Chapter 5



Digital Marketing Strategy คืออะไร

อธิบาย Digital Marketing Strategy ตั้งแต่เริ่มจนทำได้

ยาวไปอยากเลือกอ่าน

จะทำ Digital Marketing ส่วนใหญ่แล้ว เราก็มักจะนึกถึงวิธีการต่างๆ ที่จะทำ นึกถึงคอนเทนต์ นึกถึงแพลตฟอร์มต่างๆ ในการเข้าถึงลูกค้า เช่น Facebook, LINE, Search Engine ฯลฯ นึกถึงกลยุทธ์โปรโมชั่นต่างๆ ที่อยากจะใช้

แต่คำถามคือ เราจะเริ่มต้นสร้าง แผนกลยุทธ์ Digital Marketing [Digital Marketing Strategy] ซึ่งจะทำให้เราทำ Digital Marketing อย่างเป็นระบบ ครอบคลุม ตอบจุดประสงค์ได้ และลงมือทำได้จริง ได้อย่างไร

เนื้อหาในบทความนี้ จะทำให้คุณเข้าใจว่า Digital Marketing Strategy คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง แล้วจะนำปฏิบัติจริงจนประสบความสำเร็จได้อย่างไร

Digital Marketing Strategy คืออะไร?

Digital Marketing Strategy คือ การสร้างแผนการตลาดที่ทำให้เรารู้ว่า  เรามีอะไรที่จะขาย/ที่จะใช้ เราจะทำอะไร ทำอย่างไร ทำให้ใคร (กลุ่มเป้าหมาย/ลูกค้า) ทำที่ไหน (ช่องทาง) หรือก็คือ What, Why, Where, When, How, Whom ของการทำตลาด 

แผนการตลาดที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่า จะต้องทำอะไร อย่างไร กับใคร ตอนไหน เพื่อให้ได้สิ่งที่เรามุ่งหวังไว้

Digital Marketing Strategy ประกอบด้วยอะไรบ้าง

เนื้อหาต่อไปนี้ จะเป็นเสมือนกรอบความคิดที่ช่วยให้คุณมีหลักในการวางแผนแบบพื้นฐาน ประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ด้วยกัน ได้แก่

  1. รู้จักธุรกิจของตัวเอง เราจะขายอะไร?
  2. รู้จักลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย
  3. กำหนดวัตถุประสงค์ของการตลาดที่จะทำและ KPI
  4. ออกแบบเส้นทางการตัดสินใจของลูกค้า (Customer Journey)
  5. เลือกใช้ช่องทางและสื่อในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
  6. เลือกกลยุทธ์ สาร หรือโปรโมชั่น
  7. นำทั้งหมดมาออกแบบแผน

แต่ละข้อจะต้องทำอะไรบ้าง คิดอะไรบ้าง มาค่อยๆ ทำความเข้าใจกันไปทีละสเต็ปกัน

1. Know Your Business รู้จักตัวเองก่อน

ก่อนที่เราจะทำการตลาด แน่นอนว่า เราจะต้องรู้ก่อนว่า เราจะขายอะไร แต่ไม่ใช่แค่นั้น เพื่อที่เราจะวางกลยุทธ์ Digital Marketing ให้มีประสิทธิภาพ ทำให้เราขายได้จริงๆ นั้น เจ้าของธุรกิจต้องรู้จักธุรกิจของตัวเองให้ดีเสียก่อน 

“Know Your Business” ต้องรู้อะไรบ้าง?

รู้จักภาพรวมธุรกิจของเรา: ทำอะไร ขายอะไร ขายให้ใคร

คงจะแปลกไม่น้อยถ้าเราจะเริ่มต้นทำการตลาดเลย โดยที่ไม่รู้ว่า จริงๆ แล้วธุรกิจของเราในภาพรวมทำอะไร มีอยู่เพื่ออะไร หรือเพื่อใคร ..เครื่องมือที่จะช่วยให้เราเข้าใจธุรกิจของเรามากขึ้นนั้น ก็คือ Business Model Canvas 

ตัวอย่าง Business Model Canvas (BMC)
หน้าตาของ Business Model Canvas (BMC)
ที่มารูปภาพ wikipedia.org

Business Model Canvas คือ ตารางเก้าช่องง่ายๆ ที่จะช่วยให้เราเข้าใจธุรกิจของเรามากขึ้น ซึ่งใช้ได้ตั้งแต่ตอนที่คิดออกแบบธุรกิจหรือใช้เพื่อทำความเข้าใจธุรกิจของตัวเองอีกทีหนึ่ง โดยทั้งเก้าช่องนี้ จะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจตัวเองมากขึ้นว่า ในการทำธุรกิจของเรานั้น…

  • ต้องมีใคร ทำอะไร ใช้แรงงานหรือทรัพยากรอะไรบ้าง (Key Partner, Activities, Resources)
  • มีคุณค่าอย่างไรกับผู้คน/ผู้บริโภค/ตลาด หรือก็คือ มีบริการหรือสินค้าอะไร (Value Propositions)
  • ลูกค้าคือใคร จะทำอย่างไรและช่องทางไหนเพื่อเข้าถึงลูกค้า (Customer Relationship, Customer Segment, Channels)
  • ค่าใช้จ่ายและรายได้ที่คาดว่าจะมีของธุรกิจ (Cost & Revunue)

สำหรับการวางแผนการตลาด Digital Marketing หรือจะเป็นการตลาดแบบออฟไลน์ก็ตาม ส่วนของคุณค่า สินค้า และลูกค้า รวมถึงวิธีการเข้าถึงลูกค้า คือ ส่วนสำคัญที่ถ้าเราคิดอย่างรอบคอบแล้ว จะช่วยให้เราวางกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับธุรกิจจริงๆ ได้ ไม่ออกทะเล หรือทำการตลาดที่ผลลัพธ์อาจจะไม่ได้กลับมาที่ตัวธุรกิจเองจริงๆ

แนะนำว่า หากคุณยังไม่เข้าใจธุรกิจและ BMC อย่างดี หรือไม่เคยทำมาก่อน คุณควรสละเวลาสักนิดเพื่อศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม และลองพิมพ์ Canvas นี้ออกมาเขียนเพื่อทำความเข้าใจธุรกิจในภาพรวมของคุณอีกทีก่อนเริ่มทำแผนการตลาด

รู้จักจุดแข็งและจุดของตัวเอง (SWOT Analysis)

SWOT Analysis เป็นอีก Framework ธุรกิจและการตลาดที่ใช้กันมากๆ เพื่อทำความเข้าใจว่า ธุรกิจมีจุดแข็งอะไร และจุดอ่อนอะไรบ้าง แล้วโอกาสที่จะทำธุรกิจให้เติบโตกับอุปสรรคล่ะ คืออะไร

โดย “S-W-O-T” แต่ละตัวไหนหมายถึง

S – Strength จุดแข็ง

W – Weakness จุดอ่อน

O – Opportunities โอกาส

T– Threats อุปสรรค

ตัวอย่าง swot analysis
SWOT Analysis
ที่มารูปภาพ wikipedia.org

เราอาจลองใช้ SWOT ในการวิเคราะห์ธุรกิจของเราออกมาก่อน ว่าจุดเด่นของธุรกิจของเรามีอะไรบ้าง ที่ทำให้มีแต้มต่อกว่าคู่แข่ง หรือเป็นจุดดึงดูดของลูกค้า (เพื่อที่เราจะได้เลือก Marketing Message ในการทำการตลาด) แล้วจุดอ่อนของเราล่ะ เราจะทำอย่างไรกับจุดนี้ จะสื่อสารอย่างไรกับกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า ตอนนี้มีโอกาสหรือตลาดตรงไหนไหมที่จะทำให้เราขายของหรือทำการตลาดได้ดียิ่งขึ้น และสุดท้าย คือ ลองลิสต์อุปสรรคออกมาดูว่า น่าจะมีอะไรบ้างที่ทำให้การดำเนินธุรกิจ การทำการตลาด การขายสินค้าของเราเป็นไปไม่ได้อย่างหวัง แล้วเราจะรับมทือหรือแก้ไขด้วยอะไร

ในส่วนนี้ ยังเป็นการทำความเข้าใจธุรกิจอย่างกว้าง แต่ทว่าสำคัญเป็นอันดับต้นๆ กว่าที่เราจะรีบคิดโปรโมชั่นเพื่อชนะใจกลุ่มเป้าหมาย 

การเข้าใจธุรกิจอย่างดีก่อน ด้วย BMC หรือ SWOT รวมไปถึงแง่มุมอื่นๆ ของสินค้าและบริการของเราก็ตาม เราจะรู้ว่า ควรกระจายแรงและทรัพยากรมาลงส่วนไหนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงที่สุด

2. Know Your Customer ลูกค้าของคุณคือใคร?

ขั้นตอนนี้ เป็นอีกขั้นตอนคลาสสิกที่จะข้ามไปไม่ได้เลย ซึ่งในขั้นตอนการทบทวน BMC เราก็พาจะแตะๆ มาบ้างแล้ว แต่ในขั้นตอนการทำ Digital Marketing Strategy ขั้นตอนนี้ เราจะมาลงรายละเอียดการ “กำหนดกลุ่มลูกค้า” ของธุรกิจมากขึ้น ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า “Customer Persona” หรือ “แบบจำลองลูกค้า”

ตัวอย่าง Customer Persona / Buyer Persona
ตัวอย่างแบบจำลองลูกค้า (Customer Persona)
[คลิก ดาวน์โหลดเทมเพลตฟรี!]

Customer Persona กับการวางกลยุทธ์การตลาด Digital Marketing

Customer Persona คือ ลูกค้าที่เราจำลองขึ้นมาว่า เราคนคนนี้ คนแบบนี้ คือ ลูกค้าของเรา ซึ่งอาจจะเป็นการจำลองขึ้นมาจาก Brand Position ของเรา ธุรกิจของเรามุ่งเข้าหาคนเมือง กลุ่มออฟฟิศ เป็นต้น หรืออาจจะใช้ Customer Persona เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าที่เรามีอยู่แล้วและอยากโฟกัสทำการตลาดกับพวกเขาต่อไป

ถ้าเราเข้าใจ Persona หรือลูกค้าของเราดีแล้ว เราก็จะรู้ว่าควรวางแผน วางกลยุทธ์การตลาดอย่างไรเพื่อเข้าถึงพวกเขา

โดยรายละเอียดของ Customer Persona ที่ควรโฟกัสจะได้แก่ 

  • ลูกค้าคือใคร (ข้อมูลพื้นฐานส่วนตัว): อายุ เพศ การศึกษา จังหวัดที่อยู่อาศัย อาชีพ สถานะ (โสด/มีครอบครัว) เป็นต้น
  • เป้าหมาย/ปัญหา/ความสนใจ: งานอดิเรก สิ่งที่ชอบ/ไม่ชอบ ความสนใจ เป้าหมายหรือปัญหาที่เขามีอยู่คืออะไร
  • พฤติกรรมและช่องทางของเขา: ช่องทางที่เขาใช้เสพข่าวสาร ช่องทางในการหาความรู็หรือเข้าถึงสินค้า เช่น Facebook, Google, หน้าร้าน เป็นต้น และอาจรวมถึงช่องทางการชำระเงิน 
  • สิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญหรือกังวล: สิ่งเหล่านี้ คือ ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาหรือตัดสินใจของเขา

(ทำความเข้าใจจากตัวอย่าง Persona ด้านบนแบบเร็วๆ หรืออ่านเกี่ยวกับ Persona ในบทความเต็มที่ลิงก์ด้านล่าง ????)

รายละเอียดและข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าที่เราทำเป็น Customer Persona จะช่วยให้เรารู้ว่า เราจะออกแบบแผนการตลาดอย่างไร ใช้ช่องทางไหน Message หรือคอนเทนต์แบบไหนจะฉุดใจเขาได้ จะใช้ Tactics อะไรที่จะทำให้เขาตัดสินใจมาเป็นลูกค้าเรา ซึ่งเราจะไปทำความเข้าใจกันในขั้นตอนถัดๆ ไป

3. Define Objectives กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนการตลาด Digital Marketing

แล้วก็มาถึงขั้นตอนของการวางเป้าหมายและกำหนดวัตถุประสงค์ของการทำ Digital Marketing ของเราแล้ว

ก่อนอื่น หลายคนอาจมีความเข้าใจไม่ชัดเจน ระหว่าง “เป้าหมาย” (Goal) กับ “วัตถุประสงค์” (Objective) จะขออธิบายเพื่อความเข้าใจสักเล็กน้อย

เป้าหมายทางการตลาด vs วัตถุประสงค์การตลาด

คำว่า “เป้าหมาย” (Marketing Goal) นั้นจะหมายถึง สิ่งที่เราอยากจะไปให้ถึง เสมือนกับจุดหมายปลายทางบนแผนที่หรือ GPS ที่เราอยากจะไป ยกตัวอย่างเป้าหมายการตลาดเช่น ต้องการในแบรนด์เติบโตขึ้นเป็นที่รู้จักและเป็น Top of mind เมื่อผู้คนนึกถึงสินค้า/บริการใน Categories เดียวกัน

แตกต่างจากคำว่า “วัตถุประสงค์” (Marketing Objective) ที่หมายถึง ตัวชี้วัดต่างๆ ที่เรากำหนดขึ้นเพื่อสนับสนุนในเป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจเป็นจริง โดยลักษณะของวัตถุประสงค์ จะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ วัดผลได้ อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ยกตัวอย่างเช่น ต้องการ Traffic คนเข้าเว็บไซต์จำนวน 50,000 User ต่อเดือน ต้องการยอดลงทะเบียนใช้ฟรี 50 รายต่อเดือน เป็นต้น

หากเราจะสร้างวางกลยุทธ์การตลาด สิ่งที่เราจะต้องกำหนด ก็คือ วัตถุประสงค์ทางการตลาด ที่สามารถจับต้องวัดผลได้ เพื่อที่ต่อไปเราจะได้เลือกวิธีการและเครื่องมือต่างๆ มาวางกลยุทธ์ Digital Marketing ที่ตอบวัตถุประสงค์

ตัวอย่างการตั้งวัตถุประสงค์ทางการตลาด 

สร้างการรับรู้แบรนด์ (Build Brand Awareness)

  • มี Traffic เข้าเว็บไซต์เดือนละ 50,000 Users
  • ได้ Facebook Reach ต่อโพสต์มากกว่า 1,000 Reach
  • มีผู้ติดตาม Facebook Page 10,000 Users ใน 3 เดือน
  • มีหน้าเพจของเว็บไซต์ติดหน้าแรกของ Google ใน 10 Keywords สำคัญ ภายใน 6 เดือน 

ฟูมฟักกลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นลูกค้า (Nurture Leads & Prospects)

  • มียอด Email Subscriber เพิ่มขึ้น 10% ในไตรมาสแรก
  • มียอดคนดาวน์โหลดโบรชัวร์ 20 รายต่อเดือน
  • มียอดคนกรอกฟอร์มให้ติดต่อกลับ
  • มีคนติดต่อขอ Demo

สร้างผลลัพธ์หรือกำหนดรายได้ (Hit Conversion) 

  • ปิดการขายได้ 30 รายต่อเดือน
  • ทำยอดขายได้ 100,000 บาทต่อเดือน

เทคนิคการตั้งวัตถุประสงค์การตลาดด้วย SMART Goal

ตัวอย่าง smart goal setting
ที่มารูปภาพ productplan.com

หลักการตั้งเป้าหมายด้วย SMART (Specific, Measureable, Attainable, Relevant, Time-bound) ยังคงใช้ได้เสมอกับการตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การตลาด

…กำหนดจุดประสงค์ให้เจาะจง (Specific) อ่านแล้วเข้าใจได้ว่าต้องทำอะไร เช่น เพิ่ม Traffic เว็บไซต์ 

…กำหนดวัตถุประสงค์ที่วัดผลได้ (Measureable) เพื่อให้เห็นความคืบหน้า

…กำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถทำได้จริง (Attainable) บนพื้นฐานและเงื่อนไขของธุรกิจ ตลาด ทรัพยากร

…กำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวธุรกิจ (Relevant) 

…กำหนดวัตถุประสงค์โดยกำหนดวันที่จะต้องสำเร็จและวัดผล (Time-bound)

ยกตัวอย่างเช่น 

“บริษัทของเราจะต้องมียอดคนติดต่อของ Demo (Specific) จำนวน 30 ราย (Measureable) ในทุกๆ เดือน (Time-bound) เพื่อเพิ่มโอกาสได้ลูกค้าใหม่ (Relevant)” 

วัตถุประสงค์ทางการตลาดนั้น สามารถกำหนดและวัดค่าได้หลากหลายตัวชี้วัด (Metrics) อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดที่เราจะเอามาตั้งเป็นวัตถุประสงค์ทางการตลาดควรจะสามารถตอบเป้าหมายทางธุรกิจได้จริงและสามารถเป็นไปได้จริง ตามปัจจัยต่างๆ ที่เราได้วิเคราะห์ธุรกิจและลูกค้าของเราไป

4. Marketing Funnels Mapping เชื่อมโยงวัตถุประสงค์กับระยะการตัดสินใจของลูกค้า

ความรู้เรื่องของ Digital Marketing Framework หรือ Sales Funnel เราจะทำมาใช้ในขั้นตอนนี้เพื่อวางกลยุทธ์ Digital Marketing 

โดยหลังจากที่เราได้ กำหนดวัตถุประสงค์ต่างๆ ของแบรนด์แล้ว บางทีเราอาจจะยัง “อุดรอยรั่ว” ไม่หมด ทำให้วัตถุประสงค์ที่คิดมายังไม่สมบูรณ์ บางทีเราอาจจะตั้งวัตถุประสงค์แค่ช่วง Awareness หรือทำให้แบรนด์รู้จัก และวัตถุประสงค์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับยอดขายเท่านั้น ส่งผลให้ตอนที่เราเลือกกลยุทธ์มาใช้ไม่สามารถคิดให้ตอบทุกระยะการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมายได้ ปล่อยให้พวกเขาหลุดลอยไปในบางช่วง

ไม่ว่าจะเป็น Sales Funnel, AIDA, หรือ Inbound Marketing Flywheel ก็ตาม เราสามารถนำ Marketing Framework เหล่านี้ มาเป็นกรอบในการคิดวัตถุประสงค์และกลยุทธ์การตลาดที่จะใช้ได้

อ่านเพิ่มเติม: ทำความเข้าใจ Marketing Framework ที่ใช้บ่อย: Sales Funnel vs AIDA vs Inbound

ยกตัวอย่างการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์กับ Sales Funnel

Sales Funnel อาจแบ่งเป็น 3 สเตจ ประกอบไปด้วย Awareness Stage, Consideration Stage, และ Decision Stage

Awareness Stage ขั้นรับรู้ปัญหา สนใจ

  • มี Traffic เข้าเว็บไซต์เดือนละ 50,000 Users
  • มีผู้ติดตาม Facebook Page 10,000 Users ใน 3 เดือน
  • มีหน้าเพจของเว็บไซต์ติดหน้าแรกของ Google ใน 10 Keywords สำคัญ ภายใน 6 เดือน 

Consideration Stage ขั้นพิจารณาเลือกหนทางแก้ไขปัญหาหรือตัดสินใจเลือกซื้อ

  • มียอด Email Subscriber เพิ่มขึ้น 10% ในไตรมาสแรก
  • มียอดคนกรอกฟอร์มให้ติดต่อกลับ
  • มีคนติดต่อขอ Demo

Decision Stage ขั้นตัดสินใจเลือกทางแก้ปัญหาหรือตัดสินใจซื้อ

  • ยอดคนใช้คูปองส่วนลด
  • ยอดคนลงทะเบียนล่วงหน้า

เหมือนเราไตร่ตรองดูแล้วว่า วัตถุประสงค์ที่เรากำหนดมาครอบคลุมทุกกระบวนการตัดสินใจแล้ว และแต่ละกระบวนการมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ในขั้นต่อไปเราก็จะหากลยุทธ์หรือวิธีทำการตลาดเพื่อให้เราได้ยอดต่างๆ ตามที่กำหนดวัตถุประสงค์ไว้

5. Choose Tactics เลือกวิธีหรือกลยุทธ์การตลาดที่ตอบวัตถุประสงค์

เมื่อเรากำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาดเรียบร้อยแล้ว ก็เปรียบเสมือนว่าเราได้ตั้งโจทย์ในกับตัวเองหรือทีมทำการตลาดของเรา สิ่งที่เหลือก็คือการเลือกคำตอบ หรือ กลยุทธ์การตลาดนั่นเอง

กลยุทธ์การตลาดนั้นก็ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งอาจหมายถึง เช่น ลด/แลก/แจก/แถม หรือโปรโมชั่นอื่นๆ โดยที่เราสามารถเลือกทำได้หลายทาง หรือจะหมายถึงข้อเสนอหรือ Offer ต่างๆ ที่แบรดน์หรือธุรกิจของเราสามารถนำเสนอให้เขาได้ โดยเราสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ได้หลากหลาย โดยเลือกให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและเป็นกลยุทธ์ที่มีแนวโน้มที่จะทำให้เราสามารถบรรวัตถุประสงค์ทางการการตลาดที่ตั้งไว้ได้

ลิสต์ข้อความในตารางด้านขวา คือตัวอย่าง Offer ที่เราสามารถเลือกใช้เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ในกระบวนการตัดสินใจหรือ Sales Funnel แต่ละช่วงได้

ตัวอย่าง Sales Funnels
ตัวอย่าง Sales Funnel ที่ระบุกลยุทธ์การตลาดที่จะใช้
ที่มารูปภาพ neilpatel.com

ตัวอย่างกลยุทธ์ Digital Marketing

  • Upsell / Downsell
  • Discount / Promotion / Bundle
  • การทำเว็บไซต์ให้ปรากฎลำดับต้นๆใน Google (SEO)
  • Influencer / Sponsorship / Partner
  • การสะสมแต้ม / โปรโมชั่นชวนใช้ซ้ำ
  • ทดลองใช้ / Free Trial
  • Coupon
  • Personalization
  • Marketing Automation

ฯลฯ

และยังมีกลยุทธ์อีกมายมายที่คุณสามารถทำได้ ในบทความนี้ ได้รวบรวมไอเดียกลยุทธ์การตลาดไว้กว่า 20 ไอเดีย หากคุณยังตันๆ ไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี บทความนี้น่าจะช่วยคุณได้

6. Choose Media & Channels เลือกสื่อและช่องทางเข้าหากลุ่มเป้าหมาย

ในขั้นตอนนี้ คือ ขั้นตอนที่เราจะมาเลือกสื่อและช่องทางที่เราจะใช้โปรโมตหรือลงมือทำตามกลยุทธ์ที่เราเลือกไว้เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 

โดยสื่อที่เราเลือกใช้ได้ก็จะแบ่งออกง่ายๆ เป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  1. Paid Media การซื้อสื่อหรือลงโฆษณา ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ทันทีเพียงแต่มีต้นทุนสูง
  2. Owned Media หรือสื่อที่เป็นของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ อีเมล หรือช่องทาง Social Media ของแบรนด์

Earned Media หรือสื่อของคนอื่นที่มีการพูดถึงแบรนด์ของเรา ซึ่งอาจเป็นในรูปแบบ Organic (มีคนพูดถึงเอง มีคนรีวิวเอง) หรือ Influencer/Sponsorship เป็นต้น

ตัวอย่าง Owned Paid Earned Media
แผนภาพปรับปรุงจาก tribe.digital

แนะนำให้คุณศึกษาวิธีเลือกใช้สื่อเหล่านี้ ดูข้อดี-ความยากของสื่อแต่ละประเภทในบทความด้านล่างนี้ 

นอกจากการเลือกใช้สื่อแล้ว ต่อมาเราก็จะมาเลือก “Channels” หรือช่องทางทำ Digital Marketing กัน ซึ่งเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของเราได้และเลือกกลยุทธ์ที่จะใช้ให้เชื่อมโยง (Mapping) กับกลยุทธ์การตลาดที่เราเลือกใช้

ตัวอย่างช่องทางการตลาดยอดนิยม

  • Website & Blogging
  • SEO
  • Google Search Ads
  • Email
  • Social Media
  • Social Media Ads
  • YouTube & Other Video Platform

อ่านเพิ่มเติม: จุดเด่นและคำแนะนำในการทำการตลาดบน Digital Marketing Channels แต่ละช่องทาง

ถึงตรงนี้แล้ว คุณก็ได้กระบวนการทั้งหมดอย่างคร่าวๆ เป็นไกด์ไลน์ในการคิดแผนการตลาด Digital Marketing ของคุณแล้ว โดยรูปแบบนั้น อาจเป็น Excel หรือ Google Sheet หรือจะเป็น Presentation ที่ลงรายละเอียดทั้งวัตถุประสงค์, Sales Funnel Stages, กลยุทธ์ที่จะทำ, ช่องทางการตลาดที่จะใช้ โดยมี Timeline ในการกำกับว่าอะไรต้องทำตอนไหน หรือจะลงรายละเอียดว่าใครเป็นคนรับผิดชอบด้วยก็ได้

แต่การวางกลยุทธ์ Digital Marketing ของคุณก็จะยังไม่สมบูรณ์ หากขาดการวัดผลลัพธ์และประเมินผลเพื่อนำมาพัฒนาและสร้างแผนการตลาดที่ดีขึ้น

7. Report & Optimize วัดผลลัพธ์และปรับปรุง Digital Marketing Strategy ให้ดียิ่งขึ้น

หลังจากที่เราสร้าง Digital Marketing Strategy และได้ลงมือทำไปแล้ว สิ่งที่ ‘จำเป็น’ ต้องทำต่อมาก็คือ การวัดผลลัพธ์ทุกอย่างที่เราลงแรงและลงทุนทำไป เพื่อที่ว่า เราจะได้รู้ว่ากลยุทธ์แบบไหน ปัจจัยอะไรบ้างที่มันได้ผลจริงๆ 

ไม่ว่าคุณจะทำ Digital Marketing ให้กับธุรกิจของตัวเองหรือทำให้กับแบรนด์คนอื่น ไม่ว่าใครก็ต้องการรู้ว่าอะไรกำลังไปได้ดี และมีอะไรบ้างที่เราต้องปรับปรุง Optimize ผลลัพธ์ให้ดีขึ้น รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปกับกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ


หากคุณชอบบทความลักษณะนี้ shifu ยังมีข้อมูลการตลาดดีๆ ที่ช่วยให้เพิ่มฐานลูกค้าและโอกาสทางธุรกิจ ส่งผลให้ธุรกิจคุณเติบโตต่อเนื่อง ดูที่

 

แนะนำแหล่งเรียนรู้ด้าน Digital Marketing เพิ่มเติม

หวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการตลาดได้อย่างมีหลักการและสร้างแผนการตลาดที่ใช้ได้จริง ทั้งนี้ Content Shifu ยังมีเรื่องราวและความรู้ด้านการตลาดอีกมากมาย ทั้งเทคนิค วิธีการ และความรู้อื่นๆ คุณสามารถติดตาม Blog ของเรา และเรียนความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ของ Digital Marketing ด้วยตัวเองจากเราได้ หรือเลือกเรียนคอร์สที่เกี่ยวข้องจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญได้ ที่ลิงก์ด้านล่างนี้