ทำไมถึงต้องเป็น Google Trends?

ยุคนี้อะไรก็ย่อมมาไวไปไว เพราะว่าการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีในชีวิตของเรานั้นทำให้ ข้อมูลต่างๆ บนหน้า Timeline ไหลอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เคยเป็นประเด็นเมื่ออาทิตย์ก่อน วันนี้อาจจะไม่ได้ถูก หยิบขึ้นมาพูดอีกแล้ว หรือบางประเด็นอาจจะสามารถอยู่บนหน้าฟีดได้ยาวหน่อย อาจจะสักอาทิตย์หรือสักเดือน เพราะข้อดีของโซเชียลฯ คือความเร็ว ซึ่งสิ่งนี้เองก็ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคแปรผันตามความเร็วของหน้าฟีด

จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถจับทุกเทรนด์ฮิตบนโลกออนไลน์และรับรู้ Insights ของเหล่าลูกค้าของเราว่า ในพื้นที่นั้นๆ กำลังนิยมสิ่งไหนอยู่ และจะยิ่งดีกว่าไหมถ้าเราสามารถทำสิ่งเหล่านี้ผ่านเครื่องมือออนไลน์ ที่เป็นผลผลิตของเว็บ Search Engine ที่ยิ่งใหญ่อย่าง Google 

วันนี้มาเริ่มรู้จัก Google Trends และเรียนรู้การใช้งานกันเลยดีกว่า

Google Trends คืออะไร

Google Trends คือ เว็บไซต์ลูกน้อยของ google ที่ถูกผลิตออกมาเพื่อช่วยเหลือการตรวจสอบความนิยม ของ Keywords บนโลกออนไลน์ โดยที่ Keywords นั้นจะเป็นคำว่าอะไรก็ได้ อาทิเช่น ชื่อสินค้า ชื่อบุคคล หรืออาจจะเป็นชื่อเว็บไซต์ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบความนิยมเหล่านี้ตามตำแหน่งที่เราต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ระดับโลก เทรนด์ระดับประเทศ หรือเทรนด์ระดับจังหวัด อีกทั้งเรายังสามารถดูเทรนด์ยอดฮิตรายวันได้อีกด้วย หรือแม้แต่ย้อนดูความนิยมในหลายๆ ปีที่ผ่านมาเพื่อวิเคราะห์โอกาสเติบโตของสิ่งนั้นได้อีกด้วย

ประโยชน์ของ Google Trends: ใช้อะไร ทำอะไรได้บ้าง

สำหรับเว็บไซต์ที่เอาไว้ค้นหาความนิยมแบบนี้ แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์กับทุกคน โดยเฉพาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการค้นหาอะไรทั่วไป แต่อาจจะตอบโจทย์สำหรับผู้ใช้งานที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยหรือได้ประโยชน์จากการ ‘จับ’ เทรนด์ ไม่ว่าจะเป็นนักการตลาด เจ้าของร้านค้าออนไลน์ หรือแม้แต่คนที่ต้องการเริ่มทำ Blog หรือ Vlog ของตัวเองแต่ไม่รู้ว่าควรจะนำไอเดียไหนมาขายดี หรือเอาไว้ใช้ค้นหาคำที่มีคนค้นหามากที่สุดในแต่ละวันหรือแต่ละช่วง สามารถใช้ดูเทรนด์ความสนใจมาทำ Realtime Content ก็ได้

มาดูจุดเด่นของเจ้า Google Trends กันว่าจะมีประโยชน์อะไรกับเราบ้าง 

  • ตัวช่วยวางแผนธุรกิจ สำหรับสาย Marketers หรือเจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาแผนธุรกิจในแต่ละช่วง Google Trends จะสามารถเข้าช่วยคุณวิเคราะห์ทิศทาง ตลาดบนโลกออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น
  • สร้างคอนเทนต์คุณภาพ สาย Content creator ไม่ว่าจะถนัดพูดหรือเขียนก็ตาม ย่อมรู้กันดีว่าสิ่งที่คนเสิร์ชคือสิ่งสำคัญในการเข้าถึงผู้ฟังของเราได้ดีที่สุด โดยเฉพาะเหล่านักเขียน Blog ที่ต้องการ ทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดหน้าแรก Google Trends จะเป็นเครื่องมือที่ดีที่ช่วยคุณค้นหา Keywords ยอดฮิต
  • สังเกตความนิยมของแบรนด์ ได้เวลาเช็คกันแล้วว่าแผนการตลาดที่ทำมาสำเร็จผลมากขนาดไหน เจ้าตัว Google Trends ก็สามารถให้คุณค้นหาชื่อเว็บไซต์ของตัวเองได้เช่นเดียวกัน 

วัดความนิยมกับคู่แข่ง อีกเทคนิคที่ Google Trends สามารถทำได้ก็คือการใช้ฟีเจอร์ Comparison แล้วดูกราฟเลยว่าแนวโน้มของเรากำลังขึ้นหรือลงหรือสูสี

สอนวิธีใช้ Google Trends แบบ Step-by-Step

มาดูกันเลยว่า Google Trends ใช้ยังไง แต่ก่อนอื่นเราไปเข้าใช้งานเครื่องมือได้ที่ https://trends.google.com/trends/

  • หา Customer Insight 
  • หาไอเดียทำคอนเทนต์
  • ใช้เพื่อเปรียบเทียบ Keywords 
  • ส่องเทรนเพื่อทำ Realtime Content

รู้จักลูกค้าโดยการหา Customer Insight

ก่อนจะไปรู้จักลูกค้า เราต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าถ้าจะเป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ เราอยากขายอะไร? 

อยากเป็นนักเขียนจะเขียนถึงอะไร? หรืออยากอัด Vlog รีวิว เราชอบและสนใจอะไร? 

สมมติว่า เราอยากหันมาขายของออนไลน์และเราคิดว่า เกมส์ Nintendo Switch คือสิ่งที่เราอยากเอามาทำ Content เราเลยจำเป็นต้องพึ่งพา Google Trends เพื่อดูว่าสินค้าตัวนี้ได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหน 

  • ค้นหาคำว่า Google Trends บน Google > เข้าสู่หน้าหลัก > ค้นหาหัวข้อ (อย่าลืมเปลี่ยน Location ให้เป็นประเทศไทยนะ)
หน้าแรก Google Trends

อันนี้คือหน้าแรกหลังจากเรากดเข้าไปจากหน้าค้นหา ซึ่งตรงหน้านี้จะมีช่องให้กดค้นหาและตัวฟีเจอร์ด้านซ้ายมือที่สามารถใช้งานรูปแบบอื่นได้อีก 

เมื่อเรามีหัวข้อในใจอยู่แล้ว เราจึงทำการค้นหาหัวข้อคำว่า ‘Nintendo Switch’ ในช่องค้นหาแล้ว ตัวเว็บไซต์จะพาเรามาหน้านี้

การเสิร์ชหัวข้อบน Google Trends
  • เลื่อนดูเทคนิคของ Google Trends เพื่อทำให้การค้นหาเจาะจงมากขึ้นในที่นี้เราต้องการรู้ Insight ของหัวข้อ Nintendo Switch จากผู้ใช้งาน ในประเทศไทย / ภายในระยะเวลา 1 ปี / และค้นหาแบบ Website > กราฟจะคำนวณความนิยมและความต้อง การของเราออกมาให้อ่าน 

การใช้ฟีเจอร์นี้ของ Google Trends แบ่งการค้นหาด้านบนแบ่งออกเป็น 4 ตัวหลักๆ ได้แก่

  • พื้นที่หรือประเทศที่เราต้องการค้นหา ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนบนโลก ประเทศไหนก็ได้ เพราะเราต้องการดู Insight แค่ในไทย ดังนั้นตัวกราฟจะเอาค่าความนิยมแค่ในไทยมาแปลเท่านั้น
  • ช่วงเวลาที่เราต้องการค้นหา ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าจะดูระยะเวลาไหน อาจจะยาวนานเป็นปี / เดือน / วัน / ชั่วโมง 
  • ค้นหาหมวดหมู่ของสิ่งนั้น เราอาจจะเฉพาะเจาะจงมากกว่าเดิมเพื่อให้การค้นหา นั้นละเอียดมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราอาจจะเปลี่ยนจากทุกหมวดหมู่ เป็นแค่เกมส์ก็ได้
  • เลือกดูว่านิยมใน Platforms อะไร ขึ้นอยู่กับความสนใจว่าจะผลิต Content มาทางไหน อาจจะ Website / Youtube / ข่าว / หรือ Shopping 

จากผลลัพธ์ทำให้เราเห็นว่า Nintendo Switch บน Search Engine มีจุดพีคอย่างสูงสุดเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว (ช่วงระยะเวลาที่ Covid19 ระบาด) และกระแสก็ถอยหลังลงมาเรื่อยๆ ซึ่งแนวโน้มของกระแส Nintendo Switch ในไทยสำหรับปีนี้อาจจะตกหล่นลงเช่นเดียวกัน  

  • เลื่อนดู Subregion หรือภูมิภาคย่อยๆ ถ้าเราไม่ได้ต้องการค้นหาในพื้นที่เดิม
การดูภูมิภาคย่อยใน Google Trends

ในส่วนนี้เราสามารถดูได้เลยว่าในประเทศไทยเนี่ย จังหวัดไหนมีการค้นหาคำว่า Nintendo Switch มากที่สุด ซึ่งตรงนี้ Google Trends มีประโยชน์ตรงที่เราสามารถสร้าง Target Audience ได้ลึกกว่าเดิม โดยที่เราอาจจะเลือกยิงโฆษณาเน้นๆ ที่จังหวัดนนทบุรี กรุงเทพ และปทุมธานี 

เทคนิคหาไอเดียต่อยอด Content จาก Google Trends

ค้นหา Insight ของลูกค้าแล้ว เรายังสามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ต่อได้อีก เพราะว่าทาง Google Trends จะปรากฎหัวข้อเล็กๆ สองหัวข้อคือ ‘หัวข้อที่เกี่ยวข้อง’ และ ‘คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง’ เพื่อวิเคราะห์ความสนใจอื่นๆ ที่ยังเกี่ยวโยงกับ Topic ดั้งเดิมของเรา

มาดู วิธีใช้ Google Trends เก็บเกี่ยวไอเดียจากเจ้าฟีเจอร์สองตัวนี้กันเลยดีกว่า 

  • หาไอเดียใหม่จาก ‘หัวข้อที่เกี่ยวข้อง’
หัวข้อที่เกี่ยวข้องใน Google Trends

พอเลื่อนลงมาด้านล่างสุด เราจะเจอกับฟีเจอร์ ‘หัวข้อที่เกี่ยวข้อง’ ซึ่งประโยชน์ตรงนี้สามารถทำให้ เรารู้จักลูกค้าของเรามากขึ้นว่านอกจากตัว Nintendo Switch แล้ว เขายังสนใจอะไรอีกไหม? ซึ่งหัวข้อดาวรุ่งพุ่งแรงก็คือ Animal Crossing ที่เป็นตัวเกมส์ในเครื่องนั่นเอง เราอาจจะเพิ่ม ไอเดียขายเจ้าเกมส์ตัวนี้หรือรีวิวเจ้าตัวนี้สักหน่อยเพื่อจับกระแส 

อย่าลืมว่ายิ่งเรามี Keywords ในการทำ Content เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ลูกค้าที่เข้ามาหาเราจะยิ่งมากขึ้น 

  • เก็บไอเดียดัน SEO จาก ‘คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง’
คำค้นหาที่เกี่ยวข้องใน Google Trends

มาถึงฟีเจอร์สุดท้ายของหน้านี้นั่นคือ ‘คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง’ ซึ่งตรงนี้จะเป็นประโยชน์กับการนำ keywords ไปใช้เป็น Primary, Secondary, หรือ Related Keywords เพื่อทำให้เว็บทำ SEO ได้ ดียิ่งขึ้น คนจะยิ่งเห็นเว็บเราได้ง่ายขึ้นจากการค้นหา Keywords เหล่านี้ 

การใช้ Google Trends เพื่อเปรียบเทียบ Keyword 

มาดูวิธีเปรียบเทียบกันเลยว่า เราจะใช้ฟีเจอร์นี้ยังไงและเพื่ออะไร

  • ค้นหา Keyword ของเรา > กด ‘ เพิ่มการเปรียบเทียบ’
การเปรียบเทียบบน Google Trends

เนื่องจากเราต้องการทำ Content เกี่ยวกับ Nintendo Switch เราเลยจำเป็นต้องรู้ความนิยมของ เครื่องเล่นเกมส์คู่แข่งระดับโลกอย่าง Sony Playstation ซึ่งรุ่นที่ 5 กำลังจะขายเร็วๆนี้  

พอมาดูกราฟเปรียบเทียบในรอบ 1 ปีก็เห็นได้ชัดว่า Nintendo จากจุดพีคสู่เส้นกราฟขึ้นๆ ลงๆ ตามปกติ แต่ PlayStation 5 กลับกำลังไต่ชาร์ตสูงกว่านิดหน่อย แล้วก็ดิ่งลงในตอนสุดท้าย เราอาจจะวิเคราะห์แนวโน้มได้ว่า Playstation อาจจะกลับขึ้นมาเป็นกระแสอีกตอนเปิดตัวจริงๆ 

ถ้าเลื่อนลงไปด้านล่าง จะเจอฟีเจอร์ ‘หัวข้อและคำที่เกี่ยวข้อง’ แบบเดิม แต่แบ่งออกให้ดูทั้งคำว่า Nintendo Switch และ Playstation 5 เลย เรียกว่า ได้ไอเดียแบบสองเด้ง

ภูมิภาคย่อยจากการเรียบเทียบบน Goole Trends
ภูมิภาคย่อยจากการเรียบเทียบบน Goole Trends

วิธีใช้ Google Trends เพื่อค้นหา Topic มาแรงแบบ Real Time 

อีกเทคนิคของ Google Trends ที่เราคิดว่ามีประโยชน์มากสำหรับคนที่ยังไม่มีไอเดียจริงๆ หรือ ทำงานเกี่ยวกับ Realtime Content ที่ต้องมาไวไปไว จับกระแสอย่างสายนักข่าวมากๆ

  • กดแถบด้านซ้ายสุด > เลือก ‘การค้นหาที่มาแรง’
การค้นหาแบบ Real Time บน google trends

ตรงนี้คือหน้าผลลัพธ์ ซึ่ง Google Trends จะอัพเดตคำที่มีการค้นหามากที่สุดในวันนั้นๆ  ตัวอย่างเช่น วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2021 จะพบว่าคำที่ค้นหามากสุดในไทยมีอยู่ 4 คำด้วยกันตามในรูป 

ข้อดีก็คือเราสามารถนำคำเหล่านี้ไปสร้าง Content ที่เน้นความไว เช่น Social Media ต่างๆ พร้อมติด Hashtag เพื่อดึงดูดคนให้เข้ามาดูหรืออ่าน Content ของเรานั่นเอง 

ตาคุณแล้ว

ครบแล้วกับวิธีการใช้งาน Google Trends ที่เราสามารถนำ Keywords ไปใช้ประโยชน์ได้ตั้ง หลายทาง แถมยังเป็นเว็บไซต์ที่ใช้งานได้ง่ายมากๆ เหมาะสำหรับนักทำ Content มือใหม่ที่ยัง ต้องการไอเดียดีๆ อยู่นั่นเอง ไปลองเล่นกันได้เลย