Chapter 3



Digital Marketing มีอะไรบ้าง?

แนะนำ 7 ช่องทางทำการตลาดออนไลน์ [ข้อดี-ความยาก]

ยาวไปอยากเลือกอ่าน

ช่องทางการตลาดบนโลกดิจิทัลถือว่าค่อนข้างกว้างและหลากหลาย เพราะว่าในยุคที่ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกวินาทีของชีวิตมนุษย์นั้น ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภค จำเป็นต้องเปลี่ยนตาม และแน่นอนว่าย่อมแปรผันกับการทำงานของนักการตลาดเช่นเดียวกัน 

ลูกค้ากลุ่มนั้นอาจจะไม่ชอบการดูวิดีโอในขณะที่อีกกลุ่มชอบ หรือลูกค้าอีกกลุ่มชอบอ่านมาก กว่าอีกกลุ่มก็เป็นได้ และนี่คือสาเหตุที่ว่าทำไมช่องทางการตลาดบนโลกดิจิทัลถึงมีมากมาย หลากหลายเหลือเกิน

หลังจากสองบทความที่ผ่านมา ได้พาทุกคนไปรู้จักตั้งแต่ความหมายของการทำ Digital Marketing ว่ามีอะไรบ้าง รวมถึงประโยชน์และข้อจำกัดบางอย่างที่นักการตลาดทุกคนไม่ว่า 

จะอยู่ในบริษัท เอเจนซี่หรือฉายเดี่ยวเป็น Blogger หรือ Vlogger ควรที่จะเรียนรู้ ซึ่งการพาไป รู้จักโลกของการทำ Digital Marketing นั่นได้เกริ่นไปถึงวิธีการและช่องทางการทำการตลาดแนวนี้บางส่วนไปแล้ว

แต่บทความนี้ เราจะมาขยายความและลงลึกกว่าเดิมในเรื่อง ช่องทางการทำ Digital Marketing ว่ามีอะไรบ้าง ฟังก์ชันการทำงาน ประโยชน์รวมถึงข้อจำกัด แถมบทความนี้จะทอดแทรกช่องทางการตลาดที่น่าทำและน่าศึกษาไว้เป็นตัวเลือกอีกด้วย 

Digital Marketing มีอะไรบ้าง?

  1. เว็บไซต์ (Website Marketing)
  2. ช่องทางเสิร์ช (Search Engine Marketing)
  3. อีเมล (Email Marketing)
  4. Social Media Marketing (SMM)
  5. โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย (Social Media Ads)
  6. วิดีโอ (Online Video)
  7. คอนเทนต์ (Content Marketing)

ไปลงรายละเอียดของแต่ละช่องทางกันเลย

New call-to-action hbspt.cta.load(3944609, ‘ee84ba66-6adc-403e-b618-76ea19115825', {});

1. Website Marketing ช่องทางการตลาดที่แสนมั่นคง

ถ้าหากจะพูดถึงช่องทางการทำการตลาดก็คงจะต้องพูดถึงสิ่งนี้เป็นสิ่งแรก เพราะ Website คือ  ที่อยู่อันแสนมั่นคงบนแผนที่ที่เรียกว่า Search Engine เช่น Google นับว่าเป็นช่องทางที่ลูกค้า 

สามารถเข้ามาเจอร้านค้าของเราได้เร็วที่สุด โดยที่ร้านค้าที่ว่าคือสื่อที่เราผลิตขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ และขายข้อมูล สินค้าและบริการของเรา 

โดยที่หน้าที่ของ Website Marketing หลักๆ แล้วคือ เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสำหรับลูกค้าที่แวะมาเยี่ยมเยียน หรือทำความรู้จักกับแบรนด์ของเรา รวมถึงยังเป็นหน้าร้านเอาไว้ขายของได้อีกด้วย ซึ่งวิธีที่จะดึงดูดคนเข้าร้านนั้นก็ต้องพึ่งพาเจ้า SEO หรือ Search Engine Optimization 

แต่คำว่า SEO นี่มาจากไหนกันนะ 

SEO คือชื่อย่อของคำว่า Search Engine Optimization เป็นกระบวนการทำงานของระบบ Search Engine ที่จะดึงหน้าเว็บไซต์ให้ติดอันดับต้นๆ ของการค้นหาผ่านการใช้คีย์เวิร์ดที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจัยของการทำ SEO ก็ไม่ได้มีแค่คีย์เวิร์ดเพียงอย่างเดียว ยังรวมไปถึงการทำ และออกแบบเว็บไต์ให้เป็น User Friendly ก็มีผลต่อการทำ Digtal Marketing ในช่องทางนี้ 

“Content is King” 

ช่องทางการตลาดแบบ Website Marketing จำเป็นต้องพึ่งพากลไกของ Search Engine Optimization เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมหรือ Leads ในหน้าเว็บไซต์ของเรา ซึ่งการที่เว็บไซต์จะดึงดูด Leads ได้นั้นจำเป็นต้องสร้างสิ่งที่มีคุณค่าให้เหมาะแก่การเยี่ยมชม 

ซึ่งคอนเทนต์จริงๆ แล้วนั้นไม่ใช่แค่ Blog post แต่มันคือเนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์ของเราที่ เอาไว้ดีงดูดสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เช่น บทความ สินค้าหรือบริการ หรืออาจจะเป็นข้อมูลที่ช่วยที่ช่วยให้รู้จักกับแบรนด์ดียิ่งขึ้น 

และสิ่งที่ทำให้ “Content is King” นั่นก็คือเราได้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าของเรา หรือยัง หรือสอดคล้องกับจุดประสงค์ของธุรกิจของเราหรือเปล่า

ข้อดีของช่องทางการตลาดแบบ Website Marketing 

การทำ Digital Marketing บนบ้านที่แสนมั่นคงนี้มีข้อดีมากมาย ถึงหลายๆ คนจะมองว่าในยุค Digital Marketing นั่นเอื้อกับการทำการตลาดบน Social Media มากกว่า แต่อย่าลืมว่า Social Media Platform ก็มีข้อจำกัด จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถรวบรวมทุกอย่างไว้ใน ‘ที่อยู่’ เดียว 

  • การทำ Website จะทำให้เราไม่มีข้อจำกัดเหมือนสื่อรูปแบบอื่น เราสามารถดีไซน์รูปแบบว่าจะให้ออกมาแบบไหน ตามใจเราได้เลย
  • เพราะข้อดีด้านบนทำให้เราสามารถทำอะไรได้หลายอย่างในเว็บไซต์ เช่น เผยแพร่ ข้อมูลดีๆ ในขณะที่หน้าหลักกำลังขายของอยู่ก็ได้ เราสามารถขายของได้ทันที
  • การที่เรามีหน้าร้านของเราเองเท่ากับว่าข้อมูลของลูกค้าจะไม่ตกไปอยู่ในมือใคร เราจะเป็นเจ้าของข้อมูลทั้งหมดที่เข้ามาในเว็บไซต์ของเราได้เอง
  • เรากำลังทำสิ่งที่ตอบโจทย์คน เพราะว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยนี้คือการเสิร์ชเพื่อ ค้นหาสิ่งที่กำลังสนใจ เพราะฉะนั้นเว็บไซต์จะช่วยให้ลูกค้าเจอเราบนโลกออนไลน์

ข้อท้าทายของช่องทางการตลาดแบบ Website Marketing 

ข้อท้าทายที่สุดในฐานะนักการตลาดที่จะสร้าง “บ้าน” ขึ้นมาเอง มาดูกันว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง

  • การทำ SEO คือวิธีการที่ฟรีในการเพิ่มพูน Traffic และไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ จึงมีเว็บไซต์คู่แข่งในระบบ Search Engine จำนวนมาก ทำให้การแข่งขันและรักษาอันดับการค้นหาไม่ใช่เรื่องง่าย
  • เว็บไซต์ต้องการคนดูแลอยู่เสมอ จะดีกว่าถ้าบริษัทหรือเอเจนซี่ของคุณมีคนที่สามารถ ดูแลเรื่อง Website Development ได้ 
  • ต้องการความรู้เชิงเทคนิคค่อนข้างมาก เพราะว่าเราจำเป็นต้องดึงเครื่องมืออื่นๆ เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลในเว็บไซต์และช่วยในการทำการตลาด 

และนี่คือตัวชี้วัดว่าใครสามารถจับทางลูกค้าได้ตรงจุดกว่ากัน รวมถึงรู้วิธีการดูแลและรู้จักการทำ Website Marketing ดีกว่ากัน แต่ว่าเราก็สามารถผลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้จากการพึ่งเจ้าเครื่องมืออย่าง Martech นั่นเอง 

แนะนำ Martech

ตัวอย่าง Martech ที่อยากแนะนำในการช่วยพัฒนาช่องทางการตลาดแบบ Website Marketing 

  • KW Finder เพื่อการตรวจสอบ Keywords ที่น่าสนใจ
  • SERPwatcher ที่สามารถ Track เว็บไซต์ของเราตาม Keywords ต่าง
  • เว็บที่ใช้สร้างเว็บไซต์ เช่น WordPress และ Plugin ของเขาที่จะช่วยเราวิเคราะห์ การทำ SEO ได้ดียิ่งขึ้น

สามารถอ่านต่อได้จากที่นี่เลย

2. Search Engine Marketing กับช่องทางการตลาดแนว Paid Search

Search Engine Marketing คืออะไร ทำไมชื่อยาวขนาดนี้ ถ้าเรียกอีกแบบว่า SEM อาจจะทำให้ใครหลายคนร้องอ๋อ! ขึ้นมาทันที เพราะมันคือช่องการทางทำการตลาดออนไลน์ ที่จำเป็นต้องใช้ ‘เงิน’ แน่นอนว่าใครๆ ก็อยากดันบ้านตัวเองไปอยู่ด้านหน้าสุดของหมู่บ้าน SERPs (หน้าแสดงผลลัพธ์การค้นหา) อยู่แล้ว 

ซึ่งการที่จะใช้วิธีแบบฟรีๆ ก็ย่อมใช้เวลาและทักษะในการเรียนรู้ทั้ง SEO และ เรียนรู้ความต้องการของลูกค้า แถมยังต้องไปแข่งขันกับบ้านอื่นอีกด้วย

สำหรับบางคนคิดว่ามันไม่ทันใจเอาซะเลย ทำไมเราถึงไม่ใช้ตัวช่วยซื้อพื้นที่หน้าหมู่บ้าน ทำเลดีๆ เพื่อตั้งบ้านของเราล่ะ และนี่คือเหตุผลของการมีอยู่ของ SEM บนระบบ Search Engine อย่าง Google และ Yahoo 

ข้อแตกต่างระหว่าง SEO และ SEM 

ชื่อก็คล้ายๆ กัน อาจจะทำให้เกิดความสับสนได้ เพราะทั้งสองอันคือช่องทางการทำ Website 

Marketing ทั้งคู่แตกต่างกันที่ ค่าใช้จ่าย และ ระยะเวลา 

ขออธิบายแบบกระชับ สั้นๆ ว่า Search Engine Optimization (SEO) คือการทำงานของ ระบบ Search Engine เช่น Google ในการดันเว็บไซต์ของเราให้ไปอยู่บนหน้าแรกๆ ของ Search Engine Result Pages (SERPs) เพื่อเพิ่มจำนวน Organic traffic ของ Leads ที่ผ่านเข้ามาแวะเวียนจาก Keywords ที่เขากำลังสนใจ ซึ่งทาง Search Engine จะจัดอันดับเว็บไซต์ของเราจากจำนวนผู้เข้าชม ยอดคลิกเยี่ยมชมเว็บไซต์โดยที่เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่เราจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพของเว็บไซต์อยู่เสมอ

กลับกัน Search Engine Marketing (SEM) คือการทำงานของ Search Engine เช่นเดียวกัน เพียงแค่เราต้องใช้ เงิน ในการซื้อโฆษณาให้เว็บไซต์ของเราไปขึ้นอยู่บนหน้าแรกของ Search Engine Result Pages (SERPs) ตาม Keywords ที่ลูกค้าเป้าหมายของเราได้ค้นหา วิธีการสังเกต SEM คือในหน้าผลลัพธ์หลังจากค้นหาแล้ว จะมีคำว่า “Ad” หรือโฆษณาอยู่ด้านหน้าชื่อหน้าเพจ

โดยที่ทาง Google จะเรียกเก็บเงินเราจากจำนวนคลิกที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมเรา เรียกอีกอย่างว่า Paid Per Click หรือ PPC 

ข้อดีของช่องการตลาดแบบ SEM 

แน่นอนว่าการจับทางลูกค้าจากการศึกษา Keywords เป็นการทำการตลาดที่เห็นผลที่สุด 

  • SEM คือการทำการตลาดบนความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ลองคิดกลับกันว่าคุณคือลูกค้า และเจอเว็บไซต์ที่ป้อนคอนเทนต์ที่ตรงตามความต้องการจะดีขนาดไหน
  • SEM มีการทำงานที่ค่อนข้างเจาะจง ตรงกับลูกค้าที่มีความสนใจที่ชัดเจน เพราะว่าเขาสนใจสิ่งนั้น เขาเลยค้นหาสิ่งนั้น ดังนั้นการทำ SEM สามารถช่วยให้ เราขายของได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • วันหนึ่งวันมีคนเสิร์ช Google มากกว่า 4,000 ล้านครั้ง นั่นคือ โอกาสหรือทำเล ที่มี Traffic คนผ่านไปผ่านมาเยอะ ก็เพิ่มโอกาสที่คนจะแวะเวียนมาเป็นลูกค้าเรา

ข้อท้าทายของ Paid Search 

ใช่ว่าการจ่ายเงินเพื่อการคลิกด้วยคำแบบเฉพาะเจาะจงจะเพียงพอ เพราะว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่ควรคำนึง

  • Paid Search ย่อมมีข้อจำกัดเพราะคำว่า Ad ที่ตั้งเด่นหลา ไม่ใช่ทุกคนที่จะสนใจ ข้อความโฆษณาบนกรอบสีเทาของ Search Engine
  • Say no กับการทำการตลาดแบบระยะยาว เพราะว่ามันมีค่าใช้จ่ายที่สูง และถ้าเมื่อ ไหร่ที่คุณหยุดจ่ายเงิน ผลลัพธ์จะหายไปในพริบตา
  • SEM ไม่ใช่แค่การจำกัดงบในการทำ PPC แต่มันต้องใช้ความพยายามในการพัฒนา และวิเคราะห์จากผลลัพธ์ที่ได้มา
  • งบค่าใช้จ่ายอาจจะเยอะ ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการเลย


3. E-mail Marketing ช่องทางการตลาดที่ฟังดูเก่า แต่เก๋าใช่เล่น 

พูดถึงช่องทางการตลาดที่ฟังดูไม่น่าจะเวิร์กในยุคนี้ แต่ดันใช้ได้จริงและยังมีประสิทธิภาพอยู่ และสิ่งนี้คือ Email Marketing ซึ่งมันคือการทำการตลาดที่เราจะเก็บข้อมูลลูกค้าโดยที่ส่วน ใหญ่จะมาจาก 1st party data ที่เรารวบรวมข้อมูลเอง และส่งข้อความที่สามารถเป็นได้ทั้งการ ประชาสัมพันธ์ โฆษณาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรืออาจจะเป็นโปรโมชั่นต่างๆ ไปตามอีเมลจากฐานข้อมูลในมือเรา 

ซึ่งการเก็บข้อมูลตรงนี้เพื่อมาทำ E-mail Marketing มาจากที่ไหน ก็ขอตอบเลยว่าส่วนใหญ่มา จากลูกค้าที่ยอมแลกเลี่ยนข้อมูลกับเราบน Website Marketing ที่เราสามารถดัดแปลงหรือ ดีไซน์ตัวเว็บให้มีฟีเจอร์ที่เรียกว่า Sign up สำหรับการเข้าถึงบทความฟรีบนเว็บไซต์หรือเพื่อ ให้ลูกกค้าสามารถรับข้อมูลและ Newsletter ต่างๆ ที่เกี่ยวกับแบรนด์ในอนาคต แน่นอนว่าไม่ใช่ ลูกค้าทุกคนจะยอมแลกเปลี่ยน ดังนั้นเราจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ Call-To-Action (CTA) เพื่อกระตุ้นให้เขารู้สึกอยากลงชื่อเพื่อ Sign up ในเว็บไซต์ของเรานั่นเอง 

ซึ่งถามว่าหลังลูกค้าลงชื่อเพื่อ Sign up แล้ว เขาจะได้รับการแลกเปลี่ยนระหว่างอีเมลหรือ ข้อมูลบางส่วน เช่น Demographic Bio กับการได้รับอีเมลจากแบรนด์ซึ่งอาจจะเป็นโฆษณาหรือ ข้อมูลดีๆ และพวกเขาก็ก้าวมาเป็น Leads Generation ของเรา และอาจจะเปลี่ยนเป็นลูกค้าใน อนาคต

ข้อดีของช่องทางการตลาดที่แสนเก๋าเกม

  • Customer Relationship Management (CRM) คือความสัมพันธ์ที่พึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างการทำ Website Marketing เพื่อนำข้อมูลที่เราเก็บได้มาใช้ในการทำงานกับ Email Marketing เป็นข้อมูล ของลูกค้าที่สนใจในแบรนด์ของเราจริงๆ และสามารถนำไปใช้ทำ Marketing ได้ต่อ
  • ข้อมูลทุกอย่างจะคงอยู่ในกล่องข้อความตลอดไป ข้อดีอีกอย่างคือไม่ว่าจะฝนตก แดดออกหรือมีนกมาทำรังที่กล่องไปรษณีย์หน้าบ้าน เจ้าจดหมาย ออนไลน์นี้ก็จะไม่มีวันกลายสภาพเป็นเศษกระดาษตามกาลเวลา
  • สนับสนุน B2B หรือ Business-to-Business เพราะว่าอีเมลเป็นอีกช่องทางในการ ติดต่อสื่อสาร
  • ข้อดีอันสุดท้ายนั่นก็คือ E-mail ก็เป็นอีกช่องทางที่เราเอาไว้สอดแทรก Media อื่นๆ Official Website, Facebook, Instagram, Youtube, หรือแอปพลิเคชั่น ของเราภายในอีเมลได้เลย

ข้อท้าทายของช่องทางการตลาดแบบ Email

ข้อดีตั้งมากมายของการทำ Email Marketing นั้นเป็นตัวชี้วัดว่าถึงจะเก่าแต่ก็ยังมีประสิทธิภาพ แต่ว่า..

  • ต่อให้เราจะประยุกต์หรือ Personalize ข้อมูลในมือได้ดีขนาดไหน แต่ถ้าลูกค้าไม่กดเข้าไปดู หรือเลือกปฏิเสธที่จะรับรู้ข้อความของเรา.. ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ความท้าทาย คือ เราจะทำอย่างไรให้ผู้รับอีเมล “คลิก” เข้ามาดูข้อความที่เราสื่อสาร
  • บางเจ้าเน้นแต่จะขายของแต่ไม่ได้ใส่ความรู้หรือบทความที่ประโยชน์ให้ลูกค้าเลย ผู้ที่ติดตามอีเมลอาจจะเลิกติดตาม (Unsubscribe) หรือกดสแปมให้กับอีเมลของเราไปเลยก็ได้

Shifu แนะนำ

การเอาชนะความท้าทายนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย ถ้าเราทำความรู้จักเจ้า E-mail Marketing เป็นอย่างดี มาเริ่มใช้ประโยชน์จากอีเมลกัน

4. Social Media Marketing ช่องการทางตลาดแห่งยุค 4.0

และก็มาถึงคิวของ Social Media ที่เป็นการทำการตลาดยอดฮิต เพราะว่าทุกคนที่มี Smartphone สามารถเข้าถึง Social Media ได้ทุกแอปพลิเคชั่น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter หรือ Youtube

แน่นอนว่าไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน บนรถไฟฟ้า รถส่วนตัว สถานที่สาธารณะหรือแม้แต่บ้านของเรา ก็ไม่วายต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาปลดล็อก เข้าแอปนั้น ออกแอปนี้ ถึงแม้จะใช้เวลาสั้นๆ แต่ถ้าให้รวมเวลาต่อแอปพลิเคชั่นจริงๆ ก็ถือว่านานพอสมควร และนี่คือโอกาสของแบรนด์ ที่จะได้ใช้ช่องทางที่สามารถดึงความสนใจจากลูกค้าได้มากที่สุด รวมถึงยังสามารถเพิ่มจำนวน ลูกค้าหน้าใหม่ได้มากขึ้นอีกด้วย  

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ Social Media Marketing เป็นช่องทางแห่งยุคที่แท้จริง นั่นก็คือการที่เป็น 2 ways communications ที่ลุดค้าสามารถตอบโต้กับแบรนด์ได้อย่างทันที โดยที่ไม่ว่าใคร สามารถเทียบความรวดเร็วนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรืออีเมลล์ 

แต่ว่ายังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ Social Media เป็นช่องทางการทำการตลาดที่แข็งแกร่งมากๆ ในช่วงเวลานี้กัน ไปดูจุดแข็งของ SMM กันดีกว่า 

กลยุทธ์ที่เป็นจุดแข็งของ SMM ที่ไม่ว่าใครก็เทียบไม่ติด 

อย่างที่รู้กันว่า Social Media ทุกแอปพลิเคชั่นมีวิธีใช้งานที่แตกต่างกันไป และเหมาะกับรูปแบบคอนเทนต์ที่แตกต่างกัน รวมถึงช่วงเวลาที่คนสามารถจดจ่อต่อโพสต์ก็แตกต่างกันเช่นเดียวกัน และนี่คืออีกหนึ่งเสน่ห์ของช่องทางการตลาดแบบ SMM เพราะทุกคนมีความชอบที่ไม่เหมือนกัน และเพราะความหลากหลายนี้ทำให้เรายิ่งต้องครีเอทีฟ และคัดสรรสารที่เราจะสื่อไปถึงเขา รวมถึงกลยุทธ์ ‘พิเศษ’ อื่นๆ เพื่อยกระดับการทำการตลาดของเราเอง 

กลยุทธ์แรกคือการจ้างงาน Influencer ที่สามารถส่งเสียงได้ดังกว่าใครในทุกๆ Social Media platforms ซึ่งเราสามารถแบ่ง Influencer ได้ออกเป็น 5 ประเภทตามจำนวนผู้ติดตามของ พวกเขา เริ่มจาก Nano Influencer, Micro Influencer, Midtier Influencer, Macro Influencer และ Mega Influencer ซึ่งค่าตอบแทนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตามและการตกลงกัน ยิ่งผู้ติดตามเยอะ ค่าตอบแทนก็จะเยอะตาม 

ถามว่ากลยุทธ์แรกเวิร์กจริงหรือ เสียเงินหลายหมื่นเพื่อให้พวกเขาพูดถึงสินค้าของเรานี่คุ้มค่า ไหมนะ อย่าลืมว่าเขามีฐานผู้ติดตามที่เยอะ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนจะหันมาสนใจสินค้าและ บริการของเรา แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะปฏิเสธเพราะคนที่เขาชื่นชอบกำลังพูดถึงมัน และนี่คือหนึ่ง ในเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงเรียกพวกเขาว่า Influencer หรือ ผู้มีอิทธิพล 

หรือสำหรับแบรนด์ที่กำลังเติบโตและกำลังมองหาวิธีโปรโมตที่ไม่เสียเงิน เราก็มีอีกกลยุทธ์ที่ เรียกว่า Peer-to-peer (P2P) หรือการบอกต่อกันระหว่างเพื่อนสู่เพื่อน วิธีนี้เป็นวิธีที่แบรนด์ หลายๆ แบรนด์ใช้ดึงดูดลูกค้า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเสนอสินค้าและบริการที่ฟรี หรือลดราคา แลกเปลี่ยนกับเงื่อนไขที่ว่าลูกค้าจะต้องกดไลค์ กดแชร์ แท็กเพื่อนบน Social Media พร้อมเปิดโพสต์ให้เป็นสาธารณะ เพื่อเป็นการยืนยัน นับว่าเป็นวิธีที่จะเพิ่ม Engagement ได้ไม่มากก็น้อย แต่อย่างน้อยแน่นอนว่าได้ Eyeballs เยอะขึ้นมากๆ 

อีกกลยุทธ์ที่ไม่ว่าใครก็ทำไม่ได้เลยคือการเปิดโอกาสให้ลูกค้าของเราสร้างคอนเทนต์เอง อีกชื่อคือ User Generated Content วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำใน Platform อื่นได้ค่อนข้างยากเพราะกว่าคนจะสามารถเข้าถึงตัวคอนเทนต์นั้นก็กินเวลาไปหลายสัปดาห์ เทียบกับ social media ที่พอปล่อยคอนเทนต์ปุ๊บ ก็สามารถสร้าง Awareness ให้คนอื่นได้อย่างรวดเร็วผ่านสิ่งที่เรียก ว่า Timeline บวกกับการที่เราให้ลูกค้าสร้างคอนเทนต์เอง ก็อาจจะมีการตอบสนองจากเพื่อนๆ หรือคนรอบตัวของเขาเยอะกว่า ซึ่ง UGC ที่เราเห็นคือการให้ลูกค้าลองเป็น advocate ของแบรนด์จากการใช้ hashtag เล่าเรื่องเกี่ยวกับสินค้าของเราผ่านทุก Social media platforms 

ข้อท้าทายของช่องทางการตลาดแบบ SMM

กลยุทธ์จุดแข็งเยอะขนาดนี้ แต่การใช้ Social Media ในการทำการตลาดก็ยังมีข้อควรคำนึงเช่นเดียวกัน

  • สิ่งแรกคือมันใช้เวลาเป็นอย่างมากที่จะเห็นผลลัพธ์ แม้แต่จะใช้ตัวช่วยอย่าง Influencer แล้วก็ตาม ยิ่งเราไม่ได้ยิงโฆษณาแล้วด้วย การใช้ Organic reach มาช่วยนั้นค่อนข้าง ใช้เวลานานกว่ายอดจะเพิ่มขึ้น 
  • ง่ายต่อการถูกแฮคบัญชี เป็นข้อท้าทายที่เห็นเป็นประจำเรื่องแบบนี้ 
  • เมื่อเราไม่ใช่เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แน่นอนว่า เมื่อเจ้าของบ้านปรับเปลี่ยนกฎอะไร ผู้เช่าบ้านก็ต้องปฏิบัติตาม เช่น การจำกัดตัวอักษรของ Twitter หรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลบ่อยๆ ของ Facebook
  • คำนวน ROI (Return of Investment) ยากมาก เพราะส่วนใหญ่แล้ว การทำ SMM มักจะเป็นการใช้เพื่อทำการตลาดในช่วง “สร้างการรับรู้” (Awareness) จึงวัดได้ยากว่า นำมาสู่ยอดขายจริงๆ หรือไม่ 

โดยคุณสามารถอ่านเทคนิคการทำ Social Media Marketing ให้สำเร็จได้ที่

5. Social Media Ads ช่องทางยิง Ads ผ่านสื่อโซเชียล 

กระโดดจากการทำ SMM ตามวิธีด้านบนมาพึ่งพาฟีเจอร์เด็ดของ Social Media ที่เขาเตรียม พร้อมไว้ให้เรายิงโฆษณาโดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยโปรแกรมภายนอก ซึ่งหมายความว่าในทุก ครั้งที่เรายิงแอด เราสามรถควบคุมค่าใช้จ่ายและทำ Audience Targeting จากตัวแอปพลิเคชั่นได้เลย รวมไปถึงการวิเคราะห์ผลลัพธ์ในทันทีทันใด 

ความสำคัญที่จำเป็นต้องเขียนแยกออกมาจาก Social Media Marketing แบบปกติก็เพราะ สิ่งนี้นับว่าเป็นการทำโฆษณาที่ตอบโจทย์มากๆ เพราะในแต่ละ Platforms ก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้คิดค้นย่อมรู้ดีที่สุดว่าแอปพลิเคชั่นของตัวเองของทำการตลาดยังไงให้ตอบโจทย์ 

เจ้าตัว Social Media Ads มีหลักๆ อยู่ 7 เจ้าซึ่งแน่นอนว่ามันคือฟีเจอร์จากเจ้าพ่อเจ้าแม่ Social Media ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายที่เราเล่นกันอยู่ ได้แก่ Facebook Ads, Instagram Ads, Twitter Ads, Youtube Ads, Tiktok Ads, Pinterest Ads, และ Linkedin Ads 

อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถ ตอบได้เลยว่าควรทำโฆษณาที่ตัวไหนดี เพราะว่ารูปแบบการทำงาน คอนเทนต์ที่เหมาะสม รวมถึงผู้ใช้งานของแอปพลิเชั่นแตกต่างกันมากๆ  ต้องมาดูกันที่จุดประสงค์และเป้าหมายของ แบรนด์ และที่สำคัญคือ Audience ของแบรนด์อยู่ที่แพลตฟอร์มไหน

ข้อดีของช่องทางการทำ Social Media Ads 

ต้องพูดรวมๆ เลยว่าการจ่ายเงินเพื่อยิงแอดผ่าน Social Media มีข้อดีอย่างไร เพราะถ้าจะให้ พูดถึงข้อดีของแต่ละอันก็คงยาวแน่นอน งั้นมาเริ่มกันเลยดีกว่า 

  • สะดวก เพราะว่าทางแอปพลิเคชั่นมี ฟีเจอร์ขึ้นมาให้เรากดเรียบร้อย เพียงแค่กำหนดกลุ่มลูกค้า กำหนดค่าใช้จ่าย แล้วก็รัน โฆษณาเลย 
  • เราสามารถ Connect กับลูกค้าของเราได้แทบทุกชั่วโมง เพราะว่าโฆษณาจะเด้งไปที่ กลุ่มเป้าหมายของเราแทบทุกเวลาที่พวกเขาเริ่มกดเข้าแอปพลิเคชั่น
  • สามารถติดตามการทำงานของโฆษณาได้ทันที เพราะว่าเครื่องมือทุกอย่างนั้นพร้อม หมด โดยเฉพาะ Facebook Ads ที่ค่อนข้างจะมืออาชีพในการทำโฆษณา 
  • เราสามารถใช้ประโยชน์จากทุกแพลตฟอร์มในการทำโฆษณา ซึ่งเราอาจจะเอาคอนเทนต์จากแหล่งนึงไปทำโฆษณาจากอีกแหล่งเพื่อสร้างลูกค้ามากขึ้น (Transmedia)

ข้อท้าทายของช่องทางการทำ Social Media Ads

ข้อเสียค่อนข้างคล้ายคลึงกับการทำ Social Media Marketing แต่ขอโฟกัสแค่ตรงฟีเจอร์ตอน ยิงแอดเลยดีกว่า

  • การทำโฆษณาบน Social Media อาจให้ Reach เยอะขึ้นก็จริง แต่อาจจะไม่ได้การันตีว่าจะขายของได้ การยิงแอดให้ได้ลูกค้าจริงๆ กระตุ้นให้คนซื้อจริง ต้องอาศัยกลยุทธ์และมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากมาย
  • ผู้คนอาจจะไม่เข้ามา เพราะอย่างที่บอกไปตรงข้อดีกว่าเราอาจจะสามารถ Connect กับ ลูกค้าของเราได้ตลอด ซึ่งมันอาจจะเป็นดาบสองคมก็ได้ เพราะว่าการโฆษณาเด้งหน้า ฟีดแทบจะทุกครั้ง อาจจะเกิดความรำคาญใจได้

6. Online Video ช่องการทำการตลาดแบบไม่กี่วินาทีเพื่อซื้อใจคนดู

มาถึงช่องทางการทำการตลาดที่สามารถดึงดูดคนดูได้มากที่สุดในเวลานี้ นั่นคือการทำ Online Video นั่นเอง พูดตรงๆ ว่าในเวลานี้ไม่ว่าเราจะเลื่อนดูหน้าจอโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ เราจะ เห็นเจ้าภาพเคลื่อนไหวพวกนี้แทบจะเกือบทุกเวลา แล้วถามว่าเรากดดูมันไหม แน่นอน เพราะภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงมันดึงดูดประสาทสัมผัสของมนุษย์อยู่แล้ว 

Online Video เป็นอีกวิธีที่คนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะว่ามันสามารถสร้าง Awareness ให้คนดูได้ ซึ่งประเภทของวิดีโอนั้นมีหลากหลายมาก ไม่ใช่แค่วิดีโอที่ให้ความรู้ เพียงอย่างเดียว เช่น วิดีโอเพื่อความบันเทิง, ซีรีส์หรืออาจจะเป็นวิดีโอสั้นๆ เพื่อไม่ให้คนดูเกิด อาการเบื่อหน่ายก่อน สอดคล้องกับฝั่งผู้บริโภคที่นิยม Video Content กัน

ถามว่าแล้ววิดีโอแบบไหนจะดึงความสนใจของลูกค้า ซึ่งตรงนี้แบรนด์เองต้องรู้ว่า Audience ของเราคือใคร มีความชอบแบบไหน แล้วจะสามารถมากำหนดความสั้นความยาวและรูปแบบ ของวิดีโอได้ 

พื้นที่ยอดนิยมที่เรามักจะเจอ Online Video Ads

  • Google GDN (Google Display Network) สิ่งนี้คือการทำโฆษณาบนพื้นที่เว็บไซต์ที่ไม่ใช่แค่ Google Search Engine เพราะว่า มันคือการลงโฆษณาบนเว็บไซต์ทั้งหมดที่ร่วมจับมือทำงานกับ Google นั่นเอง คิดดูว่ามี เยอะขนาดไหน ซึ่งตัววิดีโอที่อยู่บน GDN เนี่ยจะทำการเล่นอัตโนมัติทันที
  • Youtube ชัดเจนว่านี่คือ Platfrom ยักษ์ใหญ่ของเหล่า Video Creator และเป็นพื้นที่ยอดนิยมที่สุดที่ไม่ว่าใครก็ต้องกดเข้ามาดู แถมยังสามารถยิงแอดวิดีโอบนวิดีโออื่นๆ ที่ลูกค้ากำลังดูอยู่ได้ด้วยเหมือนกัน เป็นพื้นที่ที่สร้าง Awareness ได้ดีมาก
  • Tiktok เป็นอีก Platform ของเหล่านักสร้างสรรค์ที่สามารถใช้ทำโฆษณาได้เหมือน YouTube แต่ย่อยง่ายมากกว่าเพราะว่าช่วงเวลาของคลิปใน Tiktok จะน้อยกว่ามาก ทำให้เรายังสามารถ ดึง Attention ของคนดูได้ ถ้าเราสามารถเล่าเรื่องราวของแบรนด์ภายในเวลาที่กำหนด บอกเลยว่าเราอาจจะได้ Leads หรือลูกค้าเพิ่มขึ้นก็ได้
  • LINE Ads ฟีเจอร์น้องใหม่ที่อาจจะไม่ดังเท่ารุ่นพี่ด้านบน แต่ก็เป็นอีกพื้นที่ที่น่าทำโฆษณาเพราะว่า ไลน์คือแอปพลิเคชั่นที่คนไทยเกือบทุกคนใช้เพื่อสื่อสารกัน เข้าออกแอปทุกวัน ก็อาจจะมีโอกาสที่ Lead จะเข้ามาเห็นโฆษณาของเรา

ข้อดีของการทำ Online Video 

  • วิดิโอสามารถเล่าเรื่องบางเรื่องได้ดีกว่าคอนเทนต์แบบอื่น อาทิเช่น การสอนทำ How to หรือการรีวิว เพราะว่ามันคือการสื่อสาร ด้วยภาพเคลื่อนไหวซึ่งน่าสนใจกว่ารูปภาพแน่นอน (อย่างเช่น วิดีโอสอนใช้ Martech ของ Content Shifu เป็นต้น)
  • ไม่ต้องเสียเงินเยอะ เพราะต้นทุนการผลิตไม่เยอะและแพงเท่าแต่ก่อน มีการใช้ เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทุ่นแรงในด้าน Production 
  • ดูที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เพราะว่าเกือบทุกคนใช้ Smartphone และมันสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ หรือบางคนอาจจะใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับโทรศัพท์เช่น Notebook หรือ Tablet 
  • สามารถเก็บผลลัพธ์หลังเผยแพร่ได้ทันที เพราะทุกแพลตฟอร์มมีฟีเจอร์สำหรับวัด Traffic  

ข้อท้าทายของการทำ Online Video 

  • ใช้เวลาเยอะ ถ้านับรวมระยะเวลาตั้งแต่ช่วงก่อนถ่ายทำ ช่วงถ่ายทำ และช่วงหลังถ่ายทำ การทำวิดิโอดีๆ 1 ตัวอาจจะใช้ระยะเวลานานกว่าการผลิตคอนเทนต์ระเภทอื่นๆ
  • ผู้คนอาจจะเกิดความรำคาญได้ เช่น Youtube ที่คลอดแอปพลิเคชั่นใหม่คือ Youtube Premium ที่กันเอาโฆษณาออกไปเพราะ Feedback จากคนดูนั่นเอง 

7. Content Marketing ช่องทางการตลาดเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าอย่างแท้จริง

จากวิธีการทำ Digital Marketing ทั้งหมดทั้งมวลที่พูดมานั้นเป็นช่องทางที่ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มแต่หลังจากหัวข้อนี้จะมาโฟกัสที่คอนเทนต์ของการทำ Digital Marketing มากขึ้น ซึ่งพูดถึงตรง นี้ก็จะมองข้ามประโยคที่เคยเกริ่นไปว่า Content is King ก็คงจะยาก เพราะทุกการทำโฆษณา ต้องพึ่งพาคอนเทนต์ 

คอนเทนต์ที่ว่าก็คือการทำการตลาดแบบระยะยาวผ่านการผลิตเนื้อหาที่มีคุณค่าและเกี่ยวข้อง กับลูกค้าของเราเพื่อดึงดูดและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ของเรา ซึ่งอย่างที่บอกไปว่าไม่จำเป็นต้องเป็นการเขียนก็ได้ อาจจะเป็นการทำคอนเทนต์รูปแบบอื่น ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวคอนเทนต์จะรุ่งหรือร่วงก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า… คอนเทนต์ของเราตอบโจทย์หรือใช่สิ่งที่ผู้คนต้องการหรือไม่ จังหวะหรือบริบทที่ปล่อยคอนเทนต์ รวมถึงการเลือกใช้ช่องทางสื่อสารที่เหมาะสม

การทำคอนเทนต์ให้เหมาะกับแพลตฟอร์มต่างๆ

Digital Platfroms ทั้งหลายนั้นมีความแตกต่างและจุดประสงค์การใช้ออกไป สิ่งที่นักการตลาด ควรคำนึงถึงก็คือพฤติกรรมของผู้บริโภค (Consumer’s behaviour) และรูปแบบของแพลตฟอร์มนั้นๆ เรามาดูต่างอย่างกันคร่าวๆ กันดีกว่า 

  • Written post – สำหรับคอนเทนต์ที่อัดแน่นไปด้วยตัวอักษรที่ถ่ายทอดเรื่องราวน่าสนใจ และพร้อมที่จะสร้าง Engagement กับลูกค้าผ่านการแชร์หรือคอมเมนต์ ซึ่งคอนเทนต์ ประเภทนี้เหมาะกับแพลตฟอร์มที่ให้พื้นที่ไม่จำกัดในการโพสต์ เช่น Facebook, Website, หรือ LinkedIn หรืออาจจะเป็น Twitter ที่เราสามารถทวิตได้เรื่อยๆ 
  • Photos – รูปภาพในที่นี้คืออาจจะเป็นรูปถ่ายแบบเดี่ยวหรืออัลบั้มก็ได้ และไม่จำเป็นที่ จะต้องเป็นภาพถ่าย อาจจะเป็น Infographic หรือ graphic ที่อ่านง่ายก็ได้ และแน่นอน ว่าคอนเทนต์แบบนี้ย่อมเหมาะสมกับ Plarform ที่เน้นโพสต์รูปเช่น Instagram และ Pinterest 
  • Video – คอนเทนต์ภาพเคลื่อนไหวที่สามารถดึงความสนใจของทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็น คลิปไม่กี่วินาทีไปจนถึงหลายนาทีก็ถือว่าเป็นคอนเทนต์ยอดฮิต แน่นอนว่าแพลตฟอร์มที่จะรองรับภาพเคลื่อนไหวพวกนี้ก็คงไม่พ้น Youtube หรือจะเป็นคลิปสั้นๆ บน Instagram หรือ TikTok ก็ดี 
  • Video Stories – คลิปเคลื่อนไหวแบบกระชับคือคอนเทนต์ที่สามารถดึงดูดผู้คนได้ใน ระยะเวลาสั้นๆ เพราะแค่ปัดผ่านหน้าจอก็สามารถรับรู้สารที่แบรนด์ต้องการสื่อได้แล้ว ซึ่งนี่คือคอนเทนต์แนวใหม่ที่มีเฉพาะบาง Platforms เช่น Facebook, หรือ Instagram
  • Live Video – คอนเทนต์เคลื่อนไหวแบบ Real Time ที่ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเน้นไปที่การ สัมภาษณ์ผู้คนหรือถ่ายทอดสด Event สำคัญๆ ที่ใครใครก็อยากเข้ามาร่วมจอย การจะ ทำคอนเทนต์นี้ได้ต้องดูที่ว่า Platforms มีฟีเจอร์รองรับและจำนวนผู้ใช้นิยมขนาดไหน ซึ่งก็คงไม่พ้นการใช้งาน Facebook และ Instagram 

ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือช่องทางการทำ Digital Marketing ที่แนะนำและยังสามารถใช้ได้จริง ในปัจจุบัน เราอาจจะประยุกต์ใช้ทุกช่องทางในการทำโฆษณาก็ได้หรืออาจจะเจาะจงแค่กลุ่ม เป้าหมายของเรา และศึกษาช่องทางนั้นๆ เพื่อต่อยอดการทำโฆษณาและส่งต่อคอนเทนต์ดีๆ ให้ลูกค้าของเราต่อไป