ในยุคแห่ง Big Data ที่ข้อมูลจำนวนมหาศาลกลายเป็นเข็มทิศชี้ชะตาธุรกิจ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องลงทุนกับ Server หนักๆ สำหรับเก็บข้อมูล แต่ก็ต้องแลกด้วยเม็ดเงิน เวลา

 อีกทั้งยังไม่รู้ด้วยว่าที่ซื้อมา มันจะเวิร์คกับธุรกิจหรือเปล่า? เรียกได้ว่ามีความเสี่ยงสูงทั้งกับธุรกิจขนาดเล็ก หรือใหญ่เลย

เทคโนโลยี Cloud Computing จึงถือกำเนิดขึ้นแบบฮีโร่ เพื่อมาแก้ปัญหาโดยมีจุดเด่นที่ เบาต้นทุน ประหยัดเวลา ไม่ต้องกังวลเรื่องทรัพยากร

 วันนี้เรามาเจาะลึกประโยชน์ว่าทำไมคุณต้องเลือกใช้ Cloud และกรณีศึกษาจาก VulturePrime – ผู้ให้คำปรึกษา Cloud แบบนักปฏิบัติตัวจริง เพื่อให้เข้าใจกันแบบถ่องแท้!

ยาวไปอยากเลือกอ่าน

Cloud คืออะไร? เข้ามาแก้ปัญหาธุรกิจได้อย่างไร?

Cloud Computing คืออะไร?
แหล่งที่มา : Spiceworks

Cloud หรือ Cloud Computing คือ เทคโนโลยีที่ให้เช่าใช้ Server และทรัพยากรของบริษัท Cloud ผู้ให้บริการ โดยสามารถเลือกการประมวลผล วางแผนงบประมาณได้ด้วยตัวเอง และเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอินเทอร์เน็ต

คิดภาพก้อนเมฆหนึ่งก้อนมีชื่อผู้ให้บริการอยู่ แล้วก้อนเมฆนั้นก็ช่วยเรากักเก็บข้อมูล ก่อนจะกลั่นผ่านอินเทอร์เน็ต หรือเม็ดฝน เป็นข้อมูลมาสู่ Device บนมือเราที่อยู่บนพื้น ให้เราได้ใช้งาน

ในเชิงธุรกิจ Cloud Solutions จึงเป็นคำตอบของปัญหา เพราะ ไม่ต้องลงทุนซื้อ Server และไม่ต้องสร้าง Data Center ของตัวเอง เพียงเลือกใช้บริการ Cloud ก็มีทรัพยากรทุกอย่างให้ครบครัน ประหยัดเวลาติดตั้ง และยังคิดค่าบริการตามจำนวนใช้งาน ไม่มีค่าแรกเข้า และค่าบริการขั้นต่ำอีก

เหมาะกับทั้งธุรกิจเล็ก และใหญ่ ให้สามารถเก็บข้อมูลมาใช้วิเคราะห์และวางแผนการตลาดได้โดยไม่สิ้นเปลืองงบประมาณเลย

ตัวอย่าง Cloud ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน เช่น Zoom อัดวิดีโอประชุมเก็บไว้ใน Cloud, Google Drive ที่เก็บไฟล์ต่างๆ รวมไปถึง Microsoft 360 ด้วย

ผู้ให้บริการ Cloud มีกี่ประเภท? แล้วธุรกิจควรเลือกอย่างไหน?

ผู้ให้บริการ Cloud (Cloud Provider) แบ่งให้เข้าใจง่ายๆ มี 2 ประเภท คือ 

  1. Local Cloud Provider 

ผู้ให้บริการ Cloud ในประเทศไทย รูปแบบ Service ส่วนใหญ่จะค่อนข้างคล้ายกัน เช่น VPS (Virtual Private Server), File Server, Email Host 

จุดแข็ง: ปรึกษาและสื่อสารกันได้ง่าย เข้าใจ ไม่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศ

จุดอ่อน: คิดค่าบริการเป็นรายเดือน และมีข้อจำกัดในการพัฒนากับ Server ใหม่ๆ

  1. Global Cloud Provider 

ผู้ให้บริการ Cloud ระดับโลก เช่น AWS, Azure, GCP (Google Cloud Platform) ที่มีจุดแข็งเด่นเลย คือ บริการที่เยอะและหลากหลายกว่ามาก เช่น Serverless, Auto Scaling และบริการเด่นอย่าง SaaS, IaaS และ PaaS ซึ่งเป็นที่รู้จักในกลุ่มธุรกิจและผู้ใช้งาน อีกทั้งยังมีทรัพยากรให้เลือกใช้เยอะ ไม่ว่าจะ GPU หรือ ระบบประมวลผล AI เป็นต้น

จุดแข็ง: บริการ (Service) และ ทรัพยากร (Resource) ที่มีให้เลือกใช้หลากหลายกว่ามาก และคิดค่าบริการตามรายชั่วโมงที่ใช้ จึงถูกและจัดสรรได้ง่ายกว่า

จุดอ่อน: อาจมีการติดขัดด้านการสื่อสาร เพราะต้องใช้ภาษาต่างประเทศ แต่ก็สามารถปรึกษาผ่านทางบริษัท Cloud Consulting ในไทยอย่าง VulturePrime ได้

ทั้ง 2 ประเภทมีทั้งจุดแข็ง-จุดอ่อน แต่สำหรับธุรกิจวงการดิจิทัลแล้ว การเลือก Global Cloud Provider อาจคุ้มค่าด้วยบริการและทรัพยากรที่มีให้เลือกใช้มากกว่า เพราะอะไร ตามอ่านกันต่อเลย

ทำไมธุรกิจต้องเลือกใช้ Global Cloud? คุ้มกว่าอย่างไร?

  1. ประหยัดค่าใช้จ่าย (Cost Savings) 

ลดต้นทุนในการซื้อ Software และ Hardware ไปลงทุนกับ Cloud ที่คิดค่าใช้จ่ายตามรายชั่วโมงการใช้งาน จัดสรรงบได้ ทดลองใช้ไม่เวิร์คก็ยกเลิกและเปลี่ยนได้ ทำให้ธุรกิจสามารถควบคุมงบประมาณได้ดี

  1. คล่องตัวและยืดหยุ่น (Flexibility)

เทคโนโลยี Cloud ให้คุณเลือกใช้และปรับขนาดทรัพยากรได้หลากหลายตามต้องการ รองรับการขยายตัวของธุรกิจ 

  1. ทรัพยากรและนวัตกรรมที่ล้ำยุค (Resource & Innovation)

จุดแข็งใหญ่ของ Global Cloud คือ ทรัพยากรและนวัตกรรมที่ล้ำสมัยให้เลือกมากมาย ทำให้ธุรกิจเข้าถึง IT Resource ระดับเดียวกับบริษัทระดับโลก โดยไม่ต้องลงทุนซื้อ สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ ยิ่งรวมกับนวัตกรรมล้ำหน้าต่างๆ เช่น AI as a Service เข้ามาเสริมทัพ ทำให้ธุรกิจก้าวข้ามข้อจำกัดไปได้

  1. ความปลอดภัย (Security)

Global Cloud มีความปลอดภัยสูง อีกทั้งยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่อัปเดตอยู่เสมอ ทำให้ธุรกิจไว้ใจ Global Cloud มากกว่า

  1. มีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ (All-rounder Consulting)

ในไทย และอีกหลายประเทศจะมี Cloud Consulting ผู้ให้คำปรึกษา Cloud โดยเฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาด้านการสื่อสารกับผู้ให้บริการโดยตรง และยังรวดเร็ว ตอบโจทย์การใช้งานของแต่ละประเทศด้วย จากจุดอ่อนจึงกลายเป็นจุดแข็งอีกข้อหนึ่งของ Global Cloud


แนะนำให้รู้จัก VulturePrime ที่ปรึกษาจากนักปฏิบัติตัวจริง

VulturePrime ที่ปรึกษาด้าน Cloud Computing โดยนักปฏิบัติตัวจรืง

VulturePrime ที่ปรึกษาด้าน Cloud Computing โดยนักปฏิบัติตัวจริงที่มีความรู้ด้าน IT Solutions และ Cloud Solutions แบบเจาะลึก ทำให้ทุกคำแนะนำมาจากประสบการณ์และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อ Pain Point ของธุรกิจ

โดย Pain Point ของธุรกิจที่อยากใช้ Cloud Solutions มาพัฒนา มักจะล้มตั้งแต่เริ่มเพราะก้าวขาผิดข้าง เช่น หยิบ Global Cloud ชื่อดังมาใช้ แต่กลับนำมาผสานกับระบบการทำงานไม่ได้ ทั้งยังอาจไม่มีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญด้าน Cloud ทำให้นำมาใช้ไม่สำเร็จ

แต่พอจะเลือกที่ปรึกษาก็กลัวว่างบจะบานปลาย อีกทั้งยังไม่รู้ว่าจะเชื่อถือ Consulting ที่วัดกันด้วยผลงานได้ยากได้ไหม

VulturePrime เข้าใจในจุดนี้ จึงมีตัวช่วยอย่าง Cost Transparency ราคาโดยประมาณที่หน้าเว็บ ทั้งยังมีบริการเช็คราคาของ Cloud Computing ได้ฟรี เพื่อช่วยตรวจเช็ค และให้คำปรึกษาว่าคุณกำลังมาถูกทางหรือเปล่า

เช็ค Cloud Cost ฟรีได้ที่นี่ https://www.vultureprime.com/cloud-cost-check 

นอกจากนี้ VulturePrime ยังได้สร้างโจทย์ท้าทายในการสร้างเครื่องมือต่างๆ จากเทคโนโลยี Cloud Computing ภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อพิสูจน์ว่าทำไมธุรกิจต้องเลือกใช้ Cloud โดยเราได้ยกมาให้ดูในวันนี้แล้ว! 


3 กรณีศึกษาที่พิสูจน์ว่าทำไมธุรกิจต้องเลือก Cloud Solutions จาก VulturePrime


Shifu แนะนำ

Serverless คือ หนึ่งใน Service ของ Cloud Computing ที่ให้ Software Developer สามารถใช้งาน Coding ของตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องดูแล Server หรือ Infrastructure แม้แต่น้อย และยังครอบคลุมด้าน Monitor กับ Security ด้วย

โดยแก้ปัญหา

  • Burst request : การที่จู่ๆ มีจำนวนผู้ใช้งานพร้อมกันอย่างมหาศาล จาก 10 คน เป็น 100,000 คนต่อชั่วโมง ถ้าใช้งาน Serverless ก็สามารถรับมือได้โดยไม่ต้องออกแบบระบบใหม่
  • Security : ปลอดภัยทั้งในเรื่องของ SSL (https), Encryption (การเข้ารหัส) และ Virus เพราะทาง Cloud Provider เป็นผู้รับผิดชอบดูแล
  • Monitor : สามารถเปิดใช้งานฟีเจอร์พื้นฐานเพื่อเก็บรักษาและเรียกดูข้อมูลที่เก็บไว้ได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องพัฒนาเพิ่ม

 

ImageXYZ: เครื่องมือปรับขนาดภาพสำหรับเว็บไซต์

เครื่องมือ ImageXYZ ปรับขนาดภาพสำหรับเว็บไซต์

Challenge

“ถ้าทีมมีเวลาแค่ 1 สัปดาห์ในการสร้างเครื่องมือจาก Cloud Computing จะทำอะไรได้บ้าง?”

ทาง VulturePrime ได้ตั้งโจทย์ที่ท้าทายเวลากับงบประมาณ จึงเกิดเป็นเครื่องมือ ImageXYZ – เครื่องมือปรับขนาดภาพสำหรับเว็บไซต์ ที่สร้างเสร็จใน 1 สัปดาห์ ประหยัดงบ และใช้งานทรัพยากรอย่างตอบโจทย์

โจทย์ของการสร้าง ImageXYZ คือ 

  1. เข้าถึงได้เร็ว และใช้งานได้ตลอดเวลา ไม่ล่ม
  2. ประหยัดต้นทุน คุมงบประมาณได้
  3. ดูแลระบบได้ง่าย  

เทคโนโลยี Cloud ที่เลือกนำมาใช้

เครื่องมือในการสร้าง ImageXYZ

เพื่อตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ VulturePrime จึงเลือกใช้บริการ Serverless ของ Cloud มาเป็นโครงสร้างหลักในการเก็บข้อมูลและประมวลผล โดยเราจะขอยกเครื่องมือหลักๆ ที่สำคัญ คือ

  • Infrastructure – AWS หรือ Amazon Cloud ที่เป็น Service แบบ Serverless ทั้งหมดมาใช้เป็นโครงสร้างตั้งรกรากโปรแกรม ประหยัดค่าใช้จ่าย
  • Backend – AWS Lambda เทคโนโลยี Serverless ของ AWS (Amazon Cloud) ที่เป็นการใช้โค้ดตามที่ผู้พัฒนาเขียนขึ้น นำมาใช้เป็นโครงสร้างหลักสำหรับประมวลผล หรือ Backend 
  • Serve Static Contents – AWS S3 เครื่องมือจาก AWS ที่เอามาใช้รับไฟล์ภาพ และ Hosting Website (บริการฟรีของ AWS) ก่อนส่งให้ Lambda 
  • API – Amazon API Gateway ตัวเชื่อมบริการจาก AWS ในการส่งต่อข้อมูลจากอัปโหลดภาพ ไปประมวลผลและส่งกลับมาแสดงผล
  • เครื่องมืออื่นๆ เช่น NextJs, Javascript และ Cloudflare มาเสริมทัพ Frontend

โดย VulturePrime เลือกใช้ Service จาก AWS (Amazon Cloud) เกือบทั้งหมด ทำให้สร้างได้เร็ว ง่าย และประหยัด และมีการหา Reference Website มาช่วยวางโครงสร้าง Software Architecture ทำให้เร็วต่อการสร้างยิ่งขึ้น

หลักการทำงานง่ายๆ ของ ImageXYZ ตาม Software Architecture 

  1. อัปโหลดรูปแล้ว AWS S3 รับไฟล์ ก่อนส่งต่อผ่าน Amazon API Gateway ไปยัง AWS Lambda ในการประมวลผล 
  2. AWS Lamdha ประมวลผลข้อมูลให้เป็นไปตามที่ผู้ใช้งานต้องการ
  3. Compress และส่งออกไปเป็นไฟล์ .zip สำหรับดาวน์โหลด

ผลลัพธ์ที่ได้

ImageXYZ เครื่องมือปรับขนาดภาพเว็บไซต์
  1. เข้าถึงได้เร็ว และใช้งานได้ตลอดเวลา เพราะใช้ AWS S3 ในการ Hosting Website ทำให้มี Uptime (ช่วงเวลาที่ให้บริการได้) สูงถึง 99.9% และใช้ AWS Lambda ประมวลผล ยังมี Uptime 99.95% ซึ่งทั้งหมดเป็นความสามารถพื้นฐานของ AWS หรือ Amazon Cloud
  2. ประหยัดต้นทุน คุมงบประมาณได้ มีค่าใช้จ่ายคงที่ต่อเดือนเกือบ 0 บาท และมีค่าใช้จ่ายแปรผันขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการประมวลผลรูปภาพ โดยค่าใช้จ่ายโดยประมาณที่ 1 ล้านรูปภาพ 200 USD 
  3. ดูแลระบบได้ง่าย เพราะใช้ Serverless เต็มรูปแบบ ทำให้ไม่ต้องดูแลเรื่องการพัฒนาระบบต่อ

ImageXYZ เป็นตัวอย่างของการนำ Cloud Solutions มาใช้สร้างเครื่องมือซึ่งตอบโจทย์ทั้งด้านระยะเวลาการสร้างที่รวดเร็ว ฟังค์ชั่น งบที่ประหยัดและจัดสรรเองได้ และยังไม่ต้องกังวลเรื่องระบบเพราะเป็นบริการ Serverless 

ทดลองใช้งาน ImageXYZ ได้ที่: https://imagexyz.vultureprime.com/ 

OgXYZ: เครื่องมือ Open Graph Generator

ogXYZ เครื่องมือสร้า Open Graph ที่รับการใช้งานได้เยอะ ไม่ล่ม

Challenge

“ถ้ามีเวลาแค่ 1 สัปดาห์ ในการสร้างเครื่องมือที่ไม่ล่มแม้จะมีคนใช้งานเยอะ ด้วย Cloud Computing จะทำได้ไหม?”

ทาง VulturePrime ได้ตั้งโจทย์ที่ท้าทายอีกครั้ง ตัว ImageXYZ ได้พิสูจน์แล้วว่า Cloud ทำอะไรได้แค่ไหน แล้วถ้าครั้งนี้เราจะสร้างเครื่องมือที่ไม่มีอ้างอิง ต้องวางใหม่ตั้งแต่ Concept และต้องไม่ล่มแม้มีคนใช้งานเยอะแบบที่คาดเดาไม่ได้จะทำอย่างไร? 
และผลลัพธ์ที่ได้คือ OgXYZ – เว็บไซต์สร้าง Open Graph (Og Tag) สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่ได้เชื่อม MetaTag และยังสามารถปรับแต่งหน้าตาแสดงผลตามใจ และไม่ทำให้ Meta Tag เดิมได้รับผลกระทบ​ซึ่งเป็นจุดแข็งของเครื่องมือนี้


Shifu แนะนำ

Open Graph หรือ เรียกอีกชื่อว่า Og Tag ถูกออกแบบและสร้างโดย Facebook ซึ่งถูกเรียกว่า Meta Tag เพื่อเป็นตัว Preview หน้าเว็บไซต์ ให้เวลาที่เราแชร์ลิงก์ไปที่ Social Media ต่างๆ แล้วน่าสนใจมากขึ้น โดยจะมีภาพ ชื่อหัวข้อเว็บไซต์ และคำอธิบายสั้นๆ ให้คนเข้าใจว่าเว็บนี้พูดถึงอะไร

 

โจทย์ของการสร้าง OgXYZ คือ 

  1. เป็นระบบที่ห้ามล่ม เพราะ ถ้านำลิงก์ที่ติด Og Tag ไปโพสต์จะมี Redirect Request เข้ามาอีกเท่าไรไม่รู้ เป็นข้อท้าทายที่สุด!
  2. รองรับผู้ใช้งานได้เป็นจำนวนมาก
  3. เข้าถึงได้เร็ว ข้อมูลถูกต้อง เรียกใช้งานได้จากทุกที่

เทคโนโลยี Cloud ที่เลือกนำมาใช้

ogXYZ เครื่องมือสร้าง Open Graph ที่เข้าใจง่าย ใช้งานได้เร็ว

เพื่อตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ VulturePrime จึงเลือกใช้บริการ Serverless ของ AWS มาเป็นโครงสร้างหลักในการประมวลอีกครั้ง แต่เลือกที่เก็บข้อมูลเป็น MangoDB – Open Source Database ที่ถึงจะเปลี่ยน Cloud Provider ก็สามารถเชื่อมกับ Cloud ใหม่ได้ มีเครื่องมือหลักๆ คือ

  • Infrastructure – AWS หรือ Amazon Cloud ที่เป็น Service แบบ Serverless ทั้งหมดมาใช้เป็นโครงสร้างตั้งรกรากโปรแกรม ประหยัดค่าใช้จ่าย
  • Backend – EC2 เทคโนโลยีประมวลผลที่ปรับเปลี่ยนขนาดได้ ของ AWS (Amazon Cloud)
  • Serve Static Contents – AWS S3 เครื่องมือจาก AWS ที่เอามาใช้ Hosting 
  • Database – MangoDB นำมาใช้เป็น Database เก็บข้อมูลมหาศาล โดยเลือกบริการเป็น Serverless
  • API – Amazon API Gateway ตัวเชื่อมบริการจาก AWS ในการส่งต่อข้อมูล
  • เครื่องมืออื่นๆ เช่น NextJs, Cloudflare และ AWS Cloudwatch 

หลักการทำงานง่ายๆ ของ OgXYZ ตาม Software Architecture 

  1. รับลิงก์ต้นทาง ส่งต่อประมวลผลด้วย AWS EC2  ก่อนเอาไปโพสต์
  2. เก็บข้อมูลไว้ใน MangoDB Database เมื่อมีคนคลิกที่ลิงก์ปลายทาง ก็จะไปหาลิงก์ในฐานข้อมูล MangoDB และส่งลิงก์ต้นทางไปให้ผู้ใช้บริการ

ผลลัพธ์ที่ได้

OgXYZ เครื่องมือสร้าง Open graph ที่ใช้งานง่าย สร้างจากเทคโนโลยี Cloud Computing
  1. ระบบไม่ล่ม แม้จะมีผู้ใช้งานมาก รองรับได้ 700 Request/วินาที เพราะใช้ AWS EC2 ประมวลผล และมี MangoDB ที่มี Uptime สูงถึง 99.95%
  2. ตอบสนองเร็ว ใช้งานได้จากทุกที่ เครื่องมือประมวลผลอย่าง AWS EC2 รองรับ Request มหาศาลได้ และไม่เกิด Error และ MangeDB ที่เป็น Key-Value Database ค้นหาข้อมูลที่เก็บไว้ได้อย่างรวดเร็ว
  3. มีต้นทุนชัดเจน แบ่งเป็น 2 ส่วน
  • ต้นทุนคงที่ โดยมีต้นทุนค่า Server ของ AWS EC2โดยประมาณ 30 USD ต่อเดือน 
  • ต้นทุนแปรผัน คิดตามจำนวนการคลิกลิงก์ของผู้เข้าชม อยู่ที่ 1 ล้านครั้ง 0.1 USD

OgXYZ เป็นความท้าทายของ VulturePrime ที่ทำให้เห็นว่าเทคโนโลยี Cloud Computing สามารถสร้างเครื่องมือที่รองรับ Request จำนวนมากได้ โดยไม่เกิด Error และยังคุมงบประมาณได้อีกด้วย


ทดลองใช้งาน OgXYZ  ได้ที่:https://ogxyz.vultureprime.com/

LaiTa: AI Vision Platform

Laita : AI จำแนกใบหน้า

Challenge

“ถ้าใช้ Cloud Computing สร้างแอพพลิเคชั่นที่มีฟีเจอร์หลักเป็น AI รูปภาพและฟีเจอร์สำหรับเก็บเงิน จะทำได้ไหม?”

โจทย์ในครั้งนี้ดึงเอาเทรนด์ที่กำลังเป็นกระแสอย่าง #AI มาเป็นหนึ่งในโจทย์สุดท้าย โดยจะเลือกใช้ AI as a Service ของ AWS สำหรับจำแนกใบหน้ามาเป็นแก่นหลักของ Laita – เครื่องมือจดจำและคัดแยกใบหน้า และวางโมเดลสำหรับเก็บเงินซึ่งแตกต่างจากสองเครื่องมือก่อนหน้า

โจทย์ของการสร้าง Laita คือ 

  1. นำเครื่องมือ AI – Machine Learning มาพัฒนาระบบให้ตอบโจทย์มากขึ้น
  2. ค่าใช้จ่ายสามารถคุมได้
  3. คิดค่าบริการ พร้อมมีระบบ Security ที่เชื่อถือได้

เทคโนโลยี Cloud ที่เลือกนำมาใช้

Laita - AI จำแนกใบหน้า รูปอยู่ที่ไหนก็หาเจอ
Laita - AI จำแนกใบหน้า รูปอยู่ที่ไหนก็หาเจอ

VulturePrime ยังคงเลือก Serverless ของ AWS Cloud มาเป็นโครงสร้างหลักในการประมวลเช่นเดิม เพราะราคาที่ย่อมเยาและคงที่ พร้อมทั้งทรัพยากรหลากหลายให้เลือกใช้ และครั้งนี้เลือก Supabase มาเป็น Database เพราะมีฟังค์ชั่น Authentication (ฟังค์ชั่นยืนยันตัวบุคคล) เข้ามาด้วย อย่าลืมว่าครั้งนี้เราจะเก็บเงิน จึงต้องยืนยันตัวตน! โดยมีเครื่องมือหลักๆ คือ

  • Infrastructure – AWS หรือ Amazon Cloud ที่เป็น Service แบบ Serverless ทั้งหมดมาใช้เป็นโครงสร้างตั้งรกรากโปรแกรม ประหยัดค่าใช้จ่ายเช่นเดิม
  • Backend – EC2 เทคโนโลยีประมวลผลที่ปรับเปลี่ยนขนาดได้ ของ AWS (Amazon Cloud)
  • Serve Static Contents & Storage – AWS S3 เครื่องมือจาก AWS ที่เอามาใช้ Hosting เว็บและในครั้งนี้เราจะเอามาใช้เก็บข้อมูลรูปภาพ ซึ่งเป็นอีกฟังค์ชั่นของ S3 
  • AI as a Service – AWS Rekognition จาก AWS ที่ใช้ในการตรวจสอบและวิเคราะห์รูปภาพ
  • Database – Supabase นำมาใช้เป็น Database และ Authentication สามารถย้ายเมื่อเปลี่ยน Cloud Provider ได้
  • API – Amazon API Gateway ตัวเชื่อมบริการจาก AWS ในการส่งต่อข้อมูล
  • Security – AWS Cloudtrail ในการรับรองความปลอดภัย
  • Payment – Stripe ผู้ให้บริการ Payment Gateway ที่คิดค่าบริการตาม Transaction โอนเงิน
  • และเครื่องมืออื่นๆ 

หลักการทำงานง่ายๆ ของ Laita ตาม Software Architecture 

  1. อัปโหลดภาพ แล้วข้อมูลจะถูกส่งให้ Supabase เพื่อยืนยันตัวตน และ Stripe สำหรับคิดค่าให้บริการ
  2. ก่อนจะส่งต่อให้กับ AWS EC2 ประมวลผลแล้วส่งให้ AWS Cloudtrail รักษาความปลอดภัย ก่อนเก็บเข้า AWS S3 Storage ที่รองรับได้มาก เพื่อนำไปให้ AI as a Service จำแนกภาพ
  3. แล้วนำผลลัพธ์เก็บใส่ใน Database แล้วแสดงผลให้ผู้ใช้บริการ

ผลลัพธ์ที่ได้

Laita - AI Platform
  1. ใช้งานได้รวดเร็ว เพราะใช้ AWS S3 ในการ Hosting Website มี Uptime อยู่ที่ 99.9% และใช้ Superbase Authentication และ Database ที่ Uptime 99.95%
  2. AI as a Service มี Machine Learning ไม่จำเป็นต้องดูแล และ Train เพิ่มเพราะเรียนรู้เองได้
  3. ระบบ Authentication ของ Supabase รองรับการเข้าใช้งานกว่า 10 ผู้ให้บริการ และ Implement ด้วย Code น้อยกว่าสิบบรรทัด
  4. ความปลอดภัย ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO27018 ของ AWS Cloudtrail 
  5. มีต้นทุนชัดเจน แบ่งเป็น 2 ส่วน
  • ต้นทุนคงที่ โดยมีต้นทุนค่า Server AWS EC2 โดยประมาณ 30 USD ต่อเดือน 
  • ต้นทุนแปรผัน คิดตามจำนวนการประมวลผลรูปภาพ โดยมีต้นทุนที่ 1,000 รูปภาพ ต่อ 1.3 USD, และคิดตามจำนวนการ Download รูปภาพ โดยเฉลี่ยแล้ว 1 (1,000 รูปภาพ) GB ค่าใช้จ่าย 0.12 USD

Laita เป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์ที่ยืนยันว่า เทคโนโลยี Cloud Computing สามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับ AI โดยคุมงบประมาณได้ แม้จะมีราคาที่สูงเพราะใช้ AI ก็ตาม แต่ก็ทำให้คุณภาพของ Laita ออกมาตามเป้าที่ตั้งไว้


สรุป Cloud Solutions ทางออกแห่งอนาคต 

เทคโนโลยี Cloud Computing เป็น Solutions ที่ช่วยแก้ไขปัญหาธุรกิจที่อยากสร้างเครื่องมือมารองรับความต้องการของลูกค้า หรือนำไปใช้งานในองค์กรได้อย่างครบสูตร โดยแก้ Pain Point หลักของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น 

  1. ด้านการเงิน – ที่สามารถจัดสรรงบประมาณ ค่าใช้จ่ายได้ด้วยตัวเอง
  2. ด้านทรัพยากร – ที่ Global Cloud Provider มีทรัพยากรครบครันให้หยิบไปใช้ เห็นได้จากกรณีศึกษาทั้งสาม ที่ฟังค์ชั่นต่างกัน แต่ใช้ทรัพยากรจากที่ AWS เกือบทั้งหมด
  3. ด้านเวลา – ประหยัดเวลา เพราะระบบของ Cloud ที่ลดความซับซ้อนในการใช้งาน 

สำหรับมือใหม่ที่อยากใช้ Cloud Solutions แต่ยังไม่รู้จะต้องเริ่มต้นยังไง

 เราขอแนะนำให้คุณปรึกษากับ ที่ปรึกษาที่เข้าใจและรู้จริงในเรื่องของ Cloud Computing อย่าง VulturePrime ที่ปรึกษาด้าน Cloud Computing โดยนักปฏิบัติตัวจริง ก่อน เพื่อที่คุณจะได้ไม่ก้าวขาผิดข้าง และสร้างเส้นทางที่เอาชนะทุกความเป็นไปได้ในอนาคต

ข้อมูลติดต่อ VulturePrime ที่เชื่อในความเป็นไปได้ในธุรกิจของคุณ

Website: https://www.vultureprime.com/ 

Email: Business@vultureprime.com 

Facebook: https://www.facebook.com/vultureprime 

[Sponsorship Disclosure] คอนเทนต์นี้ได้รับการสนับสนุนจาก VulturePrime