Chapter 1



Social Media Marketing

รู้จักการทำการตลาดบนสื่อ Social Media ตั้งแต่ต้น

ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter หรือ Tiktok นั่นล้วนเป็นชื่อเรียกของแพลตฟอร์ม Social Media ชื่อดังที่คุณน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี โดยที่พื้นที่เหล่านี้ล้วนเปรียบเสมือนชุมชนออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้คุณและผู้ใช้งานหลายล้านคนเข้ามาพูดคุย ค้นหา และสร้างสรรค์สิ่งที่ชอบ และเป็นโอกาสที่ดีที่แบรนด์จะหันมาทำความรู้จักและเข้าใจ ‘พื้นที่ออนไลน์’ เหล่านี้ เพื่อใกล้ชิดลูกค้าของพวกเขามากขึ้น

และบทความนี้จะพาคุณมาทำความรู้จักกับวิธีการทำการตลาดผ่าน Social หรือการทำ Social Media Marketing กัน เพื่อให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักและใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น

ยาวไปอยากเลือกอ่าน

Social Media Marketing คืออะไร?

Social Media Marketing คืออะไร

ถึงแม้ว่าคุณจะรู้จักและคุ้นเคยกับการใช้งาน Social Media เป็นประจำ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความคุณจะสามารถใช้ Social Media ในการตลาดได้ดี และก่อนที่จะไปเข้าใจวิธีการทำ Social Media Marketing

เรามาเริ่มต้นทำความเข้าใจกับความหมายของมันก่อนดีกว่า!

Social Media Marketing คือกระบวนการการผลิตและสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กับช่องทาง Social Media ต่างๆ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าและโปรโมทชื่อเสียงของแบรนด์ หรืออีกชื่อที่คนมักจะ นิยมเรียกแบบย่อก็คือ SMM นั่นเอง 

หรือเรียบเรียงแบบสั้นๆ ก็คือการใช้ช่องทางเหล่านี้ทำความรู้จักและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และหัวใจหลักของการทำ SMM ก็คือการใช้พื้นที่เหล่านี้เพื่อส่ง ‘ข้อความที่ใช่ ไปหาคนที่ใช่’

แล้วทำไมแบรนด์หรือนักการตลาดในยุคนนี้ต้องรู้จัก Social Media Marketing ด้วย สิ่งนี้มีความสำคัญกับการเป็นอยู่ของแบรนด์อย่างไร?

ประโยชน์ของการทำ Social Media Marketing ต่อแบรนด์คืออะไร?

ตัวอย่าง จำนวนผู้ใช้งาน Social Media ในปี 2021
รูปภาพจาก datareportal.com

เป็นเรื่องจริงที่ว่า Social Media ขยายการเติบโตมากขึ้นทุกวัน และมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นในทุกปี โดยอ้างอิงจากตัวเลขของ Datareportal.com ว่าตอนนี้มีจำนวนผู้ใช้งาน Social Media กว่า 57% ของประชากรทั้งหมดบนโลก 

ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่เยอะมากและเป็นโอกาสที่ดีที่แบรนด์สามารถมีบทบาทและทำความรู้จักกับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ บนพื้นที่เหล่านี้ได้ 

นอกจากจะเป็นการทำการตลาดบนพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานเยอะมากแล้ว การทำ Social Media Marketing ยังให้ประโยชน์อีก 6 อย่างสำหรับแบรนด์และธุรกิจ ได้แก่

1. Social Media เป็นช่องทางให้แบรนด์ศึกษา Insight ของลูกค้า

ประโยชน์ข้อแรกของการทำ Social Media Marketing ไม่ว่าจะอยู่บน Platform ไหนก็ตามก็คือ แบรนด์สามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ศึกษาและทำความเข้าใจกับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง

ผ่านการสังเกตุพฤติกรรมของพวกเขาจากการกระทำบางอย่าง เช่น Like, Share, หรือ Comment โพสต์ต่างๆ เป็นต้น 

ตัวอย่าง Instagram Business Account
ตัวอย่าง Instagram Business Account จาก Socialinsider.io

นอกเหนือจากนี้ Business Account, Creator Account หรือ Official Account ของ Social Media แต่ละตัวนั้นก็จะมี Feature การวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยให้แบรนด์เข้าใจผู้ติดตาม และคอนเทนต์ของตัวเองมากยิ่งขึ้น

จากตัวอย่าง Instagram Business Account ทางด้านบน จะเห็นได้ว่าแบรนด์สามารถศึกษาหาข้อมูลและหา Insights ได้หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น วันเวลาที่ผู้คน Active มากที่สุด, จำนวน Impression ทั้งหมด, กิจกรรมทั้งหมดภายใน Account, โพสต์และสตอรี่ที่มีการเข้าถึงมากที่สุด เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เครื่องมือเหล่านี้สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

2. Social Media เป็นช่องทางในการศึกษาแบรนด์คู่แข่ง (Competitor Analysis)

การใช้ Social Media Marketing ศึกษาคู่แข่ง
ตัวอย่างการเข้าไปศึกษาช่องทางคู่แข่งในอุตสาหกรรม Sportwears อย่าง Underarmour

การใช้ Social Media Marketing ศึกษาคู่แข่ง
ตัวอย่างการเข้าไปศึกษาช่องทางคู่แข่งในอุตสาหกรรม Sportwears อย่าง Adidas

แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ธุรกิจของคุณที่ก้าวเข้ามาอยู่ในพื้นที่ Social Media แบรนด์หลายๆ แบรนด์ (ที่อาจจะเป็นคู่แข่งของคุณ) ก็เข้ามาสร้างตัวตนของพวกเขาเช่นเดียวกัน และนี่ก็เป็นประโยชน์อีกข้อ ของ Social Media Marketing ซึ่งก็คือคุณสามารถเข้าไปศึกษาวิธีการทำธุรกิจและการตลาดของแบรนด์คู่แข่งได้ 

คุณสามารถศึกษาวิธีการใช้ Social Media ในการขายของของพวกเขา การทำคอนเทนต์ตลอดจนศึกษาพฤติกรรมของผู้ติดตามของพวกเขา เช่น ปัญหาที่ผู้ติดตามของพวกเขากำลังพูดถึง หรือสิ่งที่ผู้ติดตามของพวกเขากำลังพูดถึง

ซึ่งคุณสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับใช้กับกลยุทธ์ และผลิตคอนเทนต์เพื่อตอบโจทย์พวกเขา รวมไปถึงคุณยังสามารถศึกษาวิธีการที่แบรนด์แต่ละแบรนด์ ตอบหรือปฏิบัติกับลูกค้าของพวกเขาบน Social Media ได้เช่นกัน 

นำข้อมูลเหล่านี้มาเปรียบเทียบกับกลยุทธ์และวิธีการทางธุรกิจของคุณ เพื่อวิเคราะห์และผลิตกลยุทธ์ ที่ตอบโจทย์และเหมาะสมกับลูกค้าในอุตสาหกรรมของคุณได้มากกว่า

3. Social Media ช่วยสร้าง Brand Awareness เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์

เพราะ Social Media คือพื้นที่ที่คนจะเข้ามาปฏิสัมพันธ์กัน ถ้าคุณรู้จักใช้งานมัน จะช่วยให้คุณสร้าง Brand Awareness ทำให้คนรับรู้ถึงการมีอยู่และตัวตนของแบรนด์ของคุณได้ 

การทำ Social Media Marketing นั้นสิ่งสำคัญคือก็คือการเล่าเรื่องผ่านคอนเทนต์ ยิ่งคอนเทนต์โดนใจ หรือสามารถดึงความสนใจของผู้คนได้มากเท่าไหร่ จะช่วยส่งผลให้เกิดการรับรู้ ของแบรนด์เป็นวงกว้างเท่านั้น เพราะฉะนั้นแบรนด์ควรหมั่นขยันผลิตคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจของผู้ติดตามออกมาเพื่อสร้างภาพจำของแบรนด์หรือสินค้าและบริการให้ผู้คนรับรู้บ่อยๆ 

และในอนาคตภาพจำเหล่านี้จะช่วยสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและเพิ่มโอกาสในการสร้างกลุ่มลูกค้ารายใหม่ได้มากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน 

4. Social Media ช่วยสร้าง Engagement เพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า

ทุกวันนี้ผู้คนใช้ Social Media ทำอะไรอีกบ้าง นอกจากติดตามและค้นหาสิ่งที่สนใจ? 

อีกประโยชน์ของ Social Media คือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้คนสามารถสื่อสารกันได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ข้อความต่างๆ สามารถถูกส่งไปยังปลายทางภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และแบรนด์สามารถนำประโยชน์ข้อนี้มาสร้าง Connection ระหว่างลูกค้าได้ง่ายๆ 

ไม่ว่าจะเป็นการ Comment, Like หรือ Share บนโพสต์ต่างๆ ของแบรนด์ หรือแม้แต่การส่งข้อความ ใน Inbox ก็ล้วนเป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่ดี แบรนด์สามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งไหนทำออกไปแล้วลูกค้าชอบ หรือสิ่งที่ไหนที่ลูกค้าไม่ชอบ โดยที่แบรนด์สามารถนำสิ่งนั่นกลับมาพัฒนากลยุทธ์และแนวทางของตัวเองได้ 

นอกเหนือจากนี้ การที่ Social Media ช่วยสนับสนุนการสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two Ways Communication) นั้นยังช่วยให้ลูกค้ารู้สึกได้ ถูกรับฟังจากแบรนด์ หรือรู้สึกได้ว่าแบรนด์สามารถเข้าถึงได้ง่าย จะเพิ่มโอกาสให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันธ์ กับตัวแบรนด์มากขึ้นและมีโอกาสที่เขาจะกลายเป็นลูกค้าจริงๆ ของแบรนด์ในอนาคต

บทความแนะนำ : รู้จัก Customer Journey เทคนิคเปลี่ยนผู้มุ่งหวังให้กลายเป็นลูกค้า

5. Social Media ช่วยเพิ่ม Leads และ Conversion ให้กับแบรนด์

นอกจากจะช่วยกระจายการรับรู้ของแบรนด์และช่วยแบรนด์พัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้าแล้วนั้น Social Media Marketing สามารถช่วยทำ Lead Generations และสร้าง Conversion เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าได้เช่นเดียวกัน 

เพราะในปัจจุบันนี้ Social Media แทบจะทุกรายนั้น เปิดโอกาสให้แบรนด์ขายสินค้าหรือบริการของตัวเองได้ ถ้าคอนเทนต์ของแบรนด์ (ที่พูดถึงสินค้า) เป็นที่น่าพอใจ คุณก็สามารถสร้าง Leads หรือสร้างยอดขายจากผู้คนที่เลือกเข้าแวะเวียนเยี่ยมชม Social Media ของคุณได้ โดยแบรนด์ดึงดูดพวกเขาผ่านการทำ Organica Content หรือคอนเทนต์ ทั่วไปที่ไม่ต้องโฆษณา หรือสามารถทำ Paid Content ก็ได้เช่นกัน


ถ้าคุณอยากรู้จักช่องทางต่างๆ ในการทำโฆษณาบนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Google, LINE Ads Platform, Tiktok และช่องทางอื่นๆ ที่เหมาะกับตลาดไทย คุณสามารถเข้าไปศึกษาได้จากบทความนี้

 

นอกจากนั้นแล้ว Social Media บางตัวก็เปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถลองเล่นอะไรใหม่ๆ เช่น ฟีเจอร์สำหรับการ Shopping จากบน แพลตฟอร์มได้โดยตรง ช่วยย่นระยะเวลาการกดเข้าออกเว็บไซต์ และเพิ่มโอกาสในการสร้าง Conversion ได้อีกด้วย 

ตัวอย่างเช่นการที่ Facebook และ Instagram ปล่อยฟีเจอร์ที่เรียกว่า Facebook Shop และ Instagram Shop ออกมาเพื่อช่วยเหลือธุรกิจรายย่อยในการขายสินค้าออนไลน์ได้ง่ายขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือทั้งโปรโมท และขายของได้ครบ จบ ในที่เดียวนั่นเอง 

ตัวอย่าง Facebook Shop
ตัวอย่าง Facebook Shop จาก About.fb.com

ตัวอย่าง Instagram Shop
ตัวอย่าง Instagram Shop จาก About.fb.com

6. Social Media ช่วยส่งเสริม Branding หรือภาพลักษณ์ของแบรนด์

ข้อสำคัญอีกข้อที่แบรนด์ทุกแบรนด์ ไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลางหรือใหญ่ต้องคิดถึงเสมอก็คือ Branding หรือภาพลักษณ์ของแบรนด์ และ Social Media สามารถช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์นั้นให้แข็งแกร่งมาก ยิ่งขึ้นได้ด้วยเช่นกัน 

โดยแบรนด์สามารถถ่ายทอด ‘ความเป็นตัวเอง’ ออกมาผ่านรูปภาพ ข้อความ รูปแบบตัวอักษร ลักษณะการพิม หรือแม้แต่ตัวงาน Artwork ก็ตาม สิ่งเหล่านี้สามารถบ่งบอกความเป็นแบรนด์ได้ดี บนแพลตฟอร์ม Social Media ต่างๆ หรืออีกชื่อก็คือ Brand Identity หรือ Corporate Identity ที่เป็นตัวช่วยส่งเสริมความเป็นแบรนด์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคุณอาจจะรู้สึกว่าบางแบรนด์ดูเข้าถึงได้ง่ายจังหรือบางแบรนด์ดูมีกลิ่น อายความเป็นผู้ใหญ่หรือน่าเชื่อถือมากๆ นั่นเอง

ประโยชน์เยอะขนาดนี้ คุณอาจจะอยากลองทำ Social Media Marketing ขึ้นมาบ้างแล้วใช่ไหม? งั้นมารู้จักช่องทางของการทำ SMM กัน 

ช่องทางการทำ Social Media Marketing มีอะไรบ้าง?

แน่นอนว่าคุณต้องรู้จักยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook หรือ Twitter มาก่อนแล้ว แต่นอกเหนือ จากแพลตฟอร์มพวกนี้แล้วนั้นยังมีอีกหลายแพลตฟอร์มที่คุณสามารถเข้าไปสื่อกสารและปฏิสัมพันธ์กับคนที่มีโอกาสจะเป็นลูกค้าของคุณได้ 

Social Media Marketing

และนี่คือช่องทางที่ Content Shifu คิดว่าเหมาะกับบริบทของประเทศไทย

1. Facebook

ไม่พูดถึงไม่ได้สำหรับ Social Media ขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้หลายล้านคนและเป็นแพลตฟอร์มที่เติบโตขึ้น เรื่อยๆ ในทุกปี สำหรับ Facebook เองนั่นถือว่าเป็น Social Media ตัวแรกๆ ที่คนมักจะนึกถึงเวลา ที่ต้องการเปิด Page ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเพจของตัวเองหรือบริษัทก็ตาม 

ตัวอย่าง Social Media Marketing เช่น Facebook
รูปภาพจาก Content Shifu

จุดเด่นของช่องทางนี้ก็คือ 

  • Facebook สามารถแยก Personal Account และ Business Page ได้ ทำให้ผู้คนสามารถกดไลค์หรือติดตาม Page ของแบรนด์ได้ 
  • Facebook เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถสร้าง Group เพื่อเป็นชุมชนออนไลน์ แบรนด์สามารถสร้าง Community ของตัวเองจากฟีเจอร์ได้เช่นเดียวกัน
  • Facebook มีผู้ใช้งานแทบจะทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะวัยรุ่น วัยทำงานหรือผู้สูงอายุก็ตาม ทำให้ช่องทางนี้เป็น 1 ในช่องทางหลักของหลายๆ แบรนด์
  • Facebook เปิดโอกาสให้แบรนดืสามารถสร้างสรรคอนเทนต์ได้อย่างหลากหลาย เช่น การโพสต์รูปภาพและวิดิโอ, การใส่ Link Website, การทำ Live video รวมไปถึงการสร้าง Event ต่างๆ ที่ให้ลูกค้าเข้ามาร่วม engage กับแบรนด์ได้ 

2. Instagram

ตัวอย่าง Social Media Marketing เช่น Instagram
รูปภาพจาก Mcdonaldsthailand

สำหรับช่องทางอีกช่องที่นับว่าเป็นที่นิยมพอๆ กับ Facebook ก็คือ Instagram นั่นเอง โดยที่เอกลักษณ์ที่แสนจะโดดเด่นของ Social Media ช่องทางนี้คือเป็นช่องทางที่แบรนด์สามารถ บ่งบอกความเป็น Branding หรือความเป็นตัวเองได้อย่างชัดเจนมากที่สุดผ่านการโพสต์รูปภาพ และวิดิโอที่เป็นสื่อที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ Instagram 

จุดเด่นของช่องทางนี้คือ 

  • Instagram เป็นช่องทางที่แบรนด์สามารถสื่อสารกับลูกค้าผ่าน Visual ได้อย่างดี เหมาะกับแบรนด์ที่เน้นขายสินค้าและบริการที่สามารถถ่ายทอดให้ลูกค้าเห็นได้
  • Instagram เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ได้อย่างง่ายดาย ผ่านฟีเจอร์อย่าง Instagram Story โดยสามารถส่งข้อความผ่าน Direct Message ได้
  • Instagram ยังช่วยสนับสนุนให้ผู้ใช้งานสามารถช่วยโปรโมตร้านค้าที่ชอบ ผ่านการใช้ฟีเจอร์ Support Small Business ช่วยส่งเสริม Awareness แบบ Peer-to-peer
  • Instagram สามารถให้ผู้ใช้งานแชร์รูปภาพหรือวิดีโอของ Account ที่เปิดสาธารณะขึ้นมาบน Story ของตัวเองได้ ซึ่งแบรนด์เองก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะแชร์รีวิวของลูกค้า หรือแชร์คอนเทนต์ที่มีการกล่าวถึงแบรนด์ก็ได้เช่นกัน ช่วยสร้าง Engagement ระหว่างแบรนด์และลูกค้าได้อย่างดี 

3. Twitter

ตัวอย่าง Social Media Marketing เช่น Twitter
รูปภาพจาก ContentShifu

นกสีฟ้าที่น่าจะเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของใครหลายคนดี ก็เป็นอีก Social Media Platform ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้ใครเลย และจำนวนผู้ใช้งานก็เพิ่มสูงขึ้นจนตอนนี้อยู่ที่ 397 ล้านคนเรียบร้อย 

ซึ่งสำหรับตัว Twitter เองนั่นพูดง่ายๆ คล้ายกับการเขียน Blog ขนาดย่อม ดังนั้นแบรนด์อาจจะต้อง งัดสกิลการเล่าเรื่องให้ออกมาไม่เกิน 280 ตัวอักษร 

จุดเด่นของช่องทางนี้ก็คือ

  • Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์สามารถสร้าง Conversation กับผู้ติดตามหรือไปสร้างกับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย อาจส่งผลให้ผู้คนมี Awareness ในตัวแบรนด์มากขึ้น 
  • Twitter นั่นเปิดโอกาสให้แบรนด์เป็น Storyteller ที่จะต้องสร้างคอนเทนต์ผ่านตัวอักษร และรูปภาพ 
  • Twitter เป็น Social Media ที่มีการใช้งาน # ที่แข็งแกร่ง แบรนด์สามารถเป็นคนเริ่มต้น Community หรือร่วมบทสนทนาภายใต้ # เหล่านั้นได้
  • Twitter เหมาะกับแบรนด์ไหนที่ต้องการสร้าง Real-time content หรือต้องการเล่นกับกระแส เพราะ Timeline ของช่องทางนี้ไหลค่อนข้างรวดเร็วนั่นเอง

4. LINE OA

ตัวอย่าง Social Media Marketing เช่น LineOA
รูปภาพจาก Rabbit Line Pay
ตัวอย่าง Social Media Marketing เช่น LineOA
รูปภาพจาก Rabbit Line Pay

แพลตฟอร์มสำหรับการสื่อสารเบอร์ต้นๆ ของคนไทยจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก LINE แน่นอน เห็นได้ชัดว่านอกจากการใช้งานไลน์เพื่อพูดคุยส่วนตัวแล้วนั้น แบรนด์หลายแบรนด์ของไทยก็เข้ามา ทำการตลาดบนช่องทางนี้เช่นเดียวกัน แต่จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปนั่นก็คือ LINE OA หรือ LINE Official Account นั่นเอง (ร้านค้าส่วนใหญ่ใช้ช่องทางนี้กันค่อนข้างเยอะมาก)

จุดเด่นของช่องทางนี้ก็คือ 

  • LINE OA เป็น Social Media Platform ที่เปิดโอกาสให้แบรนด์เข้าใกล้ลูกค้ามากขึ้น เพราะแบรนด์ได้เข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มที่นับว่าเป็นช่องทางสื่อสารหลักของคนไทย
  • LINE OA มีฟีเจอร์ที่แบรนดืสามารถใช้ได้ฟรี เช่น Rich Message, Rich Video Message, Rich Menu, และ Reward Coupan เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือลัดที่ลูกค้าสามารถกด ใช้งานได้ทันทีจากหน้าแชท
  • LINE OA สามาาถตั้งค่า Greeting Message ได้อัตโนมัติ หลังจากที่ลูกค้าเพิ่มเราเป็นเพื่อน จะมีข้อความทักทายลูกค้าออกไปทันที ไม่ปล่อยให้ลูกค้ารอเก้อ
  • LINE OA สามารถช่วยให้แบรนด์สร้าง engagement กับลูกค้าได้เรื่อยๆ จากการ Broadcast message และยังสามารถตั้งค่า Keyword เพื่อตอบกลับอัตโนมัติได้เช่นเดียวกัน

5. Tiktok

ตัวอย่าง Social Media Marketing เช่น Tiktok
รูปภาพจาก Tiktok.com

Social Media ที่เรียกได้ว่าโดนใจผู้ใช้งานในยุคนี้โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ใช้งานที่อายุยังน้อยซึ่งนั่นก็คือ Tiktok แพลตฟอร์มที่ผู้ใช้งานสามารถนำความ Creative ของตัวเองออกมาใช้งานได้อย่างเต็มที่ รวมถึงเป็นพื้นที่ที่สามารถตัดต่อหรือสร้างวิดิโอได้ง่ายๆ ไม่ต้องย้ายแพลตฟอร์มไปมา ยิ่งถ้าแบรนด์สามารถสร้างคอนเทนต์ที่กระชับ ย่อยง่าย โดนใจลูกค้า ก็จะยิ่งช่วยดึงดูดผู้คนให้มาทำ ความรู้จักแบรนด์มากขึ้น 

จุดเด่นของช่องทางนี้คือ

  • Tiktok สามารถให้แบรนด์ลงคอนเทนต์วิดีโอได้แบบไม่จำกัดความสร้างสรรค์ของตัวเอง โดยที่แบรนด์จะต้องสื่อสารภายในระยะเวลาที่ทาง Tiktok กำหนดไว้
  • Tiktok เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน Duet วิดีโอกับผู้ใช้งานคนอื่นได้ แบรนด์สามารถลงไปร่วมเอนจอยกับ Community ได้
  • Tiktok นั้นมีการเล่นกับ Hashtag ด้วยเช่นกัน แบรนด์เองก็สามารถผลิตคอนเทนต์และเล่นผ่าน Hashtag ที่กำลังนิยมได้ ช่วยให้วิดีโอของแบรนด์ไปโผล่บน Timeline ของผู้ใช้งานคนอื่นได้เยอะและหลากหลายขึ้น

6. LinkedIn

ตัวอย่าง Social Media Marketing เช่น LinkedIn
รูปภาพจาก Apple

มาถึง Social Media ที่หลายคนอาจจะคิดว่ามีไว้เพียงเพื่อสมัครและค้นหางานเพียงเท่านั้น แต่ความจริงแล้วนั้น LinkedIn เป็นช่องทางที่สามารถทำการตลาดได้ดีเลยทีเดียว แต่ว่าอาจจะ ไม่เหมาะกับทุกอุตสาหกรรมสักเท่าไหร่ 

จุดเด่นของช่องทางนี้ก็คือ 

  • LinkedIn เป็นช่องทางในการสร้าง Network ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นจากตัวแบรนด์เอง ผู้บริหาร หรือพนักงานก็ตาม 
  • LinkedIn มีภาพลักษณ์ที่ดู Professional ซึ่งเหมาะกับการสร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพื่อส่งเสริม Branding ไม่ว่าจะเป็นข้อความ, รูปภาพ, วิดิโอ, หรือแม้แต่ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ 
  • LinkedIn สามารถให้แบรนด์ทำการสื่อสาร 2 ช่องทางกับผู้ใช้งานได้ ซึ่งสิ่งนี้สามารถขยายฐานคนรู้จักได้มากขึ้นกว่าเดิม 

7. Youtube

ตัวอย่าง Social Media Marketing เช่น Youtube
รูปภาพจาก Content Shifu

ถ้าพูดถึง Social Media สำหรับ Video Content ก็คงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก Youtube ซึ่งเป็น Video Search Engine จาก Google ที่นับว่าเป็นชุมชนออนไลน์ขนาดใหญ่มากๆ ที่รวบรวมวิดิโอแทบทุกประเภทมาไว้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นวิดิโอเพื่อการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ก็ตาม

จุดเด่นของช่องทางนี้ก็คือ

  • Youtube เป็นช่องทางที่นับว่าโด่งดังที่สุดในเรื่องของ Video Content เพราะผู้ใช้งานมีมาก ถึง 2,000 ล้านคน และมีแววที่จะเติบโตขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เหมาะกับแบรนด์ที่ถนัดหรืออยากสร้างสรรคอนเทนต์แนววิดิโอ
  • Youtube ไม่จำกัดความยาวของวิดิโอ คุณอยากสร้างคอนเทนต์เป็นเวลา 5 นาที 10 นาทีหรือ ยาวเป็นชั่วโมงก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน 
  • Youtube มีฟีเจอร์ที่สามารถให้คุณฝัง Link Video อื่นๆ ในช่องของคุณไว้ในวิดิโอ ซึ่งคุณสามารถเพิ่มยอดวิวให้กับวิดิโอเหล่านั้นได้

8. Blockdit

ตัวอย่าง Social Media Marketing เช่น Blockdit
รูปภาพจาก blockdit.com

Social Media สัญชาติไทยที่เปรียบเสมือนคลังความรู้ที่มีเรื่องน่าสนใจเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าใครก็ สามารถเล่าเรื่องที่ตนเองสนใจ หรือเชี่ยวชาญเพื่อเผยแพร่ให้กับผู้ใช้งานคนอื่นๆ สำหรับตัว Blockdit นั้นเองอาจจะดูเหมาะกับการใช้งานส่วนตัว แต่ความจริงแล้วแบรนด์ก็สามารถเข้าไปใช้พื้นที่เหล่านั้น ได้เช่นเดียวกัน 

จุดเด่นของช่องทางนี้ก็คือ

  • Blockdit เป็นช่องทางที่แบรนด์สามารถเข้าไปเป็น Top of mind ของผู้ใช้งานผ่านการผลิต คอนเทนต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของตัวเองแบบให้ความรู้หรือประโยชน์สำหรับผู้ใช้งาน
  • Blockdit เปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถผลิตคอนเทนต์ได้อย่างอิสระตามความถนัด ไม่ว่าจะเป็นการผลิตบทความ ผลิตวิดิโอ หรือ Podcast ก็ตาม หรือจะผลิตคอนเทนต์ออกมา ทั้งสามแบบเลยก็ได้เช่นเดียวกัน
  • Blockdit มีการแบ่งหมวดหมู่คอนเทนต์ออกหลายหมวดหมู่ ซึ่งครอบคลุมในหลายๆ หัวข้อและธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณอาจจะเป็นหนึ่งในหมวดหมู่นั้น 

9. Pantip

ตัวอย่าง Social Media Marketing เช่น Pantip
รูปภาพจาก Pantip.com

ชุมชนออนไลน์ของไทยที่มีเรียกได้ว่า เก่าแก่ แต่ยังเก๋าอยู่นั่นก็คือ Pantip หรือเว็บสีม่วงที่คุณอาจจะ คุ้นหูคุ้นตากับไอเดียการตั้งชื่อกระทู้ของผู้ใช้งานหลายคน และถึงแม้ว่า Pantip จะดูเหมาะกับการใช้ งานสำหรับบุคคล แต่แบรนด์เองก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้เหมือนกัน 

จุดเด่นของช่องทางนี้ก็คือ

  • Pantip คือแพลตฟอร์ม UGC หรือ User Generated Content ที่ผู้คนสามารถมาตั้งกระทู้ ถามหรือเล่าสิ่งที่สนใจได้ภายในห้องที่ชอบและแบรนด์สามารถใช้โอกาสนี้ในการเข้าไปช่วยเหลือผู้ใช้งาน ในการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
  • Pantip มีบริการแบบ Log-in ในฐานะองค์กรทีมีจุดประสงค์เพื่อให้แบรนด์ใช้สื่อสารกับ ผู้ใช้งาน หรือตัว Official Account ที่แบรนดืสามารถตั้งกระทู้ให้ความรู้กับผู้ใช้งานเองได้ โดยตรง เท่ากับว่าก็ช่วยให้ผู้คนรู้จักแบรนด์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในหมวดหมู่นั้นๆ
ตัวอย่าง Social Media Marketing เช่น Pantip Official Account
ตัวอย่าง Pantip Official Account 

10. Clubhouse

ถ้าจะพูดถึงการทำ Social Media Marketing ในตอนนี้ แต่ไม่พูดถึง Clubhouse ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ สำหรับแอปพลิเคชั่นน้องใหม่ที่ส่งเสริมคอนเทนต์ในรูปแบบเสียงที่เหมือนดึงเอาเวที Talkshow ลงมา ไว้ในโทรศัพท์ มาดูกันว่าแบรนด์สามารถเข้าไปทำการตลาดยังไงได้บ้าง

จุดเด่นของช่องทางนี้ก็คือ

  • Clubhouse เป็น voice-based platform ที่ผู้คนสามารถตั้งห้องภายใต้หัวข้อที่สนใจ และมาร่วมพูดคุยหรือ Talkshow ก็ได้ แบรนด์สามารถสร้างห้องขึ้นมาเพื่อพูดคุยประเด็น ที่เชี่ยวชาญเพื่อดึงดูดคนได้เช่นเดียวกัน
  • Clubhouse นั้นนอกจากจะให้แบรนด์เข้าไปเป็น Moderator ของห้องได้แล้วนั้น ยังสามารถไปร่วมแจมกับห้องอื่นๆ แบรนด์สามารถร่วมวงสนทนากับผู้ใช้งานเพื่อสร้าง ปฏิสัทพันธ์ดีๆ ได้อีกด้วย

โดยช่องทางการทำ Social Media เหล่านี้ถือว่าเป็นอีกช่องทางสำคัญที่ช่วยแบรนด์ส่งเสียงของตัวเอง ให้ดังมากขึ้น ช่วยเหลือแบรนด์ในการกระจาย awareness, เพิ่ม engagment, และสร้าง conversion ให้กับตัวเอง เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยให้แบรนด์ได้ใกล้ชิดกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็วขึ้น 

อ่านมาถึงตรงนี้คุณเองก็คงสนใจหรือเริ่มอยากทำ Social Media Marketing แล้วใช่ไหม? มาดูขั้นตอนกันเลยว่าแต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้าง 

6 ขั้นตอนการทำ Social Media Marketing ให้ประสบความสำเร็จ

รู้จักการทำ Social Media Marketing (SMM) โดยภาพรวมกันไปแล้ว ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการที่แบรนด์ เข้ามามีตัวตนบนช่องทางออนไลน์เหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อตัวแบรนด์เองทั้งสิ้น เพราะนอกจากจะ ได้ใกล้ชิดลูกค้าเดิมแล้วนั้น ยังมีโอกาสได้ลูกค้าหน้าใหม่หรือ Leads มากขึ้นอีกด้วย 

แต่ว่าสิ่งที่สำคัญหรือหัวใจในการทำ Social Media Marketing ไม่ใช่แค่การสมัคร Business Ac count แต่เป็นการวาง ‘กลยุทธ์’ ที่จะพาแบรนด์ประสบความสำเร็จบนช่องทางเหล่านี้ ซึ่งกลยุทธ์นั้น ประกอบไปปด้วยขั้นตอน 6 ขั้นตอนคือ

  1.  Know your business หรือการรู้จักธุรกิจของตัวเอง
  2.  Know your audience หรือการรู้จักลูกค้าของแบรนด์
  3.  Set Goals & Objectives หรือการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์
  4.  Plan and curate contents หรือการวางแผนคอนเทนต์
  5.  Use tools หรือการใช้เครื่องมือช่วยเหลือ
  6.  Analyze and optimize หรือการวิเคราะห์ผลลัพธ์

1. Know your business รู้จักธุรกิจของตัวเอง

เป็นข้อแรกที่ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจแบบไหนก็ต้องมีการพูดถึงเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นคือ การที่แบรนด์ต้องรู้จักธุรกิจของตัวเองก่อน ต้องรู้ว่าธุรกิจของตัวเองมีจุดแข็ง จุดอ่อนที่ตรงไหน และสามารถนำวิธีการทางการตลาดแบบไหนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมและลงตัว 

โดยมีเครื่องมือสองตัวหลักๆ ที่แบรนด์สามารถใช้วิเคราะห์และรู้จักตัวเองได้มากขึ้นก็คือ “Business Canvas” ที่ประกอบไปปด้วยช่องสี่เหลี่ยมหลายช่องตามตัวอย่างด้านล่าง โดยทุกช่องนั้นอาจจะมีปรับ เพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจและอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้ 

ตัวอย่าง Business Canvas
รูปภาพจาก strategyzer.com

เครื่องมือที่สองคือ “SWOT analysis” หรือสี่เหลี่ยม 4 ช่องที่เป็นที่รู้จักดี ประกอบไปด้วย Strengths, Weaknesses, Opportunities, และ Threats ตามตัวอย่างด้านล่าง โดยแบรนด์สามารถนำ ปัจจัยเหล่านี้มาช่วยวิเคราะห์และพัฒนาแผนการตลาดได้ 

ตัวอย่าง SWOT
รูปภาพจาก Similarweb.com

2. Know your audiences รู้จักลูกค้าของแบรนด์

หลังจากแบรนด์รู้ทิศทางของธุรกิจและจุดแข็ง – จุดอ่อนของตัวเองแล้ว คราวนี้แบรนด์จะต้องกำหนด กลุ่มเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจนว่าต้องการ ‘สื่อสารกับใคร’ โดยที่การกำหนด Target Audience สามารถทำได้โดย ‘การกำหนด Customer Persona’ 

ตัวอย่าง Customer Persona
ตัวอย่าง Customer Persona จาก contentshifu.com

ซึ่งประกอบไปด้วย 

  1.  ข้อมูลพื้นฐานของลูกค้า เช่น อายุ, อาชีพ, รายได้, ครอบครัว, พื้นที่อาศัย, การศึกษา
  2.  เป้าหมาย / การใช้ชีวิต / ความสนใจ
  3.  พฤติกรรมการซื้อและช่องทางออนไลน์
  4. Journey Behaviour ของพวกเขา

3. Set Goals & Objective ตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน

ขั้นตอนต่อไปที่แบรนด์จะต้องกำหนดก็คือ ‘เป้าหมาย’ และ ‘วัตถุประสงค์’ ของการทำการตลาดผ่านสื่อ Social Media เหล่านั้น ขั้นตอนนี้ถือว่าค่อนข้างสำคัญเพราะยิ่งคุณสามารถมองภาพในอนาคชัด เท่าไหร่ คุณยิ่งกำหนดแผนและทิศทางของธุรกิจได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป้าหมายนที่ชัดเจนนั้น ควรเป็นเป้าหมายเป็น SMART goals หรือ 5 ปัจจัยหล่านี้

ตัวอย่าง SMART Goals
ตัวอย่าง SMART Goal จาก productplan.com
  1.  Specific หรือเป้าหมายที่มีความเฉพาะเจาะจง
  2.  Measurable หรือเป้าหมายที่สามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม
  3.  Attainable หรือเป้าหมายที่จับต้องและเป็นจริงได้
  4.  Relevant หรือเป้าหมายที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับแบรนด์
  5. Time-bound หรือเป้าหมายที่มีการกำหนดระยะเวลาชัดเจน 

ตัวอย่าง การวางแผน SMART Goals สำหรับการทำ Social Media Marketing 

‘แบรนด์ A ต้องการเพิ่ม Follower บน Facebook กว่า 50% หรืออีก 20,000 คนจากการทำ Content หลายรูปแบบลง Facebook ภายในระยะเวลา 1 ปี’ เป็นต้น ซึ่งการวาง SMART goal ไม่มีการกำหนดตายตัวว่าต้องสั้นหรือยาว ขอแค่ชัดเจนในเป้าหมายก็เพียงพอแล้ว 

4. Plan & Curate Contents วางแผนคอนเทนต์ที่จะทำ

ถ้าจะผลิตคอนเทนต์ลง Social Media แต่ปราศจากหัวใจหลักอย่าง ‘การวางแผนคอนเทนต์’ นั่นก็อาจจะส่งผลกระทบด้านลบต่อธุรกิจได้ เพราะฉะนั้นในขั้นตอนนี้แบรนด์ควรคำนึงถึง คอนเทนต์ ว่าแบรนด์ต้องการเล่นกับคอนเทนต์ประเภทอะไรบ้าง เช่น 

  • คอนเทนต์แบบ Real-Time 
  • คอนเทนต์แบบความรู้
  • คอนเทนต์แบบ FAQ 
  • คอนเทนต์สร้างแรงบันดาลใจ และอื่นๆ อีกมากมาย 

ถ้าอยากผลิตคอนเทนต์คุณภาพ แต่ยังคิดไม่ออกสามารถเข้าไปศึกษา ไอเดียการทำคอนเทนต์ได้จากบทความนี้ได้เลย 

โดยที่หลังจากแบรนด์รู้ว่าต้องการสร้าง Content แนวไหน หลังจากนั้นคือการจัดตารางคอนเทนต์ หรืออีกชื่อคือ Content Calendar นั่นเอง ที่มีรูปร่างคล้ายกับปฏิทินในแต่ละเดือน พร้อมกับกำหนดการณ์ว่าวันไหนควรลงคอนเทนต์อะไร 

ตัวอย่าง Content Calendar
ตัวอย่าง Content Calendar จาก Hubspot.com

5. Use Tools ใช้เครื่องมือเสริมเพื่อช่วยเหลือแบรนด์

หรือถ้าไอเดียตัน คิดคอนเทนต์ไม่ออก ทำยังไงดี? ขั้นตอนนี้จะเหมือนเป็น Solution ช่วยเหลือแบรนด์ ในการปิ๊งไอเดียคอนเทนต์ใหม่ๆ สามารถให้แบรนด์สามารถสร้างคอนเทนต์และเก็บไว้พร้อมใช้งาน ได้ตลอดเวลา 

โดย Tool ที่แนะนำตัวแรกก็คือ Google Trends ซึ่งเปรียบเสมือนหูของ Google ที่ฟังความต้องการ หรือความสนใจของผู้ใช้งานบน Search Engine นั่นเอง โดยที่แบรนด์สามารถเสิร์ช Keyword และ นำมาเปรียบเทียบกันเพื่อศึกษาว่าเรื่องไหนมีคนสนใจมากกว่ากัน 

ตัวอย่าง Google Trends
ตัวอย่าง Google Trends จาก Googletrends.com

เครื่องมืออีกตัวคือเว็บไซต์ Answer The Public ที่รวบรวมความสนใจของคนในพื้นที่ต่างๆ และถ้า เสิร์ช Keyword ตัวใดตัวหนึ่งลงไป เว็บไซต์จะทำการเรียบเรียงความสนใจออกมาเป็นแผนภูมิแบบ ในตัวอย่างด้านล่าง ที่แตกขยายออกเป็นหลายสาขา เช่น What, When, Where, Why, How และ Who เป็นต้น 

ตัวอย่าง Answer The Public
ตัวอย่าง เครื่องมือช่วยเหลือ Content Creator จาก answerthepublic.com

6. Analyze and Optimize วิเคราะห์ผลลัพธ์

ขั้นตอนสุดท้ายของกลยุทธ์การทำ Social Media Marketing และหลัวจากการปล่อยคอนเทนต์ ทั้งหมดออกไปบนช่องทางต่างๆ ก็คือ การวิเคราะห์ผลลัพธ์นั่นเอง โดยในขั้นตอนนี้แบรนด์จะรู้ว่า เป้าหมายที่วางไว้สามารถสำเร็จลุล่วงตามที่คาดหวังหรือไม่ 

การเข้าถึงข้อมูล Insights เพื่อทำการวิเคราะห์นั่นอาจจะต้องใช้ Social Media Marketing Tools ในการช่วยเหลือ เช่น Fanpage Karma, Mention หรือ Keyhole เป็นต้น

หรือถ้าคุณมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองก็สามารถใช้ Google Analytics ตรวจสอบได้ว่า Traffic เหล่านี้ ตามมาจาก Social Media ช่องทางไหน (โดยใช้ UTM parameter)  เพื่อคุณสามารถนำไปวิเคราะห์และพัฒนาการผลิตคอนเทนต์ในช่องทางเหล่านั้นในอนาคต 

สรุป

การที่แบรนด์เริ่มเข้ามาจับ Social Media Marketing เพื่อเข้ามามีบทบาทบนสื่อที่ทรงพลังในยุคนี้ ย่อมเป็นผลดีให้กับแบรนด์เอง เพราะว่าการที่แบรนด์ใช้ Social Media Marketing นั้นสามารถให้ประโยชน์ได้ในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักลูกค้า การสร้างการรับรู้ของแบรนด์ หรือแม้แต่การสร้าง Conversion ก็ตาม ซึ่งการทำ Social Media Marketing นั่นก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่แพลตฟอร์มใหญ่ๆ แต่ยังมี Social Media ทางเลือกอีกมากมายให้แบรนด์เลือกใช้ รวมถึงการวางแผนกลยุทธ์ที่จะช่วยปูทางให้แบรนด์ เติบโตได้มากยิ่งขึ้นด้วย 

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจการทำ Social Media Marketing และนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของคุณได้ดียิ่งขึ้นนะ 🙂