“ของไทยเหรอ อืมม ไม่ดีมั้ง เอาของเมืองนอกดีกว่า”

นี่ไม่ใช่แค่ความคิดของใครบางคน แต่เป็นสิ่งที่คุณนาว ภาดารี อุตสาหจิต, Co-founder & CEO บริษัท Lightwork ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทยที่เราชวนมาคุยกันใน Meet The Shifu EP 3 นี้ ประสบมากับตัวเอง

ประเด็นข้างต้นถือเป็นหนึ่งในความท้าทายของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทย สอดคล้องกับประเด็นที่ว่า ประเทศไทยของเราจะมี Tech Startup เติบโตขึ้นมาก แต่ซอฟต์หรือเครื่องมือต่างๆ กลับไม่เป็นที่รู้จักนัก 

ในครั้งนี้ เราเลยอยากจะพาคุณมาทำความรู้ซอฟต์แวร์คนไทยอย่าง Lightwork ที่พัฒนา RPA หรือ Robotic Process Automation ซึ่งคุณนาวบอกว่า ตั้งใจออกแบบซอฟต์แวร์มาเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ

( ..ก็ใครจะไปเข้าใจคนไทย ได้ดีเท่าคนไทยด้วยกันเองกันเล่า)

RPA จริงๆ แล้วคืออะไร Robotic ที่ว่า จะเข้ามาช่วยงานประเภทไหนของเราได้บ้าง พร้อมกันนั้น ถ้าอยาก Transform องค์กรให้พร้อมรับระบบหุ่นยนต์ Automation ในอนาคตอันใกล้จะต้องเตรียมตัวอย่างไร 

มาพูดคุยไปพร้อมๆ กันค่ะ

 

ช่วยเล่าถึงแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นทำ Lightwork 

Lightwork คือ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ RAP หรือ Robotic Process Automation ที่จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างอัตโนมัติ 

“Lightwork ถ้าแปลตรงตัวมันคือ เทคโนโลยีที่เอามาช่วยให้เราทำงานเบาลง ‘Light’ คือ เบา ‘work’ ก็คืองาน หรือจริงๆ แล้วมันคือสแลงด้วย แปลว่า ‘ง่ายขึ้น’ เลยอยากเอาเทคโนโลยีมาช่วยให้ชีวิตคนไทยง่ายขึ้น ไม่ต้องทำงานที่มันซ้ำๆ” คุณนาวเล่าให้เราฟังถึงที่มาที่ไปของบริษัท Lightwork

แล้วก็ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจสำคัญที่อยากใช้เทคโนโลยีมาช่วยงานคนต่อว่า พ่อแม่ของคุณนาวเป็นคนทำงานหนัก บางที่เสาร์ อาทิตย์ก็ไม่ได้มีเวลาให้กับลูกๆ เหมือนพ่อแม่ของคนอื่นๆ 

“บางครั้งลูกๆ ก็ไปเล่นหรือไปหาคุณพ่อคุณแม่ที่ออฟฟิศ แทนที่จะไปเล่นด้วยกันที่สวนสนุก”

หรือบางทีเสาร์ อาทิตย์ก็เห็นคุณพ่อกับคุณแม่ ทีมงาน มาคีย์ข้อมูล ทำ Report ทำบัญชีการเงิน ซึ่งคุณนาวก็รู้สึกว่า เป็นอะไรที่ตรงไปตรงมา มีขั้นตอนชัดเจน และด้วยความที่เป็นคนที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีก็เลยคิดว่าจะมีเทคโนโลยีตัวไหนไหมที่จะช่วยงานคุณพ่อ คุณแม่ หรือทีมงานได้

จึงเป็นที่มาของ Lightwork ที่คุณนาวอยากช่วยให้ทุกคน ‘งานเบา’  ลง

จริงๆ แล้ว RPA หรือ Robotic ที่ Lightwork พัฒนาคืออะไร แล้วเข้ามาช่วยงานเราอย่างไรบ้าง

“ตัว Robotic ถ้าเราเรียกว่า Virtual Employee Robot หรือหุ่นยนต์พนักงานช่วยงาน” หรือที่คุณนาวให้ชื่อเล่นว่า “พนักงานล่องหน” หน้าที่ของ RPA หรือ Robotic Process Automation ก็คือ เป็นหุ่นยนที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยงานของมนุษย์โดยที่มนุษย์เป็นคนสอนงาน แล้วจากนั้นระบบจะทำงานเอง 

คุณนาวอธิบายในเชิงคอนเซปต์ให้เข้าใจมากขึ้นอีกว่า คือ ถ้าเคยใช้ Excel ในการทำงาน ก็จะมีฟังก์ชั่น “Automate” อยู่ ตัว Robotic ก็คือเหมือนกับฟังก์ชั่นนี้ เพียงแต่ไม่ได้ทำงานแค่ใน Excel เท่านั้น เพราะทำได้จากทุกโปรแกรมของ Windows ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บไซต์ การส่งอีเมล การทำ Analytics การดึงข้อมูล-คีย์ข้อมูล จากโปรแกรมต่างๆ ก็สามารถนำมาคำนวณและฟังก์ชั่นต่อได้

ลักษณะงานแบบไหนบ้างที่ RPA จะเข้ามาช่วยได้

  • ลักษณะงานที่มีกระบวนการชัดเจน ตรงไปตรงมา เป็นงานที่ต้องทำซ้ำๆ มีแพทเทิร์นเดิมๆ อย่างเช่น งานอ่านข้อมูล คีย์ข้อมูล ซึ่ง Robotic จะเข้ามาช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น ลดโอกาสเกิดความผิดพลาด (Human Error) และลดค่าใช้จ่าย (รวมทั้ง ต้นทุนแรงงาน เวลา ค่าจ้าง)
  • ลักษณะงานเชิง Monitoring & Analytics งานดึงข้อมูลและนำมาประมวลผล ยกตัวอย่างเช่น ดึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จากโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อ Monitor ดูภาพีวม ซึ่งเราสามารถตั้ง Alert หรือแจ้งเตือนได้หากมีอะไรผิดพลาด

คุณนาวแชร์ต่อว่า ไม่ใช่ว่า การนำ Robotic เข้ามาใช้จะคุ้มค่า ถ้าหากเรามีเอกสารที่ต้อง Process เพียงวันละ 10 แผ่น หรือ Monitor คอมพิวเตอร์แค่ไม่กี่เครื่อง แต่ถ้ามีเอกสารที่ต้องดูหลักร้อยหรือพัน ต้อง Monitor คอมพิวเตอร์หลายสิบหลายร้อยตัว RPA ก็จะช่วยลดเวลาและต้นทุนได้

ถ้าองค์กรหรือธุรกิจไหนมี Volume งานสูงๆ มีงานที่ต้องทำซ้ำๆ หรือระดับ Manager ต้องการดูภาพรวมงานในปริมาณมากๆ ก็เหมาะที่จะใช้ RPA แล้ว ส่วนลักษณะงานที่ Robotic ยังเข้าไปช่วยไม่ได้ จะเป็นงานที่ต้องใช้คนคุยกับคนหรืองานที่เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์

3 เคสตัวอย่างที่มีการนำ RPA ของ Lightwork ไปใช้งานจริง

เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพมากขึ้น คุณนาวเลยได้เล่าถึงเคสจริงๆ ที่มีการนำ RPA ไปใช้

ตัวอย่างแรกคุณนาวยกกรณีที่ต้องทำ Production Planning กล่าวคือ RPA จะคอยช่วยดึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มา เช่น สูตรที่มีอยู่แล้วว่าต้องทำอย่างไร แล้วต้องทำแผนอย่างไร ใช้อะไรกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องเพิ่ม-ลดอะไรจากสต็อกเท่าไหร่ Robotic สามารถช่วยคำนวณได้ แล้วยังทำ Report ส่งให้ผู้ดูแลได้ทันที หากสต็อกใกล้จะหมดก็แจ้ง Alert ได้

สำหรับตัวอย่างที่สอง เป็นเคสจากที่ทำสื่อ Digital Marketing ที่ต้องดูแล Social Media หลากหลายช่องทาง ซึ่งมี Pain Point เรื่องการทำ Analytics หรือการดูภาพรวม เช่น คอนเทนต์ที่ปล่อนใน Facebook พุ่ง แต่ก็ไม่รู้ว่า บน Twitter เป็นอย่างไร Podcast พุ่งตามหรือเปล่า วิธีการทำจึงเป็นคนที่คอยเข้าไปดึงข้อมูลจากที่ต่างๆ มารวมกัน ซึ่งต้องใช้เวลานาน บางที 2 เดือนครั้ง ทำให้วางแผนได้ไม่ดีเท่าที่ควร

Solution ก็คือ ให้สอน Robotic ว่าวิธีดึง Report จากที่ต่างๆ ทำได้ยังไง ก็ทำให้ดูหนึ่งครั้ง จากนั้น Robotic ก็จะสามารถทำตามและทำแทนได้แล้ว สามารถดึงข้อมูลจาก 5 – 6 แพลตฟอร์มมาไว้ที่เดียว รวมทั้ง จัดฟอร์แมตให้เหมือนกัน เพื่อง่ายต่อ Analytics ในภาพรวม และถ้าอยากรู้ว่ายอด (Metrics) ต่างๆ ถึงที่ตั้งไว้แล้ว หรือต่ำกว่าที่ตั้งไว้อย่างไร ก็ให้ระบบส่งแจ้งเตือนให้ทีมงานได้

ตัวอย่างที่สาม คือ ตัวอย่างการใช้งานกับงานขายหรือ Sales โดย RPA จะเข้ามาช่วยคีย์ข้อมูลและ Process งานต่างๆ ให้ ไม่ว่าจะเป็นทำใบเสนอราคาหรือ Quotation ดึงข้อมูลจากออร์เดอร์ที่ลูกค้าคอนเฟิร์มแล้วมาคีย์ในระบบ แล้วนำไป Map กับขชื่อลูกค้า ส่งหาสต็อก ช่วยดูว่ามีของหรือเปล่า แล้วจะดึงสินค้าจากคลังไหน จากนั้นก็ส่งหางานบัญชี ส่งถึงงานขนส่งต่อได้โดยอัตโนมัติ

คุณนาวสรุปว่า “แทนที่ลูกค้าจะต้องรอเรา 2-3 เพื่อเช็คสต็อกแล้วรอติดต่ออีกที เราก็สามารถ Assign งานให้ Robotic ช่วยเชื่อมต่องานให้ทั้งหมดเลย ลูกค้าก็จะได้คำตอบอย่ารวดเร็ว”

Lightwork ระบบ Robotic Process Automation ที่ออกแบบเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ

อีกสิ่งหนึ่งที่คุณนาวกล่าวกับเรา คือ Lightwork เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทยเพื่อคนไทย เพราะเป็นคนไทย จึงเข้าใจวิธีการทำงานแบบคนไทย

“เราดีไซน์ Lightwork ให้มันสามารถ Integrate (ทำงานร่วมกับ) กับ Line ได้ ต่อไปถ้าเราจะสั่ง Robot ให้ทำงานให้เรา ไม่ว่าจะเป็นการคีย์ข้อมูล การทำบัญชี หรือการสั่งพิมพ์ ทำการเงินต่างๆ ก็สามารถสั่งผ่านทาง Line ได้” คุณนาวว่าและเสริมต่อว่า ถ้าหากระบบมี Error จุดไหน หรืออะไรที่ Robot ยังทำไม่เป็น ต้องการถามคน มันก็สามารถจะถาม และเราก็สามารถสอนมันผ่านทาง Line ได้ด้วยเช่นกัน

หรืออีกความสามารถที่น่าจะถูกใจคนไทย ก็คือ การงานไฟล์เอกสาร PDF ต่างๆ การอ่านอีเมล อ่านแบบฟอร์มต่างๆ ที่ทำได้ ยกตัวอย่างเช่น Invoice หรือ Bank Slip ในกรณีที่คนไทยชอบสั่งซื้อสินค้าออนไลน์แล้วชอบส่งสลิปมาเยอะๆ จากแต่ก่อนที่ต้องให้พนักงานมาคีย์ข้อมูล ซึ่งใช้เวลาและอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ เช่น 100 หน่วย เพิ่มศูนย์ไปหนึ่งตัวก็เป็น 1000 แล้ว ..เราก็ให้ Robotic ทำงานแทนได้รวดเร็วและถูกต้อง

คำแนะนำในการเตรียมตัว ถ้าสนใจใช้ Robotic มา Automate งาน 

เราถามต่อไปว่า ถ้าหากองค์กรหรือธุรกิจต้องการที่จะใช้ Lightwork หรือซอฟต์แวร์เจ้าอื่นๆ ก็ตาม เพื่อเตรียมรับกับยุค Automation ที่หุ่นยนต์จะมีบทบาทมาช่วยงานของมนุษย์มากยิ่งขึ้น 

คุณนาวก็ได้ให้คำแนะนำมา 2 ข้อ ได้แก่

  1. ทำ Digital Transformation

กล่าวคือ ให้เริ่มทำงานทุกอย่างผ่านระบบดิจิทัล ให้ลดการทำงานเอกสารจริงๆ ลง เช่น เมื่อต้องการเขียนเอกสารต่างๆ บันทึกข้อมูล หนังสือขออนุญาต ฯลฯ ข้อมูลต้องเป็น Digital Format อย่างเช่น ไฟล์ word, exel, หรือ pdf ก็เป็นไฟล์ดิจิทัล

  1. จัดเก็บข้อมูลแบบ Structured Data

หมายถึง  ให้พยายามเก็บข้อมูลให้มีแบบแผน (Pattern) เช่น แบบฟอร์มขอทำ Planning งบประมาณ จากเดิมที่เคยเขียนอีเมล หรือเขียนบันทึกข้อความในรูปแบบ “Free Text” ไม่มีแบบฟอร์มอะไร ซึ่งหากใช้ Robotic มาทำงานก็จะยาก ยากต้อการดึงข้อมูล ประมวล วิเคราะห์ จึงต้องควรเปลี่ยนเป็นแบบฟอร์ม ถ้าจะเขียน วัน/เดือน/ปี ต้องอยู่ตำแหน่งนี้ งบยประมาณอยู่ตำแหน่งนี้ ฯลฯ 

คุณนาวยังเสริมต่อไปว่า ที่ Lightwork จะแนะนำวิธีการจัดเก็บข้อมูลรวมถึง Format ต่างๆ ให้หับลูกค้าด้วย เพื่อให้ในอนาคตสามารถเอาข้อมูลต่างๆ ไปทำ Big Data ได้

สุดท้ายนี้ ภาพต่อไปของ Lightwork คุณนาวมองว่าเป็นยังไง

ในมุมของการพัฒนาโปรดักต์ คุณนาว ตอบเราว่า ปัจจุบัน เวลาที่ Lightwork ไปช่วย Automate หรือเอา Robotic ไปช่วยคนไทยงาน ยังค่อนข้างมี Process ให้ระบบต้องเรียนรู้อยู่เยอะ ต้องให้คนมานั่งสอนก่อนว่าต้องทำยังไง สเต็ปต่อไป ต้องการลดขั้นตอนการเรียนรู้ตรงนั้นให้ได้มากที่สุด ต่อไปแค่คนบอก “A” มันอาจจะนับถึง “C” ได้เลย ..เป็น AI ที่สามารถคิดได้

ส่วนในแง่ตลาด ตอนนี้ฐานลูกค้าของ Lightwork ยังเป็นประเทศไทย แต่ต่อไปเราอยากมีลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศด้วย อย่างเอเชีย หรือถ้าไปทั่วโลกได้ก็ยิ่งดี 

“Mission ของเรา คือว่าเราอยากจะเป็นฟันเฟืองที่ช่วยพัฒนาประเทศไทยให้ไประดับโลก Lightwork อยากเป็นซอฟต์แวร์ที่ Prove ให้ทุกคนได้เห็นว่า ซอฟต์แวร์คนไทยน่ะ ใช้ดีนะ คุณภาพดีนะ ใช้ง่ายนะ”

“คือเราอยาก Prove ว่า คนไทย คนไทยก็ทำได้นะ คนไทยก็เก่งนะ …คือเราเจอเหตุการณ์หลายเหตุการณ์เวลาที่หลายๆ ครั้ง เพราะเราเป็นซอฟต์แวร์คนไทยเอง คนไทยก็จะไม่ได้เหมือนคนญี่ปุ่นเท่าไหร่ คนญี่ปุ่นเขาก็จะบอกว่า ซอฟต์แวร์ญี่ปุ่นเหรอ ใช้ของญี่ปุ่นดีกว่า ของไทยก็จะเป็นแนวว่า ของไทยเหรอ อืมม ไม่ดีมั้ง เอ าของเมืองนอกดีกว่า ซึ่งเราอยากที่จะเป็นหนึ่งในกลไกที่เข้ามาเปลี่ยน Perception นั้น”

“จริงๆ มันก็ถึงขนาดว่า มีคนมาแนะนำว่า จริงๆ แล้วซอฟต์แวร์ของ Lightwork ดีมากเลยนะ แต่มันเป็นของคนไทยน่ะ ลอง Rebrand ไหม ปรับให้เป็นของอเมริกาเลยก็ได้ ..ซึ่งมันก็คงมีตลาดแหละ ถ้าเป็นของอมเริกาแล้วมันคงน่าใช้กว่า แต่เราก็รู้สึกว่า เราเป็นคนไทย ทีมเราก็เป็นคนไทย ทำไมเราต้องเปลี่ยน Identity ของบริษัทเราเพื่อแบบนั้นด้วย”

ก็ถือได้ว่า คุณนาวและ Lightwork ได้เปลี่ยนความท้าทายเหล่านี้ มาเป็นเป้าหมายและแรงผลักดันในการพัฒนาซอฟต์แวร์และธุรกิจต่อไป


นอกจากเนื้อหาเกี่ยวกับ Robotic Process Automation ของ Lightwork ที่เรานำมาสรุปให้คุณรู้จักแล้ว เรายังชวนคุณนาวพูดคุยถึง Productivity Tips ของ Lightwork และ Tip ส่วนตัวของคุณนาวเองด้วย 

ตามไปฟังกันได้ในพอดแคสต์แอปพลิเคชั่นที่คุณใช้ หรือตรงนี้