Blog

Right Idea, Right Execution คิดคอนเซปต์อย่างไรให้เป็นแบรนด์ที่ใช่ตั้งแต่วันแรก

• 11 มีนาคม 2025

Share on

Share on

Content Shifu ได้มีโอกาสไปเข้าร่วมงาน The Entrepreneur Forum 2025 ที่จัดโดยลงทุนแมนมา และเนื้อหานี้คือเนื้อหาที่สรุปเนื้อหาที่สรุปมาจากหนึ่งใน Session ในงาน ซึ่ง Speaker คือ คุณชลากร เอกชัยพัฒนกุล เจ้าของแบรนด์ โอ้กะจู๋, Oh! Juice
และ คุณชนวีร์ หอมเตย เจ้าของแบรนด์ Shinkanzen Sushi, นักล่าหมูกระทะ, NAMA Japanese and Seafood Buffet และ Katsu Midori Thailand

จุดเริ่มต้นของทั้งสองแบรนด์ และการวาง Right Concept ที่ใช่

Shinkanzen – ซูชิราคาดี เพื่อทุกคน
จุดเริ่มต้น: เกิดจากการมองเห็นโอกาสที่ ม.ธรรมศาสตร์ ไม่มีร้านอาหารที่ตอบโจทย์นักศึกษา จึงทดลองรสชาติและตั้งเป้าหมายให้เป็นซูชิที่ “ดี ราคาจับต้องได้” เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียน-นักศึกษาในช่วงแรก เมื่อขยายร้านในทำเลในเมือง เช่น สยาม ที่มีลูกค้ากลุ่มคนทำงานมากขึ้น แบรนด์ได้ค่อย ๆ ขยายฐานลูกค้าและปรับตัวให้เหมาะสม

โอ้กะจู๋ – From Farm to Table
จุดเริ่มต้น: เริ่มจากอยากปลูกผักที่ดี มีคุณภาพ จึงเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาผสานกับการทำแปลงผัก และเปิดร้านคาเฟ่เล็ก ๆ ที่ขายสลัด แต่พอฟังเสียงลูกค้าว่าอยากเห็นเมนูที่ถูกใจและ “อิ่มท้อง” มากขึ้น จึงค่อย ๆ เพิ่มเมนูให้หลากหลาย พร้อมทั้งดีไซน์ Concept ที่ชัดเจนว่าเป็นอาหารที่มาจากผักสดจากฟาร์มโดยตรง การมีฟาร์มอยู่ใกล้ร้านในช่วงเริ่มต้น ช่วยเสริมความน่าเชื่อถือในคอนเซปต์ “อาหารสดใหม่จากฟาร์ม”

Right Location – วางแบรนด์ให้ถูกที่

Shinkanzen – โลเคชั่นที่เหมาะกับราคาที่เข้าถึงได้
จุดเด่นของการเลือกโลเคชั่น เช่น สยาม ซึ่งมีทั้ง นักเรียน, นักศึกษา และ พนักงานออฟฟิศ แม้จะมีค่าเช่าพื้นที่สูง แต่ด้วยสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้าในพื้นที่ ทำให้ขายได้ดี
การปรับตัว: หลังเจอปัญหารายได้น้อยช่วงปิดเทอม กลยุทธ์ย้ายจากโซนมหาวิทยาลัย ไปตั้งใน ห้างใหญ่ใจกลางเมือง ช่วยเพิ่มยอดขายได้

โอ้กะจู๋ – จากคาเฟ่ใกล้ฟาร์ม สู่ร้านอาหารใจกลางเมือง
ในช่วงแรก ปักหมุดใกล้ฟาร์มที่เชียงใหม่เพื่อเน้นความสดใหม่ แต่เมื่อขยายมาที่ กรุงเทพฯ เลือกลงทุนกับทำเลดี ๆ แม้ว่าจะมีต้นทุนสูงทั้งในเรื่องค่าที่และการขนส่งวัตถุดิบ แต่ก็ประสบความสำเร็จได้
การเริ่มต้น: เปิดร้านเล็กก่อนแบบ “กลางวัน 1 มื้อ เย็น 1 มื้อ” สั่งสมชื่อเสียงจากรีวิวลูกค้า ก่อนจะค่อย ๆ ขยายร้านจนรับลูกค้าได้อย่างเต็มที่

หลักการแตกแบรนด์ของทั้งสอง

Shinkanzen – ตามใจลูกค้าและก้าวตามเทรนด์
ให้ความสำคัญกับ Customer Journey เช่น “Shinkanzen GO!” ที่ออกแบบเพื่อลดปัญหาลูกค้าไม่อยากรอในร้าน และอำนวยความสะดวกให้ซื้อกลับบ้านง่ายขึ้น

หยิบเทรนด์สร้างตลาดใหม่: เช่น กระแสโอมากาเสะในไทย หรือการเปิดแบรนด์ใหม่ (Katsu Midori) โดยจับกระแสอาหารญี่ปุ่นคุณภาพ ลด Pain Point ด้วยไอเดียใหม่ ๆ เช่น ห้องแอร์สำหรับปิ้งย่างหมูกระทะ ช่วยดึงลูกค้าที่กลัวกลิ่นติดตัว

โอ้กะจู๋ – คิดจาก Framework แกนหลัก 4 ข้อ
– เสริมธุรกิจเดิมให้แข็งแกร่ง
– แตกต่างจากตลาดเดิม เพื่อสร้างจุดยืนที่ชัดเจน
– ตลาดใหม่ต้องมีเสน่ห์และน่าดึงดูด
– ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Shifu’s Comment: Framework ที่ชัดเจนช่วยลดความเสี่ยงเมื่อต้องแตกแบรนด์ใหม่ นักการตลาดควรนำหลักการเหล่านี้มาประยุกต์ เช่น ประเมินตลาดว่า “ดึงดูดจริงหรือไม่” และวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

Right Partnership – พาร์ทเนอร์ที่ใช่ สร้างธุรกิจที่ปัง

Shinkanzen – การร่วมมือกับ CRG (Central Restaurant Group)
การมี Central Restaurant Group ช่วยหาทำเลที่ดี เช่น สยามหรือห้างในเมือง และประสานงานต่าง ๆ เช่น นำ Midori เข้ามาไทย เป็นคีย์สำคัญในการขยายธุรกิจ

โอ้กะจู๋ – ปั้นเติบโตด้วย OR (ปตท.)
ได้ OR ช่วยสนับสนุนทั้งข้อมูล Traffic และทำเลในการตั้งร้าน เช่น ในปั๊มน้ำมัน และยังนำสินค้าของร้านไปขายใน Amazon Café เพิ่มยอดขายผ่านเครือข่ายของพันธมิตร

สรุป Key Takeaways

ทั้ง Shinkanzen และ โอ้กะจู๋ มีจุดเริ่มต้นจากการสังเกตโอกาสเล็ก ๆ ในตลาด และพัฒนาให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย
– การเลือก Right Location ทำเลที่เหมาะสมกับสินค้าและคอนเซปต์ที่วางไว้มีผลต่อความสำเร็จอย่างชัดเจน
– การพัฒนาแบรนด์เพิ่มเติม ต้องดูทั้งเสียงลูกค้า (Customer-Centric) และกระแสตลาด เพื่อสร้างความแตกต่างในกลยุทธ์
– พาร์ทเนอร์ที่ดีคือจุดแข็งสำคัญที่ช่วยผลักดันธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

Share on

Kusalin

Writer

Kusalin

Namkhing l Content Creator แห่ง Content Shifu ที่หลงใหลการตลาดดิจิทัล เทรนด์ธุรกิจ และ ไลฟ์สไตล์ของผู้คน ว่างๆ มักจะอ่านหนังสือในคาเฟ่ ชอบเที่ยวคนเดียว รักการเขียนและพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเป็นพิเศษ

More From Me