Complete Guide



Content Marketing

แนะนำวิธีทำ Content Marketing ตั้งแต่ต้นจนเผยแพร่ผลงาน

การทำการตลาดซึ่งประกอบด้วยหลายองค์ประกอบนั้น “คอนเทนต์” อาจถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำการตลาดเลยก็ว่าได้ เพราะคอนเทนต์ คือ “สาร” (Message) ที่แบรนด์หรือผู้ส่งสารต้องการสื่อสารกับอีกฝ่ายที่เรียกกว่า กลุ่มเป้าหมาย (Audience) หรือผู้รับสาร

ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาบน Social Media..

บทความ บล็อก ข่าว..

วิดีโอ โพสต์ สเตตัส..

รีวิว คำบอกเล่า อีเมล.. ฯลฯ

ต่างก็ต้องการ ‘คอนเทนต์’ เพื่อจะบอกเล่าบางอย่าง 

ในบริบทของการทำการตลาด ‘คอนเทนต์’ จึงเป็น ‘เครื่องมือในการสื่อสาร’ เพื่อบอกให้ผู้รับสารรู้ว่า แบรนด์ (หรือผู้ส่งสาร) กำลังจะทำอะไร มีอะไรน่าสนใจ แล้วเชิญชวน/กระตุ้นให้ผู้รับสารเข้ามามีส่วนร่วมด้วย 

ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักศาสตร์การตลาดด้วยคอนเทนต์ หรือ Content Marketing กันให้ดี ตั้งแต่นิยาม ประโยชน์ จนถึงจะเริ่มต้นวางกลยุทธ์ Content Marketing ต้องทำอย่างไร


Shifu แนะนำ

ก่อนเข้าเนื้อหา shifu ยังมีข้อมูลการตลาดดีๆ ที่ช่วยให้เพิ่มฐานลูกค้าและโอกาสทางธุรกิจ ส่งผลให้ธุรกิจคุณเติบโตต่อเนื่อง ดูที่

 

ยาวไปอยากเลือกอ่าน

Content Marketing คืออะไร

Content Marketing คือ กลยุทธ์การตลาดด้วยคอนเทนต์ มาจาก 2 คำ ได้แก่ “Content” ที่หมายถึง เนื้อหาหรือสาร (Message) รวมกับคำว่า “Marketing” ที่หมายถึง การตลาด เราจึงพอสรุปได้ว่า Content Marketing คือ การทำคอนเทนต์เพื่อจุดประสงค์ทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อส่งมอบคุณค่าหรือความรู้ ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย สร้างการจดจำแบรนด์ กระตุ้นการตัดสินใจ ฯลฯ

จากนิยามข้างต้น อาจจะฟังๆ ไปเหมือนกับ ‘การทำโฆษณา’ แต่เมื่อว่าด้วยศาสตร์ของ Content Marketing แล้ว Content Marketing ประกอบไปด้วย การวางกลยุทธ์ การวางแผน ความเป็นแบรนด์ (Brand Identity) เสมือนว่า “คอนเทนต์” ก็คือ “แบรนด์” ที่กำลังเล่าเรื่อง ให้ทั้งคนที่ไม่รู้จัก คนที่รู้จัก คนที่ติดตาม หรือลูกค้าอยู่ ..คอนเทนต์จึงไม่ใช่แค่สาร แต่หมายถึงตัวตน

การวาง Content Marketing Strategy ให้จึงเสมือนการวาง Brand Position สร้างการรับรู้และความน่าเชื่อถือ และสื่อสารสาระสำคัญออกไปตามจุดประสงค์ทางการตลาดที่แบรนด์ต้องการ

ทำไม Content Marketing ถึงสำคัญกับการทำ Digital Marketing

Content Marketing กับ Digital Marketing

คอนเทนต์ก็ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการตลอดผ่านรูปแแบบต่างๆ ผ่านกิจกรรมที่เราทำเป็นประจำในทุกวันนี้ ยกตัวอย่างเช่น เราเสิร์ชอ่านเกี่ยวกับสินค้าเพื่อเปรียบเทียบราคา คุณสมบัติ เราอ่านรีวิวร้านอาหาร/สถานที่ท่องเที่ยว/คาเฟ่ผ่านแอปฯ เราเสพไลฟ์สไตล์ต่างๆ ผ่านสื่อออนไลน์หลากรูปแบบ ซึ่งทั้งหมดที่เราเสพ คือ “คอนเทนต์” ที่มีส่วนช่วยให้เราตัดสินใจซื้อหรือดีล

การทำ Content Marketing ที่ให้ผลลัพธ์ที่ดี จึงมักจะเป็นการทำคอนเทนต์และการโปรโมตที่สอดคล้องกับการพฤติกรรมของผู้คน อีกทั้งตอบจุดประสงค์ทางการตลาดและทางธุรกิจของแบรนด์/องค์กรด้วย

ที่มารูปภาพ gartner

นอกจากนี้ ในมุมของการทำการตลาดกว้างๆ แล้ว แผนภาพข้างต้น คือ แผนผังจักรวาลของการทำ Digital Marketing ที่จะเห็นว่ามี Content Marketing เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่เชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ เพราะ ในการทำ Digital Marketing เพราะเราต้องใช้ Materials หรือ “สาร” ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทำคอนเทนต์บนเว็บไซต์เพื่อ SEO, ทำ Social Post, ทำ Social Ads, ทำ Marketing Automation ฯลฯ Content Marketing เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน Digital Marketing

นั่นคือ สาเหตุที่คอนเทนต์มีบทบาทสำคัญกับการทำ Digital Marketing ที่มีส่วนช่วยในการสื่อสารแบรนด์ (อย่างเช่นตัวอย่างในหัวข้อที่แล้ว) และช่วยให้การนำเสนอโปรดักต์ และกระตุ้น/สนับสนุนการตัดสินใจ

ประโยชน์ของ Content Marketing ต่อการสร้างแบรนด์และการทำการตลาด

1) สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก (Awareness)

คอนเทนต์ คือ สารและเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์/องค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย การทำคอนเทนต์ออกมา ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ให้ความรู้บนเว็บไซต์ บนโซเชียลมีเดีย หรือการทำคอนเทนต์ไวรัล ก็เป็นการสร้างการรับรู้แบรนด์ (Awareness) ทำให้คนรู้จักแบรนด์มากขึ้น เข้าใจว่าแบรนด์เป็นแบรนด์ที่เหมาะกับคนแบบไหน รวมทั้ง สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ด้วย

  • ทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก รับรู้ภาพลักษณ์ของแบรนด์
  • ทำสินค้า/บริการให้เป็นที่รู้จัก คนเข้าใจถึงประโยชน์ 
  • คนคุ้นเคยกับแบรนด์มากข้ึน ช่วยให้การตัดสินใจหรือเลือกแบรนด์เป็นทางเลือกได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่างการทำ Content Marketing ของ GQ สลัด “ลุคคุณพ่อ” กับเสื้อผ้าที่คนรุ่นใหม่ก็ใส่เท่

GQ แบรนด์เสื้อผ้าบุรุษที่เคยมีภาพจำว่าเป็นแบรนด์สำหรับคนรุ่นพ่อก็พลิกโฉมปรับตัวรีแบรนด์ให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ นอกจากการใช้นายแบบที่ดูเป็นวัยทำงาน วัยรุ่นขึ้นแล้ว GQ ยังร่วมทำคอนเทนต์กับ Content Creator อย่างคุณเอ็ดดี้ (เอ็ด 7 วิ) ที่มีคนติดตามบน Facebook Page กว่า 1.1 ล้านบัญชี มาเล่าเกี่ยวกับสินค้าของ GQ 

แคมเปญ “ลดประชดร้อน” ของ GQ
ที่ได้คุณ เอ็ดดี้ พี่เอ็ด 7 วิ มาแต่งเพลงเล่าในสไตล์ของตัวเอง

2) ช่วยส่งเสริมการขาย

แน่นอนว่าธุรกิจอยากใช้คอนเทนต์ในการขาย ซึ่งนอกจากการใช้คอนเทนต์ประชาสัมพันธ์โปรโมชั่น บอกส่วนลด แจ้งแคมเปญแล้ว คอนเทนต์ยังมีส่วนสำคัญในช่วง “Pre Sales” หรือก่อนเกิดการขาย ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ของเราให้ความรู้คนเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เมื่อกลุ่มเป้าหมายเริ่มคุ้นเคยและติดตาม เมื่อเจอสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ก็ช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะไว้วางใจ

นอกจากนี้ อีกเทคนิคที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันก็คือ การทำคอนเทนต์รีวิวและการทำคอนเทนต์ร่วมกับ Influencer ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ Content Marketing ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (หรือกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ) ได้ ทั้งผลลัพธ์ก็ดูดีอีกด้วย เพราะคนเชื่อมั่นในรีวิวหรือ Influencer ที่เขาคุ้นเคยและติดตามอยู่ 

ตัวอย่างการทำคอนเทนต์ความรู้จาก HubSpot ที่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโปรดักต์

HubSpot คือ ผู้ให้บริการ Inbound Software ซึ่งเป็นเครื่องมือการตลาดและการขายที่ช่วย เทคนิคการทำ Content Marketing ของ HubSpot ก็คือ การใช้บล็อกให้ความรู้ในด้านการทำ Digital Marketing เพื่อดึงกลุ่มเป้าหมายเข้ามายังแบรนด์ตามวิถี Inbound Marketing ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และทำให้คนเห็นประโยชน์ของโปรดักต์/บริการที่มีความซับซ้อน นอกจากนี้ HubSpot ยังมี Resource ต่างๆ เช่น E-book, Checklist, Guideline ให้ดาวน์โหลดเพื่อเก็บรายชื่อสำหรับทำการตลาดต่อไปอีกด้วย

ตัวอย่าง Blog ของ HubSpot ที่ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโปรดักต์

สำหรับ HubSpot ถือเป็นตัวอย่างการทำ Content Marketing สำหรับธุรกิจที่ต้องอธิบาย ต้องสร้างความเข้าใจแก่ลูกค้า คนจะซื้อต้องใช้เวลาพิจารณา เช่น ธุรกิจการเงิน, สินค้าราคาสูง, การแพทย์, การศึกษา เป็นต้น

3) ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและน่าติดตาม

การทำคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอและมีทิศทางที่ชัดเจน จะช่วยให้

  • แบรนด์กลายเป็น “Top of Mind” หรือตัวเลือกแรกๆ ที่ผู้คนนึกถึง 
  • คนอยากติดตาม Follow แบรนด์ 
  • คนเชื่อถือในแบรนด์ คนตัดสินใจง่ายขึ้น เพราะไว้วางใจ
  • แบรนด์ได้รับการกล่าวถึง มีการ Mention หรืออ้างอิงความรู้

ยิ่งแบรนด์พูดถึงเรื่องใดซ้ำๆ เป็นประจำ และสามารถทำคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ ตอบข้อสงสัยของผู้คนได้มาก แบรนด์ก็จะยิ่งได้รับความเชื่อถือและได้ประโยชน์ตามลิสต์ข้างต้นมากขึ้นเท่านั้น

ตัวอย่างการทำ Content Marketing ของ FitJunctions ที่น่าติดตาม

FitJuctions คือ บริการ Personal Training และเป็นสถาบันให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายและรักษาหุ่น เทคนิคของเขา คือ การทำคอนเทนต์ให้เข้าถึงคนจำนวนมากๆ และที่สำคัญคือน่าติดตาม ตอบโจทย์ทั้งการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและสร้างความเชี่ยวชาญให้กับแบรนด์ จน FitJunctions กลายเป็นอีก Top of Mind ในอุตสาหกรรมด้านการออกกำลังกาย ทั้งคอร์สเรียนและบริการเทรนนิ่งส่วนตัว 

ช่อง YouTube ของ FitJuctions
มีผู้ติดตามกว่า 900,000 คน

Shifu แนะนำ

📣 แนะนำคอร์สเรียน Content Marketing ที่ไม่ควรพลาด! 📣

คอร์สเรียนสดออนไลน์ Ultimate Content Marketing 

ตะลุย 2 วัน จัดเต็ม ติวเข้มกลยุทธ์ Content Marketing ทักษะสำหรับธุรกิจและครีเอเตอร์ ครอบคลุมทุกเนื้อหาตั้งแต่พื้นฐานจนถึงโปร

🚀 เรียนย้อนหลังได้อีกถึง 3 เดือน พร้อมรับใบ Certification!

🔥 พิเศษ! กับโปรโมชั่น Early Bird ส่วนลดไปเลย 22% 🔥 ตั้งแต่วันนี้ – 16 ก.ค 2567 นี้เท่านั้น!

 

 

7 ขั้นตอนเริ่มต้นสร้าง Content Marketing Strategy ให้แบรนด์

หากอ่านมาถึงตรงนี้ คุณคงอยากรู้แล้วว่า ถ้าจะเริ่มต้นทำ Content Marketing นั้น จะต้องทำอะไรบ้าง เราขอถอดประสบการณ์และสรุปออกมาเป็น 7 ขั้นตอน ให้คุณใช้เป็นแนวทางในการวางแผนคอนเทนต์กัน

1. ตั้งเป้าหมาย (Goal Setting)

วิธีการตั้งเป้าหมายของการทำ Content Marketing ก็คือการตั้งเป้าหมายการตลาด เพียงแต่ว่า เราจะใช้คอนเทนต์ในการผลักดันให้เป้าหมายเป็นจริง โดยเป้าหมายที่ดีก็ควรตั้งอยู่บนหลัก SMART ยกตัวอย่างเช่น

S – Specific หมายถึง เจาะจง เช่น มีคนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ (ไม่ใช่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก)

M – Measurable หมายถึง สามารถวัดผลได้ เช่น จำนวนยอดวิว 10,000 ครั้ง (ระบุจำนวนที่สามารถวัดได้)

A – Attainable หมายถึง เป็นไปได้จริง เช่น มี Follower สะสม 3,000 คน (ไม่ใช่จำนวนที่มากเกินไป)

R – Relevant หมายถึง มีความเกี่ยวข้อง สอดคล้องกับเป้าหมายทางการตลาด/ธุรกิจ

T – Time-bound หมายถึง มีระยะเวลากำกับ เช่น มี Follower สะสม 3,000 คน ภายใน 3 เดือน เป็นต้น

ตัวอย่างตัวชี้วัด (Metrics) ที่น่าสนใจสำหรับกรวางเป้าหมายทำ Content Marketing ก็ได้แก่

  • Pageview / Page visit ยอดคนเยี่ยมชมเว็บไซต์
  • Follower / Subscriber จำนวนผู้ติดตาม
  • Social Engagement; like, share, comment, tweet etc.
  • Mentions การพูดถึงแบรนด์
  • Page Ranking อันดับบนหน้าเสิร์ช
  • Leads จำนวนว่าที่ลูกค้า
  • Return on Investment (ROI) รายได้ที่ได้ต่อการลงทุน
  • Cost per Acquisition ค่าใช้จ่ายต่อ 1 Action ของกลุ่มลูกค้า
  • และอื่นๆ อีกมากมาย

ทั้งนี้ Metrics ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่ยังไม่ครอบคลุมนัก ยังมีเป้าหมายที่ซับซ้อน และเป็นเชิงกลยุทธ์มากกว่านี้อีกมากมาย อย่างไรก็ตามจำไว้ว่า เป้าหมายควรสร้างผลลัพธ์กลับมาที่ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการสร้างแบรนด์หรือสร้างยอดก็ตาม หากเป้าหมายการทำ Content Marketing ที่ตั้งไว้ ไม่กลับมาที่เป้าหมายธุรกิจก็เป็นต้นทุนและแรงที่เสียเปล่า

2. Landscape Research

จริงๆ แล้วในขั้นตอนที่สองนี้ เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันกับขั้นตอนแรก เป้าหมายกับแบรนด์ & ลูกค้า ต้องไปด้วยกัน และสำหรับขั้นตอนทำ Landscape Research นั้น ก็มีอยู่ 3 เรื่องสำคัญด้วยกัน 

1) เราคือใคร

แบรนด์ต้องรู้จักตัวเองให้ดี ว่าเราขายอะไร คุณค่าของเราอยู่ที่ไหน จุดอ่อน-จุดแข็ง โอกาส-อุปสรรค และความแตกต่าง (Brand Position) อยู่ตรงไหน ซึ่ง Framework ยอดนิยมที่ใช้ทำความเข้าใจและกำหนดทิศทางธุรกิจก็คือ SWOT 

2) ใครคือลูกค้าของเรา

แบรนด์หรือผู้ส่งสารต้องรู้ว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายที่เราจะพูดคุยด้วย Brand Personality & Position และสินค้าเหมาะกับคนกลุ่มไหน เราต้องเข้าใจสิ่งนี้เพื่อที่จะได้ออกแบบวิธีการสื่อสาร เลือกใช้ช่องทาง และวางแผนทำ Content Strategy ได้เหมาะกับพวกเขา

ตัวอย่าง Customer Persona / Buyer Persona
ตัวอย่างการทำ Persona
[ดาวน์โหลดเทมเพลตการสร้าง Persona พร้อมใช้]

เครื่องมือที่ดีมากๆ ในการรีวิวและนิยามกลุ่มเป้าหมายของเรา เรียกกว่า “Persona” (???? อ่านวิธีการทำอย่างละเอียด) ซึ่งเป็นการกำหนดลูกค้าหรือผู้รับสารในอุดมคติของแบรนด์ออกมา นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ในการสร้างภาพลูกค้าให้ทั้งบริษัทเข้าใจตรงกันด้วย

3) ใครคือคู่แข่งของเรา

คู่แข่งในที่นี้หมายถึง แบรนด์/องค์กรอื่นที่เป็นทางเลือกของกลุ่มเป้าหมายหรือ Persona ของเรา ซึ่งเราควรทำความรู้จักไว้เพื่อที่จะได้ศึกษากลยุทธ์ที่เขาใช้เพื่อนำมาพัฒนากลยุทธ์ของเรา หรือหาทางดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้มาติดตามเราได้มากขึ้น 

วิธีในการหาคู่แข่งนั้น เราอาจใช้วิธีการทำง่ายๆ อย่างสัมภาษณ์กลุ่ม Persona ของเรา ว่าเขาติดตามอะไรอยู่บ้าง? หาความรู้หรือเสพคอนเทนต์ในแนวทางเดียวกันนี้จากแหล่งไหน? เป็นต้น หรือลองเสิร์ชใน Google และ Social Media ถึงโปรดักต์หรือคอนเทนต์ในกลุ่มเดียวกันดู ว่ามีเจ้าไหนบ้าง

3. Brand Voice

Brand Voice คือ น้ำเสียงและท่าทีในการสื่อสารของแบรนด์ ซึ่งนอกจากเรื่องของภาษาที่ใช้พูดและเขียนแล้ว Brand Voice ยังหมายถึง องค์ประกอบอื่นๆ ที่บ่งบอกลักษณะหรือคาแรกเตอร์ของแบรนด์ด้วย ได้แก่ สีที่ใช้ โลโก้ แนวทางการใช้รูปภาพ แนวคิดทางการตัดต่อเสียงและวิดีโอ ตลอดจนผู้พูด/ผู้เขียน ฯลฯ ซึ่งเราอาจเรียกรวมๆ ว่า Brand Identity 

“น้ำเสียง” ที่แบรนด์ควรเลือกใช้ควรกำหนดให้ชัดเจนว่า เด็กหรือผู้ใหญ่ จริงจังหรือขี้เล่นมากน้อยเท่าไร เพื่อที่จะได้สร้าง Branding ให้แข็งแรงผ่านการใช้น้ำเสียงอย่างสม่ำเสมอจนผู้คนคุ้นเคยและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (Persona) ได้

4. Buyer Persona & Buyer Journey 

ในขั้นตอนนี้ เราต้องเข้าใจเรื่องของ “Buyer’s Journey” เพิ่มเติม นั่นคือ ระยะ/ขั้นตอนการตัดสินใจของลูกค้า เราต้องรู้ว่าเขากำลังมีปัญหาอะไร อยากเสพอะไร ต้องการอะไร เพื่อที่เราจะได้ทำอะไร (คอนเทนต์) ออกไปได้ตรงกับความต้องการของเขาพอดี โดย Marketing Framework ที่ใช้ในการจับคู่ Journey กับคอนเทนต์นั้น เรามักจะใช้ Sales Funnel

buyer journey vs sales funnel
Buyer’s Journey และ Sales Funnel

จากรูปเราจะเห็นว่า Buyer’s Journey กับ Sales Funnel คือ คนละมุมกัน หากเราเข้าใจ Journey ของกลุ่มลูกค้าเรา เราก็แค่ตั้งเป้าหมายหรือทำคอนเทนต์ให้ออกมาตอบโจทย์กับระยะการตัดสินใจของเขา ซึ่งในแต่ละช่วงการตัดสินใจ ก็มีหลากหลายหัวข้อและรูปแบบที่ทำได้แตกต่างกันไป

  • Awareness ขั้นตอนนี้ คนอาจจะยังไม่รู้หรือเพิ่งรับรู้ว่ามีปัญหา มีความต้องการ คอนเทนต์ที่ควรทำจะเป็นคอนเทนต์ประเภทให้ความรู้ที่ช่วยให้เขาตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา คอนเทนต์ที่กระตุ้นความต้องการ ทำให้เขาอยากได้ อยากเป็นเจ้าของ 
  • Consideration ขั้นตอนนี้ เป็นช่วงที่คนเข้าใจปัญหาแล้ว และกำลังพิจารณาทางเลือกต่างๆ เราควรทำคอนเทนต์ที่ช่วยให้เขาพิจารณา (เลือกเรา) ได้ง่ายขึ้น เช่น ให้รายละเอียดสินค้า เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แสดงความคุ้มค่า ให้ลองใช้ฟรี ฯลฯ 
  • Decision ขั้นตอนนี้ การที่คนตัดสินใจเลือกทางเลือก ซึ่งอาจเป็นตัวแบรนด์ สินค้า หรือบริการแล้ว สิ่งที่เราต้องทำก็คือการเสิร์ฟคอนเทนต์ที่ช่วยให้เขาซื้อ (Deal) ได้สำเร็จ เช่น บอกวิธีการซื้อ ช่องทางชำระ ให้โลเคชั่น เป็นต้น

5. Content Strategy

Content Strategy คือ กลยุทธ์ในการวางแผนคอนเทนต์ว่าเราจะทำอะไร รูปแบบไหน ทำปริมาณเท่าไร เพื่อให้ตอบโจทย์กับเป้าหมายทางการตลาดและธุรกิจ ดังนั้น Content Strategy ของแต่ละเจ้าแต่ละแบรนด์ก็แตกต่างกันไป 

ในขั้นตอนการวางแผน Content Strategy เราก็จะเอาข้อมูลจากการทำ Landscape research, persona และความรู้เรื่อง Buyer Journey มาประมวลความคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจเลือกทำคอนเทนต์ 

แต่ถ้ายังไม่คิดไม่ออกว่าจะทำคอนเทนต์อะไรดี ลองใช้ Content Matrix ช่วยดู

Content Marketing Matrix
ที่มารูปภาพ smartinsights.com

แผนภาพข้างต้น จะแบ่งออกเป็น 4 ช่องตามจุดประสงค์ของคอนเทนต์ ได้แก่

  1. Entertain คอนเทนต์เพื่อมอบความบันเทิง มอบความสุข สนุกสนาน
  2. Inspire คอนเทนต์แนวสร้างแรงบันดาลใจหรือกระตุ้นให้อยากซื้อ อยากลงมือทำ
  3. Educate คอนเทนต์ให้ความรู้ สร้างความน่าเชื่อถือ
  4. Convince คอนเทนต์เพื่อชักชวน เชิญชวนให้เข้ามาใช้ เข้ามาลอง

นอกจากนี้ แกนแนวตั้ง คือ การตัดสินใจของลูกค้าหรือ Audience ว่าใช้อารมณ์ (Emotional) หรือเหตุผล (Rational) มากกว่ากัน ส่วนแกนแนวนอน คือ ผลลัพธ์ของคอนเทนต์ ว่าช่วยสร้างการรับรู้ (Awareness) หรือปิดการขาย (Purchase) มากกว่ากัน

  • สินค้า/บริการของคุณเหมาะกับคอนเทนต์แบบไหน?
  • กลุ่มเป้าหมายหรือ Audience ของคุณต้องการคอนเทนต์แบบไหนเพื่อช่วยในการตัดสินใจ?
  • คอนเทนต์แบบไหนที่คนจะตัดสินใจติดตามแบรนด์?

เชื่อว่าถ้าคุณตอบได้ชัดเจน คุณก็พอจะมีคำตอบในใจบ้างแล้ว ว่าควรทำคอนเทนต์อะไร ปริมาณเท่าไหร่ จึงจะสามารถตอบผลลัพธ์ทางการตลาดที่ต้องการได้

อ่านเพิ่มเติม: อุตสาหกรรมของคุณควรทำคอนเทนต์แบบไหน ให้ Content Matrix ช่วยตอบ

6. Content Creation

มาถึงขั้นตอนการผลิตคอนเทนต์กันแล้ว ในขั้นตอนนี้ เราก็ปรับแผน Content Strategy นำหัวข้อ รูปแบบคอนเทนต์ และจำนวนที่ตั้งใจจะทำ มาวางแผนการดำเนินการผลิตคอนเทนต์ ซึ่งแผนเราอาจจะใช้ Excel หรือ Google Sheet ในการวางแผนก็ได้ หรือถ้าให้ดี ขอแนะนำว่าให้ใช้ซอฟต์แวร์จำพวก Project Management หรือ Content Calendar มาใช้ เพราะจะใช้ง่ายกว่า สามารถมอบหมายงานให้ทีม หรือคุยกันผ่านเครื่องมือได้เลย

สำหรับการวางแผนทำคอนเทนต์ง่ายๆ สิ่งที่ต้องมีก็ได้แก่ 

  • Task หรือคอนเทนต์ที่จะทำ รวมทั้ง รวมทั้งหัวข้อ
  • รายละเอียดงาน บรีฟ หรือไอเดีย
  • วันที่งานต้องเสร็จ (Due Date) 
  • วันเผยแพร่ผลงาน (Publish Date)
  • ผู้รับผิดชอบ เช่น Author,  Designer, Video Creator
  • แคมเปญและจุดประสงค์ของผลงาน
  • ช่องทางที่เผยแพร่ เช่น เว็บไซต์, อีเมล, Social Media, YouTube 
ตัวอย่างการใช้ Asana ทำ Content Calendar
ที่มารูปภาพ asana.com

[ดูรีวิวการใช้งาน Asana เบื้องต้น]


Shifu แนะนำ

การเขียนคำให้ถูกเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ มาดู 50 คำไทยในวงการธุรกิจที่มักเขียนผิด พร้อมวิธีเขียนให้ถูก ติดดาวไว้อ้างอิงได้เลยที่

 

7. Content Promotion

วางแผนเสร็จ สร้างสรรค์คอนเทนต์เสร็จ เราก็ต้องเผยแพร่ ซึ่งจริงๆ เรื่องแผนการเผยแพร่หรือโปรโมตคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นบล็อก วิดีโอ หรือ Social Post เราควรวางแผนไปพร้อมกันกับแผนการผลิต ระบุคอนเทนต์รูปแบบใดจะเผยแพร่ช่องทางไหน ช่วงเวลาไหน ต้อง Real-time หรือเปล่า เพราะไม่ใช่ว่าปล่อยได้ทุกเวลาหรือทุกช่องทางแล้วจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเหมือนกัน

..บางอย่างอาจ “ไป” ได้ดีบน Social Media

..บางอย่างอาจไปได้ดีบน Search Engine มีคนค้นหาเยอะ

..สารบางอย่าง พูดในอีเมลอาจจะเหมาะสมกว่า

สำหรับการเลือกใช้สื่อนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงที่สุดก็คือ Persona หรือ Audience ของเรา ว่าเขาเสพคอนเทนต์และติดตามเราที่ช่องทางไหน เราก็เสิร์ฟคอนเทนต์ให้เขาถึงที่

คุณสามารถอ่านบทความเกี่ยวกับการเลือกสื่อเพื่อใช้งานด้านการตลาดที่

สรุปการทำ Content Marketing ให้สำเร็จ ตอบโจทย์ธุรกิจ

การทำ Content Marketing คือ การที่แบรนด์สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายโดยใช้คอนเทนต์เป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเพื่อแจ้งเพื่อทราบ เพื่อชักชวน เพื่อให้ความรู้ ฯลฯ มีส่วนช่วยในการสร้างแบรนด์ ทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก และแข็งแกร่งมากขึ้น ภายใต้น้ำเสียงหรือสไตล์ของแบรนด์

สิ่งที่คนทำ Content Marketing ควรให้ความสำคัญ คือ “Audience Centricity” ยึดผู้รับสารเป็นศูนย์กลาง เพราะในโลกที่คอนเทนต์ทะลักล้น คอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ ตอบสนองความต้องการของผู้รับสารเท่านั้นถึงจะอยู่รอดได้ 

ทิ้งท้ายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Content Marketing เพื่อให้คุณตั้งต้นทำด้วยความเข้าใจ

Resource เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ Content Marketing

การวางแผนคอนเทนต์

ไอเดียทำคอนเทนต์

เทคนิคทำคอนเทนต์

อื่นๆ เกี่ยวกับคอนเทนต์