เชื่อว่าทุกคนที่กำลังอ่านบทความนี้ของเราอยู่ อาจจะมีร้อง ‘อ๋อ’ กันบ้างกับชื่อบทความ หรืออาจจะมีบ้างที่ยังไม่รู้จักหรือยังไม่แม่นว่า SWOT คืออะไร ทำไมการทำธุรกิจไม่ว่าเล็ก กลาง ใหญ่ก็ควรที่จะทำการวิเคราะห์สิ่งนี้
บทความนี้ จะพาคุณไปรู้จักกับความหมายที่แท้จริงของการวิเคราะห์ SWOT ว่าทำไปทำไม ธุรกิจจะมีผลกระทบด้านบวกหรือลบจากการทำสิ่งนี้ รวมถึงตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT สำหรับนักธุรกิจมือใหม่ ที่สามารถทำตามได้แบบ Steps by Steps มาเริ่มกันเลย
⚙️ เครื่องมือแนะนำ
แนะนำให้รู้จักกับ UberSuggest เครื่องมือช่วยหา Keywords พร้อมช่วยวิเคราะห์ความนิยม รวมถึงความยากง่าย ในการนำ Keyword มาใช้ใน Content บนเว็บไซต์ที่ต้องการทำ Search Engine Optimization (SEO)
ยาวไป อยากเลือกอ่าน?

SWOT Analysis คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
SWOT Analysis คือ การวิเคราะห์ปัจจัย 4 อย่างของธุรกิจ คือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค โดยมีเป้าหมายให้บริษัทนำจุดแข็งไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาวะทางการตลาด แก้ไขปัญหาและลดความเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อองค์กร อันส่งผลให้สามารถทำธุรกิจต่อไปได้อย่างราบรื่น
SWOT ประกอบด้วยปัจจัย 4 อย่าง
จุดแข็ง (Strength)
จุดแข็ง (Strength) คือ ความสามารถในการสร้างสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพสูง ลูกค้าชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่โดดเด่นหรือแตกต่างจากคู่แข่ง ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นบริษัทออกแบบเว็บไซต์ จุดแข็งคือ ความสามารถออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามโดดเด่น มีประสบการณ์ออกแบบเว็บไซต์แบร์ดสินค้าระดับพรีเมี่ยมมากกว่า 10 แบรนด์
จุดอ่อน (Weakness)
จุดอ่อน คือ ทรัพยากรที่องค์กรขาดแคลน หรือ กิจกรรมทางธุรกิจที่คู่แข่งทำได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น การขาดแคลนเงินทุน หรือ การอบรมเรื่อง Service Mind ให้เจ้าหน้าที่บริการยังไม่มีประสิทธิภาพพอ ส่งผลให้คุณภาพงานบริการสู้คู่แข่งไม่ได้
💡 Shifu แนะนำ
จุดแข็งและจุดอ่อน ถือเป็นปัจจัยภายใน (Internal Factor) หมายถึง องค์กรสามารถควบคุมให้เกิดขึ้น หรือ แก้ไขจุดอ่อนให้หมดไป ได้ด้วยการบริหารจัดการขององค์กรเอง
โอกาส (Opportunities)
โอกาส คือ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลดีต่อองค์กร ตัวอย่างเช่น นโยบายลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ หรือ พฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่คุณขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
อุปสรรค (Threats)
ความเสี่ยง คือ สถานการณ์หรือภาวะที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลเสียต่อการทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ภาวะโรคระบาดทำให้คนซื้อของน้อยลง หรือ สงครามที่ทำให้อะไหล่สินค้าขาดแคลน
💡 Shifu แนะนำ
โอกาสและความเสี่ยง ถือเป็นปัจจัยภายนอก (External Factor) หมายถึง องค์กรไม่สามารถควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดได้ แต่เกิดขึ้นเองจากเหตุและปัจจัยต่างๆ
ทำไม SWOT Analysis จึงสำคัญต่อธุรกิจทุกประเภท
SWOT คือ กุญแจสำคัญในการพาบริษัทของคุณก้าวไปในอนาคตได้อย่างมีแบบแผน เพราะการที่จะเติบโตได้นั้น นอกจากจะต้องรู้จักสภาพแวดล้อมโดยรอบแล้ว การรู้จักตัวเองดีนั้นย่อมสำคัญไม่แพ้กัน หรืออาจจะคิดว่ารู้จักดีแล้ว แต่การที่ได้มาทำ SWOT ก็เท่ากับได้ทบทวนธุรกิจของคุณอีกครั้ง เพื่อปูทางใหม่เพื่อแก้ไขปัจจัยที่ควบคุมได้ พร้อมอ้าแขนรับโอกาสและหลีกเลี่ยงภัยคุกคามที่จะต้องเจอ
อีกอย่างที่ SWOT สำคัญกับธุรกิจทุกรูปแบบนั้นก็เพราะว่า เป็นการที่แทบทุกตำแหน่งในบริษัทได้มาทำ Brainstorming ร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ เพราะแน่นอนว่าแค่เจ้าของกิจการคนเดียวอาจจะรู้จักบริษัทในภาพกว้าง แต่ถ้าทุกคนทุกตำแหน่งที่รู้ลึกรู้จริงในตำแหน่งที่ตัวเองจัดการ รวมถึงมีมุมมองที่แตกต่างกันมาช่วยกันทำ SWOT ก็จะได้พ้อยที่ลึกและมิติมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ประโยชน์ของ SWOT มีอะไรบ้าง
ถึงแม้ว่าเราจะพูดถึงความสำคัญของ SWOT ที่มีต่อธุรกิจไปแล้วนั้น ก็ยังอยากจะมาขยายความต่อถึงประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากการเริ่มต้นทำการวิเคราะห์ SWOT อย่างแรกเลยก็คือการที่ทีมมานั่งประชุมทำ SWOT ไม่ต้องเสียเงินเลย เพราะว่าทุกคนมีมุมมองในธุรกิจที่หลากหลาย อาจไม่จำเป็นต้องเสียเงินพึ่งพา Consultant
นอกจากนี้ ประโยชน์ของการทำ SWOT จะยังช่วยให้คุณโฟกัสกับปัจจัยที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจของคุณเติบโตและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ได้แก่
- ได้ทบทวนและทำความเข้าใจกับธุรกิจของคุณอีกครั้ง
- จำแนกจุดอ่อนและหาทางกำจัดหรือป้องกันได้
- หลีกเลี่ยงภัยคุกคามต่อธุรกิจ
- การลงทุนในโอกาสเพื่อสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจ
- ใช้โอกาสจาก Strength ของตัวเอง
- พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อบรรลุเป้าหมาย
ข้อจำกัดของ SWOT มีอะไรบ้าง
เห็นประโยชน์กันไปแล้ว แต่ว่า… สำหรับการทำธุรกิจนั้น SWOT ไม่ใช่ทุกอย่างเสมอไป เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเส้นทางธุรกิจเท่านั้น ไม่สามารถจำแนกข้อมูลหรือปัจจัยเชิงลึกได้ มาดูกันว่าข้อจำกัดของการทำ SWOT มีอะไรอีกบ้าง
- ปัญหาที่สำคัญก่อนหลังจะไม่ได้ถูกจัดลำดับ
- ไม่ได้เสนอวิธีการแก้ปัญหาหรือตัวช่วยอะไรเลย
- อาจจะช่วยให้คุณมีไอเดียเยอะขึ้น แต่ไม่รู้ว่าอันไหนสำคัญที่สุด
- ให้ข้อมูลเยอะ แต่อาจจะเป็นแค่ในเชิงปริมาณ ไม่ใช่คุณภาพ
เห็นไหมว่าข้อดีก็มี ข้อจำกัดก็มีเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการเริ่มต้นวางแผนกลยุทธ์ด้วยการทำ SWOT เพื่อวิเคราะห์ธุรกิจ ตลาดและสถานการณ์อาจจะเป็นการเริ่มต้นจากจุดปล่อยตัวที่ดี แต่อย่าลืมว่าการทำ Research หาข้อมูล เก็บข้อมูลเชิงลึกในเรื่องอื่นๆ ระหว่างทาง อาจจะพาธุรกิจคุณเข้าเส้นชัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น (เพราะปัจจัยและสถานการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา)
ขั้นตอนการวิเคราะห์ SWOT เริ่มต้นทำยังไง
พูดกันถึงที่มา ความสำคัญ รวมถึงประโยชน์และข้อจำกัดกันไปแล้ว นักธุรกิจมือใหม่หรือคนที่กำลังมองหาวิธีการเริ่มต้นทำการวิเคราะห์ SWOT อาจจะตั้งตารอคอยหัวข้อนี้ เพราะเราจะมาอธิบายวิธีการเริ่มต้นกระบวนการทำ SWOT แบบเป็นขั้นเป็นตอน และแน่นอนว่าการทำงานเป็นทีมคือหัวใจหลักของเจ้าตัววิเคราะห์ธุรกิจอันนี้
- รวบรวมคนในแต่ละตำแหน่ง
เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดก่อนการเก็บตกไอเดียก็คือ การสรรหาคนที่เหมาะสมที่สุดจากทุกตำแหน่งในบริษัทหรือจากทุกทีมมาร่วมประชุม เพราะอย่างที่พูดไปว่าไม่มีใครที่จะมีมุมมองต่อธุรกิจในรูปแบบเดียวกัน ดังนั้นการรวบรวมคนที่มีความรู้เชิงลึกในด้านนั้นย่อมสามารถจำแนกไอเดียจากมุมมองที่เขาถนัด ดังนั้นประสบการณ์และความรู้ในแต่ละตำแหน่งคือข้อได้เปรียบในการทำ SWOT นั่นเอง
- รวบรวมไอเดียออกมา
ขั้นตอนนี้คล้ายคลึงกับการเรียกประชุมหรือทำ Brainstorming Session มาก โดยที่วิธีการเก็บไอเดียของแต่ละคนก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบริษัท แต่อยากแนะนำว่าควรให้ทุกคนลิสต์ไอเดียออกมาแล้วเขียนหรือแปะไว้ในที่ที่ทุกคนมองเห็นได้ เผื่อว่าจะมีใครสามารถต่อยอดไอเดียนั้นๆ เพิ่มได้อีก
- เรียงลำดับไอเดียทั้งหมด
หลังจากรวบรวมไอเดียครบหมดแล้วนั้น ก็ถึงเวลาให้คะแนนว่าไอเดียไหนมีคนเห็นด้วยที่จะเอาไปเขียน SWOT มากที่สุด โดยที่ทุกคนควรจะมีสิทธิโหวตและหลังจาก Finalize ไอเดียแล้วก็ควรจะมีคนสรุปไอเดียในแต่ละปัจจัยทั้งหมดเพื่อเอาไปวางกลยุทธ์ต่อไป
แต่ว่าเราจะตั้งคำถามเพื่อสร้างไอเดียในแต่ละปัจจัยยังไงดีนะ? มาดูไอเดียตั้งคำถามกันเลย

ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT ขององค์กร
Strength
เริ่มจากตัวแรกจุดแข็งที่เป็นปัจจัย Internal ที่เราควบคุมได้ ควรจะเริ่มต้นด้วยคำถามประมาณว่า
- บริษัทของเรามีทรัพยากรทางกายภาพอะไรบ้าง? ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ หรือแม้แต่ทุนเองก็ตาม
- บริษัทเรามีทรัพยากรอะไรภายในทีมบ้าง? ความสามารถหรือสกิลที่จำเป็น การศึกษา ความรู้และประสบการณ์ หรือแม้แต่ความกว้างขวางในแวดวงสังคม
- กระบวนการดำเนินงานตัวไหนของบริษัท (ที่เคยทำมา) สำเร็จผล? เป็นต้น
- จุดแข็งที่เอาชนะคู่แข่งได้
ตัวอย่าง สมมติว่าบริษัทของคุณคือบริการ Delivery เจ้าหนึ่งในประเทศไทยที่นับว่าเป็นแบรนด์บุกเบิกเลยก็ว่าได้ โดยที่ลูกค้าสามารถใช้งานผ่าน Application มือถือได้แถมมีบริการอื่นๆ แตกหน่อขยายไลน์บริการออกมาเยอะแยะมากมาย โดยที่คุณจะต้องคิด Strength ของธุรกิจคุณขึ้นมา ได้แก่
- ภาพจำของแบรนด์แข็งแกร่งมาก เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
- เป็นการบริการแบบ One Stop Service ที่ครบ จบ ในแอปเดียว
- การให้บริการค่อนข้างรวดเร็ว (ภายในระยะเวลาเฉลี่ย 20 นาที)
- มีบริการขนส่งผู้โดยสารที่หลากหลาย เช่น รถยนต์ และมอเตอร์ไซต์พร้อมคำนวนระยะทางออกมาเสร็จสรรพ
- ค่าบริการถูก และมีโปรโมชั่นส่วนลดหรือส่งฟรีทุกเดือน
- มีบริการเพิ่มเข้ามาสำหรับการซื้อของสดตาม Supermarket ช่วยเหลือด้านความสะดวกสบาย
Weakness
อีกหนึ่ง Internal Factor ที่ไม่ค่อยมีใครอยากพูดถึงเพราะดูเป็นสิ่งที่ค่อนข้างลบ แต่จริงๆ การที่คุณรู้ข้อเสียของธุรกิจมากและละเอียดเท่าไหร่ คุณจะยิ่งสามารถอุดช่องโหว่ได้มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นตัวอย่างคำถามที่ควรถามก็คือ
- มีอะไรที่บริษัทหรือธุรกิจคุณต้องทำเพิ่มเพื่อให้สู้กับตลาดไหม?
- กระบวนการดำเนินงานตัวไหนของบริษัท (ที่เคยทำมา) ต้องการแก้ไข?
- มีทรัพยการในทีมหรือทรัพยากรทางกายภาพที่ขาดแคลนไหม?
- ปัญหาที่แต่ละทีมเจอมีไหม?
ตัวอย่าง จุดอ่อนของธุรกิจ Delivery ของคุณที่กำลังเผชิญอยู่
- ค่าโฆษณามหาโหดเพื่อแลกมากับ Brand Recognition ทั้งแบบ Online และ Offline
- ค่าคอมมิชชั่นของ Driver ที่อาจจะน้อยกว่ามาตรฐานตลาด
- จำนวนร้านค้าแบบ Local ที่เป็นพาร์ทเนอร์อาจจะไม่เยอะเท่ากับความต้องการของ User
- โปรโมชั่นส่วนลดที่ไม่เพียงพอต่อผู้ใช้งาน (Limited Use)
- Driver ส่วนใหญ่อยู่ไม่นาน ทำเพียงแค่ชั่วคราว
Opportunities
มาถึง ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT ที่เป็นปัจจัยแบบ External ตัวแรก นั่นคือ โอกาส ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนธุรกิจและควรต่อยอดให้เติบโต คำถามที่ควรตั้งเวลาคิดปัจจัยตัวนี้ มีดังนั้น
- ธุรกิจแบบนี้กำลังเป็นกระแสหรือเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่?
- จะมีเทรนหรืออีเวนต์อะไรที่ธุรกิจเราสามารถจับตลาดได้อีกไหม?
- จะมีกฎระเบียบอะไรที่จะส่งผลด้านดีต่อบริษัทอีกหรือเปล่า?
- ลูกค้าจะคิดถึงแบรนด์คุณเป็นอันดับแรกไหม?
ตัวอย่าง โอกาสสำหรับธุรกิจ Delivery ของคุณ ที่สามารถนำไปต่อยอดได้
- ความต้องการของลูกค้ามากขึ้นในช่วงเวลา Lockdown เรามี Driver ที่พร้อมทำหน้าที่
- ความต้องการของบริการในส่วนพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น เรากำลังขยายบริการไปในจังหวัดใหญ่ๆ ในประเทศ
- ราคาของ Taxi หรือมอเจอไซต์รับจ้างมีราคาค่อนข้างสูง แถมไม่มีส่วนลดและไม่ค่อยปลอดภัย แต่เรามีบริการที่สามารถบันทึก Map พร้อมข้อมูลของคนขับอย่างละเอียด
- โลกแบบไร้พรมแดนทำให้เรามีการให้บริการบน Application ที่พร้อมให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงด้วยความรวดเร็ว สร้าง User Experience ที่ดีกับลูกค้าทาง Online ของเรา
Threats
ปัจจัยตัวสุดท้ายที่เป็นภัยคุกคามที่เราไม่สามารถควบคุมให้ไม่เกิดขึ้น แต่สามารถหลีกเลี่ยงได้ถ้ารู้จักการมองสถานการณ์และตั้งคำถามกับสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น
- ธุรกิจคุณมีคู่แข่งมากน้อยขนาดไหนในตลาด?
- การพัฒนาด้านต่างๆ ของโลก เช่น เทคโนโลยี จะส่งผลอะไรกับธุรกิจไหม?
- พฤติกรรมของลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงไปและส่งผลลบต่อธุรกิจมากน้อยแค่ไหน?
- เหล่า Supplier จะเปลี่ยนกฏกติกาหรือขึ้นราคาทรัพยการมากน้อยเพียงใด?
- พิษเศรษฐกิจหรือผลกระทบจากปัจจัยระดับประเทศจะเกิดขึ้นอีกไหม?
ตัวอย่าง ภัยคุกคามต่อธุรกิจ Delivery ของคุณในยุคสมัยปัจจุบัน
- ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้บริษัทคู่แข่งอื่นๆ สร้าง Application ที่ดีออกมาได้เช่นกัน
- บริษัทคู่แข่งอาจมีการสร้าง Contact กับร้านค้าในราคาที่ถูกกว่า และอาจจะมีโปรโมชั่นบ่อย
- Driver อาจไปร่วมงานหรือรับงานเพิ่มกับบริษัทอื่นที่ให้ข้อสัญญาที่น่าสนใจมากกว่า
- ถ้าเกิดปัญหาระดับประเทศที่ไม่สามารถใช้งานท้องถนนได้ อัตราการอยู่รอดของธุรกิจจะมีเยอะหรือน้อยขนาดไหน
สรุป
การวิเคราะห์ SWOT เป็นอีกกระบวนการทำวางแผนกลยุทธ์ใหม่หรือต่อยอดจากเดิมให้ดีขึ้น ส่งผลในทางบวกต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าการทำเพียงแค่ SWOT จะสามารถแก้ไขทุกปัญหาทั้งภายในและภายนอกได้ อย่าลืมว่าการทำธุรกิจคือการวิ่งมาราธอน ดังนั้นระหว่างทางคุณจำเป็นต้องศึกษาและเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อพาทีมเข้าถึงเส้นชัยแบบที่บาดเจ็บน้อยที่สุด รวมไปถึงการมั่นสังเกตุสภาพแวดล้อมและสถานการณ์โดยรอบย่อมส่งผลดีต่อการวางกลยุทธ์ธุรกิจของคุณแน่นอน
📖 คอร์สเรียนแนะนำ
ลองคิดดูว่าการทำธุรกิจของคุณจะดีขึ้นขนาดไหน ถ้าคุณเข้าใจ “กลยุทธ์ Digital Marketing” กับคอร์ส Digital Marketing Strategy คอร์สเรียนออนไลน์เรียนรู้กลยุทธ์การทำ Digital Marketing ให้ถึงแก่น เลือกทำในสิ่งที่สร้างผลลัพธ์เพื่อที่จะทำให้การทำการตลาดเติบโตอย่างก้าวกระโดด