เพื่อนๆ หลายคนคงคุ้นหูกับคำว่า “อาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์” ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ที่เปิดกว้าง และ การมองหางานก็ไม่ได้ยากเหมือนแต่ก่อน ที่สำคัญ ไม่ว่าคุณจะทำงานประจำอะไร อยู่ในช่วงวัยไหน สนใจเรื่องอะไร ก็สามารถเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ได้ด้วย
แม้ว่านักเขียนฟรีแลนซ์ ยุค 4.0 มีความแตกต่างจากนักเขียนฟรีแลนซ์สมัยก่อนอยู่บ้าง เพราะไม่ใช่hubspotงานเขียน “ยุคเข็มฉีดยา” ที่เป็นการส่งสารทางเดียว แต่เน้นให้ความสำคัญเรื่องการปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านมากขึ้น และเป็นยุคที่คุณสามารถมีผลงานเป็นของตัวเองได้แบบไม่ต้องง้อใคร (ยกเว้นคนอ่าน) แค่ฟังก็สนใจแล้วล่ะสิ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักอาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ ยุค 4.0 กันเถอะ 🙂
hbspt.cta.load(3944609, ‘bfff0115-862b-4dba-9d3e-a49f420a2801', {“useNewLoader”:”true”,”region”:”na1″});
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
- อาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 คืออะไร
- สงสัยไหม? ทำไมนักเขียนฟรีแลนซ์ถึงเป็นที่ต้องการของตลาดยุค 4.0
- 3 ความต่างระหว่าง นักเขียนฟรีแลนซ์ vs ผู้ที่ทำงานประจำ
- รูปแบบการสร้างรายได้ของอาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0
- เส้นทางนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 มีสายไหนบ้าง
- “ใครๆก็เป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ได้” ขอแค่มีคุณสมบัติ 4 ประการ
- 5 คุณค่าที่หาได้จากการเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์
- สรุป
- ตาคุณแล้ว
อาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 คืออะไร
ถ้าจะว่ากันง่ายๆ นักเขียนฟรีแลนซ์ ก็คือคนทั่วๆไปที่มีทักษะความสามารถในการผลิตงานเนื้อหา แล้วส่งมอบให้กับผู้จ้าง หรือ สร้างเครือข่ายสังคมของตนเองขึ้นมาจนมีผู้ติดตามมากมาย ซึ่งในภาพใหญ่ๆ
เราสามารถแบ่งนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 ได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ จากประสบการณ์การทำงานของผม
1. นักเขียนฟรีแลนซ์สายรับเป็นจ๊อบๆ
ถ้าเรียกกันภาษาทั่วไปก็ รับงานแบบมือปืนด้วยการรับโจทย์มาจากลูกค้าซึ่งก็มีหลากหลาย ตั้งแต่งานเขียน Copy โฆษณาสินค้าสั้นๆ ไปจนถึงงานเขียนบทความยาวๆ (เชื่อเถอะ … วัตถุประสงค์ตอนที่ได้รับงานมามีหลากหลายจริงๆนะ)
2. นักเขียนฟรีแลนซ์สายกลยุทธ์
อันนี้ก็จะเพิ่มดีกรีความเข้มข้นของคนสายขีดเขียนอีกนิดเพราะนอกจากเราจะต้องผลิตชิ้นงานขึ้นมา ก่อนหน้านั้นเราก็จะต้องวางกลยุทธ์งาน Content ให้ด้วย ซึ่งก็จะต้องมีความรู้เรื่อง Digital Media เพิ่มขึ้นมาด้วย อีกทั้งยังต้องมีการจัดวาง KPI กันด้วยนะว่า หลังจากที่งานของเราเดินไปนั้นประสิทธิภาพและผลลัพธ์ เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่
3. นักเขียนฟรีแลนซ์สายผู้นำทางความคิด
ที่นิยมเรียกกันว่า Influencer จะเป็น Facebook Fanpage, IG, Twitter, Youtube หรือ Blog ก็ได้ทั้ง โดยจุดแตกต่างจาก 2 กลุ่มแรกคือคุณจะได้โชว์ความเป็นตัวตนอย่างเต็มที่ ไม่มีกรอบทางความคิด ขอแค่มีผู้ติดตามและระดับการมีส่วนร่วมสูงๆ เข้าไว้ก็มีโอกาสสร้างรายได้จากทางนี้
จากนักเขียนฟรีแลนซ์ทั้ง 3 สายหลัก จะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายทั้งเนื้องานที่ต้องทำ ระยะเวลาการผลิตชิ้นงาน และ รายได้อีกด้วยนะ
สงสัยไหม? ทำไมนักเขียนฟรีแลนซ์ถึงเป็นที่ต้องการของตลาดยุค 4.0
ถึงแม้จะมีตำแหน่งงานประจำเกี่ยวกับงานคิดเขียนมากมาย แต่พื้นที่สำหรับนักเขียนฟรีแลนซ์ ยังคงเปิดกว้างอยู่เสมอ โดยเฉพาะยุค 4.0 ด้วยข้อสนับสนุนให้อุ่นใจดังต่อไปนี้
1. ปริมาณที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจขนาดเล็ก – กลาง ในยุคออนไลน์ ที่หันมาให้ความสำคัญเรื่อง Content marketing มากขึ้น ซึ่งถ้าหากไม่จ้างพนักงานประจำ ก็ต้องหวังพึ่งนักเขียนฟรีแลนซ์นี่หละ
2. ความต่อเนื่องคือปัจจัยสำคัญของการสร้าง Brand ผ่าน Content ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องผลิตเนื้อหาที่ดีให้ได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งบางบริษัทก็ต้องอาศัยนักเขียนฟรีแลนซ์มาช่วยเติมเต็มจุดนี้
3. ผู้ว่าจ้างอาจต้องการนักเขียนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งพนักงานประจำอาจทำไม่ได้ แต่ในตลาดฟรีแลนซ์ ผู้ว่าจ้างสามารถเลือกได้เลยว่าอยากได้นักเขียนสไตล์ไหน ถนัดฟอร์แมตอะไร หรือเข้าใจการสร้างสรรค์เนื้อหาบนสื่อใดเป็นพิเศษ
4. งานสดใหม่ ไอเดียดี มีความแตกต่าง บอกเลยครับว่ามุมมองและการใช้ชีวิตของฟรีแลนซ์นั้นวันๆ นึงเจออะไรเยอะ แถมประสบการณ์รับงานก็ออกแนวกว้าง ดังนั้นจึงสามารถผลิตงานได้อย่างมีจินตนาการ
5. รูปแบบการตลาดเฉพาะกลุ่ม ส่งผลให้แบรนด์อาจอยากได้งานเขียนจากคนที่มีอินไซด์เรื่องนั้นๆไม่ว่าจะเป็นเพศ ช่วงอายุ ความสนใจ รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิต
6. งานวิจัย หรือ บทสรุปแนวโน้มมากมายยืนยันตรงกันว่า Digital Content เติบโตขึ้นทุกๆ ปี และ Content ถือเป็นแกนสำคัญในการผลักดันให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค
3 ความต่างระหว่าง นักเขียนฟรีแลนซ์ vs ผู้ที่ทำงานประจำ
สำหรับเรื่องนี้หลายคนคงพอเข้าใจอยู่แล้วว่า การประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ จะมีข้อแตกต่างเบื้องต้นกับอาชีพพนักงานประจำ ในเรื่องของการไม่มีเงินเดือนที่ตายตัว เช่นเดียวกับเวลาการทำงานที่ไม่แน่นอน สวัสดิการต่างๆนานาก็ไม่ได้มี แล้วนอกเหนือจากเรื่องพวกนี้หละ มีจุดเด่นชัดอะไรบ้างที่พอจะสรุปได้
1. วินัยต้องเป็นเลิศ
เพราะทุกแม้คุณจะตื่นกี่โมง นอนกี่โมง ทำงานที่ไหนเวลาไหนก็ได้ แต่อย่าลืมว่าอิสระคือสารเร่งความผัดวันประกันพรุ่ง ที่สำคัญคุณจะไม่มีหัวหน้า หรือ ซีเนียร์ มาคอยชี้นำ กระตุ้น หรือ ไล่บี้งานจากคุณ ทั้งหมดมีเพียงตัวคุณเท่านั้นที่จะดูแลตัวเอง
2. การจัดสรรงานให้ลงตัว
กรณีที่คุณรับงานคนเดียว ไม่ได้มีทีมหรือเพื่อนคอยช่วยเหลือ นั่นแปลว่าคุณต้องบริหารจัดการ วางแผนการรับงาน และการส่งมอบงานให้ดีๆ เพราะในสภาวะวิกฤติคุณไม่ได้สามารถลาป่วย หรือ ขอความช่วยเหลือจากใครได้ (ฟรีแลนซ์ก็ต้องมีสกิล Management นาจา)
3. พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่
แต่ละครั้งที่คุณรับงาน ต้องเจอลูกค้าใหม่ โจทย์ใหม่ วัตถุประสงค์ใหม่ (แต่เงินเท่าเก่า … ล้อเล่นนา อิอิ) ทั้งเรื่องคนและงานจะมีความหลากหลาย คุณต้องมีสกิลการเรียนรู้ และรับมือให้เป็น ที่สำคัญต้องหมั่นศึกษาเทรนด์หรือลูกเล่นใหม่ๆ เพื่ออัพเกรดคุณภาพงานตัวเองด้วย เห็นมั้ยละ งานฟรีแลนซ์ ก็มีความท้าทายไม่ใช่หยอกเลยนะ
เปลี่ยนทุกช่วงเวลาให้เป็นรายได้และโอกาส
คำว่าฟรีแลนซ์ มักมาคู่กับความคิดว่าที่ “โอ้ย ต้องไม่มีเวลาส่วนตัวแน่เลย” แต่เอาเข้าจริงๆ นะครับ ”ไอเดียงานเขียนดีๆ บางทีก็ระบุเวลาเกิดไม่ได้” แต่ส่วนตัวผมมองเรื่องนี้เป็นข้อดีมากกว่า ทำไมน่ะหรอ?
1. การค้นคว้าหรือหาข้อมูลเพื่องานเขียน ทำให้คุณมีความรู้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงลึก (ผู้เชี่ยวชาญ) และเชิงกว้าง (ผู้รอบรู้) ทำให้คุณมีโอกาสขยายไลน์ผลิตงานเขียนได้มากขึ้น หรือ เจอไอเดียสดใหม่อยู่เสมอ
2. เปลี่ยนเหตุการณ์จำเจเป็นเรื่องเล่าสนุกๆ เพราะ โลกใบเก่าของคุณอาจเปิดมุมมองใหม่ให้คนอื่น ที่สำคัญมันจะช่วยให้โลกของคุณสดใสขึ้นด้วย
3. เปลี่ยนงานอดิเรกที่มีความสุขให้เป็นรายได้ที่สร้างโอกาสให้ชีวิต เช่น ชอบเล่นเกมส์จึงทำชาแนลแคสเกม ชอบเที่ยวต่างจังหวัดจึงเขียนรีวิวที่พักและแนะนำสถานที่แปลกใหม่ หรือ ชอบกีฬา ก็อัปเดตความเคลื่อนไหว หรือ นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจ สรุปคือการใช้สิ่งที่เราเสพอยู่แล้วมาสร้างโอกาสนั่นเอง
4. ทำงานได้ในเวลาที่อาจสูญเปล่า ตัวอย่างง่ายๆ เช่น อยู่บนรถโดยสารประจำทาง รอเพื่อนช็อปปิ้ง รอแฟนแต่งหน้า รอคุณพ่อคุณแม่ฟิตเนส หรือ รออาหารในร้านที่คิวยาว ฯลฯ
ถ้าว่ากันตรงๆ หากคุณมีการวางแผนที่ดี เรื่องการบริหารจัดการเวลาไม่ใช่เรื่องยาก ที่สำคัญคุณสามารถทำงานประจำควบคู่กับงานเขียนฟรีแลนซ์ ได้อย่างไร้ปัญหาอีกด้วย
รูปแบบการสร้างรายได้ของอาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0
พูดถึงเรื่องอาชีพแล้ว สิ่งสำคัญที่หลายคนสนใจคงหนีไม่พ้นเรื่องของการหารายได้ โดยผมขอสรุปจากประสบการณ์ละกันนะว่า อาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ มีรายได้หลักๆ 3 รูปแบบ
1. รายได้จากค่าจ้างผลิตชิ้นงาน อาจเป็นแบบชิ้นต่อชิ้น หรือ อาจมากกว่า 1 ชิ้น ซึ่งเรตราคาก็ตามตกลง เช่น เขียนบทความเกี่ยวกับสุขภาพ การย่อยชุดข้อมูลความรู้วางแผนการเงิน ข้อความโฆษณาที่น่าดึงดูดใจ ทำรีวิวต่างๆ หรือแม้แต่งานการถ่ายทำวิดีโอที่ใช้การตัดต่อเข้ามาร่วมด้วย
2. รายได้จากการขายพื้นที่ของเรา ซึ่งก็คือการขายความ Popular หรือ ความนิยมจากผู้ติดตามโดยองค์ประกอบพื้นฐานคือเราต้องมีแพลตฟอร์ม หรือ พื้นที่สื่อเป็นของตัวเอง เช่น เพจเฟซบุ๊ค บล็อก ยูทูป ฯลฯ เรียกง่ายๆว่าแบรนด์สินค้ามักจะขอ Tie in หรือ ช่วยให้คุณสร้างเนื้อหาเจ๋งๆ ลงบนพื้นที่ของคุณ
3. รายได้ตาม KPI ที่ตกลง เรียกว่าเป็นงานโปรเจคตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่การวางกลยุทธ์การผลิตชิ้นงาน การจัดเก็บข้อมูล ไปจนถึงการวัดผลลัพธ์ โดยต้องใช้ความรู้ของ Digital เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งงานลักษณะจะช่วยสร้างประสบการณ์และทักษะ Marketing communication ได้อย่างดี
ไม่ได้แปลว่าเราต้องเลือกรับงานที่สร้างรายได้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง บางทีนักเขียนฟรีแลนซ์ 1 คน อาจสร้างรายได้ทั้งหมด 3 รูปแบบเลยก็ได้เช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องอาศัยทักษะ คุณสมบัติ และมีเงื่อนไขที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมพอสมควร (อ่านเพิ่มเติม เจาะลึกความแตกต่างที่ไปด้วยกันได้ของ การสร้างรายได้นักเขียนฟรีแลนซ์ทั้ง 3 รูปแบบ)
เส้นทางนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 มีสายไหนบ้าง
สิ่งสำคัญอย่างนึงของการเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ คือการรู้จักและเข้าใจงานเขียนของตนเองว่ามีความเข้าใจและเหมาะกับงานเขียนประเภทไหน ตามความเข้าใจของผมนั้น นักเขียน 4.0 มี 3 สายหลักๆ ได้แก่ Copywriter, Content Provider และ Influencer โดยในแต่ละสาย ก็จะมีประเภทงานหรือลักษณะงานแยกย่อยลงไปอีกที
1. Copywriter “กระชับ จับใจ ได้ยอด”
สายนี้ต้องใช้ความสามารถในการแปลงหรือตีโจทย์ที่ได้รับมา ให้กลายเป็นประโยคหรือวลีสั้นๆที่ดูแล้วเข้าใจพร้อมเชิญชวนให้ผู้อ่านเกิดพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น คลิกเพื่ออ่านต่อ สั่งซื้อ หรือ กรอกแบบฟอร์มสมัคร เป็นต้น
แต่ละคนก็จะมีเคล็ดลับ หรือ ทักษะ ในการสร้างสรรค์คำสั้นๆ เหล่านี้ แตกต่างกันออกไป เช่น การนำจุดเด่นของสินค้า โปรโมชั่น สิทธิพิเศษ หรือ การใช้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายมาสร้างข้อความอาจเกิดขึ้นได้ทั้งใน Web content, Banner โฆษณาต่างๆ หรือแม้แต่วลีในการสร้าง Adwords campaign
2. Content Provider “ถ่ายทอดดี ลีลาโดน”
ถือเป็นสายที่เปิดกว้างและเหมาะอย่างมากสำหรับนักเล่าเรื่อง โดยคุณจะต้องสร้างสรรค์ เนื้อหาที่มอบคุณค่าให้กับผู้บริโภค ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมจุดยืนและภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือสินค้า (Brand Image & Brand Positioning) ที่สำคัญ KPI ก็ควรเป็นไปตามเป้าด้วยเช่นกัน
จากความหลากหลายของกลุ่มนี้ ผมขอยกตัวเฉพาะงานที่เคยได้สัมผัสแล้วกันนะ ได้แก่
2.1 บทความน่าอ่าน
ที่เรียกว่า Advertorial อันเป็นการส่งมอบคุณค่าด้านในด้านหนึ่งจะเป็นความรู้ คำแนะนำ หรือ ความสนุกสนาน เป็นต้น แต่จะต้องมีความเชื่อมโยงกับแบรนด์หรือสินค้าได้อย่างแนบเนียน
2.2 เนื้อหาสนับสนุนคุณภาพเว็บไซต์
หรือที่เรียกว่า SEO Content ซึ่งคุณจะได้รับโจทย์มาว่าต้องการให้เนื้อหาของคุณมี Keyword อะไร เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ถูกเสิร์ชหาได้ง่ายยิ่งขึ้น
2.3 การทำ SR (Sponsor Review)
หรือ การรับงานรีวิวและเขียนให้น่าอ่านตามโจทย์ที่ได้รับซึ่งแตกต่างจาก CR (Customer Review) ที่เป็นการรีวิวแบบฟรีสไตล์ตามใจเรา
2.4 งานเขียนแบบ Interview หรือ Testimonial
เช่น การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายของลูกค้าสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ รวมถึง การรวมความประทับใจต่อแบรนด์มาสร้างเนื้อหา เป็นต้น
3. Influencer “เปลี่ยนความหลงใหล ให้เป็นเรื่องราว จนชาวโลกติดตาม”
เป็นสายที่มาแรงในยุคดิจิทัล เพราะหลายๆ คนที่โด่งดังในแวดวงนี้ เริ่มต้นมาจากการเล่าเรื่องหรือถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองมีความหลงใหล สนใจ หรือ ชำนาญ กระทั่งมีผู้ติดตามเป็นแฟนคลับงานของคุณ และนั่นคือสิ่งที่ดึงดูดให้เจ้าของแบรนด์หรือสินค้ามีโอกาสที่จะมาติดต่อขอลงโฆษณา
แต่อย่ากังวลไปว่าคุณจะต้องทำให้มีผู้ติดตามหลักแสนหรือหลักล้าน หรือ ยอดการเยี่ยมชมเว็บไซต์ถล่มทลาย เพราะจริงๆแล้ว ก็มีการแบ่งระดับไว้ตั้งแต่ Mega – Macro – Micro Influencer แต่ส่วนตัวนั้นผมจะแยกไว้ 2 แบบ ไม่ว่า Influencer เหล่านั้นจะอยู่ในแพลตฟอร์มใดก็ตาม ได้แก่
3.1 Influencer ที่มีผู้ติดตามเชิงปริมาณ ที่สร้างสรรค์เนื้อหาเน้นความอย่างโดนใจและตอบโจทย์ในเชิง Emotional กับผู้อ่าน หรือ สามารถสร้าง Viral จากการทำ Realtime Contnet ได้อย่างโดดเด่น กลุ่มนี้จะมียอดที่เติบโตเร็วแบบก้าวกระโดด แต่อาจไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาประเภทใดประเภทหนึ่ง
3.2 Influencer ที่มีผู้ติดตามในเชิงคุณภาพ ซึ่งจะมีความเชี่ยวชาญ หรือ เป็นกูรู เรื่องใดเรื่องนึงโดยเฉพาะส่งผลให้อาจมีกลุ่มผู้ติดตามที่น้อยกว่า แต่ค่าสถิติการมีส่วนร่วมของงานที่ออกมาแต่ละครั้งจะสูงและงานโฆษณาที่มีโอกาสเข้ามานั้นจะไม่ค่อยหลุดไปจาก DNA ของพวกเขาเท่าไหร่นัก
“ใครๆก็เป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ได้” ขอแค่มีคุณสมบัติ 4 ประการ
เริ่มสนใจกันอาชีพนี้กันแล้วละสิ และผมบอกเลยว่าการจะเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะคุณไม่จำเป็นต้องอยู่ในกลุ่มคนหัวศิลป์ หรือ วุฒิการศึกษาก็ไม่ใช่อุปสรรคของงานสายนี้เลย
ขอแค่มีคุณสมบัติหลัก 4 ประการ เหล่านี้งานเขียนดีๆ คุณก็สร้างได้
1. พร้อมเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ๆ
แพลตฟอร์ม ลูกเล่น หรือ ฟอร์แมท มีมากมายและเพิ่มขึ้น ส่วนการเปิดรับสิ่งใหม่อยู่เสมอจะช่วยเสริมมุมมองความเป็นนักเขียน และพัฒนาตัวคุณได้อย่างไม่มีวันจบ
2. สนุกกับการเป็นนักเล่าเรื่อง และ ส่งมอบเรื่องราว
เพราะการเล่าเรื่องทีดี ทำให้งานเขียนของคุณมีเสน่ห์และความแตกต่าง ตัวอย่างง่ายๆ ดูพี่เจี๊ยบเลียบด่วนสิ เล่าในแบบของตัวเองสุดๆ จริงป่ะ
3. วินัยและความรับผิดชอบ
การส่งมอบงานไม่ทันเป็นเรื่องที่แย่ ส่วนในสาย Influencer ความต่อเนื่องในการรังสรรค์เรื่องราวดีๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะถ้ามาๆหายๆ โลกจะลืมคุณ!!!
4. มี Passion (ความหลงใหล) หรือ ความสนใจใดเป็นพิเศษ
เพราะจะช่วยสร้างความสุข และความสุขมักนำพาให้เกิดงานคุณภาพ (และงานคุณภาพนำมาซึ่งรายได้ระดับพรีเมียม ฮ่าๆ) ที่สำคัญงานเขียนจะออกมาเร็ว เพราะเรื่องเหล่านั้นมันได้ฝังอยู่เส้นเลือดใหญ่ของคุณอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามยังมีคุณสมบัติบางอย่างที่สามารถแบ่งกลุ่มนักเขียนฟรีแลนซ์ระหว่าง กลุ่มพรีเมียมกับกลุ่มทั่วๆไป โดยขอพูดถึงคุณสมบัติที่แตกต่างจากประสบการณ์ที่ได้พบดังนี้นะครับ
จุดตัดสินสำคัญระหว่างนักเขียนฟรีแลนซ์พรีเมียม vs นักเขียนฟรีแลนซ์ทั่วไป
การแข่งขันของนักเขียนอิสระก็มีอยู่สูง และ การตัดราคาคือวิธีการที่ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตามหากคุณสามารถผลักดันตัวเองจนเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ระดับพรีเมียมได้ ก็เชื่อว่างานไม่มีขาดอย่างแน่นอนทีนี้มาดูข้อแตกต่างที่พอจะเห็นได้ชัดระหว่าง 2 กลุ่มนี้ กัน
1. งานรีไรท์ vs งานสดใหม่
หลายครั้งเราจะเจอบทความเนื้อหาคล้ายๆเดิม แต่อาจมีการตัดคำ เติมคำสร้อย หรือ ปรับหัวข้อ ซึ่งนั่นไม่ใช่งานเขียนที่ดีนัก ในขณะที่งานสดใหม่ จะมีความแตกต่างและไม่เหมือนใคร ทั้งในเชิงข้อมูล หรืออาจเป็นในแง่ของไอเดียที่สอดแทรกอยู่ในนั้น
2. งานเกาะกระแส vs งานเน้นคุณค่า
บางสถานการณ์งานเกาะกระแสอาจช่วยให้เนื้อหามีความน่าสนใจ แต่นักสร้างเนื้อหามือเทพจะสร้างงานเขียนที่มีคุณค่าแบบไม่เสื่อมไปตามกาลเวลา หรือ ที่เรียกว่า Evergreen content ได้เสมอ
3. เขียนแบบกว้างๆ vs เขียนแบบเข้าใจ
งานเขียนแบบกว้างๆ มักสร้างขึ้นได้ง่ายแต่ไร้กลุ่มเป้าหมายที่แน่ชัด ส่วนงานเขียนแบบเข้าใจจะตอบโจทย์ได้อย่างเฉพาะเจาะจงทั้งในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาที่ถ่ายทอด รวมถึงเหมาะสมกับช่องทางที่ปล่อยงานเขียนออกไป
4. ทำตามโจทย์ที่ได้รับ vs นำเสนอทางเลือกที่ดีกว่า
นักเขียนที่ดีจะไม่หยุดตั้งข้อสงสัย และ มักตั้งคำถามจากโจทย์ที่ได้รับว่าดีที่สุดแล้วหรือเปล่าพร้อมกับนำเสนอทางเลือกที่ดี หรือ แนวทางใหม่ๆ ส่วนลูกค้าจะตอบรับหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ค่อยว่ากัน
5. เลือกทำแต่งานเขียน vs เลือกเรียนรู้ทักษะใหม่
การสร้างมูลค่าให้ตัวเองในฐานะนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 ไม่ควรหยุดแค่การเขียนงาน แต่ควรศึกษาเพิ่มเติมทั้งองค์ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับงาน เพราะนอกจากจะเก่งขึ้น เราจะได้งานที่มีค่าจ้างและประสบการณ์แปลกใหม่เพิ่มขึ้นด้วย
6. แหล่งข้อมูลน้อย vs สังเคราะห์ข้อมูล
กรณีที่ต้องสร้างงานเขียนที่จำเป็นต้องใช้แหล่งอ้างอิง นักเขียนระดับคุณภาพจะอาศัยแหล่งอ้างอิงที่หลากหลาย ทั้งการอ่านข้อมูลอื่นๆ อ่านจากงานวิจัย อ่านจากงานต่างประเทศ แล้วนำมาสังเคราะห์ให้กลายเป็นเนื้อหาที่แปลกใหม่ และมีความน่าสนใจได้
ทักษะเพิ่มเติมที่ช่วยเสริมสร้างมูลค่าให้นักเขียนฟรีแลนซ์
นักเขียนฟรีแลนซ์ที่ดีจะไม่หยุดพัฒนาตนเอง พวกเขาจะมีความซุกซนและชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากประสบการณ์ของผม มีทักษะมากมายที่ช่วยสร้างมูลค่าทางการตลาดให้กับอาชีพนี้
1. ความรู้ความเข้าใจสื่อโซเชียลมีเดีย
ทั้งการใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อช่องทางนั้นๆ (สื่อใดเหมาะกับรูปแบบงานเขียนไหน) หรือ การเข้าใจหลักการเบื้องต้นในเชิงเทคนิค
2. สนใจเรื่องสถิติและประยุกต์ใช้เป็น
เพราะงานเขียนในโลกออนไลน์ จำเป็นต้องมีการวัด KPI ดังนั้นการที่คุณมีความเข้าใจและสามารถนำสถิติต่างๆมาวิเคราะห์ หรือ สรุปผลได้ จะเป็นเรื่องทีดี
3. รู้ว่าควรเขียนอย่างไรเมื่ออยู่ในแต่ละแพลตฟอร์ม
นอกจากโซเชียลมีเดียแล้ว ยังมีเว็บไซต์ ฯลฯ เป็นที่ๆ คุณเขียนงานได้ แต่ละที่มีเทคนิคที่ต่างกัน เช่น ถ้าทำบนเว็บไซต์ คุณก็ควรรู้หลักการเขียนเพื่อ SEO ของเว็บไซต์ เป็นต้น
4. ความรู้เรื่องแบรนด์และการตลาด
ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้ งานเขียนฟรีแลนซ์ส่วนมากมีไว้เพื่อสร้างแบรนด์ หรือ ตอบวัตถุประสงค์ทางการตลาด ถ้าคุณมีความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ จะช่วยให้โอกาสในการรับงาน และ การผลิตเนื้อหาที่โดนใจทั้งลูกค้ารวมทั้งกลุ่มเป้าหมาย มีมากทีเดียว
5. ทักษะการออกแบบงาน หรือ ทำวิดีโอ
ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มรายได้ให้คุณ เพราะถ้าคุณทำกราฟฟิกดีไซน์ หรือ ผลิตเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ ได้ จะทำให้คุณมีจุดขายเพิ่มขึ้นทันที หรืออย่างน้อยที่สุด คุณควรจะสามารถคุยงานกับดีไซเนอร์และทำงานร่วมกับพวกเขาได้
6. หมั่นศึกษาเทรนด์ของ Content marketing
อาจไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญ หรือ เทพมากมาย แต่การตามทันโลกของงานเนื้อหา จะทำให้คุณได้ทั้งความรู้และไอเดียใหม่ๆ ไว้สำหรับแนะนำลูกค้า
7. วางกลยุทธ์หรือแผนงานได้
เป็นทักษะที่เกิดขึ้นได้จากการมีความเข้าใจตั้งแต่ข้อ 1-5 (ไม่ใช่ว่าต้องเก่งทุกด้านนะครับ) จะทำให้คุณได้รับงานที่ใหญ่ขึ้น และได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่
hbspt.cta.load(3944609, '46ad8de0-da24-44f0-a0dc-4261f76df884′, {“region”:”na1″});
5 คุณค่าที่หาได้จากการเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์
นอกจากการสร้างรายได้อีกทางนั้น การเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ยังมีคุณค่าที่จับต้องได้ และเป็นเรื่องทางใจ ซึ่งตัวผมเองก็ได้รับสิ่งเหล่านั้นมาจริงๆ ได้แก่
1. ประสบการณ์ที่หลากหลาย
ทั้งรูปแบบงานเขียนมากมาย ได้รู้จักตลาดของสินค้ามากขึ้นได้ร่วมงานกับผู้คนหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับปัญหาใหม่ๆ ที่มีเข้ามาให้เราได้ฝึกตัวเอง
2. ส่งเสริมพอร์ตงานของคุณ
จะทำให้พอร์ตการสมัครงานของคุณมีผลงานมากขึ้น และดูน่าเชื่อถือซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการหางานประจำในสายโฆษณา Digital หรือ Content Marketing
3. ได้พบสังคมที่ยอดเยี่ยม
ผมเคยทำเพจของตัวเองนะ และขอบอกว่าการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้คุณพบเพื่อนใหม่ที่มีความสนใจเรื่องเดียวกับคนอีกเพียบ และ ได้มุมแปลกๆ ฮาๆ เสมอ
4. ความภาคภูมิใจ
สำหรับผมการได้เขียนงานที่มาจากไอเดีย หรือ ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการสร้างเพจ ที่สะท้อนความเป็นตัวเรา ถือเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจนะ
5. คุณคือเจ้าของสินค้า
ไม่รู้นะครับ สำหรับผมงานเขียน หรือ งานไอเดีย ถือเป็นสินค้าอย่างนึงที่เราเป็นเจ้าของ อยู่ที่ว่าวันหนึ่งเราจะขยับขยายให้มันเติบโตขึ้นหรือเปล่า
สรุป
อาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ยังเป็นที่ต้องการของตลาดในยุค 4.0 จากการเติบโตของ Digital Marketing อีกทั้งยังมีรูปแบบของงานให้เลือกหลากหลาย โดยการผลิตเนื้อหาคุณภาพที่มีความสร้างสรรค์และแปลกใหม่ยังเป็นสิ่งที่แบรนด์ หรือ เจ้าของสินค้า ต้องการ
อย่าลืมว่าถ้าหากคุณต้องการเป็นนักเขียนอิสระที่มีคุณภาพ ก็ต้องรู้จักการปรับตัว พัฒนาทักษะของตนเอง และเปิดใจเรียนรู้กับสิ่งใหม่ที่เข้ามาอยู่เสมอ
ตาคุณแล้ว
เส้นทางนักเขียนฟรีแลนซ์ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ถ้าคุณมีความพร้อมและความสนใจที่จะลงมือทำได้เลย ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่จบมาไม่ตรงสาย (แต่ใจมันรัก ห้ามยังไงก็ไม่ไหว) ซึ่งทุกวันนี้ก็ได้เรียนรู้งานเขียนมาอย่างหลากหลายจากการลองผิดลองถูกและมาเล่าสู่กันฟังนี่แหละครับ
hbspt.cta.load(3944609, ‘bfff0115-862b-4dba-9d3e-a49f420a2801', {“useNewLoader”:”true”,”region”:”na1″});