ในการทำโฆษณา Facebook นั้น ต่างคนต่างก็มีเป้าหมายที่ต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการสร้าง Brand Awareness เพื่อรวบรวม lead หรือ เพื่อปิดการขาย ซึ่งแน่นอนว่า Metrics หรือการวัดผลลัพธ์สำหรับแต่ละเป้าหมายย่อมต่างกันไป

เช่น บางธุรกิจต้องการวัดจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ บางธุรกิจต้องการวัดจำนวน Engagement บางธุรกิจต้องการวัดจำนวนคนสมัคร บางธุรกิจต้องการวัดยอดขายออนไลน์ หรือ บางธุรกิจต้องการเพิ่มยอดขายที่หน้าร้าน ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปตามธุรกิจและโครงสร้างรายได้

อย่างไรก็ตาม การวัดผล Conversion สำหรับแต่ละธุรกิจและแต่ละเป้าหมายนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนและละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้ง Pixel หรือ การปรับแต่งอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น เรื่อง Conversion จะขอยกไปไว้ในบทความถัด ๆ ไปนะครับ 

ส่วน Metrics ที่จะยกมาในครั้งนี้ เพื่อให้ครอบคลุมหลาย ๆ ธุรกิจ จะเป็น Metrics ที่จะช่วยให้คุณมองเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ว่าโฆษณาของคุณมีประสิทธิภาพหรือไม่ ค่าใช้จ่ายคุ้มค่าหรือเปล่า โดยไม่ว่าคุณจะมีเว็บไซต์หรือมีเฉพาะเพจ ก็สามารถนำไปปรับใช้คู่กับ Conversion ได้ครับ

Metrics ที่นักการตลาดออนไลน์ควรรู้ (และวิธีแก้ปัญหา)

1. Frequency

Frequency คือ ความถี่หรือจำนวนครั้งที่คน ๆ หนึ่งจะเห็นโฆษณาของเรา หรือ พูดง่าย ๆ ก็คือ คนเห็นโฆษณาของเรา “บ่อย” แค่ไหนนั่นเอง
โดยสูตรของ Frequency ก็คือ Impression (จำนวนครั้ง) หารด้วย Reach (จำนวนคน)

จะดูคะแนน Frequency ได้ตรงไหน

ก่อนอื่นเข้าไปดูที่ Ad Sets ครับ

Facebook Frequency

แล้วกดตรงปุ่ม Column ทางด้านขวา เลือก Customize Column ครับ

Facebook Customize Column

พิมพ์คำว่า Frequency ครับ แต่ใครที่แอบขี้เกียจ จะพิมพ์แค่นี้แบบผมก็ได้นะครับ 555

วิธีวิเคราะห์ Facebook Ad เบื้องต้นด้วย Customize Column

Shifu แนะนำ
แล้ว Frequency ยิ่งมากหรือยิ่งน้อยดี?

ไม่มีคำตอบที่ตายตัวออกมาเป็นสูตรสำเร็จครับ แน่นอนว่ายิ่งเห็นบ่อย คนก็จะยิ่งจำเราได้ แต่หากมากเกินไปก็อาจทำให้คนรำคาญได้เหมือนกัน นอกจากนี้ ยิ่งคนเห็นโฆษณาเราซ้ำ ๆ แล้วไม่เกิด action อะไรเลย เช่น ไม่มี engagement หรือ ไม่กด click ก็จะทำให้ค่าโฆษณาของเรา หรือ cpc แพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน

เราจะกำหนด Frequency ได้ยังไง?

1.  ตั้ง Objective แบบ Reach หรือ Brand Awareness
ในตอนนี้ Facebook ได้มีออกโฆษณาโดยให้เป้าหมายหรือ Objective เป็น Reach แล้วครับ แต่สำหรับคนที่ไม่มี Reach ให้เลือก ก็สามารถใช้ Brand Awareness ได้ครับ

 

Facebook Reach Objective

 

ซึ่งเราสามารถกำหนดได้ว่าภายในกี่วัน คน ๆ เดิมจะไม่เห็นโฆษณาเราครั้งที่สอง เช่น หากกำหนดไว้ที่ 3 วัน คนที่เห็นวันที่ 1 จะ “มีโอกาส” ได้เห็นโฆษณาของเราอีกครั้ง วันที่ 4 ขึ้นไปครับ

โดยเข้าไปปรับตรงที่ Optimization for Ad Delivery กับ Frequency Cap ครับ

 

Facebook Optimization for Ad Delivery

 

วิธีนี้จะเหมาะกับการที่เราต้องการให้โฆษณาของเรา “เข้าถึง” คนให้มากที่สุด แต่ไม่ “บ่อย” จนเกินไป ซึ่งสามารถใช้ในการทำ Brand Awareness ได้ แต่อาจไม่เหมาะกับการปิดการขายโดยตรงหรือสร้าง Engagement เท่าไหร่ครับ เพราะ Facebook จะเน้นให้ “จำนวนคนเห็น” มากที่สุด โดยไม่มีการเจาะกลุ่มเป้าหมายให้เกิด Conversion หรือ Engagment ให้เราครับ

2. แบ่งกลุ่มเป้าหมายใน Ad Set ให้ละเอียด แล้วกำหนดงบให้พอดีกับกลุ่มเป้าหมาย

การกำหนดกลุ่มเป้าหมายใน Facebook นั้น จะทำในระดับ Ad Set ดังนั้น การที่เราจะแบ่งกลุ่มเป้าหมายให้ละเอียด ก็ต้องตั้งใน Ad Set เช่นกัน โดยอาจแบ่งตามกลุ่มอายุ เพศ ที่อยู่ ความสนใจ อุปกรณ์ และอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้ก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงเข้าไปดูในแต่ละ Ad Set ว่าสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหน

หากกลุ่มเป้าหมายมีแค่ 14,000 และเราต้องการให้คนเห็นโฆษณาเรา 7 วัน เราควรกำหนดงบให้ Reach ไม่เกิน 2,000 ต่อวัน เพื่อให้คนไม่เห็นโฆษณาเราซ้ำจนเกินไป ซึ่งการทำวิธีนี้จะขอกล่าวในบทความถัดไปนะครับ

3.  ทำ custom audience กรองคนที่ convert แล้วออกไป

หากเรายิงโฆษณา “เดิม” ไปหาคนที่ซื้อของกับเราแล้ว คลิกเข้ามาเว็บไซต์ของเราแล้ว หรือ Engage กับเราแล้ว ก็คงจะไม่ช่วยให้เกิดผลลัพธ์อะไรเพิ่มเติมนัก นอกจากจะเสียเงินเปล่าแล้ว อาจทำให้พวกเขารำคาญใจได้อีกด้วย

ซึ่งเราสามารถทำการ “กรอง” คนเหล่านี้ออก เพื่อไม่ให้โฆษณาของเราไปรบกวนพวกเขาได้ โดยการใช้ custom audience นั่นเอง อ่านวิธีทำ custom audience ได้ที่นี่ เพื่อสร้าง audience ที่เคยคลิก, engage, convert แล้ว และนำไปกรองออกโดยการ exclude ใน Ad Set อีกทีนั่นเอง

2. Relevant Score

Relevant Score คือ คะแนนที่ ​Facebook ใช้ทำการคำนวน เพื่อดูว่าโฆษณาของเรา มีเนื้อหาตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ โดยมีคะแนนตั้งแต่ 1-10 ซึ่งจะมีผลกับผลลัพธ์การโฆษณา และ ค่าใช้จ่ายของเราโดยตรงครับ หาก Facebook ให้ Relevant Score กับโฆษณาของเราเยอะ อาจหมายความได้ว่า กลุ่มเป้าหมายชื่นชอบโฆษณาของเรามาก และยังส่งผลให้ค่าโฆษณาหรือ CPC ของเราลดลงอีกด้วย

จะดูคะแนน Relevant Score ได้ตรงไหน

คะแนนนี้ จะอยู่ในระดับ Ad ของ Facebook ครับ เพราะทั้งแคปชั่น รูปภาพ และ เนื้อหาต่าง ๆ จะตั้งค่าในระดับ Ad นั่นเอง

Facebook Ads Setting

แล้วกดตรงปุ่ม Column ทางด้านขวา เลือก Customize Column ครับ

Facebook Customize Column

จากนั้นพิมพ์คำว่า Relevant Score แล้วกดเลือก

 

วิเคราะห์ Facebook Ad เบื้องต้น - วิธีดู Relevant Score

 

จะปรับปรุงคะแนน Relevant Score ได้อย่างไร

เนื่องจาก Relevant Score เกิดจากการที่กลุ่มเป้าหมายชอบโฆษณาของเรา นั่นหมายความว่า เราต้องทำโฆษณาที่ถูกต้องแล้วส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง

ดังนั้น สิ่งที่เราปรับปรุงได้ก็คือ กลุ่มเป้าหมาย และ ตัวโฆษณา นั่นเอง โดยกลุ่มเป้าหมาย เราอาจแบ่งตามเพศ อายุ ที่อยู่ และอื่น ๆ ส่วนตัวโฆษณา เราอาจปรับปรุงที่รูปที่ใช้ แคปชั่น landing page หรือ offer ต่าง ๆ

Relevant score ยิ่งสูงยิ่งดี?

จริงอยู่ที่ว่า relevant score ยิ่งสูง แปลว่ากลุ่มเป้าหมายยิ่งสนใจ แต่ไม่ได้แปลว่า พวกเขาจะ “ซื้อ” หรือ “สมัคร” ใช้สินค้าและบริการของเรา เพราะบางครั้ง โฆษณาที่ได้ Relevant Score ต่ำ อาจมียอด Conversion คือ คนสมัครหรือคนซื้อสินค้าเยอะกว่า ซึ่งนั่นย่อมดีกว่าการที่ได้เพียงแต่ Relevant Score สูงแน่นอน

หมายเหตุ: แต่การจะรู้ได้ว่าคนซื้อสินค้าเราจากโฆษณาไหนนั้น ควรเป็นสินค้าที่คนซื้อตรงผ่านเว็บไซต์ และต้องมีการติด Facebook Pixel เพื่อวัด Conversion ด้วยเช่นกัน หากไม่มีเว็บไซต์หรือเน้น Awareness แล้ว Relevant Score ก็ถือเป็นตัววัดที่ใช้ได้ดีทีเดียวครับ

3. CTR (Click-through rate)

อ่านมาถึงตรงนี้ หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่า ทำไมคนเขียนถึงยกตัวอย่าง Metric ง่าย ๆ อย่าง CTR หรือ อัตราคนคลิก (ต่อจำนวนคนเห็นทั้งหมด) มาให้ดูหลังจากอธิบาย Frequency และ Relevant Score ไปแล้ว ก็เพราะ CTR ส่งผลตรงต่อ Frequency และ Relevant Score นั่นเอง หากคนสนใจโฆษณาเราเยอะ ก็มักจะมีการคลิกเยอะ และส่งผลให้ Metrics อีกสองตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

CPC-CTR-Relevance-Score

รูปนี้จาก Adespresso แสดงให้เห็นว่ายิ่ง CTR (Click-Through Rate) มีสูง Relevance Score ก็จะมีสูงด้วย และ CPC ก็จะต่ำด้วยเช่นกัน ซึ่งหมายความว่า ยิ่งมีคนคลิกเข้าไปดูมากเท่าไหร่ Facebook ก็จะยิ่งให้คะแนนและแสดง Ad ของเรามากขึ้น และทำให้ค่าใช้จ่ายเราถูกลงตามไปด้วยครับ

หาก CTR ต่ำ หรือ ลดลงเรื่อย ๆ ประกอบกับ Frequency ที่สูง หรือ Relevant Score ที่ต่ำ และไม่เกิดผลลัพธ์อื่น ๆ เลย อาจเป็นสัญญาณให้เราปรับปรุง หรือ ปิด โฆษณานั้น ๆ และเปลี่ยนไปโฟกัสที่ โฆษณาที่ให้ผลลัพธ์ดีแทนจะดีกว่า

ส่วนวิธีดู CTR ให้กดตามแบบเดียวกับ Frequency, Relevant Score เลยครับ

CTR Setting

ให้เลือก CTR (Link) ครับ เพราะเราต้องการรู้จำนวน “คลิก” ที่กดเข้าไปดูเว็บไซต์ของเรา ส่วน Unique CTR (Link) จะเป็นจำนวน “คน” ที่กดเข้าไปดูเว็บไซต์ของเราครับ (หนึ่งคนกดได้มากกว่าหนึ่งคลิก)

ส่วน All นั้น จะรวมทั้งคลิกไปเว็บไซค์ กดไลค์ กดคอมเม้นต์ และอื่น ๆ “รวมกัน” ซึ่งส่วนตัวผมเห็นว่าตัวเลขของ All ยังบอกอะไรได้ไม่ชัดเจนมาก เลยขอแนะนำให้ดูแค่ Link แทนครับ

CTR ควรมีค่าเท่าไหร่ดี?

จริง ๆ แล้ว CTR ไม่มีค่าที่ตายตัวครับ ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและธุรกิจของคุณ ประกอบกับดีไซน์และกลุ่มเป้าหมายของคุณด้วย หากเป็น CTR แบบ Link Click แล้ว โดยค่าเฉลี่ยแล้ว CTR จะอยู่ประมาณ 0.9% ครับ ส่วนค่าเฉลี่ยรายอุตสาหกรรมนั้น อาจลองดูได้ตามนี้ครับ

Facebook CTR Metric Result

 

อย่างไรก็ตาม ใน Chart นี้ เป็นค่าเฉลี่ยของสหรัฐนะครับ ส่วนของในไทยอาจจะมีแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยรวมจากการทดสอบที่ผมเคยทำมา หากเป็นหน้าเพจขายของเลย ก็จะอยู่ที่ประมาณ 1-2% กว่า ๆ ครับ  (แต่ถ้าใครทำได้ดีกว่านี้ มาช่วยแชร์กันด้วยนะครับ ฮ่าๆ) (และหากเป็นบทความค่าเฉลี่ยจะสูงกว่าปกติในช่วงแรก ๆ ครับ)

4. CPC (Cost per Click)

สำหรับ Cost per Click หรือ ค่าใช้จ่ายต่อคลิกนั้น ไม่ได้ส่งผลต่อ Frequency และ Relevant Score แต่เป็น “ผลลัพธ์” ที่เกิดจากทั้งสอง Metrics นั่นเอง การที CPC ที่สูงขึ้นนั้น ก็อาจเป็นสัญญาณที่ทำให้เราต้องไปดู CTR, Frequency และ Relevant Score เพื่อปรับโฆษณาและคุมค่าใช้จ่ายของเราไปด้วยนั่นเอง

ส่วนวิธีดู CPC ให้กดตามแบบเดียวกับ Frequency, Relevant Score เลยครับ และ CPC ก็มีแบ่งตาม All, Link ด้วย ซึ่งขอแนะนำให้เลือก Link เช่นเดียวกันกับ CTR ครับ

CPC Setting

CPC ควรมีค่าเท่าไหร่ดี?

เช่นเดียวกับ CTR ครับ ไม่มีค่าที่ตายตัวเช่นกัน แต่อาจเปรียบเทียบโดยรวมกับ Ad ตัวอื่น ๆ ของเราว่า CPC สูงกว่าหรือไม่ หรือ CPC ปัจจุบันสูงกว่าของวันก่อน ๆ หรือไม่ ครับ ส่วนค่าเฉลี่ย สามารถดูได้ใน Report ของ Adespresso ครับ (เช่นเดียวกับ CTR ครับ Report นี้เป็นข้อมูลของต่างประเทศ ในไทยอาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้างครับ)

ต่อไปก็จะเป็นเทคนิคง่าย ๆ ในการวิเคราะห์โฆษณา Facebook ที่บางคนอาจมองข้ามไปนะครับ

เทคนิคการวิเคราะห์ด้วย Breakdown

เทคนิคที่ผมมักใช้ดูประกอบผลลัพธ์ไปด้วยก็คือ การใช้ Breakdown นั่นเอง โดย Breakdown คือการดูแบบละเอียดว่า คนที่เรายิง Ad ไปหานั้น มีเพศอะไร อายุเท่าไหร่ อยู่จังหวัดไหน ใช้ Device อะไร เห็น Ad เราเวลาไหน โดยสามารถกดดูได้ตรงนี้ครับ

ตั้งค่าเทคนิค Breakdown

 

ส่วน Breakdown ที่ผมชอบใช้ หลัก ๆ จะมีสองอย่าง คือ

1. Breakdown by Region (กดดูตรง By Delivery)

โดยสำหรับประเทศไทยนั้น จะเป็นการแบ่งตาม “จังหวัด” ครับ ซึ่งสำหรับบางธุรกิจที่มีการขายของทั่วประเทศ แต่ในการตั้ง Ad set และตั้งงบสำหรับทั้ง 76 จังหวัด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากพอควร ดังนั้น เวลาผลตั้ง Ad set ผมจึงมักแบ่ง location เป็นสองแบบ ก็คือ กรุงเทพ และ นอกกรุงเทพ เพื่อดูว่าผลลัพธ์ที่เราต้องการ มาจากคนในจังหวัดไหนกันบ้าง ซึ่งบางครั้งผลลัพธ์อาจทำให้คุณประหลาดใจก็เป็นได้ หากผลลัพธ์มาจากจังหวัดที่คุณคาดไม่ถึง

2. Breakdown by Day (กดดูตรง By Day)

เป็นการแบ่งรายละเอียดว่า ในแต่ละวัน โฆษณาของเราแต่ละตัวมีผลลัพธ์เป็นยังไงบ้าง บางโฆษณาอาจมีผลลัพธ์เข้ามาเรื่อย ๆ แต่บางโฆษณาอาจได้ผลแค่ในวันแรก ๆ และหายไปหลังจากลงไปได้ซักพัก โดยมากแล้วผมมักใช้เกณฑ์ว่า หากโฆษณาไม่มีผลให้เราเลยสามวันขึ้นไป ผมจะปิดโฆษณาตัวนั้นครับ

ข้อจำกัดของ Breakdown

บางคนอาจสงสัยว่า เราสามารถ Breakdown สองอย่างพร้อมกันได้หรือไม่ เช่น ต้องการหาว่าคนจังหวัดไหน ดู Ad คุณด้วย Device อะไร อันนี้จะทำไม่ได้นะครับ ต้องไปแยกเอาในกลุ่มโฆษณา หรือ Ad set เอาเองนะครับ

สรุป

และนี่ก็เป็น Metrics และเทคนิคในการวิเคราะห์โฆษณา Facebook ที่ผมได้ลองศึกษามาครับซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ คนที่ทำการตลาดโดยใช้ Facebook Ad อยู่นะครับ 

เทคนิคส่วนตัวที่ผมใช้ คือ หลังจากยิง Ad ไปได้ 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง ผมจะดู Relevant Score กับ Frequency ก่อน เพื่อโยก Budget ไปยัง Ad ที่ผลลัพธ์ดี แล้วหลังจากสามถึงห้าวัน ให้วัดผลอีกที โดยจะดู CTR, CPC และ Breakdown เพิ่มเติมประกอบไปด้วย ว่าเรายังควรเปิด Ad ต่อไปหรือควรปิด และสร้าง Ad ใหม่ครับ

New call-to-action

ตาคุณแล้ว

หากลองนำไปใช้แล้วเป็นอย่างไรกันบ้าง อย่าลืมนำผลที่ได้มาแชร์กันด้วยนะครับ หรือถ้าใครมีเทคนิคดี ๆ ในการทำโฆษณา Facebook เพิ่มเติม ก็มาช่วยแบ่งกันกันด้วยนะครับ 🙂