ตั้งแต่ที่เทคโนโลยีกับอินเทอร์เน็ตได้เข้ามา การช้อปปิ้งออนไลน์ก็กลายเป็นที่นิยมอย่างมาก ซึ่งจำนวนแพลตฟอร์มที่เข้ามารองรับกระแสนี้ก็เพิ่มขึ้นไปตามๆ กัน จนกระบวนการซื้อสินค้า/บริการของผู้บริโภคในปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้หลายๆ องค์กรต้องปรับวิธีการยิงโฆษณา และการขายของให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อให้อยู่รอดในสงครามธุรกิจออนไลน์

เหล่านักการตลาดเองก็ต้องคอยศึกษารูปแบบช่องทาง ไปจนถึง Customer Journey และรูปแบบการส่วนร่วมกับลูกค้าใหม่  ในข้อเสียก็ยังมีข้อดี เพราะด้วยการเป็นระบบออนไลน์นั้น คือเราสามารถรวบรวมข้อมูลแคมเปญ และวัดผลลัพธ์ทันทีที่เกิดขึ้นได้แบบเรียลไทม์ จะเห็นได้ว่าตอนนี้โลกของเรากำลังอยู่ในยุคดิจิทัลที่หันมาแข่งขันในเรื่องของ Data สำหรับใช้เพิ่มยอดขายการตลาดแล้ว  นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราต้องรู้จักกลยุทธ์ ‘Performance Marketing’ ที่ทำให้การวัดผลการตลาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บทความนี้จะพาคุณมารู้จักกับกลยุทธ์ Performance Marketing ตั้งแต่พื้นฐาน รูปแบบการทำงาน ไปจนถึงความแตกต่างจากกลยุทธ์ที่เราเคยใช้กัน

Performance Marketing คืออะไร? แล้วสำคัญกับนักการตลาดยังไง?

จริงๆ แล้ว Performance marketing เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ Digital Marketing ที่เน้นขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์ ผ่านการวัดผลจาก Key Metric ที่หลายคนต้องเคยเห็นหน้าเห็นตาแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น Clicks, Impressions, Shares หรือ Sales โดยกลยุทธ์นี้จะเข้าไปช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ เนื่องจากทุกคนสามารถวางแผนการตลาด โดยอิงผลลัพธ์ตัวชี้วัดที่เรามีอยู่ได้ 

ซึ่งแตกต่างจากการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบดั้งเดิมหรือแบบ Organic Marketing ที่ผู้ทำแคมเปญโฆษณาจะต้องลงทุนล่วงหน้า แบบที่ไม่สามารถรับประกันได้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะคุ้มค่าหรือไม่ จะรู้อีกทีก็คือหลังจากเปิดตัวแคมเปญไปสักพักแล้วเท่านั้น 

แน่นอนว่าธุรกิจส่วนใหญ่จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปสร้างยอดขายเพื่อรักษาผลกำไร ดังนั้นการใช้กลยุทธ์การวัดผลจึงตอบโจทย์การทำธุรกิจเป็นอย่างมาก เพื่อเข้ามาช่วยให้การวัดผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมลดความเสี่ยงในการลงทุนจากการลงงบประมาณในส่วนต่างๆ

ทำความรู้จักกับประเภทของ Performance Marketing

การตลาดในยุคดิจิทัลนั้นเป็นเรื่องของการ “เข้าถึงผู้คนที่เหมาะสม บนอุปกรณ์ที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม” ผ่านเครื่องมือที่ใช้อยู่ โดยต้องกำหนดเป้าหมายให้ตรงกลุ่มมากที่สุด ซึ่งการหันมาใช้กลยุทธ์การวัดผล จะทำให้นักการตลาด มีวิธีมากขึ้นในการสร้างแคมเปญที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน โดย Performance Marketing ก็มีรูปแบบวิธีหลากหลายประเภท โดยเรายก 2 ประเภทเด่นๆ มา ดังนี้

  • SEM (Search Engine Management)

หรือก็คือทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหาอย่าง Google ที่หลายๆ คนใช้งานกัน เจ้าตัวนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการดู Key Metrics หลังบ้าน เพื่อใช้ในการวัดผล วิเคราะห์ข้อมูล และนำไปปรับปรุงแผนการตลาดให้คุ้มค่ากับการลงทุนมากยิ่งขึ้น โดย SEM คือการยิงโฆษณาให้ขึ้นหน้าค้นหาในหน้าผลลัพธ์ของ Search Engine (SERPs) ให้ผู้ใช้เห็นโฆษณาที่ตรงความต้องการในขณะนั้น ทำให้มีโอกาสสูงที่จะดึงดูดความสนใจของพวกเขา และเกิดการซื้อเพิ่มขึ้น

  • Native Advertising

อีกแนวทางการใช้กลยุทธ์การวัดผลที่สามารถดึงดูดใจลูกค้าได้ดีก็คือ Native Advertising ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการยิงโฆษณาแบบ Display เนื่องจากการสอดแทรกการขายผ่านคอนเทนต์ต่างๆ จะไม่รบกวนผู้ใช้เท่าการขายตรง แถมช่วยเพิ่ม Traffic ได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยี และเครื่องมือต่างๆ ทำให้เราสามารถวัดผลหลังบ้านจากคอนเทนต์ที่ลงได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

รูปแบบการทำงาน พร้อมสิ่งที่ต้องรู้ในการวัดผล 

สำหรับการทำกลยุทธ์การวัดผลนั้น องค์ประกอบที่สำคัญในการกำหนดผลลัพธ์ ได้แก่ ค่า ROI (Return on Investment) โดยรูปแบบการทำงานของกลยุทธ์นี้เริ่มจากทุกๆ กิจกรรมที่เกิดขึ้นจะถูกวัดผล รายงาน และวิเคราะห์ เพื่อนำไปเทียบกับ KPI ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า หลังจากได้ผลลัพธ์ออกมาแล้ว จึงนำไปปรับแผนการตลาดให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น 

ROI ที่วัดได้จึงเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในการทำการตลาดดิจิทัล ในการบอกว่าสิ่งที่ลงทุนไปคุ้มค่าหรือไม่ ดังนั้นการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ยิ่งถ้ามีเครื่องมือเข้ามาช่วยรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียด และตรงจุดมากเท่าใด ข้อมูล Insight ที่ได้ก็จะยิ่งลึกมากขึ้นเท่านั้น จนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างแม่นยำแบบที่เราวางเป้าหมายไว้

Performance Marketing

Hubspot

และนี่คือ Key Metrics ที่ต้องรู้จัก เพื่อใช้ในการวัดผล

1. Cost Per Click (CPC)

ราคาต่อคลิก หมายถึงราคาที่จ่ายทุกครั้งที่ผู้ดูคลิกที่โฆษณา โดยสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายได้เองต่อคลิก ซึ่งตัวชี้วัดนี้สามารถช่วยชี้วัดการมองเห็นโฆษณาได้ด้วย ดังนั้นเราควรกำหนดเป้าหมายไปยังกลุ่มที่มีขนาดเล็กแต่มีโอกาสเป็นลูกค้าสูง เพราะค่าคลิกถูกกว่า สวนทางกับผลตอบแทนที่อาจได้สูงกว่านั่นเอง

2. Cost Per Impression (CPM)

CPM เป็นตัวชี้วัดที่คำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับโฆษณาที่ย่อมาจาก Cost Per Mille หรือ Cost Per Thousand กล่าวอีกนัยหนึ่งคือราคาสำหรับทุกๆ 1,000 ครั้งที่โฆษณาแสดงต่อผู้ชม 

3. Cost Per Sales (CPS)

คือ การจ่ายเงินเมื่อขายสินค้าได้ โดยเจ้าของสินค้าจะให้ค่าคอมมิชชั่นกับผู้ที่ขายสินค้าได้ ในทุกผลประกอบการที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมการขาย ซึ่งก็มักจะอยู่รูปแบบ Affiliate Marketing

4. Cost Per Leads (CPL)

ตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับแบรนด์ที่วางวัตถุประสงค์ในการยิงโฆษณาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการวิเคราะห์จากราคาต่อ 1 Lead

5. Cost Per Acquisition (CPA)

คือ การคำนวณต้นทุนต่อ Action ที่เกิดขึ้นจากโฆษณา เพื่อแบรนด์จะได้รู้ว่าต้องจ่ายเงินลงทุนไปเท่าไหร่จึงจะคุ้มค่า โดย Action ที่นำมาวัดผลขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแบรนด์ว่าต้องการดึงลูกค้าในรูปแบบไหน เช่น การกรอกฟอร์มสินค้า หรือ การสมัครเป็นสมาชิก เป็นต้น 

บทความแนะนำที่เกี่ยวข้อง :

ถ้าอยากเข้าใจตัวชี้วัดเพิ่มมากขึ้น ขอแนะนำบทความ Digital Advertising Metrics ตัวชี้วัดผลลัพธ์แคมเปญโฆษณาออนไลน์

Digital Marketing VS Performance Marketing 

คำว่า “Performance Marketing” และ “Digital Marketing” มักใช้แทนกันได้แต่ไม่เหมือนกัน เพราะการตลาดแบบ Performance จะมุ่งเน้นไปที่การผลักดันผลลัพธ์ที่วัดได้ อย่างยอดขาย เป็นต้น ในขณะที่การตลาดแบบดิจิทัลจะครอบคลุมการทำการตลาดที่หลากหลายกว่า รวมถึงเข้ามาดูในเรื่องของการสร้างแบรนด์และเพิ่มการรับรู้

ซึ่งหนึ่งในข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการตลาดเชิงประสิทธิภาพ (Performance Marketing) และการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) คือวิธีการวัดความสำเร็จ เพราะกลยุทธ์ Performance Marketing ดูจากการติดตามการวัดผลได้โดยใช้ Key Metrics ในทางตรงกันข้าม การตลาดดิจิทัลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างการรับรู้ และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งอาจวัดผลได้ยากกว่า

ความแตกต่างที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ เพราะกลยุทธ์การตลาดแบบวัดผลออกแบบมาเพื่อเข้าถึงผู้ชมเฉพาะกลุ่มหรือบรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ในทางกลับกันการตลาดดิจิทัลนั้นค่อนข้างกว้างและครอบคลุมกว่า โดยมุ่งเน้นที่การเข้าถึงผู้ชมในวงกว้าง และเน้นสร้าง Awareness ต่อแบรนด์แทน

สุดท้ายแล้วการเลือกกลยุทธ์ทำการตลาดนั้น ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจ อย่างถ้าแบรนด์เราต้องการเพิ่มยอดขาย การใช้ Performance Marketing อาจเป็นแผนที่ดีที่สุด หรือสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การใช้ Digital Marketing ก็อาจจะเหมาะสมกว่า

ดังนั้น การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างทั้งสองกลยุทธ์สามารถช่วยให้ธุรกิจเรา เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อไปถึงเป้าหมายที่วางไว้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของกลยุทธ์การตลาดแบบวัดผลได้

ด้วยอนาคตการทำธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแต่ละปี การใช้ Performance Marketing ถือเป็นวิธีที่สร้างสรรค์และเพิ่มมีประสิทธิภาพในเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย อย่างคุ้มค่าในการลงทุนมากขึ้น งั้นมาดูกันว่ากลยุทธ์นี้จะมีข้อดี และประโยชน์อะไรบ้าง

  • ติดตามผลได้ง่าย: 

ด้วยเครื่องมือ Analytics tools ต่างๆ จึงทำให้สามารถวัดค่า ROI แบบเรียลไทม์ในขณะที่แคมเปญยังคงทำงานอยู่ได้ และส่งผลให้การปรับเปลี่ยนแผนการตลาดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้การวัดผลแบบเรียลไทม์ ทำให้เราสามารถมองเห็นจุดที่ควรแก้ไขอย่างชัดเจน ช่วยให้การกำหนดค่า KPI ชัดเจนมากขึ้นในครั้งถัดๆ ไป

  • ความเสี่ยงต่ำ: 

จากการวัดผลที่เกิดขึ้น ทำให้นักการตลาดมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในแคมเปญทุกขั้นตอน และได้ตัวเลขผลลัพธ์อย่างแม่นยำ ทำให้การจะลงทุนครั้งต่อไปสามารถอิงข้อมูลที่มีเพื่อลดความเสี่ยง และเพิ่มประสิทธิภาพได้แบบไม่เสียเวลาเปล่า 

  • มุ่งเน้นที่ ROI: 

อย่างที่กล่าวไปว่ากลยุทธ์นี้จะเน้นไปที่การวัดผล และการติดตามทุกตัวชี้วัดที่สำคัญ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพอยู่สม่ำเสมอ ทำให้มั่นใจได้ว่าแคมเปญที่ใช้กลยุทธ์นี้จะช่วยให้ธุรกิจไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น พร้อมช่วยยกระดับแบรนด์ และเพิ่มยอดขายต่อเนื่อง

สรุป

จากการที่เทคโนโลยีหลายอย่างเข้ามา ทำให้โลกดิจิทัลซับซ้อนและก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งต่อไปในอนาคตผู้คนก็จะเริ่มเข้ามาแข่งขันในอุตสากรรมนี้กันอย่างมากขึ้นไปอีก ดังนั้นการกระโดดเข้าไปทำความรู้กับกลยุทธ์ Performance Marketing ก่อนตั้งแต่วันนี้ และเริ่มเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการติดตามตัวชี้วัด การวัดผล และมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพค่า ROI อาจทำให้เราสามารถแข่งขันในยุคของการทำธุรกิจออนไลน์ได้อย่างยั่งยืน


คอร์สใหม่แนะนำ!

🚀 Unlock your Performance Marketing 🚀

ไขความลับ ปั้นธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์วัดผลแบบมือโปร

เปิดโลก Data ด้วยกลยุทธ์ Performance Marketing แบบเจาะลึกแนวคิด การวิเคราะห์ ไปจนถึงวางแผนการวัดผล ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณแบบจัดเต็ม

คลิกเลย 👇👇👇

Performance Marketing