ใครที่ใช้เว็บบราวเซอร์อย่างเช่น Google Chrome และ Firefox อาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่า มันมีส่วนเสริมดีๆ และฟรีด้วยนะ ซึ่งเรียกว่า Extension ใน Chrome และ  Addon ใน Firefox

หนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจก็คือส่วนเสริมที่ชื่อว่า Keywords Everywhere เป็น Keyword Research Tool ที่อยากแนะนำเพื่อนๆ ลองใช้ดู นอกจากตัวช่วยนี้จะไม่เสียเงินแล้วยังช่วยให้คุณค้นหา keywords เด่นๆ และมาแรง ที่ช่วยเสริม SEO ในงานเขียนมืออาชีพของคุณให้เป็นที่สนใจของนาย Google ซะด้วย

ความสามารถของ Keywords Everywhere

Keywords Everywhere เป็น add on ของเบราเซอร์ที่มีฟังก์ชันการทำงานที่น่าสนใจที่เราอยากแนะนำ เพราะนอกจากจะใช้ง่ายและให้ผลลัพธ์ที่ช่วยวิเคราะห์ keywords เด่นๆ ในแต่ละเดือนแล้วยังสามารถพิมพ์, ส่งออกในรูปแบบรายงานทั้ง Excel หรือ PDF ด้วย

Keywords Everywhere สามารถแสดงปริมาณการค้นหาราคาต่อหนึ่งคลิกและข้อมูลการแข่งขันสำหรับรายการคำหลักของคุณ คุณสามารถคัดลอกคำหลักได้โดยตรงจาก Excel หรือเลือกชุดคำในเว็บไซต์ใดก็ได้ แล้วนำมาประมวลหาค่าใน Bulk upload

คุณสามารถดูปริมาณการค้นหาคำค้นหาต้นทุนต่อคลิกและข้อมูลการแข่งขันในเว็บไซต์จำนวนมากเช่น Google Analytics, Google Webmaster Tools (ปัจจุบันเรียกว่า Search Console), Ubersuggest, Majestic และ Moz Open Site Explorer เป็นต้น

ข้อเสียของ Keywords Everywhere

//แก้ไขเพิ่มเติมโดยทีมงาน

**สำหรับปลั๊กอินตัวนี้ แม้ว่าจะน่าสนใจ แต่ยังไม่รองรับการค้นคว้า Keyword ภาษาไทยค่ะ ทั้งนี้ทางผู้เขียนเป็นผู้มีประสบการณ์ในการเขียนงานต่างประเทศ จึงเลือกหยิบปลั๊กอินตัวนี้มาแนะนำ ขออภัยในความไม่สะดวกสำหรับคนที่สนใจเน้นภาษาไทยนะคะ

แต่ถ้าหากคุณสนใจวิธีการทำงานของมัน สามารถติดตามต่อได้เลยค่ะ

ข้อดีของ Keywords Everywhere ที่ควรรู้

  1. อันดับแรกเลย คือ ฟรี!
  2. คุณสามารถ Install บน Browser ได้ทั้ง Chrome และ Firefox
  3. ที่เจ๋งที่สุดของ Extension ตัวนี้คือ มันจะแสดงการประมวลผล google keyword search volume, cost per click, และข้อมูลของคู่แข่งจากหลากหลายเว็บไซด์ นอกจากนี้มันยังอนุญาตให้คุณค้นหาด้วย long-tail phrases และให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำไม่ว่าจะเป็น search volume, CPC, หรือข้อมูลคู่แข่ง
  4. คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่างเครื่องมือค้นหา keyword กับ Google Keyword Planner ให้ปวดหมองอีกต่อไป
  5. Keyword Planner ช่วยคุณค้นหา keyword ที่ตรงกับสิ่งที่ผู้ชมของคุณค้นหา
  6. ช่วยคุณประหยัดเวลาในการค้นหาและเปรียบเทียบ keyword ที่ต้องใช้หลายช่องทาง
  7. คุณสามารถผนวกข้อมูล search volume, CPC และข้อมูลคู่แข่งลงใน interface ของเครื่องมือค้นหา keyword ที่คุณชื่นชอบได้
  8. คุณสามารถดูข้อมูล search volume ได้แบบ real time ในขณะที่คุณใช้ Google search, Soolve, Ubersuggest, Google analytics และโปรแกรมอื่นๆ
  9. คุณยังสามารถเข้าถึง keyword metrics สำหรับรายการคำหลักใดก็ได้
  10. สามารถดาวน์โหลดรายการ keyword ที่ค้นหาได้ในรูปแบบไฟล์ Excel, CSV หรือ PDF
  11. สามารถสั่งพิมพ์รายงานได้

 

ปริมาณการค้นหา, CPC และการแข่งขันหมายความว่าอย่างไร

ปริมาณการค้นหา (Search Volume): เป็นจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่คนค้นหาคำหลักและรูปแบบที่ใกล้เคียงทุกเดือน นี่คือค่าเฉลี่ยของการค้นหาคำหลักทั้งหมดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

CPC: ต้นทุนต่อคลิก (CPC): คือจำนวนเงินที่ผู้ลงโฆษณาจ่ายสำหรับการคลิกครั้งเดียวสำหรับคำหลักนี้ใน Google Adwords

การแข่งขัน (Competition): การแข่งขันเป็นมาตรวัดจำนวนผู้ลงโฆษณาที่กำลังแสดงโฆษณาใน Google AdWords สำหรับคำหลักเฉพาะนี้ จำนวนนี้มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 โดยมีค่าต่ำกว่าซึ่งหมายถึงจำนวนผู้ลงโฆษณาน้อยลงและมีค่าสูงขึ้นซึ่งหมายถึงผู้ลงโฆษณามากขึ้น

เว็บไซต์ที่ Keywords Everywhere ซัพพอร์ตปัจจุบัน

  1. Google.com – คุณจะเห็นข้อมูลที่แสดงไว้ภายใต้แถบค้นหา นั่นหละคือตัวเลขที่คุณต้องการ ซึ่งจะมีทั้ง Search Volume Data, CPC และ Competition
  2. Google Search Console – ข้อมูลจะแสดงในหน้า Search Analytics
  3. Google Analytics – ข้อมูลจะแสดงใน Organic and Search Engine Optimization -> Queries pages
  4. Google Trends – ข้อมูลจะแสดงใน Queries widget
  5. Google Search – ข้อมูลจะแสดงใต้แถบค้นหาหลัก รวมทั้งแสดงข้อมูลการค้นหาที่เกี่ยวข้องด้วย
  6. UberSuggest – ข้อมูลจะแสดงควบคู่ไปกับคำแนะนำ keyword ที่น่าสนใจ
  7. AnswerThePublic.com – ข้อมูลที่แสดงในป๊อปอัปในแต่ละวงล้อจะพูดถึงข้อมูลที่แสดงในรายการตามตัวอักษร
  8. Soovle.com – ข้อมูลแสดงถัดจากแต่ละ keyword ไปตลอดทั้งหน้า
  9. KeywordShitter.com – ข้อมูลแสดงใต้พื้นที่ข้อความหลักถัดจาก keywords
  10. Majestic – แสดงรายงานข้อความแต่ละส่วน
  11. Moz Open Site Explorer – แสดงรายงานข้อความแต่ละส่วน

Bulk Upload ช่วยประหยัดเวลาในการประมวลผลลัพธ์

คุณสามารถอัพโหลด keywords ได้สูงสุดถึง 10,000 คำต่อครั้ง หากคุณมีมากกว่า 10,000 คำก็เพียงแค่อัพโหลดทีละล็อตจนครบตามที่ต้องการ ช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายและสะดวกขึ้นมากเลยค่ะ

 

เอาล่ะ…แล้วจะต้องเริ่มยังไงดี? คำถามนี้มีคำตอบแน่นอน ตามไปอ่านขั้นตอนการใช้ต่อเลยค่ะ

วิธีค้นหา keywords เจ๋งๆ และติดเทรนด์ด้วย Keywords Everywhere

ไปดูวิธีการติดตั้งตัวช่วยนี้ก่อนเลย (ในที่นี้จะพูดถึงการติดตั้งใน Google Chrome เท่านั้นนะคะ สำหรับ Firefox ก็คล้ายๆ กันค่ะ)

1.เริ่มต้นให้ไปที่ Google Chrome > More Tools > Extension แล้ว Search หา Keyword Everywhere ได้จาก Web Store เลยค่ะ จากนั้นก็คลิก  “+Add to Chrome”

2. ป๊อปอัพของ Keyword Everywhere จะขึ้นมาพร้อมรายละเอียดว่า “มันสามารถอ่านและเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดของคุณบนเว็บไซด์ที่คุณเข้าชม” ถ้าพอใจก็ให้คลิก  “Add Extension”

3. หลังจากแอดแล้วคุณจะเห็นไอคอน Keywords Everwhere ปรากฏด้านบนขวาของเบราเซอร์ หากคุณไม่เห็นไอคอนนี้แสดงว่ามันไม่ได้ถูกติดตั้งอย่างถูกต้อง ให้ Uninstall แล้ว Install ใหม่อีกครั้งนะคะ เมื่อคุณคลิ๊กไอคอนคุณจะเห็นหน้าเว็บไซด์หลักเพื่อให้กรอก Email address สำหรับการขอรหัส API Key เพื่อการใช้งาน เหมือนเป็นการลงทะเบียนนั่นแหละค่ะ

Keywords Everywhere API key
Keywords Everywhere API Key

 

4. คุณจะได้รับรหัส API Key ทางอีเมล์ หากไม่ได้รับให้เช็คกล่อง Spam จากนั้นให้ก๊อปปี้รหัสเพื่อนำไปใส่ใน Update Settings ในไอคอน

https://contentshifu.com/content-marketing/how-to-use-keywords-everywhere
Keywords Everywhere Update Settings

 

5. ป้อนคีย์ API ของคุณในช่องข้อความที่ด้านบนของหน้าแล้วคลิ๊ก Validate พร้อมตั้งค่าประเทศ (Country) และสกุลเงิน (Currency) เลือกได้ตามต้องการเลยว่าจะดูข้อมูลการค้นหาจากประเทศไหนและค่า CPC สกุลเงินอะไร แต่หากอยากได้ข้อมูลและค่าเงินของไทยก็ให้เลือก Global และค่าเงินเป็น Thai Bath (฿) แล้วเลือกติ๊กหัวข้อที่คุณต้องการได้เลยค่ะ

  • Enable/Disable metrics ข้อมูลตัวเลขที่ต้องการให้แสดงอย่างเช่น Volume, CPC, Competition
  • Enable/Disable the extension on any of the supported websites below เลือกว่าต้องการให้ประมวลผลจากเว็บไซด์ไหนบ้าง

 

Note: ปริมาณที่แสดงใน Bing, YouTube, Amazon และ Ebay คือจำนวนการค้นหารายเดือนทั้งหมดสำหรับคำหลักนั้นที่ Google.com นะคะ

https://contentshifu.com/content-marketing/how-to-use-keywords-everywhere
Keywords Everywhere Update Settings 2

 

  • Highlight metrics เลือกจากรายการในช่องว่าจะให้ไฮไลท์ค่าอะไรบ้างพร้อมตั้งค่ามากกว่า > เท่ากับ = หรือน้อยกว่า < ตัวเลขที่กำหนดไว้ในช่องถัดไป แล้วคุณยังเลือกสีได้ตามชอบด้วยค่ะ
  • Miscellaneous Settings ก็เลือกได้หลากหลายวัตถุประสงค์ตามต้องการค่ะ
  • เลือกว่าให้แสดงปุ่ม “Add All Keywords” หรือไม่
  • เมื่อคลิ๊กไอคอนจะให้แสดงอะไร เช่น แสดงป๊อปอัพเพื่อเลือกการปฏิบัติงาน (Show popup to choose action), แสดงหน้าการตั้งค่าอัพเดท (Show page to update settings), แสดงหน้า Bulk upload keywords หรือแสดงหน้า My favorite keywords
  • สามารถเลือกว่าจะให้ Metrics แสดงตรงตำแหน่งไหนของหน้าค้นหา เช่น ใต้แถบค้นหา (under search box), หรือเหนือผลลัพธ์ (above results)

ตอนนี้คงอยากดูวิธีการใช้แล้วซิ

วิธีการใช้งานของเขาค่อนข้างตรงไปตรงมาและไม่ได้ซับซ้อนอะไร แล้วยังช่วยให้ทำงานเร็วขึ้นและสะดวกขึ้นด้วยโดยเพียงแค่คลิ๊กเลือกและตั้งเงื่อนไขตามต้องการก็จะได้ผลลัพธ์ออกมา แล้วยังสามารถเก็บข้อมูลเพื่อส่งรายงานออกไปในหลาย Format ด้วยค่ะ

1. ไปที่ google.com และค้นหาคำหลักทั่วไป เมตริกจะปรากฏใต้ช่องค้นหาหรือตำแหน่งที่เราตั้งไว้พร้อมไฮไลท์ผลลัพธ์ที่ตรงตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ค่ะ

https://contentshifu.com/content-marketing/how-to-use-keywords-everywhere
Keywords Everywhere Results

2. เลื่อนไปด้านล่างจะเห็นว่ามีคำหลักที่ใกล้เคียงพร้อมเมตริกและไฮไลท์ตามเงื่อนไขให้ด้วย หากต้องการเก็บไว้ในรายการ My favorite keywords ก็แค่คลิ๊กที่    ซึ่งจะเปลี่ยนสีไปตามที่ตั้งไว้เพื่อแสดงว่าได้บันทึกในรายการเรียบร้อยแล้ว (หากต้องการเก็บคำอื่นที่ไม่มีไฮไลท์ก็เพียงแค่คลิ๊กเครื่องหมายสตาร์เช่นกันค่ะ)

https://contentshifu.com/content-marketing/how-to-use-keywords-everywhere
Keywords Everywhere Results 2

3. ไปที่ไอคอน > My favorite keywords จะเห็นรายการที่เราสตาร์ไว้พร้อมข้อมูลและเมตริก ในหน้านี้คุณสามารถตั้งให้แสดงรายการได้สูงสุดถึง 5000 คำ ในช่อง Show entries และยังมีตัวเลือกอื่นๆ ตามต้องการ เช่น Copy (จะเก็บข้อมูลไว้ใน Clipboard), ส่งข้อมูลออกในรูป Excel, CSV, PDF หรือ Print ข้อมูล

Keywords Everywhere My Favorite Keywords
Keywords Everywhere My Favorite Keywords

4. ในแถบค้นหา Search ด้านบนขวามือ คุณสามารถค้นหาคำที่ต้องการจากรายการทั้งหมดได้ด้วย

5. ด้านล่างมุมขวาจะมีคำสั่ง Delete Selected Keywords, Delete Unselected Keywords, Delete All Keywords สำหรับการลบรายการบางตัวหรือจะลบทั้งหมดก็ได้

Note: สำหรับเว็บไซต์อื่น ๆ เช่น Google Analytics คำหลักจะแสดงอยู่ในตาราง Addon ของเบราว์เซอร์จะเพิ่มคอลัมน์ใหม่ในตารางสำหรับปริมาณการค้นหาคำหลักและ CPC

Bulk upload keywords สำหรับข้อมูลปริมาณมากทำอย่างไรนะ

วิธีนี้เหมาะกับ keywords ปริมาณมากๆ ที่มีเก็บไว้ในไฟล์ Excel แล้วอยากรู้ว่าในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมามีสถิติการค้นหา, CPC, และอัตราการแข่งขันมากแค่ไหน เพื่อหา keywords ที่เจ๋งๆ สำหรับการเขียนบทความค่ะ

1. ไปที่ไอคอน > Bulk upload keywords
จะเห็นกรอบสี่เหลี่ยมใหญ่สำหรับใส่คำหลัก ให้ใส่ keywords โดยแยกคำด้วยการใส่ comma, semi colon หรือ ขึ้นบรรทัดใหม่

2. หากคุณมีรายการอยู่แล้วใน Excel ก็แค่ก๊อปปี้คำทั้งหมดแล้วเอามาใส่ในช่องนี้แบบง่ายๆ เลย (สูงสุดครั้งละ 10,000 คำ)

3. ที่ด้านล่างของหน้าคลิก  “Get Search Volume and CPC”

Keywords Everywhere Bulk Upload Keywords
Keywords Everywhere Bulk Upload Keywords

 

4. หน้าจอแสดงผลจะปรากฏขึ้นพร้อมเมตริกและไฮไลท์ข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด

Keywords Everywhere Export Reports and Print
Keywords Everywhere Export Reports and Print

 

ตอนนี้คุณก็รู้วิธีการติดตั้ง, วิธีการใช้งาน และเทคนิคในการหาเมตริกปริมาณมากแล้ว ลองเล่นบ่อยๆ ก็จะคล่องขึ้นนะคะ

เคล็ดลับการเลือก keywords เจ๋งๆ และตรงเทรนด์

ตามเคยที่เราจะมีคำแนะนำดีๆ มาช่วยเสริมกลยุทธ์ให้กับคุณ “เคล็ดลับในการเลือก keywords ที่ใช่เพื่อให้เว็บไซด์ของคุณเป็นที่ชื่นชอบของนาย Google” ต้องบอกก่อนว่าเคล็ดลับนี้ประเมินจากประสบการณ์และคำแนะนำของกูรูหลายท่านที่ได้ศึกษามาจึงอยากแนะนำ ซึ่งมันอาจได้ผลดีหรือไม่ขึ้นกับวัตุประสงค์ของการค้นหาคำ, การเลือกคำหลักและเนื้อหาบทความของคุณว่าจะโดนใจผู้อ่านหรือไม่ด้วยนะคะ การขึ้นหน้าหนึ่งของกูลเกิ้ลไม่ได้หมายความว่าคุณจะขายดิบขายดีแต่เป็นเพียงโอกาสในการให้ผู้ค้นหาเห็นคุณ รู้จักและจดจำแบรนด์คุณ ซึ่งมีโอกาสทำให้ยอดขายตามมาค่ะ อยากรู้แล้วซิอ่านต่อเลยจ้า

New call-to-action hbspt.cta.load(3944609, ‘4d1e2a6b-6fa0-4421-beaf-813d82ed9541', {});

เคล็ดลับ 4 ประการที่อยากแนะนำ เพื่องานเขียน Content Marketing อย่างมืออาชีพ

  • ควรเลือก keywords ที่มีค่า Search volume สูง เพราะหมายถึงเป็นเรื่องที่คนสนใจค้นหามากที่สุด
  • เลือก keywords ที่มีค่า CPC สูง เพราะนั่นหมายความว่ามีความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายสูง นักการตลาดจึงยอมทุ่มโฆษณา
  • ควรเลือก keywords ที่มีค่าเฉลี่ยคู่แข่งขัน (Competition) ต่ำ เพราะคุณจะไม่ต้องเหนื่อยกับการเขียนแทบตาย ทุ่มแทบหมดตัว แต่ไปไม่ถึงเป้าหมายเพราะยังรั้งท้ายอยู่นั่น (คู่แข่งชิงขึ้นหน้าซะงั้น)
  • ใช้ keywords ที่ถูกเก็บไว้ใน My favorite keywords โดยเลือกคำที่ไฮไลท์ประมาณ 3-5 คำต่อหนึ่งบทความเท่านั้น เพราะหากคุณใส่ keywords มากๆ นายกูลเกิ้ลจะมึนและมองว่าคุณเป็น Spam (จากประสบการณ์ตัวเองนะคะ) เว็บไซด์คุณก็จะถูกดีดลงไปบ๊วยๆ ซะงั้น

ตาคุณแล้ว

มาถึงตรงนี้ก็ตาคุณแล้วนะ ลองใช้ Keywords Everywhere ดูค่ะว่าได้ผลลัพธ์อย่างไรบ้าง ข้อดีและข้อเสียของการใช้งานมีอะไรบ้าง แล้วมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ