ChatGPT เป็นโมเดล AI ที่ถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และมีผู้ใช้งานหลายล้านคนภายในไม่กี่วัน ซึ่งเจ้าเครื่องมือนี้เรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยของเหล่านักการตลาด เพราะด้วยความสามารถที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเขียนโค้ด การวางแผนการตลาด และอื่นๆอีกมากมาย แต่ด้วยความที่ยังปล่อยไม่ได้มานาน จึงมีบางข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำได้ตามความต้องการ หากป้อนคำสั่งได้ไม่ตรงตามจุด 

แต่หลายๆคนอาจไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว ChatGPT ก็สามารถนำมาใช้ในการวิจัยตลาดได้ ซึ่งบทความนี้เราจะมาพูดถึงในหัวข้อ การใช้ ChatGPT สำหรับทำ Market Research พร้อมแนะนำ Prompts และแนวทางการหาคำตอบที่อาจช่วยประหยัดเวลาในการทำวิจัยตลาดตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรวดเร็ว มาดูกันว่ามันทำงานอย่างไรบ้าง

ChatGPT กับการทำงานในฐานะนักวิจัยตลาด

โดยปกติแล้วผู้คนมักใช้ ChatGPT เพื่อทำให้งานประจำที่ทำอยู่เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียบเรียงเนื้อหา ค้นคว้าข้อมูล และช่วยวิเคราะห์ออกมาให้เราแบบทันทีทันใด

ซึ่งแน่นอนว่าในแง่มุมของการทำ Market Research ก็สามารถนำเจ้าตัว AI มาประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกัน โดยเราอาจจะต้องรู้ขั้นตอนการทำ Market Research และวัตถุประสงค์ของธุรกิจก่อนว่ามีอะไรบ้างที่จำเป็นต้องใช้  

หลังจากนั้นเราสามารถวางตำแหน่งให้ AI เป็นนักวิจัยตลาด เพื่อให้การประมวลผลของมันมีความแม่นยำมากขึ้น ซึ่งขั้นตอนการวิจัยตลาดที่เราจะนำมาให้ ChatGPT ช่วยหาคำตอบให้เรา มีดังนี้

การใช้ ChatGPT สำหรับทำ Market Research เพื่อรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนแรกสำหรับการวิจัยตลาดคือการรวบรวมข้อมูล ซึ่งปกติแล้วถ้าเราลงมือทำเองก็มีหลายวิธี เช่น การส่งแบบสำรวจ การสัมภาษณ์ และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินสถานการณ์ทางการตลาดด้วยตนเอง

แต่ถ้าหากใช้ ChatGPT ช่วยในการค้นหาข้อมูล ก็จะสามารถช่วยร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น โดยทำการป้อนข้อมูลสำคัญๆ ที่เราต้องการลงไปได้เลย ยกตัวอย่างเช่น

Prompt: 

ฉันกำลังจะเริ่มต้นทำแบรนด์เสื้อผ้าออนไลน์ สำหรับผู้หญิงวัยทำงานในกลุ่มอายุ 26-35 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ ฉันต้องการข้อมูล Demographic และ Behavior ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของผู้หญิงวัยทำงานในกลุ่มอายุ 26-35 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ 

คำตอบจาก ChatGPT: 

การใช้ ChatGPT สำหรับทำ Market Research

อย่างที่เห็นว่า ChatGPT ช่วยให้เรามีจุดเริ่มต้นในการทำวิจัยการตลาด พร้อมรวมข้อมูลสำคัญๆที่เกี่ยวข้องให้เราสามารถนำไปวิเคราะห์ และใช้ต่อยอดในการทำธุรกิจได้ในทันที

ใช้ ChatGPT เพื่อระบุคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม

สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจและการวิจัยตลาดคือการรู้ว่ากำลังแข่งขันกับใคร และคู่แข่งมีจุดเด่น/จุดด้อยอะไรบ้าง โดย ChatGPT สามารถเข้ามาช่วยให้การค้นหาข้อมูลของธุรกิจอื่นๆที่ใกล้เคียงกันกับเราง่ายมากขึ้น

Prompt: 

ช่วยบอกข้อมูล 5 แบรนด์หลักในที่เป็นธุรกิจเสื้อผ้า และเป็นคู่แข่งกับธุรกิจของเรา 

คำตอบจาก ChatGPT: 

การใช้ ChatGPT สำหรับทำ Market Research

จากที่เห็น เมื่อระบุคำสั่งถึงข้อมูลของแบรนด์คู่แข่งที่เราต้องการ ตัว ChatGPT ก็จะทำการประมวลผลข้อมูลรวมถึงทำสรุปออกมาให้ภายในไม่กี่วินาที ซึ่งช่วยให้การวิจัยตลาดสะดวกรวดเร็ว และได้ข้อมูลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

เจาะลึกคู่แข่งโดยใช้ ChatGPT

แม้ว่าการรู้ตัวคู่แข่งก่อนจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะก้าวไปข้างหน้า ดังนั้นเราจึงควรถามคำถามเจาะลึกลงไปเฉพาะ อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ ช่องทาง Instagram และข้อเท็จจริงสำคัญบางประการเกี่ยวกับคู่แข่ง

Prompt: 

คุณช่วยทำตารางแบรนด์เสื้อยอดนิยม, URL เว็บไซต์, ชื่อ Instagram และ Key Facts สำหรับแต่ละรายการได้ไหม

คำตอบจาก ChatGPT: 

การใช้ ChatGPT สำหรับทำ Market Research

เมื่อค้นหาข้อมูลที่ลึกและเพิ่มมากขึ้น เจ้าตัว ChatGPT ก็สามารถวิเคราะห์ และจัดเรียงเป็นรูปแบบตารางเพื่อความชัดเจนได้ เพื่อช่วยให้เราเห็นภาพชัดมากขึ้น

ChatGPT กับการสร้างกลุ่มเป้าหมาย

การวิจัยตลาดไม่ใช่แค่การมองหาคู่แข่งเท่านั้น แต่ต้องรู้เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายของเราด้วย โดยเราได้ให้ ChatGPT ช่วยระบุกลุ่มเป้าหมายหลักคร่าวๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการสร้างบุคลิกของลูกค้าเพิ่มเติมจากที่คิดไว้

Prompt: 

จากลูกค้าของฉันที่แชร์ไว้ด้านบน คุณสามารถสร้าง Persona ของกลุ่มเป้าหมายโดยละเอียด โดยเน้นข้อมูลที่เป็น Demographic, Psychographic และ ชอบ/ไม่ชอบอะไรบ้าง

คำตอบจาก ChatGPT: 

การใช้ ChatGPT สำหรับทำ Market Research

การใช้ ChatGPT เพื่อการสร้างความแตกต่าง

นอกจากจะช่วยให้รู้เกี่ยวกับคู่แข่ง หรือกลุ่มเป้าหมายของเราแล้ว ChatGPT ยังสามารถช่วยเราค้นหาโอกาสทางการตลาด เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้อีกด้วย

Prompt: 

เมื่อต้องสั่งเสื้อผ้าทางออนไลน์  มีโอกาสหรือปัญหาที่แบรนด์คู่แข่งปัจจุบันขาดอยู่หรือไม่

คำตอบจาก ChatGPT: 

โดยมันจะทำการประมวลผลถึงปัญหา และโอกาสออกมาเป็นข้อๆ ให้เราสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่หากเราอยากรับรู้ความคิดเห็นของลูกค้าโดยตรง เช่นรีวิว คำถามที่มีบ่อยๆ ก็อาจจะต้องทำการค้นหาเพิ่มด้วยตัวเองแทนโดยตรงผ่านเว็บไซต์ และโซเชียลมีเดียของแต่ละแบรนด์ เพราะ ChatGPT ยังไม่รองรับการประเมินข้อมูลเชิงรีวิว และความคิดเห็นของลูกค้า

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ ChatGPT สำหรับทำ Market Research

คุณภาพการตอบกลับด้วย ChatGPT ขึ้นอยู่กับประเภทของคำถามที่เราถามเป็นส่วนใหญ่ ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำที่เหมาะสมที่สุดเมื่อเราวางแผนจะใช้เจ้าตัว ChatGPT ในการค้นหาข้อมูล

  • เลือกใช้คำที่เฉพาะเจาะจง 

เนื่องจาก ChatGPT เป็นเครื่องมือที่ค้นหา และวิเคราะห์คำสั่งจากฐานข้อมูลที่มี แต่ยังไม่สามารถประมวลผลด้วยตัวเองไดั ทางที่ดีคือการระบุสิ่งที่ต้องการลงไปอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ โดยบอกอย่างตรงไปตรงมาถึงสิ่งที่เราต้องการ และไม่ต้องการให้ทำ รวมถึงระบุเนื้อหาพื้นฐาน เพื่อประกอบการประมวลผลออกมา เช่น ระดับรายได้ การศึกษา เพศ สถานที่ตั้ง และอื่นๆ

  • สวมบทบาทให้ ChatGPT

นอกจากนี้เรายังสามารถบอก ChatGPT ว่าต้องการให้มันทำหน้าที่เป็นใครก่อนที่จะเริ่มค้นหา เพื่อให้คำตอบที่ได้สอดคล้องกับกลยุทธ์หรืออุตสาหกรรมที่ต้องการ เพียงแค่ระบุตำแหน่งอาชีพ เช่น ขอให้ ChatGPT ทำหน้าที่เป็นนักวิจัยตลาดหรือผู้ช่วยวิจัยที่มีประสบการณ์ ซึ่งการทำสิ่งนี้ทำให้ ChatGPT มีบริบทในการใช้ค้นหาข้อมูลมากขึ้น และได้คำตอบที่มีประสิทธิภาพ

  • อย่าพึ่ง  ChatGPT แค่อย่างเดียว

การใช้ ChatGPT สำหรับทำวิจัยตลาด อาจเป็นเรื่องที่ง่าย และสะดวกสำหรับเหล่านักการตลาด เพราะใช้เวลาตอบคำถามเราไม่นาน แต่เราไม่ควรยึดใช้เครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่ต้องค้นหาข้อมูลเชิงลึกบางอย่างด้วยตัวเอง เช่น รีวิวจากลูกค้า คอมเมนต์ทางโซเชียล และข้อมูลจากการสำรวจ รวมถึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ต่อยอด เพราะเราเป็นคนที่เข้าใจธุรกิจตัวเองมากที่สุด 

บทความแนะนำที่เกี่ยวข้อง :

ถ้าใครอยากเรียนรู้การใช้ ChatGPT เพิ่มเติมต้องอ่านบทความนี้

 แนะนำ 4 Prompts ChatGPT สำหรับทำ Market Research

การเข้าใจภาษา หรือ Prompts ที่ใช้สำหรับ ChatGPT สามารถช่วยให้การประมวลผลลัพธ์ออกมาได้เข้าใจ และตรงวัตถุประสงค์มากขึ้น ซึ่งหัวข้อที่มีความสำคัญต่อการทำ Market Research ที่ใช้ ChatGPT สามารถอิงขั้นตอนของการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดของธุรกิจได้เลย โดยเราขอแนะนำ 4 Prompts หลักๆที่พบบ่อยที่สุด เพื่อให้เหล่านักการตลาดได้นำไปใช้กัน

1. รวบรวมและค้นหาข้อมูลที่มีในสาธารณะ

ขั้นตอนแรกของการทำ Market Research คือการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายวิธีตามความสะดวกของแต่ละคน เช่นวิธีการสำรวจ และการสัมภาษณ์ลูกค้า แต่ ChatGPT สามารถช่วยลดเวลา ไปจนถึงลดทรัพยากรต่างๆมากมาย ในกรณีที่ต้องออกไปรวบรวมข้อมูลเอง โดยข้อมูลที่ได้จากเจ้าตัว AI ก็จะเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ดังนั้นเราจึงควรใช้คำสั่งที่ระบุอย่างชัดเจน เช่น

  • เราเป็นใคร และทำอะไรบ้าง
  • ลูกค้าที่ต้องการเป็นกลุ่มไหน เช่น กลุ่มอายุ, รายได้, การศึกษา, เพศ, สถานที่
  • อยากได้ข้อมูลประเภทใด เช่น Demographic หรือ Behavior 

เช่น

Prompt: ฉันต้องการทำธุรกิจร้านอาหารคลีนที่ลูกค้า กลุ่มอายุ 16-36 อาศัยอยู่ที่ปริมณฑล สามารถสั่งผ่านแอปออนไลน์และให้จัดส่งอาหารไปที่บ้านได้ ให้คุณทำหน้าที่เป็นนักวิจัยตลาด และให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล Demographic ผู้ที่มีแนวโน้มจะอาหารคลีนในปริมณฑล 

2. ลงรายละเอียดลักษณะของลูกค้าเรา

ต่อมาคือการต่อยอดลักษณะหรือ Persona ของกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการ โดยให้ ChatGPT สร้างบุคลิกภาพของผู้ซื้อที่มีแนวโน้มจะสนใจสินค้า/บริการจองธุรกิจเรา ซึ่งสามารถใช้ Keyword ได้ดังนี้

  • ข้อมูล Demographic และ Psychographic
  • สิ่งที่ชอบ/ไม่ชอบต่อสิ่งนั้นๆ
  • พฤติกรรมการค้นหาข้อมูล
  • ช่องทางที่ผู้ซื้อมักใช้บริการ

เช่น

Prompt: ฉันต้องการ Persona แบบละเอียดสำหรับธุรกิจร้านอาหารคลีนที่ลูกค้า กลุ่มอายุ 16-36 อาศัยอยู่ที่ปริมณฑล สามารถสั่งผ่านแอปออนไลน์และให้จัดส่งอาหารไปที่บ้านได้ โดยเน้นข้อมูลประชากร พฤติกรรมการซื้อ ความต้องการของลูกค้า 

3. ระบุคู่แข่ง

ขั้นตอนต่อไปคือการระบุคู่แข่งในอุตสาหกรรมธุรกิจของเรา โดยใช้คำสั่งที่ระบุรายละเอียดข้อมูลของคู่แข่งที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็น

  • ยกตัวอย่างแบรนด์ในอุตสากรรมที่เป็นยอดนิยม
  • ข้อมูลเว็บไซต์ และช่องทางโซเชียลมีเดีย
  • คำอธิบายแบรนด์
  • Key Fact ของแบรนด์คู่แข่ง 
  • จุดเด่น และจุดด้อย

เช่น

Prompt: ฉันต้องการข้อมูลของร้านอาหารคลีนยอดนิยมในพื้นที่ปริมณฑล โดยมี Key Fact, URL เว็บไซต์, ช่อง

ทาง Social Media ของธุรกิจที่เป็นคู่แข่งของเรา

4. สอบถามโอกาสทางการตลาดในการสร้างความแตกต่าง

หลังจากที่เราได้ข้อมูลพื้นฐานต่างๆมาแล้ว ต่อมาคือการหาโอกาสทางการตลาดเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง โดยเราสามารถให้ ChatGPT รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลจุดเด่นของแบรนด์ และช่องทางการขายเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับธุรกิจของตัวเอง อย่างเช่น

  • โอกาสทางการตลาด (Market Opportunities)
  • จุดขาย (Unique Selling Propositions)
  • ข้อแตกต่างของแบรนด์ที่มีในปัจจุบัน
  • สิ่งที่แบรนด์อื่นๆยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Advantage)

เช่น

Prompt: มีโอกาสทางการตลาด (Market Opportunities) หรือจุดขาย (Unique Selling Propositions)  ที่แบรนด์เสื้อหาในปัจจุบัน เช่น Zara, H&M และ ASOS ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่

สรุป 

เพราะการที่เราเข้าใจความสามารถของ ChatGPT ไปจนถึงรู้หลักการใช้คำ หรือ Prompt ต่างๆได้ถูกต้องก็จะช่วยให้การตอบสนองของเจ้าตัว Open-AI รับรู้ความต้องการของเราในเชิงลึกมากขึ้น ซึ่งคำตอบที่ได้ที่ผ่านการประมวลผลออกมาจะค่อนข้างตรงจุด และเป็นภาษามนุษย์มากยิ่งขึ้นเช่นกัน ทำให้เราสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้สำหรับทำ Market Research ได้อย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจาก ChatGPT อาจยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกส่วน หรืออาจเป็นเนื้อหาเรียลไทม์ ดังนั้นเราจึงต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์สืบค้นต่อด้วยตัวเอง เพื่อความแม่นยำของแผนกลยุทธ์การตลาดที่จะวางต่อไปในอนาคต