Chapter 1



Digital Marketing คืออะไร สำคัญอย่างไร [ปูพื้นฐานครบ]

ตั้งต้นทำความเข้าใจทุกองค์ประกอบของศาสตร์การตลาดออนไลน์

Digital Marketing การตลาดออนไลน์

คำว่า Digital Marketing ถือว่าเป็นคำคุ้นหูสำหรับใครหลายๆ คน ไม่ใช่เฉพาะแค่นักการตลาด แต่รวมถึงคนผลิตคอนเทนต์ ทั้ง Blogger หรือ Vlogger รวมถึงผู้ใช้ Social Media ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตมนุษย์ทุกคน 

ไม่ว่าเราจะทำอะไร ที่ไหน ตอนไหน กับใคร ถ้าหันมองรอบๆตัวเราแน่นอนว่าจะต้องเจอช่องทางที่เป็นผลผลิตของเทคโนโลยีแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์หรือ Smart Phone ก็ตาม 

แน่นอนว่าถ้าให้พูดถึงวิธีการทำ Digital Marketing หลายๆ คนคงสามารถเขียนวิธีหรือกลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้าในยุค 4.0 ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว แต่ก่อนจะข้ามไปเรียนรู้กระบวนการทำ Digital Marketing นั้น การเข้าใจว่า Digital Marketing มีความหมายว่ายังไงและทำเพื่อจุดประสงค์อะไร อาจจะช่วยให้เราวางแผนออกมาได้ดียิ่งขึ้น และนำไปประยุกต์ใช้กับการตลาดพื้นฐาน 4P Marketing Mix เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

เพราะฉะนั้น เราจะพามารู้จักว่า Digital Marketing คืออะไร หมายถึงอะไร มีความสำคัญขนาดไหนในการสร้างแบรนด์ รวมถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยและ Keywords สำคัญของ Digital Marketing 

Digital Marketing คืออะไร?

ถ้า Marketing คือ การทำการตลาดเพื่อกระจายแบรนด์ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าผ่านสื่อกลาง Digital Marketing ก็คือการทำการตลาดรูปแบบใหม่บน Platform ดิจิทัลต่างๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่โลดแล่นอยู่บนโลกดิจิทัลที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) เป็นสื่อกลาง 

Digital Marketing สามารถเข้าถึงลูกค้าได้จากทั้งทาง Search Engines เช่น Google หรือ Yahoo, Websites ต่างๆ บนโลกออนไลน์, อีเมล, Social Media platforms เช่น Facebook, Instagram, และ Twitter หรือจะเป็นป้าย Digital Billboard ขนาดยักษ์ที่เปลี่ยนทุกนาทีตามสี่แยกที่เราเห็นกัน 

Digital Marketing คือ ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย จาก Traditional Marketing ที่เรามักจะเห็นโฆษณาบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่มาส่งทุกเช้า บนป้าย Billboard ที่ตั้งอยู่ริมถนนเวลารถติด หรือจะเป็นการส่งจดหมายเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์และแบรนด์ของตัวเองตามที่อยู่ของลูกค้า

เมื่อยุคแห่ง Disruptive Media เข้ามามีบทบาทอย่างมหาศาลในชีวิตของเราทุกคน การทำการตลาดแบบเดิมอาจจะไม่ใช่คำตอบของการเข้าถึงลูกค้าอย่างแท้จริง การเรียนรู้และปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ย่อมเป็นสิ่งที่บริษัทย่อมมีข้อได้เปรียบในการเข้าถึงลูกค้า 

ทำไมถึงต้องเป็น Digital Marketing

ในยุคสมัยของเทคโนโลยีที่สามารถดึงดูดผู้คนมากหน้าหลายตาเข้ามาเจอกันบนโลกเสมือนจริง โลกดิจิทัลเป็นพื้นที่ที่นักการตลาดสามารถใช้ประโยชน์ในการโฆษณาสินค้า บริการ หรือโปรโมตแบรนด์ผ่านช่องทางนี้ได้ 

การใช้ประโยชน์จากช่องทางดิจิทัลนั้นถือว่าเป็นการทำการตลาดที่เข้าถึงผู้คนได้เป็นอย่างดี เพราะว่าผู้คนมักจะใช้ช่องทางออนไลน์ในการค้นหาสิ่งที่ตนเองต้องการ และเราสามารถดึงดูดผู้คนให้เข้ามา

เยี่ยมชมเว็บไซต์หรือช่องทางออนไลน์ได้จากกลยุทธ์ Digital Marketing นี่แหละ และสิ่งสำคัญอีกอย่างที่ Digital Marketing เป็นอีกสนามที่ควรลงเล่นเพราะว่าเราสามารถทำการตลาดได้อย่างตรงจุด สามารถค้นหาและ connect กับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเราได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

ความแตกต่างของ Digital Marketing และ Online Marketing 

การที่เรากระโดดเข้ามาสู่ยุคที่ ‘เทคโนโลยี’ ผันตัวเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ล้อมรอบตัวเรา กลายเป็นอุปกรณ์ดิจิทัลไปหมดแทบทุกอย่าง หนังสือพิมพ์ที่เคยอ่านช่วงเช้ากลับกลายเป็นโทรศัพท์มือถือแบนเรียบที่กำลังแจ้งเตือนข่าวใหม่ของวัน หนังสือนิยายที่เคยหยิบมาอ่านกลับกลายเป็นนิยาย E-book หรือแม้แต่ป้ายโฆษณาริมฟุตบาทหรือสี่แยกเวลารถติด ก็กลายเป็นป้ายจอ LED 

แต่ไม่ใช่ว่า Digital จะต้องพึ่งพา Internet เสมอไป เพราะฉะนั้น Digital Marketing สามารถทำได้บนอุปกรณ์เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น LED Billboard หรือ SMS Message รวมถึงแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์ที่สามารถใช้ได้แบบไม่มี Internet เป็นต้น ขอแค่เป็นช่องทางดิจิทัลที่แบรนด์สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ก็นับเป็น Digital Marketing แล้ว

แล้วแบบนี้อะไรคือความแตกต่างของ Online Marketing กันแน่? 

อธิบายคร่าวๆ คือ สมมติว่า Digital Marketing คือวงกลมวงใหญ่ 1 วง Online Marketing คือวงกลมวงเล็กที่อยู่ด้านในวงกลมนี้อีกที พูดง่ายๆ ก็คือ Online Marketing เป็นอีกวิธีของการทำ Digital Marketing นั่นเอง (รวมถึงชื่อ Internet Marketing ก็เห็นอีกชื่อ)

ตัวอย่างของ Online Marketing คือ

  1. Website 
  2. Social Media
  3. Content Marketing
  4. E-mail Marketing

Digital Marketing อาศัย ‘สื่อกลาง’ ที่เป็นช่องทางดิจิทัลในการเชื่อมต่อกับลูกค้าและ Online Marketing อาศัย ‘Internet’ ในการสื่อสารและส่งสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการของแบรนด์เราให้กับลูกค้าของเรา

สรุปก็คือ Digital Marketing เป็นการทำการตลาดผ่านสื่อดิจิทัลหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ Online Marketing คือวิธีการทำการตลาดรูปแบบหนึ่งที่อาศัย Internet ในการดำเนินการ

ช่องทางการทำ Digital Marketing 

อย่างที่กล่าวไปด้านบนว่า Digital Marketing คือ การทำการตลาดบนโลกออนไลน์และดิจิทัลที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวช่วยในการเข้าถึงลูกค้า ส่วนประเภทของ Digital Marketing คืออะไรนั้น เราจะเลือกนำมาเล่าเพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะจริงๆ ยังมีวิธีการทำ Digital Marketing อีกหลากหลายแบบ

New call-to-action

1. Paid Search  

Paid Searching คือ การทำ Digital Marketing บนช่องทางค้นหาหรืออีกชื่อคือ PPC (Paid-Per-Click) ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือการที่เราจ่ายเงินให้เว็บไซต์หรือโพสต์ของเรา

ให้ขึ้นอยู่อันดับบนสุดของหน้าเสิร์ช หรือ Search Engine Result Page(SERP) หลังจากลูกค้าทำการค้นหา Keywords ที่มีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หรือบทความที่เราเผยแพร่ออนไลน์ บนหน้า Search Engine จะคัดสรรเว็บไซต์ที่ทำการจ่ายเงินขึ้นมาเป็นอันดับแรก (จะมีคำว่า ads  หรือ โฆษณานำหน้า) โดยที่ทาง Serch Engine นั้นๆ จะเรียกเก็บเงินผู้ลงโฆษณาตามจำนวน Click ที่เพิ่มมาจากการทำ Digital Marketing ตรงนี้

2. SEO

Search Engine Optimization (SEO) คือการทำ Digital Marketing ที่จะดันเว็บไซต์และบทความ ของเราขึ้นไปยังหน้าแรกของ Search Engine หลังจากมีการค้นหาสิ่งที่เขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็น Keyword หรือใช้ Voice Search ที่ตรงกับเนื้อหาในเว็บไซต์หรือบทความของเรา ซึ่งการ Optimize จะหมายถึง การปรับปรุงเว็บไซต์ เว็บเพจ หรือคอนเทนต์ของเราให้มีคุณภาพตามที่ผู้คนต้องการและง่ายต่อการค้นหาของ Search Engine 

ถ้ายิ่งเราทำ SEO ได้ดีเท่าไหร่ เว็บไซต์ก็จะยิ่งติดอันดับสูงขึ้น จำนวน Traffic ของเว็บไซต์ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

เว็บไซต์ที่ทำ SEO ดีๆ จะได้อันดับต้นๆ อยู่หน้าแรก นั่นหมายความว่า เว็บไซต์จะสามารถค้นหาเจอได้ง่ายๆ บน Google หรือ Search Engine เจ้าอื่นๆ โดยที่เราไม่ต้องเสียค่าโฆษณาให้ Search Engine Platform คอยติดตามการอัปเดตของอัลกอริทึม และที่สำคัญคือเว็บไซต์เราจะไม่มีคำว่า Ad ติดอยู่ด้วย 

Traffic ที่เข้ามายังเว็บไซต์ด้วยวิธีนี้ จะเรียกว่า Organic Traffic หรือ Organic Reach ซึ่งถ้ามีเข้ามามาก ก็จะยิ่งส่งผลต่ออันดับของเว็บไซต์เราบน Search Engine Platform นั้นมากขึ้นด้วย (ยิ่งการเข้าชมสูง ยิ่งรักษาอันดับบนๆ ไว้ได้นาน)


Shifu แนะนำ

หากคุณต้องการเรียนรู้วิธีการทำ SEO ที่ช่วยให้บทความหรือเว็บไซต์ของคุณมีปริมาณผู้ชมมากขึ้น สอนแบบ Step by Step ตั้งแต่พื้นฐานจนทำได้ ดูได้ที่

วิธีทำ seo 2022 แบบ Step by Step รู้ครบในโพสเดียว

 

3. Content Marketing

Content Marketing เรียกได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการทำ Digital Marketing ก็ว่าได้ เพราะคอนเทนต์คือ “สาร” (Message) ที่ธุรกิจหรือแบรนด์จะใช้บอกและปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ไม่ว่าจะเป็นบทความในบล็อก แคปชั่นใน Social Post ข้อความในอีเมล ตลอดจนสื่อประเภทอื่นๆ เช่น วิดีโอ รูปภาพ Infographic เป็นต้น 

ทั้งนี้ การทำคอนเทนต์ที่ดี ควรจะต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน ต้องตอบให้ได้ว่าเราทำคอนเทนต์ชิ้นนี้ไปเพื่ออะไร เช่น ให้ความรู้ ให้แรงบันดาลใจ ให้ความบันเทิงหรือหว่านล้อม 

ยกตัวอย่างการทำคอนเทนต์บนบล็อกเพื่อให้คนเสิร์ชเจอ ถ้ายิ่งคอนเทนต์ของเราตรงกับจุดประสงค์ในการค้นหาของลูกค้า นั่นจะยิ่งเพิ่ม Traffic มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการทำ Content ที่ดียังเป็นหัวใจหลักของการสื่อสารผ่าน Digital Marketing ในวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Social Media Marketing, E-mail Marketing หรือแม้แต่แคมเปญเองก็ตาม  

โดยที่การทำ Content Marketing ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายนั้น เราต้องคำนึงว่าพวกเขาอยู่ในกลุ่ม Sales Funnel ไหนของเรา 

ถ้าเขากำลังอยู่ในสเตจรับรู้ปัญหา รู้ความต้องการ (Awareness หรือ ToFu) เราควรหยิบยื่นคอนเทนต์ที่มีคุณค่าและให้ประโยชน์แก่ลูกค้าก่อน หรือถ้าเขาอยู่ในช่วงกำลังพิจารณาเลือก (Consideration หรือ MoFo) หรือตัดสินใจแล้ว ต้องการข้อมูลเพื่อติดต่อหรือซื้อ (Decision / BoFu) เราก็ควรที่จะปรับรูปร่างคอนเทนต์ให้ตรงตามความต้องการและความสนใจของคนแต่ละกลุ่มนั่นเอง เพราะฉะนั้นนี่คือ Key Message ที่คนที่ทำการตลาดไม่ควรมองข้าม

4. Social Media Marketing

Social Media Marketing ถ้าพูดคำว่า Digital Marketing นั้น เราจะไม่พูดถึงการใช้ Social Media มาเป็นตัวช่วยการทำการตลาดก็คงไม่ได้ เพราะว่า Social Media นับว่าเป็น Hub ที่ใหญ่มากๆ ในการส่ง Message แก่ลูกค้าทั้งใหม่และเก่า 

การใช้ Digital Marketing บน Social Media เช่น Facebook, Twitter, Instagram, หรือจะเป็นแอปพลิเคชั่นน้องใหม่ไฟแรงอย่าง Tiktok นั้นเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินค้าและบริการของแบรนด์ได้อย่างมาก ถ้าเรารู้ว่าลูกค้าของเราจะอยู่บน Platforms อันไหน รวมถึงเรายังสามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกบน Social Media นั้นๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ 

คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความเกี่ยวกับ Social Media Marketing ได้ที่ลิงก์ด้านล่างครับ

5. Email Marketing 

Email Marketing วิธีการที่คลาสสิกแต่ไม่เคยตายของ Digital Marketing คือการส่งจดหมายผ่านทางอีเมล การทำ Marketing วิธีนี้เป็น Owned Channel ที่เราครอบครองข้อมูลและ Contact ของลูกค้าเอาไว้เอง และสามารถทำการตลาดแบบอัตโนมัติได้อีกด้วย

ฟังดูอาจจะเป็นช่องทางดั้งเดิมแต่ก็ยังคงมีการใช้งานอยู่โดยเฉพาะกับวงการธุรกิจ ที่จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารแบบ B2B (Business to Business)

อีเมลคือช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาส่วนลดหรือสินค้าและบริการใหม่ หรือเป็นการขยาย Traffic ให้ Plarform อื่นๆ ของแบรนด์ เช่น แชร์บทความ แชร์บล็อก โดยการแนบลิงก์ แต่เพื่อไม่ให้การทำ Digital Marketing บนช่องทางนี้น่าเบื่อและไม่ถูกโยนเข้าถังขยะทันที เราต้องคำนึงถึงข้อมูลที่จะใส่ลงไปและประโยชน์ของผู้รับด้วย

6. Mobile Marketing

Mobile Marketing การทำ Digital Marketing ผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นอีกวิธีที่นิยมใช้เพราะว่า Smartphone คืออุปกรณ์ของยุคเทคโนโลยีที่ไม่ว่าใครก็มีติดตัวข้างกาย และจำนวนผู้ใช้ Smartphone รอบโลกกำลังเพิ่มขึ้นในทุกๆ วัน 

Digital Marketing ผ่านทาง Smartphone นั้นสามารถทำได้โดยการส่ง SMS หรือยิงโฆษณาในแอปพลิเคชันของแบรนด์ และอย่าลืมทำลิงก์แนบไปยัง Platform อื่นๆ ของแบรนด์เพื่อให้เขาเจอคอนเทนต์อื่นๆ ของเราหรือเพื่อเพิ่ม Traffic

Marketing Technology เครื่องมือช่วยทำการตลาดออนไลน์

การทำการตลาดออนไลน์ แน่นอนว่า เราต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มต่างๆ อย่าง Website หรือ Social Media หรือว่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมการทำการตลาดให้ดียิ่งขึ้นอย่างรอบด้าน เช่น Email Automatio, CRM, Analytics Tools, SEO Tools เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ เราเรียกรวมกันว่า “Martech” (Marketing Technology) หรือ เทคโนโลยีทำการตลาด

และเพื่อที่เราจะทำ Digital Marketing ให้มีประสิทธิภาพอย่างรอบด้าน Martech ก็สามารถแบ่งตามประเภทออกตามจุดประสงค์ที่เราใช้ในการทำงานได้ 

หลักๆ มีอยู่ 6 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  1. Advertising & Promotion หรือเครื่องมือสำหรับทำโฆษณาหรือเพื่อการประชาสัมพันธ์
  2. Social & Relationship หรือเครื่องมือที่ช่วยให้แบรนด์ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ส่วนใหญ่แล้ว คือ ช่องทางในการสื่อสาร เช่น เว็บไซต์ อีเมล หรือ Social Media เป็นต้น
  3. Content & Experience หรือเครื่องมือในการสร้างคอนเทนต์ประสบการณ์ต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วเป็นจำพวกสื่อ (Media) เช่น โปรแกรมทำเว็บไซต์และบล็อก, โปรแกรมทำวิดีโอ, โปรแกรมทำเกม, CMS ฯลฯ
  4. Commerce & Sales หรือเครื่องมือที่ช่วยในการขายของ อาจเป็นเครื่องมือทำเว็บไซต์ขายขาย E-commerce หรือระบบจัดการงานขายในเว็บหรือแอปพลิเคชั่น
  5. Data & Analytics หรือเครื่องมือช่วยจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จำเป็นมากๆ กับการทำ Digital Marketing การที่เรารู้ข้อมูล จะช่วยให้ธุรกิจมีแต้มต่อว่า ควรทำอะไรเพิ่ม ควรอยู่ทำอะไร หรือควรปรับปรุงอะไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ตัวอย่างง่ายๆ เช่น Facebook Insight, Google Analytics เป็นต้น
  6. Management หรือเครื่องมือสำหรับการจัดการ เป็นอีกประเภทของ Martech ที่ขาดไม่ได้ เพื่อที่จะอำนวยการทำงานให้เป็นระบบ คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนลดการดำเนินงานซ้ำซ้อนที่ต้องใช้คนด้วย ตัวอย่างเช่น Project Management Tools เป็นต้น

ตัวอย่าง Martech ยอดนิยมที่ใช้ในการทำ Digital Marketing

  1. HubSpot 
  2. ActiveCampaign
  3. Google Tag Manager
  4. Canva
  5. WordPress
  6. Pipedrive
  7. Zapier
  8. Buffer
  9. Unbounce
  10. Similarweb

ทำความรู้จัก Martech ตัวอื่นๆ ที่เราเคยแนะนำไว้แล้ว

รวมคำศัพท์คุ้นหูสำหรับสาย Digital Marketing

อธิบายที่มาของและความหมายของ Digital Marketing ครบหมดแล้ว แต่คิดว่าน่าจะมีบางส่วนที่สงสัยว่าคำย่อบางคำมีความหมายว่าอะไร หรือคำศัพท์คำนี้ทำไมคุ้นหูจัง จะบอกว่าคำศัพท์สาย Marketing ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ 

เพราะฉะนั้นถ้าใครต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคำศัพท์ทางการตลาด ตามเรามาได้ที่นี่เลย รับรองว่าบทความนี้รวบรวมคลังคำศัพท์ไว้แบบจุใจแน่นอน 

บทความนี้ได้ช่วยคุณทำความเข้าใจกับความหมายของ Digital Marketing แบบโดยภาพรวม และในครั้งต่อๆ ไปจะพาลงลึกมากกว่าเดิมว่า เราจะได้อะไรจากการทำ Digital Marketing ทำไมถึงดีกว่าแบบ Traditional Marketing มีข้อเสียบ้างไหม หรือมีแต่ข้อดีกันแน่