา Neighbourhood Cafe ให้เป็น ‘ร้านประจำ’ ของคนในแต่ละพื้นที่
สิ่งที่ทำให้กลยุทธ์นี้เวิร์ค ไม่ใช่แค่การออกแคมเปญใหม่ๆ แต่คือ การใช้ Data วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรหลังโควิด และทำให้ร้านสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้ลึกขึ้น
นอกจากการสร้างฐานลูกค้าคนไทย The Coffee Club ยังขยายเมนู Non-Coffee และ Healthy Drinks ให้หลากหลายขึ้น เพื่อรองรับเทรนด์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
“อย่ายึดติดกับความสำเร็จเดิมๆ แต่ต้องมองอนาคตตลอด”
ธุรกิจที่ยั่งยืนคือธุรกิจที่ไม่เคยหยุดพัฒนา และ The Coffee Club คือหนึ่งในตัวอย่างของแบรนด์ที่เลือกจะเติบโตไปพร้อมกับลูกค้า ไม่ใช่แค่ทำธุรกิจตามสูตรสำเร็จเดิมๆ
บางครั้ง การตัดออกก็คือการเติบโต
“เรามักคิดว่าการมีเมนูเยอะคือดี แต่จริงๆ แล้ว เมนูที่ ‘น้อยแต่ตรงจุด’ อาจทำให้ธุรกิจโตได้มากกว่า”
หนึ่งใน Happy Accident ที่เปลี่ยนแนวคิดของ The Coffee Club เกี่ยวกับ Menu Management คือการเรียนรู้ว่าการมีตัวเลือกมากเกินไป ไม่ได้หมายความว่าลูกค้าจะพึงพอใจมากขึ้น
ช่วงแรก เราอยากให้ลูกค้ามีตัวเลือกหลากหลาย และให้ความสำคัญกับลูกค้าทุกกลุ่ม แม้แต่เมนูที่ขายไม่ดีแต่มีลูกค้าประจำบางคนชอบ เราก็ลังเลที่จะถอดออก เพราะกลัวว่าจะทำให้ลูกค้าผิดหวัง
แต่ในที่สุด เราพบว่าการคงเมนูไว้มากเกินไปไม่ได้ช่วยให้ร้านดีขึ้น กลับกลายเป็นอุปสรรค ลูกค้าหลายคนสับสน ไม่รู้จะเลือกอะไร เมนูที่ขายไม่ดีกลายเป็นสต็อกส่วนเกิน เวลาทำอาหารนานขึ้น และกระทบคุณภาพการบริการ
“เราเคยกลัวว่าถ้าตัดเมนูออก ลูกค้าจะไม่พอใจ แต่สุดท้าย การเลือกตัดสินใจครั้งนี้กลับทำให้ทุกอย่างดีขึ้น”
The Coffee Club ใช้ Data วิเคราะห์เพื่อหาว่าเมนูไหนขายดีที่สุด เมนูไหนมี Margin สูงสุด และเมนูไหนที่ใช้วัตถุดิบมากแต่ขายไม่ดี จากนั้นเราตัดเมนูที่ไม่ตอบโจทย์ออก เพื่อให้สามารถพัฒนาเมนูที่ลูกค้ารักให้ดียิ่งขึ้น
ผลลัพธ์ของการ “ยอมตัด” คือทุกอย่างดีขึ้น ลูกค้าเลือกง่ายขึ้น ไม่ต้องลังเล ประสบการณ์ในร้านดีขึ้น เสิร์ฟเร็วขึ้น บริหารคลังสินค้าได้ดีขึ้น ลดของเสียในกระบวนการ พนักงานทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น และบริการดีขึ้น
การตัดเมนูออกไม่ใช่การลดคุณค่า แต่คือการโฟกัสในสิ่งที่ใช่
The Coffee Club ไม่ได้แค่เพิ่มเมนูไปเรื่อยๆ แต่เลือกทำเมนูที่ดีที่สุด และทำให้มัน “ใช่” ที่สุด
บริหารทีมการตลาด ไม่ใช่แค่ดูตัวเลข แต่ต้องเข้าใจลูกค้าจริงๆ
“ก่อนจะวางแผน เราต้องเข้าใจตัวเองก่อน”
การทำตลาดให้สำเร็จไม่ใช่แค่การรันแคมเปญให้ดัง แต่คือการเข้าใจว่าลูกค้ามองแบรนด์ของเราอย่างไร และเราจะไปถึงจุดที่ต้องการได้อย่างไร นี่คือแนวคิดของพี่จุ๊บในการบริหารทีมการตลาดของ The Coffee Club
“เราต้องรู้ก่อนว่าเราอยู่ตรงไหน และอยากเป็นอะไร”
ทุกการตัดสินใจต้องเริ่มจากการประเมินตัวเอง จุดแข็งของแบรนด์คืออะไร ลูกค้าคิดกับเรายังไง ร้านทำกำไรดีหรือไม่ มีปัญหาตรงไหน คู่แข่งทำอะไรอยู่ และเราต่างจากพวกเขาอย่างไร แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ ลูกค้ารู้สึกอย่างไรกับป
ระสบการณ์ที่ได้รับจากเรา
“Marketing ต้อง Define ลูกค้าให้ชัด”
แนวทางของ The Coffee Club ในการสร้าง Neighbourhood Cafe ไม่ได้เกิดขึ้นจากการคาดเดา แต่เป็นการทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง และแบ่งกลุ่มอย่างชัดเจน กลุ่มลูกค้าหลักมีทั้งพนักงานออฟฟิศที่แวะร้านระหว่างวัน คนที่ชอบลองคาเฟ่ใหม่ๆ คนที่อาศัยอยู่ใกล้ร้านและใช้ที่นี่เป็นพื้นที่พักผ่อน รวมถึงนักศึกษาที่มองหาพื้นที่นั่งอ่านหนังสือ
หลังจากกำหนดกลุ่มเป้าหมายแล้ว การวางแผนการตลาดจึงเกิดขึ้นโดยอิงจากหลัก 4Ps – การเลือกทำเลที่เข้าถึงลูกค้าได้จริง การใช้ CRM ดึงลูกค้าให้ผูกพันกับแบรนด์ การพัฒนาเมนูที่ตอบโจทย์แต่ละกลุ่ม และการกำหนดราคาที่คุ้มค่าสำหรับลูกค้า
อีกหนึ่งสิ่งที่พี่จุ๊บเน้นย้ำคือ อย่าทำตลาดแค่บนกระดาษ ต้องลงไปเจอของจริง
“เราต้อง Research และ Observe ให้มากพอ ถึงจะรู้ว่าต้องปรับอะไร”
ข้อมูลที่ดีที่สุด ไม่ได้มาจากแค่รายงาน แต่เกิดจากการเข้าไปสัมผัสพื้นที่จริง พี่จุ๊บให้ทีมเข้าไปสังเกตพฤติกรรมลูกค้าในแต่ละทำเล ตั้งแต่สิ่งที่พวกเขาทำในร้าน ระยะเวลาที่นั่งอยู่ ไปจนถึงเมนูที่ได้รับความนิยม จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและทดสอบไอเดียใหม่ๆ
The Coffee Club ไม่ได้เติบโตเพราะแค่ทำโฆษณาดี แต่เพราะความเข้าใจลูกค้าและการลงมือทำให้ถูกจุด
บางเทรนด์มาเร็วไปเร็ว แต่บางเทรนด์ควรอยู่ตลอดไป
เมื่อถามถึงเทรนด์ที่อยากให้อยู่ไปตลอด พี่จุ๊บตอบโดยไม่ลังเลว่า Well-being & การใส่ใจสุขภาพ
“เราไม่ได้แค่ขายสินค้า แต่ควรสร้างคุณค่าให้ชีวิตของลูกค้าด้วย”
สำหรับพี่จุ๊บ การดูแลสุขภาพไม่ใช่แค่กระแสที่มาแล้วก็ไป แต่ควรเป็นแนวคิดที่อยู่กับสังคมตลอดไป ทุกคนควรมีทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพโดยไม่ต้องรู้สึกผิดหรือยุ่งยาก และหน้าที่ของธุรกิจอาหารและคาเฟ่คือการทำให้สิ่งนี้เป็นเรื่องง่ายขึ้น
ผู้ประกอบการและแบรนด์ต่างๆ ไม่ควรรอให้เทรนด์สุขภาพเป็นที่นิยมแล้วค่อยปรับตัว แต่ต้องเป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม หรือไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมสุขภาพกายและใจ พี่จุ๊บมองว่าการดูแลสุขภาพไม่ควรเป็นแค่ “เทรนด์” แต่ต้องกลายเป็น “เรื่องปกติ” ของทุกคน
The Coffee Club เชื่อว่าการสนับสนุนสุขภาพไม่จำเป็นต้องสุดโต่ง แต่ต้องเป็น ทางเลือกที่สมดุล การลดวัตถุดิบที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำตาล หรือการเลือกใช้วัตถุดิบที่ดีกว่า รวมถึงการสร้างเมนูที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว ควรเป็นแนวทางที่ธุรกิจให้ความสำคัญ ไม่ใช่แค่กลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้ในช่วงสั้นๆ
เมื่อสุขภาพกายดี สุขภาพใจก็ดีตาม พี่จุ๊บเชื่อว่าแบรนด์และนักการตลาดมีบทบาทสำคัญในการสร้าง “พื้นที่ปลอดภัย” ที่ทุกคนสามารถเป็นตัวเองได้ การตลาดที่ดีไม่ใช่แค่การทำแคมเปญให้โดดเด่น แต่ต้องสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
“ความสำเร็จนั้นมาพร้อมกับความรับผิดชอบ”
การสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืนไม่ได้วัดจากยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูจากคุณค่าที่ธุรกิจสามารถส่งต่อให้กับลูกค้าและสังคมด้วย
The Coffee Club: เติบโตไปพร้อมกับผู้คน และพร้อมเดินหน้าต่อ
ตลอดเส้นทางจากการเป็นร้านกาแฟระดับพรีเมียม สู่การเป็น Neighbourhood Cafe ที่เชื่อมโยงกับชุมชน The Coffee Club ได้พิสูจน์แล้วว่า ความสำเร็จของธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่รสชาติกาแฟหรือคุณภาพของเมนู แต่คือการเข้าใจและเดินไปพร้อมกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า
ภายใต้การบริหารของ พี่จุ๊บ – นงชนก สถานานนท์ The Coffee Club ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ จากร้านที่พึ่งพานักท่องเที่ยว เป็นร้านที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น การใช้ Data และ CRM กลายเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างกลยุทธ์ ทำให้คนไทยรู้จักแบรนด์ และกลับมาใช้บริการซ้ำ
แต่เหนือสิ่งอื่นใด The Coffee Club คือตัวแทนของแบรนด์ที่ไม่เคยหยุดเรียนรู้และปรับตัว
ไม่ว่าจะเป็น การบริหารเมนูให้ตอบโจทย์มากขึ้น การเลือกทำเลที่เข้าถึงง่าย หรือการมองหาเทรนด์ที่ควรอยู่ไปตลอดกาล อย่าง Well-being และความยั่งยืน ทุกการตัดสินใจล้วนเกิดจากความเข้าใจในลูกค้า และความตั้งใจที่จะทำให้ที่นี่เป็น ‘พื้นที่ที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน’
“The Coffee Club ไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ แต่เป็นพื้นที่ที่เติบโตไปพร้อมกับผู้คน สถานที่ที่คุณอยากมา และอยากกลับมาเสมอ…”
“และในอนาคต The Coffee Club จะยังคงพัฒนา เพื่อเป็น ‘ที่ของทุกคน’ อย่างแท้จริง”