Authority หมายถึงการเป็นผู้มีอิทธิพล ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีอำนาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นบุคคลที่ผู้อื่นมองว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและมีความรู้ลึกซึ้งในด้านนั้นๆ
ส่วน Niche คือตลาดเฉพาะกลุ่มหรือกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจหรือความต้องการเฉพาะด้าน
การสร้าง Authority ใน Niche สามารถนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ หรือช่วยให้ธุรกิจที่มีอยู่เติบโตได้ดียิ่งขึ้น
ในบทความนี้ ผมจะมาแชร์ Ultimate Guide 9 ขั้นตอนในการสร้าง Authority โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก (แต่ขอให้เป็นคนที่ใช่) และไม่ต้องพึ่งพา Platform อื่นๆ (เช่น Social & Search Platforms) มากเกินไป
รับรองว่าเข้าใจง่าย และทำตามได้อย่างง่ายๆ
ถ้าพร้อมแล้ว ไปอ่านกันได้เลยครับ!
9 ขั้นตอนการสร้าง Authority ในทุก Niche
1. เลือก Niche
ไม่ว่าคุณจะมีหรือยังไม่มีช่องทาง/ธุรกิจอยู่แล้ว การเลือก Niche ยังคงเป็นเรื่องที่สำคัญ
สำหรับคนที่ยังไม่มีช่องทาง/ธุรกิจ
ผมแนะนำว่า คุณไม่จำเป็นต้องทำตาม Passion เสมอไป
แม้ว่าการทำในสิ่งที่รักจะช่วยให้มีแรงผลักดัน แต่ถ้าสิ่งที่รักมันไม่มีคนต้องการ หรือไม่สร้างรายได้ สุดท้ายแล้ว คุณก็จะ Burnout (ยกเว้นว่าคุณจะมีธุรกิจอื่นหรือรวยอยู่แล้ว และสิ่งที่คุณจะเลือกทำเป็นแค่งานอดิเรกจริงๆ)

ผมแนะนำให้ตอนคุณคิดถึง Niche ที่คุณอยากเลือก ให้คุณเอา Niche ที่คุณสนใจ ไปลองใส่ไว้ในวงกลมของ Ikigai ดู Ikigai เป็นแนวคิดของญี่ปุ่นที่หมายถึง “เหตุผลในการมีชีวิตอยู่” ซึ่งเกิดจากจุดตัดของ 4 วงกลม: สิ่งที่คุณรัก สิ่งที่คุณเก่ง สิ่งที่โลกต้องการ และสิ่งที่คุณสามารถหาเงินได้
การใช้ Ikigai นการเลือก Niche จะช่วยให้คุณได้ Niche ที่สมดุลระหว่างความชอบส่วนตัวและโอกาสทางธุรกิจ
สำหรับคนที่มีช่องทาง/ธุรกิจแล้ว
ผมอยากให้คุณลองเขียน Keyword ที่เกี่ยวข้องกับช่องทาง/ธุรกิจของคุณขึ้นมา 3 คำ ซึ่งเป็นคำที่คุณต้องการให้คนนึกถึงคุณเป็นคน/บริษัทแรกๆ
Niche ที่ดีเป็นอย่างไร
Niche ที่ดีต้องเล็กเพียงพอ สามารถสร้างความแตกต่าง และแข่งขันได้ Niche ที่แคบจะช่วยให้คุณเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน และลดการแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ การเลือก Niche ที่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้คุณสร้างตำแหน่งทางการตลาดที่โดดเด่นและแข็งแกร่งได้ง่ายกว่า
ตัวอย่าง: Content Shifu อยู่ใน Niche Digital Marketing สาย Technical & High-involvement ซึ่ง Niche นี้เล็กเพียงพอที่จะแข่งขันได้ และในขณะเดียวกันก็มีโอกาสทางธุรกิจที่ใหญ่เพียงพอ
Niche สาย ท่องเที่ยว อาหาร ไม่ถือว่าเป็น Niche ที่ดี เพราะหัวข้อมันกว้างและทั่วไปเกินไป แต่ถ้าเป็น Niche แบบท่องเที่ยวแบบกินหรูอยู่สบาย 6 ดาว หรือกินเฉพาะอาหารแปลกๆ ที่คนไม่กินกัน อันนี้ถือเป็น Niche ที่น่าสนใจ
2. เลือก Audience
ในขั้นนี้ ผมแนะนำให้ลองใช้ Framework ที่สุดแสนจะคลาสสิกอย่าง STP เป็นตัวช่วย
S – Segmentation เราจะมีการแบ่งกลุ่มลูกค้า/ผู้ติดตามอย่างไร
T – Targeting กลุ่มลูกค้า/ผู้ติดตามกลุ่มไหนเป็นกลุ่มที่เราให้ความสำคัญ
P – Positioning เราแตกต่างกับคน/ธุรกิจอื่นๆ อย่างไร

นอกจากนั้นแล้ว การเขียน User Persona (ผู้ติดตามในอุดมคติ) หรือ Buyer Persona (ลูกค้าในอุดมคติ) ก็ช่วยได้ เพราะมันจะทำให้คุณเห็นภาพมากยิ่งขึ้นว่าคนที่คุณอยากมีอิทธิพลในใจของพวกเขา หน้าตาเป็นแบบไหน ชื่นชอบอะไร มีเป้าหมายอะไรบ้าง
Shifu แนะนำ ?
ถ้าคุณอยากสร้าง Persona ขึ้นมา คุณสามารถเข้าไปดาวน์โหลด Persona Template ได้ที่นี่ครับ
3. ทำ Research
ในความเห็นของผม การสร้าง “Authority” ที่ดีและยั่งยืน หัวใจสำคัญคือการมุ่งเน้นการสร้างเนื้อหาที่มีลักษณะ Evergreen
หัวข้อที่มีลักษณะ Evergreen มักจะเกี่ยวข้องกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เช่น เรื่องของความมั่งคั่ง สุขภาพ ความสุข ความสัมพันธ์ การพัฒนาตัวเอง และการงาน ตราบใดที่มนุษย์ยังเป็นมนุษย์ (ที่มีความต้องการ) หัวข้อเหล่านี้จะยังคงเป็นที่สนใจ

การทำ Keyword Research Tools เช่น Google Keyword Planner หรือ Ubersuggest จะช่วยให้คุณสามารถรู้ได้ว่าคนสนใจ มีคำถาม มีปัญหา หรืออยากรู้เรื่องอะไร
อ่านเพิ่มเติม: 5 ประเภทของการทำ Keyword Research: อยากทำคอนเทนต์ที่ใช่ต้องรู้!
4. สร้างช่องทาง
สำหรับการสร้าง Authority บนออนไลน์ มี 3 กลุ่มหลักที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 1. Website 2. Email List & LINE Friends และ 3. Social Media
Website – ถือเป็นจุดศูนย์กลางที่สำคัญ ซึ่งผมคิดว่าทุกๆ คนที่อยากสร้าง Authority ควรมอง Website เป็น “สมอง” หรือ “หัวใจ” คือให้มองเป็นช่องทางที่สำคัญที่สุด เพราะผมคิดว่าช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ควบคุมได้และยั่งยืนมากที่สุด
Email List & LINE Friends – Email เป็นช่องทางที่คุณเป็นเจ้าของเองและควบคุมได้มากเหมือนเว็บไซต์ ส่วน LINE Friends นั้นเป็นช่องทางการสื่อสารแบบ 1-on-1 ที่เวิร์คมากๆ ในไทย (ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นเจ้าของช่องทางก็ตาม)
Social Media – เป็นช่องทางที่จะช่วยให้คุณสามารถสร้าง Awareness และดึงคนเข้ามาเห็นในสิ่งที่คุณทำได้ดี แต่ก็แค่ในระยะเวลาสั้นๆ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นเจ้าของช่องทางเหล่านี้ แต่การมี Social Media Presence ที่ดี ก็ถือเป็นเรื่องจำเป็นมากๆ ครับ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับช่องทาง Social Media ที่นักการตลาดดิจิทัลไทยให้ความสำคัญได้ที่นี่ และอ่านเกี่ยวกับ Social Media Marketing Trends ได้ที่นี่
นอกจากนั้นแล้ว การสร้าง Authority ในโลกออฟไลน์ก็เป็นเรื่องสำคัญ การทำตัวเองให้มีโอกาสไปแชร์ ไปพูด ตามงาน Event หรือ Conference ต่างๆ ก็เป็นอีกช่องทางในการเข้าถึงผู้คนครับ
ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือการ “ถูกเชิญ” ไปพูด ไม่ใช่ “เสนอตัว” ไปพูดครับ
ยิ่งถ้าคุณทำข้อหลังจากนี้ได้ดีเท่าไหร่ โอกาสที่ถูกเชิญไปพูดจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้นครับ
5. สร้างคอนเทนต์
ดังที่ Bill Gates เคยกล่าววลีอมตะไว้ว่า “Content is King”
การสร้างคอนเทนต์คือหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดในการสร้าง Authority เพราะถึงแม้คุณจะมีความรู้ความสามารถ แต่ถ้าไม่แสดงออกมา คนก็จะไม่รับรู้และเข้าใจความเชี่ยวชาญของคุณ
ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเกรดของคอนเทนต์อยู่ ซึ่งมันจะแบ่งออกเป็น 6 เกรดคือ FDCBAS ครับ ลองไปอ่านดูได้ครับ ยิ่งคุณทำคอนเทนต์ได้ใกล้กับตัวอักษรด้านหลังมากเท่าไหร่ จะยิ่งดีต่อ Authority ของคุณเท่านั้นครับ

จาก Digital Marketing Trends Report 2025 ที่ได้ทำการ Survey นักการตลาดดิจิทัล 692 คน พบว่าคนที่ทำผลลัพธ์ได้ดี จะทำคอนเทนต์ประเภท Video, Short Video, Social Post / Album และ Short-form Article มากที่สุด
สำหรับการสร้างคอนเทนต์ในปัจจุบันและอนาคต การเอา AI มาช่วยจะช่วยให้คุณสามารถสร้างคอนเทนต์ได้เร็วและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น แต่วิธีการที่ควรจะทำคือการผสมผสาน AI Information เข้ากับ Human Experience
AI มีข้อมูล ส่วนคุณมีประสบการณ์ ถ้าผสานจุดแข็งของทั้ง AI และคุณเข้าด้วยกันจะยิ่งทำให้เนื้อหาของคุณน่าสนใจ
เหมือนกับที่ในบทความนี้ ที่ผมขึ้นโครงเอง ให้ AI เติมเนื้อหา และผมกลับมาตบเนื้อหาทั้งหมดให้เข้าที่เข้าทางอีกครั้ง

อย่างรูปทางด้านบนคือคอนเทนต์ที่ AI สร้างขึ้นมาจาก Outline ของผม
จริงๆ มันทำได้ดีเลยนะในเรื่องการพยายามอธิบายว่า FDCBAS ย่อจากอะไร แต่ที่เหลือ ผมปรับแก้ทั้งหมด เพราะผมคิดว่ามันสามารถเขียนให้น่าอ่านกว่านี้ได้ และผมเองก็มี Insight เพิ่มเติมจาก Report ด้วย
“AI Information + Human Experience = Great Content”
6. โปรโมต โปรโมต โปรโมต
การสร้างคอนเทนต์ที่คุณตั้งใจทำและมั่นใจว่าดี จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ หากคุณไม่โปรโมตให้คนอื่นได้เห็น
ความสำคัญของการโปรโมตคือการทำให้คอนเทนต์ที่มีคุณภาพของคุณได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
หากคุณใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการสร้างคอนเทนต์ ผมคิดว่าอย่างน้อยคุณควรใช้เวลาอีก 1 ชั่วโมงในการโปรโมตคอนเทนต์ของคุณ
ซึ่งการโปรโมตสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การใช้ Owned Media อย่างเว็บไซต์หรือบล็อกของคุณ, Earned Media ที่เกิดจากการแชร์และการรีวิวจากผู้ใช้ หรือแม้แต่ Paid Media ที่คุณลงโฆษณาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงและการมองเห็น

อ่านเพิ่มเติม: Paid, Owned, Earned Media คืออะไร ทำไมเราต้องรู้จัก แล้วจะบริหารยังไงให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด
และผมคิดว่าการเน้นสร้างเนื้อหารูปแบบที่คุณถนัดและปล่อยเนื้อหาไปตามช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายใช้งานอยู่เป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรทำในตอนเริ่มต้น
เช่นถ้าคุณถนัดเขียน การเขียนโพสต์บน Facebook หรือ Website เป็นท่าที่ควรทำ แต่ถ้าคุณถนัดพูด การถ่ายคลิป ไปลง TikTok หรือ YouTube เป็นท่าที่อาจจะเข้าท่ามากกว่า
ถนัดอันไหน ให้เริ่มทำอันนั้น เพื่อที่ว่าคุณจะได้สะดวกใจที่จะทำ และทำมันได้นาน
แต่ถ้าคุณไม่ถนัดอะไรเลย คำแนะนำง่ายๆ ของผมก็คือ “ฝึก” ครับ
คุณอุตสาห์ใช้เวลาทำคอนเทนต์ตั้งนาน มันจะน่าเสียดายมากๆ ถ้าไม่มีคนเห็นมัน
7. สร้างผู้ติดตาม
มีคำกล่าวไว้ว่า “The Money is in the list”
ยิ่งคุณมีลิสต์ผู้ติดตามที่ชื่นชอบในเนื้อหาที่คุณทำมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งมี Authority (ในเรื่องที่คุณทำ) มากขึ้นเท่านั้น
ในข้อ 4 ผมเขียนถึงเรื่องการสร้างช่องทางแล้ว ในข้อนี้ผมจะมาเขียนถึงเรื่องการสร้างผู้ติดตาม
นอกจากการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพแล้ว วิธีการสร้างผู้ติดตามที่เร็วที่สุดคือการทำ “Lead Generation”
Lead Generation เปรียบเสมือนการยื่นหมูยื่นแมว

ตัวอย่างเช่น วิธีที่ Content Shifu ทำ คือการมี Premium Resource ให้ดาวน์โหลด (ยื่นหมู) โดยแลกกับข้อมูลติดต่อและการติดตามของผู้สนใจ (ยื่นแมว)
8. ติดตามวัดผล
ดังคำกล่าวที่ว่า “อะไรที่วัดผลได้ก็ทำให้ดีขึ้นได้”
เพราะฉะนั้นอย่ามัวแต่ทำคอนเทนต์ และโปรโมตคอนเทนต์ โดยที่ไม่กลับไปดูว่าอะไรเวิร์ค อะไรไม่เวิร์ค

เครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ เช่น Google Analytics 4 (GA4), Google Search Console (GSC), Heatmapping Tools (เช่น Hotjar หรือ Microsoft Clarity) หรือ Native Analytics ที่อยู่ใน Social Analytics เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะช่วยให้คุณเข้าใจคนที่เข้ามาเสพคอนเทนต์และปฏิสัมพันธ์กับคุณมากขึ้น
9. ทำ… อย่างสม่ำเสมอ
Rome wasn’t built in one day but they were laying bricks every hour (John Heywood) – กรุงโรมไม่ได้สร้างในวันเดียว แต่เขาก่อร่างสร้างอิฐในทุกชั่วโมง
* บางทีผมก็สงสัยตัวเองว่าทำไมผมต้องเจ้าบทเจ้ากลอนจนด้วย เหมือนจะมี Quote ในเกือบทุกข้อเลย ?
มันไม่ได้เป็นเรื่องแปลก และเอาจริงๆ มันปกติมากๆ ที่ในช่วงแรกที่คุณเริ่มพยายามที่จะสร้างคอนเทนต์ หรือสร้าง Authority แล้วจะไม่มีคนสนใจ ไม่มีคนติดตาม หรือยังไม่มีคนเห็นคุณค่าในสิ่งที่คุณทำ
Authority เป็นเรื่องของ Trust และการสร้าง Trust ต้องใช้เวลา
ถ้าคุณพยายามผสมผสานเอาเนื้อหาทั้ง 8 ข้อก่อนหน้านี้ที่ผมแนะนำ ลงมือทำเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ ผมเชื่อว่าไม่ช้าก็เร็ว คุณจะมี Authority ในเรื่องที่คุณต้องการอย่างแน่ๆ ครับ
สรุป
และนี่คือ 9 ขั้นตอนการสร้าง Authority ในทุก Niche นะครับ
ไม่ว่าคุณจะต้องการสร้าง Authority ในสายงานไหน ผมเชื่อว่า 9 ขั้นตอนนี้จะเป็นท่าที่สร้างผลลัพธ์ที่ดีให้คุณอย่างยั่งยืนครับ
สุดท้าย ผมขอฝากขั้นตอนที่ 10 ซึ่งเปนเคล็ดวิชาที่สำคัญที่สุดไว้ให้กับคุณนะครับ
ลง
มือ
ทำ
ขอให้คุณโชคดีกับการสร้าง Authority ของคุณครับ :)