การเขียนคอนเทนออนไลน์หนึ่งชิ้นขึ้นเผยแพร่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล แตกต่างจากการผลิตผลงานเผยแพร่บนแพลตฟอร์มรูปแบบเดิมอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ นั่นเป็นเพราะลักษณะ รูปแบบ และข้อจำกัดระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่อดิจิทัลที่แตกต่างกัน ส่งผลให้วิธีการผลิต สไตล์การเสพ ตลอดจนลักษณะของตัวคอนเทนต์เองก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย

ในบทความชิ้นนี้ ผมในฐานะนักเขียนออนไลน์หน้าใหม่ จึงอยากจะแชร์ความรู้ที่ได้จากการเขียนคอนเทนต์ออนไลน์ โดยได้สรุปสิ่งที่ต้องรู้และทำความเข้าใจสำหรับงานเขียนบนสื่อดิจิทัล ด้วยหวังว่าสิ่งที่ผมเรียนรู้มา น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่อยากจะเขียนคอนเทนต์ออนไลน์บ้าง

นอกจากนี้ ท้ายบทความ ผมมี Digital Content Writer’s Checklist มาแจกทุกคน เพื่อใช้เช็กบทความของคุณก่อนที่จะ Publish ว่ามีอะไรที่ต้องคำนึงถึง และเหลืออะไรที่ยังไม่ได้ทำบ้างอีกด้วย

<!–[if lte IE 8]>
<![endif]–>New call-to-action
hbspt.cta.load(3944609, '46ad8de0-da24-44f0-a0dc-4261f76df884′, {“useNewLoader”:”true”,”region”:”na1″});

Platform เปลี่ยนไป วิธีสื่อสารต้องเปลี่ยนแปลง

จากเดิมที่สื่อกลางในการสื่อสารระหว่าง “ผู้เขียน” และ “ผู้อ่าน” มีเพียงหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆ ทุกวันนี้เรายังถ่ายทอดความคิดในรูปแบบงานเขียนผ่านสื่อดิจิทัลกันอย่างแพร่หลาย และด้วยสื่อกลางที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ก็ส่งผลให้รูปแบบการเขียนคอนเทนต์เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน

ภาษา

เนื่องจากกระบวนการทำหนังสือมีระบบบรรณาธิการที่คอยดูแลและตรวจแก้ต้นฉบับ จึงมีการกำหนดมาตรฐาน (Set Standard) ขึ้นเพื่อให้หนังสือที่ผลิตจากสำนักพิมพ์มีมาตรฐานและรูปแบบที่เหมือนกัน นอกจากนี้ ในการทำหนังสือผู้ผลิตมักคาดเดาได้ยากว่าใครจะเป็นผู้หยิบหนังสือเล่มนั้นๆ ไปอ่าน ภาษาที่ใช้สื่อสารในเล่มจึงเป็นภาษากลางๆ ที่ค่อนข้างสุภาพ ให้สื่อสารกับคนส่วนใหญ่ในทุกระดับได้

ในทางกลับกัน ภาษาที่ใช้ในสื่อดิจิทัลมักจะมีโอกาสที่จะเป็นภาษาแบบเป็นกันเองมากกว่า หลายครั้งที่ ผู้เขียนกับผู้อ่านมักสื่อสารกันโดยตรง ซึ่งผู้เขียนมักรู้อยู่แล้วว่ากำลังสื่อสารกับใคร เพราะบนโลกดิจิทัลมักจะมีชุมชนเสมือนที่ทุกๆ คนรวมกลุ่มกันตามความสนใจเฉพาะ พรมแดนด้านอายุหรือสถานะทางสังคมก็มักจะพร่าเลือนไป ทั้งยังมีระบบอัลกอรึทึมที่ช่วยคัดเลือกเนื้อหาที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งานได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น การเขียนคอนเทนต์ออนไลน์ส่วนใหญ่จึงมุ่งสื่อสารแบบ “เพื่อน” คุยกับ “เพื่อน” มากกว่า

ความยาวและย่อหน้า

สำหรับแพลตฟอร์มคลาสสิกอย่างหนังสือเล่ม (Physical Book) ไม่ว่าจะเป็นตำรา นวนิยาย หนังสือ How-to หรือหนังสือพัฒนาตนเอง เราจะชินกับรูปแบบการเรียบเรียงเนื้อหาเป็นย่อหน้ายาวๆ ตั้งแต่ 3 บรรทัด ไปจนถึงยาวเป็นหน้า

ที่เป็นเช่นนี้ได้ เพราะสภาพแวดล้อมการอ่านหนังสือเล่มเป็นมิตรกับผู้อ่าน ไม่มีสิ่งรบกวน เช่น การแจ้งเตือนจากสมาร์ทโฟน โฆษณา หรือสิ่งเร้าความสนใจอื่นๆ ผู้อ่านจึงมีสมาธิเพียงพอ สามารถจดจ่อ และเชื่อมโยงเนื้อหาในย่อหน้าที่ยาวๆ ได้

ในทางกลับกัน คอนเทนต์ออนไลน์ที่ดีจึงควรจะมีเนื้อหาที่กระชับ ย่อหน้าไม่ควรเกิน 5 บรรทัด เพราะด้วยสภาพแวดล้อมในการอ่านที่ไม่เอื้อต่อการจดจ่อ คอนเทนต์ที่สั้น (แต่ยังต้องเอาเนื้อหาให้อยู่หมัด) และอ่านง่าย จะทำให้ผู้อ่านมีโอกาสจะอ่านคอนเทนต์ของเราต่อหรืออ่านได้จนจบมากกว่า

รูปแบบ

เช่นเดียวกันกับเรื่องความยาวและย่อหน้า รูปแบบเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ที่จะช่วยให้การอ่านลื่นไหลมากยิ่งขึ้น ลองสังเกตกันว่ารูปแบบการจัดวางบทความบนสื่อดิจิทัลมักเว้นระยะห่างระหว่างย่อหน้ามากกว่าหนังสือเล่ม เพื่อให้มีพื้นที่ในการพักสายตา และยังใช้ Bullet Point หรือ Subheading เข้ามาช่วยให้ผู้อ่านติดตามและเชื่อมโยงเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ เรื่องการจัดรูปแบบให้น่าสนใจก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ การทำเนื้อหาให้น่าสนใจมากขึ้นด้วยภาพประกอบ คลิปวิดีโอ กราฟหรือแผนภูมิ จะดึงให้ผู้อ่านอยู่กับเราได้นาน ทั้งยังช่วยให้เห็นภาพและเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อได้ดีขึ้นอีกด้วย

คอนเทนต์ออนไลน์ที่อ่านง่าย

ตัวอย่างหน้าตาคอนเทนต์ออนไลน์ที่จัดรูปแบบให้อ่านง่าย

ตัวอย่างคอนเทนต์ออนไลน์ ทำไม Facebook ถึงอยากให้คุณติด Facebook น้อยลง? จาก Content Shifu ที่จัดรูปแบบได้อ่านง่าย สบายตา มีการใช้ Subheading ภาพประกอบ และ Bullet Point

Digital Content Writer

เขียนคอนเทนต์ออนไลน์ เทคนิคเป็นเรื่องสำคัญ

หากเป็นการ “เขียนหนังสือ” เราอาจจะแค่คำนึงถึงความถูกต้องของเนื้อหา การสะกดให้ถูกต้อง การเรียบเรียง การปรุงแต่งภาษาให้เนื้อหาน่าสนใจ แต่สำหรับการเขียนคอนเทนต์ออนไลน์ ยังจำเป็นต้องอาศัยความรู้ด้านเทคนิคที่ดีด้วย เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่ไม่เพียงมีคุณภาพและน่าอ่าน แต่ยังต้องทำให้คอนเทนต์สามารถไปถึงผู้อ่านให้ได้ด้วย

แนะนำคอร์ส Digital Content Writing Certification

เขียนคอนเทนต์

Digital Content Writing Certification

หลักสูตรปั้นสุดยอดนักเขียนคอนเทนต์มืออาชีพ ที่จะติดอาวุธให้กับทักษะการเขียนคอนเทนต์แบบเข้มข้น ที่สอนทุกกลยุทธ์สำคัญในการดึงดูดผู้อ่าน จัดเต็มทุกเนื้อหาสำคัญตั้งแต่ต้นจนจบไว้ในคอร์สเดียว สอนโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ การันตีด้วยประสบการณ์มากมาย  

รีบลงทะเบียนเรียนวันนี้ในราคาโปรโมชั่น 25% [มีจำนวนจำกัด]

SEO (Search Engine Optimization)

SEO เป็นความรู้พื้นฐานด้านเทคนิคสำหรับการผลิตคอนเทนต์บนสื่อออนไลน์ เพราะผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะเข้าถึงคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ผ่าน Search Engine เช่น Google ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจระบบการทำงานของ Search Engine ในการคัดเลือกเนื้อหาจากเว็บต่างๆ ขึ้นมาแสดงผลในหน้าแรกๆ เราก็จะสามารถผลิตผลงานที่ “เสิร์ชเจอง่าย” ทำให้งานเขียนของเราได้ยอดการเข้าถึง (Reach) มากขึ้น ซึ่งองค์ประกอบที่ใช้ในการส่งเสริม SEO ก็มีหลายองค์ประกอบด้วยกัน เช่น การเลือกใช้ Keyword เนื้อหาของบทความ และ Engagement เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังต้องรู้จักวิธีที่เหมาะสมในการตั้งชื่อ “SEO Title” และ “Meta Description” (ชื่อบทความและคำอธิบายบทความที่จะปรากฏบน Search Engine) เพื่อให้ดึงดูดทั้งผู้อ่านที่เป็นคนและระบบอัลกอริทึมของ Search Engine อีกด้วย

เขียนคอนเทนต์ออนไลน์
ตัวอย่าง SEO title และ Meta description

Keyword

Keyword คือ คำหรือวลีที่คนใช้ค้นหาข้อมูลบน Search Engine ซึ่งเป็นเหมือนสะพานเชื่อมผลงานกับผู้อ่าน

การเข้าใจเรื่องการเลือก Keyword ที่ดี เป็นการทำ SEO ที่ช่วยให้ผลงานของเรามี ​Keyword ที่คนมักจะค้นหา ทั้งยังช่วยให้ระบบกัลกอรึทึมค้นพบบทความของเราได้ง่ายขึ้น นำไปสู่การที่คอนเทนต์ของเรามี Search Rank ที่ดีขึ้นนั่นเอง

วิธีการเลือก Keyword โดยทั่วไปควรเลือกจะใช้ Keyword ที่มีคนค้นหาเยอะ (High Volume) และกระจายไปยังจุดต่างๆ ของบทความ เช่น ชื่อบทความ หัวข้อย่อย และในตัวบทความ เป็นต้น

Shifu แนะนำ
ในบทความ 4 เทคนิคทำ SEO ที่นักเขียนต้องรู้! เขียนบทความให้กลายเป็นตำนานบน Google ได้แนะนำวิธีการทำ SEO และวิธีใช้ Keyword เพื่อให้มียอดค้นหาสูงๆ ไว้ค่อนข้างละเอียด สามารถศึกษาเพิ่มเติมกันได้ครับ และถ้าอยากรู้ว่าหลักการคิด Keyword แบบละเอียดว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ในบทความ Keyword คืออะไร และ หา Keyword ของเว็บไซต์อย่างไรให้รายได้ของคุณพุ่ง มีคำตอบ

Lifetime

Lifetime คือ อายุขัยของคอนเทนต์ที่ยังอยู่บน Search Engine หรือยังมีคนเข้ามาอ่านอยู่ สิ่งนี้เป็นเรื่องที่คนผลิตคอนเทนต์ออนไลน์ต้องเข้าใจ และต้องศึกษาว่าจะทำอย่างไรให้คอนเทนต์ของเราไม่ “ตาย” ซึ่งบทความที่จะมีอายุยืนนานได้ก็ต้องมีคนต้องการ เราเรียกบทความประเภทนี้ว่า “คอนเทนต์แบบ Evergreen”

คอนเทนต์แบบ Evergreen คือ คอนเทนต์ที่จะยังมีคนค้นหาอยู่เรื่อยๆ ผู้คนมีความต้องการที่จะรู้อยู่เสมอ เช่น บทความความรู้ บทความแนวคิด หรือบทความที่มีประโยชน์ ถ้าเราต้องการให้บทความของเรามีคนมาอ่านเรื่อยๆ ก็ลองเขียนบทความแนวนี้ดูบ้าง

แต่ทั้งนี้ บทความที่มีอายุสั้นอย่าง “คอนเทนต์แบบ Topical” หรือคอนเทนต์ที่โหนกระแส ก็ไม่ได้หมายความว่าแย่กว่า เพราะจุดประสงค์ของคอนเทนต์ 2 ประเภทนี้ก็แตกต่างกัน บทความแบบ Evergreen จะช่วยให้เว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่เราใช้เผยแพร่ เช่น เฟซบุ๊กเพจหรือบล็อก มีความน่าเชื่อถือและมีคนแวะเข้ามาอ่านคอนเทนต์เรื่อยๆ ส่วนคอนเทนต์แบบ Topical ที่เกาะกระแสดังประเด็นร้อนในขณะนั้นๆ จะช่วยให้แพลตฟอร์มของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น หรือมียอด Traffic ที่สูงแบบชั่วข้ามคืนได้

Shifu แนะนำ
อ่านเกี่ยวกับคอนเทนต์ Evergreen และ Topical ได้จากบทความ Evergreen Content v.s. Topical Content คอนเทนต์แบบไหนน่าทำกว่ากัน?

Engagement

Engagement ในทางคอนเทนต์ดิจิทัล หมายถึง การที่ผู้อ่านหรือผู้เสพคอนเทนต์มีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ เช่น แชร์ต่อ คอมเมนต์ เป็นต้น สิ่งนี้ถือเป็นอีกเรื่องสำคัญที่นักเขียนคอนเทนต์ออนไลน์ควรจะให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน

วิธีการเพิ่ม Engagement ก็คือการเขียนบทความให้มีคุณภาพ มีประโยชน์ น่าบอกต่อ และยังทำได้โดยการสื่อสารกับผู้อ่านผ่านแพลตฟอร์มที่เราเผยแพร่คอนเทนต์ ดังนั้น อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องใส่ใจเช่นกันก็คือโซเชียลมีเดียที่เราใช้เผยแพร่ผลงาน เราจะสื่อสารกับคนที่ผ่านมาเห็น ลูกเพจ หรือผู้ติดตามอย่างไรให้เขาเกิดบทสนทนา โต้แย้ง แสดงความคิดเห็น หรือแชร์ไปเล่าต่อ เป็นต้น

นอกจากนี้ ถ้าบทความของเรามียอด Engagement สูงๆ ก็จะช่วยให้ Search Engine สนใจเรามากขึ้น และเอาผลงานเราไปอวดในหน้าค้นหาหน้าแรกๆ ด้วย

หัวใจในการเขียนคอนเทนต์อยู่ที่เนื้อหา

แม้ว่ารูปแบบของคอนเทนต์จะน่าสนใจแค่ไหน ใช้เทคนิคได้ชำนิชำนาญเพียงใด แต่ถ้าเนื้อหาขาดคุณภาพที่ดี ใครจะอยากอ่านต่อกัน

ฉะนั้น หัวใจในการผลิตคอนเทนต์ที่ดีไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม อย่างไรก็คือ “คุณภาพของเนื้อหา”

และนอกจากคอนเทนต์คุณภาพจะดึงดูด “คน” ให้มาอ่านและติดตามเราอยู่เรื่อยๆ แล้ว เนื้อหาที่ดียังสามารถดึงดูดอัลกอริทึมของ Search Engine ให้อยากนำเสนอคอนเทนต์ของเรา ซึ่ง Search Engine ชั้นนำอย่าง Google ก็สนับสนุนให้เราผลิตคอนเทนต์คุณภาพดีๆ โดยต้องมีคุณสมบัติทั่วๆ ไป เช่น

  • มีประโยชน์และให้ข้อมูลละเอียด
  • เป็น Original Content หรือเป็นต้นฉบับ หรือมีความสดใหม่ (Google ไม่สนับสนุนงานก๊อปปี้)
  • มี Engagement บนโซเชียลมีเดียที่ดี
  • มีภาพ วิดีโอ หรือคอนเทนต์รูปแบบอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจ

ทั้งนี้ Google ได้ทำไกด์ไลน์ SEO ของ Google ขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางให้เราผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและ “เสิร์ชเจอง่าย” อีกด้วย

สรุป

การเขียนคอนเทนต์ออนไลน์ให้ดี มีคุณภาพ ไม่ใช่แค่นักเขียนต้องมีทักษะการเขียนที่แข็งแกร่งเท่านั้น ความรู้ ความเข้าใจทั้งในเรื่องของรูปแบบคอนเทนต์ วัฒนธรรมการเสพของผู้อ่านที่เปลี่ยนไป และเรื่องของเทคนิคบนแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องรู้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน หากทักษะดี แต่เทคนิคไม่ได้ หรือเทคนิคได้ แต่ทักษะด้อย คอนเทนต์ของเราก็คงไม่อาจไป “เข้าตา” ใครได้

ตาคุณแล้ว

หากคุณคือนักเขียนคอนเทนต์ออนไลน์ที่รู้เทคนิคเจ๋งๆ ในการทำให้คอนเทนต์ไปถึงผู้อ่านได้มากๆ ก็สามารถแบ่งปันนักเขียนหน้าใหม่อย่างผมและเพื่อนๆ ได้ที่คอมเมนต์เลยนะครับ และสำหรับใครที่กำลังเริ่มเขียนคอนเทนต์ออนไลน์ ความรู้ในบทความนี้น่าจะช่วยให้คุณเข้าใจการทำงานคอนเทนต์บนสื่อดิจิทัลมากขึ้น และถ้าสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Content Marketing ก็สามารถเข้ามาเรียนได้ที่ Content Shifu เลยนะครับ เรามีบทความดีๆ อีกเพียบ รอคุณอยู่

ดาวน์โหลด Digital Content Writer’s Checklist

Digital Content Writer Checklist

ถ้าหากใครกลัวว่าเมื่อจะ Publish คอนเทนต์บนโลกออนไลน์แล้วจะลืมอะไรไป ก็สามารถดาวน์โหลด Digital Content Writer’s Checklist นี้ ไปเป็นตัวช่วยในการเช็กคุณภาพคอนเทนต์ของคุณกันได้เลยนะครับ : )

DOWNLOAD E-BOOK