เมื่อคุณอยู่ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ธุรกิจต่างนำเครื่องมือเข้ามาใช้เพื่อผลักดันตัวเองให้อยู่เหนือคู่แข่ง การที่คุณจะติดตามกระแสหรือเทรนด์ต่างๆ บนโลกออนไลน์รวมไปถึงติดตามคู่แข่งได้อย่างว่องไว คุณก็ต้องมีเครื่องมือที่เข้ามาช่วยนั่นก็คือ Social Listening Tools

Social Listening Tools เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับนักการตลาดในการติดตามเทรนด์บนโลกออนไลน์ ทำให้เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าด้วยการติดตามความคิดเห็น เข้าใจความสนใจของตลาดในช่วงเวลานั้น และวิเคราะห์คู่แข่งได้

เชื่อว่านักการตลาดหลายคน ต้องเคยแตะเครื่องมือ Social Listening กันมาบ้างอยู่แล้ว แต่บางคนอาจมีปัญหาว่า ถ้าจะหา Insight เรื่องนี้ ต้องใช้ฟีเจอร์อะไร? แล้วฟีเจอร์บางอย่างสามารถหา Insight ได้ขนาดไหน? มีบางอย่างที่คุณอาจจะมองข้ามไปหรือเปล่า?

ในบทความนี้จะพาทุกคนไปตะลุยวิธีการใช้ Social Listening ยังไงให้เจาะ Insight ไปใช้งานได้จริง ด้วยเครื่องมือ Mandala Analytics ที่มีฟีเจอร์ที่สามารถเจาะลึกได้ทุกมุมมองที่คุณไม่ควรพลาด!

พาเจาะ 5 ฟีเจอร์สำคัญของ Mandala Analytics ที่จะทำให้คุณรู้ Insight มากกว่าที่คิด!

1. All Platforms

All Platforms บน Mandala Analytics

All Platforms เป็นพื้นที่ที่โชว์ข้อมูลภาพรวมของทุกแพลตฟอร์มที่เราเลือก โดยจะพาไปเจาะที่ 3 ฟีเจอร์หลักคือ Timeline, Summary และ Top Channels

1.1 Timeline – ดูภาพรวม หาสิ่งสะดุดตา

Timeline บน Mandala Analytics

Timeline เป็นฟีเจอร์ที่ทำให้เราเห็นการกล่าวถึง (Mention) จากคำที่เราค้นหา (Keyword) ทำให้เรารู้ได้ว่าประเด็นที่เราสนใจอยู่นั้น ถูกพูดถึงอยู่ในแพลตฟอร์มไหนบ้างบนโลกออนไลน์ รวมไปถึงแพลตฟอร์มไหนที่มี Engagement เป็นอย่างไรก็สามารถดูได้จากฟีเจอร์นี้

การเซฟรูปกราฟ

ซึ่ง Timeline สามารถดูรูปแบบกราฟได้ทั้ง 2 แบบ นั่นก็คือ กราฟเส้น และกราฟแท่ง ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ถ้าต้องการข้อมูลกราฟไปใช้งานต่อ เช่น การ Present ข้อมูล ก็สามารถเซฟรูปเป็นไฟล์ PNG ได้เพียงแค่คลิกขวาที่กราฟและกด Save Image As… 

ได้ Insight อะไรจาก Timeline?

เนื่องจาก Timeline สามารถแสดงข้อมูลจำนวน Mention หรือ Engagement ในช่วงเวลาที่เลือกได้ ทำให้รู้ได้ทันทีว่าช่วงเวลาไหนที่มีกราฟพุ่งสูง ก็สามารถกดเข้าไปดูได้ว่าวันนั้นเกิดอะไรขึ้น ซึ่งข้อมูลตรงนี้สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ว่า สาเหตุของยอดที่สูงในวันนั้นคืออะไร แล้วทำไมถึงยอดสูง ทำให้รู้เทรนด์และกระแสในช่วงเวลานั้นได้ทันที นอกจากนี้ทำให้รู้ว่ารูปแบบคอนเทนต์แบบไหนที่ไปได้ดีในแต่ละช่องทางอีกด้วย

กราฟแสดงจำนวน Engagement บนแพลตฟอร์มต่างๆ

จากรูปจะเห็นได้ว่าในกราฟในช่วงวันที่ 4 July 2023 ของช่องทาง TikTok มียอด Engagement ที่สูงโดดจากวันอื่นๆ อย่างสังเกตเห็นได้ชัด และเมื่อกดเข้าไปก็จะปรากฎเป็นหน้า Daily Summary ที่สรุปข้อมูลในวันนั้นให้ว่าโพสต์ไหนที่ได้ยอด Engagement สูง

โพสต์วิดีโอบน TikTok ที่ได้รับ Engagement สูง

สรุป Timeline จะทำให้คุณรู้อะไรบ้าง?

  • รู้เทรนด์หรือกระแสว่า ช่วงเวลาไหนที่ Keyword นั้นกำลังเป็นที่กล่าวถึงและมียอด Engagement ที่น่าสนใจ
  • รู้ว่าแพลตฟอร์มไหนที่มียอด Mention หรือ Engagement ที่โดดเด่นหรือน้อย ทำให้เห็นโอกาสในแต่ละช่องทาง
  • รู้ว่ารูปแบบคอนเทนต์แบบไหนที่กำลังเป็นกระแส ทำให้คุณรู้ว่าคอนเทนต์แบบไหนที่เหมาะและเป็นโอกาสที่จะทำให้คุณสามารถนำรูปแบบคอนเทนต์นั้นไปใช้ต่อได้

1.2 Summary – สรุปชัดเจน รู้ถึงจุดที่ควรพัฒนา

Summary บน Mandala Analytics

Summary ช่วยสรุปจำนวน Channel, Mention และ Engagement ทั้งหมดว่ามีปริมาณเท่าไหร่ ทำให้ง่ายต่อการดูข้อมูลและนำไปใช้ นอกจากนี้ยังสรุปค่าของอารมณ์ (Sentiment) ที่ทำให้ผู้ใช้งานรับรู้ว่า มีการพูดถึงในเชิงบวก ลบ หรือ เป็นกลาง จำนวนเท่าไหร่บ้าง

ได้ Insight อะไรจาก Summary?

Summary ช่วยให้เห็นภาพรวมของข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจ รวมไปถึงฟีเจอร์สำคัญอย่าง Sentiment ที่ทำให้เข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้น จากปัญหา หรือ ข้อร้องเรียนต่างๆ จนนำไปสู่การพัฒนาแบรนด์ให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น

โดยสามารถกดเข้าไปดูที่ Sentiment ได้โดยตรงว่าการพูดถึงในเชิงบวก ลบ หรือเป็นกลาง มีอะไรบ้าง ดังในรูปที่เป็นคอมเมนต์ในแง่ Negative ทำให้แบรนด์สามารถรับรู้กระแสตอบรับของลูกค้าได้โดยตรงและนำจุดตรงนี้ไปปรับปรุงต่อได้

ข้อความที่พูดถึงข้อเสียของ Tesla

สรุป Summary จะทำให้คุณรู้อะไรบ้าง?

  • รู้ภาพรวมว่า Keyword ที่กำหนดมีการกล่าวถึงกี่ครั้ง มีกี่ช่องทางที่กล่าวถึง และยอดรวม Engagement เท่าไหร่ ทำให้รู้ว่าเรื่องราวที่สนใจนั้นมีกระแสจริงๆ หรือไม่
  • Sentiment ทำให้รู้ว่ามีการกล่าวถึงในแง่บวกอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นการบอกว่าอะไรที่กำลังเป็นกระแสที่ดีและน่าติดตาม ในขณะเดียวกันก็ทำให้รู้ได้ว่ามีกล่าวถึงในแง่ลบอย่างไร และสิ่งนั้นที่ลูกค้ากล่าวถึงจะทำให้เราสามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้

1.3 Top Channels – ใครคือดาวโดดเด่นที่ต้องจับตามอง?

Top Channels บน Mandala Analytics

Top Channels ช่วยให้รู้ว่าเพจหรือแอคเคาท์ไหนบนช่องทางต่างๆ ที่มีการกล่าวถึง หรือมี Engagement มากที่สุด โดยเรียงลำดับตั้งแต่ Top 1-10 และยังสามารถดูได้ครบทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram, TikTok และ YouTube

ได้ Insight อะไรจาก Top Channels?

Channel ที่ได้รับ Engagement สูง

การทำการตลาดในยุคปัจจุบัน เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ใช้ Influencers หรือ KOLs ซึ่งฟีเจอร์นี้เป็นตัวช่วยที่ทำให้รู้ได้ว่าใครที่น่าสนใจและเป็นกระแสอยู่ แถมยังรู้อีกด้วยว่า KOLs คนนั้นมี Engagement ที่ดีหรือไม่ ทำให้คุณสามารถคัดเลือกคนที่น่าสนใจและเหมาะกับแบรนด์ของคุณได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้คุณเลือกได้ว่าอยากโฟกัสไปที่คนไหน

สรุป Top Channels จะทำให้คุณรู้อะไรบ้าง?

  • รู้ว่า KOLs คนไหนที่เหมาะกับแบรนด์ของคุณ
  • สามารถรู้ได้ว่า KOLs คนไหนที่มี Engagement ที่สูงจริงๆ ทำให้สามารถคัดเลือก KOLs ด้วยเรื่อง Engagement ได้มากกว่าโฟกัสที่ยอดผู้ติดตาม
  • สามารถเปรียบเทียบผลลัพธ์ KOLs ที่คุณจ้างในแต่ละแคมเปญได้ ทำให้คุณสามารถติดตามข้อมูลได้ว่า KOLs คนไหนที่มีผลลัพธ์ที่ดี ทำให้คุณตัดสินใจได้ว่าคุณควรลงทุนใน KOLs คนไหน

2. Keywords & Hashtags

ฟีเจอร์ที่จะพาคุณไปดูทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ Keywords และ Hashtags โดยมี 4 ฟีเจอร์หลักคือ Keyword Timeline, Campaign Keywords, Word Cloud และ Hashtag Cloud

2.1 Keyword Timeline – เข้าใจทุกความโดดเด่น

Keyword Timeline บน Mandala Analytics

ฟีเจอร์ก่อนหน้าจะเป็นการพูดถึงภาพรวมในแต่ละแพลตฟอร์ม แต่ในฟีเจอร์นี้จะทำให้เราเห็นข้อมูลที่ลึกขึ้น โดยจะช่วยบอกว่าจากประเด็น หรือ คำค้นหาที่เราสนใจ (Keywords) ถูกพูดในช่วงวันไหน และมีปริมาณเท่าไหร่ (ยิ่งใส่คำเยอะ ก็จะยิ่งเห็นภาพมากยิ่งขึ้น)

ได้ Insight อะไรจาก Keyword Timeline?

Keyword ที่ได้รับ Engagement สูง

สามารถดูที่มาที่ไปและเปรียบเทียบ Keywords ต่างๆ ได้ ทำให้รู้ว่าช่วงไหนที่มีการกล่าวถึงหรือ Engagement เยอะ และทำให้เจาะได้ว่ากระแสมาช่วงไหน อะไรกำลังมา หรือแม้กระทั่งการใส่ชื่อแบรนด์ต่างๆ ก็จะทำให้เราเห็นการเปรียบเทียบการพูดถึงบนโลกออนไลน์ได้

ตัวอย่างเช่น ดังภาพที่มีการใช้ Keyword เกี่ยวกับพาสต้า และอยากรู้ว่าระหว่าง พาสต้าเส้นสด กับ พาสต้าเส้นแบน อะไรที่มี Engagement เยอะกว่ากันจึงเลือกเปรียบเทียบระหว่าง 2 Keywords และได้ผลลัพธ์ออกมาว่า พาสต้าเส้นสด เป็น Keyword ที่มียอด Engagement โดดเด่นในหลายช่วงมากกว่า พาสต้าเส้นแบน

สรุป Keyword Timeline จะทำให้คุณรู้อะไรบ้าง?

  • รู้ว่าช่วงเวลาไหนที่ Keyword นั้นๆ มีปริมาณที่โดดเด่น ทำให้จับได้ว่าช่วงเวลานั้นผู้คนชอบใช้ Keyword ไหนมากกว่ากัน
  • สามารถใช้ในการระบุได้ว่าเรื่องราวไหนที่โดดเด่นเป็นพิเศษ

2.2 Campaign Keywords – เจาะให้เห็นภาพ

Campaign Keywords บน Mandala Analytics

เป็นการสรุปจาก Keyword Timeline ว่าประเด็น หรือ คำที่เราค้นหา (Keywords) หรือ Engagement มีจำนวนเท่าไหร่บ้าง โดยเราสามารถกดคลิกเข้าไปดูข้อมูลที่เกิดขึ้นได้ในแต่ละ Keyword 

ได้ Insight อะไรจาก Campaign Keywords?

ช่วยให้เราสามารถโฟกัสประเด็น หรือ Keywords ว่ามีการพูดถึงอย่างไรบ้างบนโลกออนไลน์ในแต่ละแพลตฟอร์มตัวอย่างเช่น หากเรากำลังมอนิเตอร์แบรนด์คู่แข่ง ก็จะทำให้รู้เลยว่ามีความเคลื่อนไหวอย่างไร หรือในกรณีสินค้าและผลิตภัณฑ์นั้นๆ ผู้บริโภคมีความคิดเห็นอย่างไรก็จะทำให้เจาะไปดูได้ง่ายมากขึ้น

สรุป Campaign Keywords จะทำให้คุณรู้อะไรบ้าง?

  • รู้ภาพรวมว่าแต่ละ Keyword มีจำนวน Mention หรือ Engagement เท่าไหร่โดยเจาะไปที่แต่ละ Keyword โดยเฉพาะ

2.3 Word Cloud & Hashtag Cloud – แหวกว่ายหาไอเดียใหม่ที่คาดไม่ถึง

Word Cloud & Hashtag Cloud บน Mandala Analytics

ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้เราเห็นไอเดีย หรือความต้องการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากประเด็น หรือ Keywords ว่ามีการพูดถึงเรื่องอื่นๆ อีกบ้างไหม ผ่านการนำเสนอในรูปแบบของกลุ่มคำ และ การใช้ Hashtag

ได้ Insight อะไรจาก Word Cloud & Hashtag Cloud?

ทำให้เห็นข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจและสามารถนำไปต่อยอดธุรกิจ หรือแผนการตลาด รวมไปถึงการใช้ Hashtag ที่ช่วยให้สามารถเกาะกระแสไปกับเรื่องราวเหล่านั้นได้

จากรูป Hashtag Cloud ทำให้เราเห็น Hashtag ที่เกี่ยวข้องกับเกาะสมุยอยู่หลายอัน ซึ่งพอกดเข้าไปก็จะเห็นว่ามีร้านอาหารที่มีพาสต้าอยู่ที่เกาะสมุยที่น่าสนใจ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เราค้นพบสิ่งใหม่ที่เราอาจจะไม่ได้คาดคิดมาก่อน

Keyword อื่นที่น่าสนใจ

สรุป Word Cloud & Hashtag Cloud จะทำให้คุณรู้อะไรบ้าง?

  • รู้ถึง Keyword หรือ Hashtag ใหม่ๆ ที่อาจจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับ Keyword ที่เราโฟกัส ทำให้สามารถเจอเรื่องราวน่าสนใจที่สามารถนำไปต่อยอดในการใช้งานต่อได้ และทำให้สามารถเจอโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อีกด้วย
  • สามารถจับกระแสใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ค้นหาได้ ทำให้สามารถนำไอเดียใหม่ๆ มาปรับเข้ากับกลยุทธ์การตลาดเดิมให้เข้ากับกระแสที่กำลังมาได้

3. Time Analytics – เวลามีค่าดั่งทองคำ

Time Analytics บน Mandala Analytics

หนึ่งในฟีเจอร์ของ Mandala Analytics ที่จะพาคุณไปสอดส่อง Time Analytics เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้เห็นว่าข้อมูลที่เกิดขึ้นมีการโพสต์ในช่วงเวลาไหนบ้าง หรือช่วงเวลาไหนที่เกิดการตอบรับดี (Engagement) และช่วยให้สามารถลงลึกในการดูข้อมูลแบบรายวันไปจนถึงระดับรายชั่วโมงได้

ได้ Insight อะไรจาก Time Analytics?

ทำให้เราสามารถคาดการณ์ หรือ เตรียมความพร้อมสำหรับเรื่องราวต่างๆ เช่น ช่วงเวลาไหนที่กลุ่มลูกค้าของเรามักจะมี Engagement มากที่สุด หรือช่วงเวลาไหนที่ Keyword มีการกล่าวถึงมากที่สุด เป็นต้น

จากภาพจะเห็นได้ว่า Keyword ที่เกี่ยวข้องกับพาสต้าจะมียอด Engagement ดีที่สุดในช่วงเวลา 11:00 น. วันเสาร์และวันอังคาร และมีการกล่าวถึงมากที่สุดตั้งแต่วันอังคาร-ศุกร์ ช่วงเวลา 18:00 น. และวันเสาร์เวลา 13:00 น. ดีที่สุด

โพสต์ที่ได้รับ Engagement สูงในช่วงเวลา 11:00 น.

เรียกได้ว่าข้อมูลเหล่านี้สามารถทำให้รู้ได้เลยว่า ช่วงเวลาไหนที่คนมักจะกล่าวถึงและมียอด Engagement ที่ดี ทำให้นำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ในการวางคอนเทนต์ต่อได้ว่า ควรจะโพสต์เวลาไหนที่มีแนวโน้มที่จะได้ผลตอบรับที่ดี

สรุป Time Analytics จะทำให้คุณรู้อะไรบ้าง?

  • ได้รู้ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการโพสต์เพื่อได้รับยอด Engagement ที่ดี
  • สอดส่องช่วงเวลาที่คู่แข่งมักจะโพสต์ทำให้สามารถพิจารณาได้ว่าควรโพสต์ก่อนหรือหลังคู่แข่ง

4. Analytics Feed – สอดส่องแอบดูให้รู้จริง

Analytics Feed บน Mandala Analytics

Analytics Feed เป็นฟีเจอร์ที่ทำให้เราสามารถมอนิเตอร์หรือสอดส่องข้อมูลเพจหรือ Channel ที่สนใจได้ โดยที่จะทำงานเมื่อเราทำการเลือกแต่ละ Channel บนแพลตฟอร์มต่างๆ เอาไว้เพื่อติดตามข้อมูล

ได้ Insight อะไรจาก Analytics Feed?

สามารถวิเคราะห์และติดตามความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจาก Channel ที่เราสนใจ เพื่อสอดส่องสิ่งที่น่าสนใจหรือติดตามคู่แข่งไม่ให้พลาด

สรุป Analytics Feed จะทำให้คุณรู้อะไรบ้าง?

  • สามารถมอนิเตอร์คู่แข่งได้ว่าแต่ละ Channel มีการโพสต์ถึง Keyword ที่เราสนใจในรูปแบบไหนบ้าง ทำให้สามารถนำไปปรับใช้กับรูปแบบคอนเทนต์ของตัวเองได้
  • สามารถวิเคราะห์ลักษณะจุดเด่น-ด้อยของโพสต์แต่ละ Channel ได้

5. Mention Console – จัดกลุ่มข้อมูล เข้าใจบริบทต่างๆ ได้มากขึ้น

Mention Console บน Mandala Analytics

อีกหนึ่งฟีเจอร์สำคัญในการใช้ Mandala Analytics นั้นก็คือ Mention Console ที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนการนำข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมด มาทำงานผ่าน Excel ที่เราคุ้นเคย (สามารถ Export ข้อมูลออกมาได้เฉพาะ Twitter, YouTube และ TikTok) ทำให้สามารถค้นหาคำต่างๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม หรือแม้กระทั่งการ Filter ที่มีความซับซ้อนแบบขั้นสูง

ได้ Insight อะไรจาก Mention Console?

การติด Tag ใน Mention Console บน Mandala Analytics

ทำให้รู้ว่าใน Keyword ที่เราสนใจมีเรื่องราวที่สามารถโฟกัสเพิ่มเติมในบริบทอื่นๆ และสามารถ Grouping Data หรือทำ Data Label ได้ ซึ่งหัวใจหลักของการใช้ Social Listening Tool คือการที่เราสามารถนำข้อมูลที่ได้มานั้นมาทำการจัดหมวดหมู่ เพื่อให้เห็นภาพว่ามีการพูดถึงในบริบทไหนบ้าง

อย่างตัวอย่างในภาพที่มีการจัดหมวดหมู่ Generative AI อยู่ 3 โมเดล คือ Bard, Dall-E และ ChatGPT โดยฟีเจอร์นี้สามารถติด Tag ให้แต่ละโพสต์ที่มีการกล่าวถึง Keywords นั้นๆ เพื่อทำ Grouping Data ได้ว่าแต่ละโพสต์มีการกล่าวถึงอะไรในบริบทไหน

โดยเมื่อสร้าง Tag เพื่อทำการ Grouping Data แล้ว ก็ทำให้สามารถดูข้อมูลง่ายขึ้นว่ามีการกล่าวถึงที่เกี่ยวข้องกับที่เราติด Tag ไปกี่ Mentions นั่นเอง

สรุป Mention Console จะทำให้คุณรู้อะไรบ้าง?

  • รู้ข้อมูลเกี่ยวกับบริบทอื่นๆ ที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ Keyword 
  • ช่วยทำให้คุณสามารถวิเคราะห์ได้ว่าในแต่ละบริบทอื่นๆ โดยภาพรวมมีความน่าสนใจอย่างไร

Case Study หาโอกาสทางธุรกิจด้วย Mandala Analytics

Case Study น่าสนใจจาก Mandala Analytics ที่จะทำให้การใช้ Social Listening Tool สามารถหาโอกาสทางธุรกิจได้ ซึ่งเหมาะกับ พ่อค้า แม่ค้า รวมไปถึงคนที่กำลังอยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจ “ขายของออนไลน์” 

ในช่วงที่ COVID-19 ระบาดในรอบแรกๆ เรียกได้ว่าเป็นฝันร้ายของพ่อค้าและแม่ค้าเลยทีเดยว เพราะในช่วงนั้นจะขายอะไรก็ดูยากไปหมด เนื่องจากพฤติกรรมและความต้องการของผู้ซื้อเปลี่ยนไป และนั่นคือจุดเริ่มต้นของคำถามว่า “สินค้าประเภทไหนที่เอามาขายในช่วง COVID-19 ถึงจะอยู่รอด?”

สิ่งแรกที่อยากรู้ คือ มีสินค้าอะไรบ้างที่ยังขายได้ และคนต้องการมากแบบแย่งกันซื้อ ซึ่งการที่จะหาคำตอบได้คือการใช้ Social Listening Tool อย่าง Mandala Analytics ในการค้นคว้าหาคำตอบนี้

รูปภาพประกอบด้วย ข้อความ, ภาพหน้าจอ, ตัวอักษร, ไลน์

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
Keywords ที่ต้องการหาบน Mandala Analytics

ในช่วงเริ่มต้นจะมีการกำหนด Keywords เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดย Keywords ที่เลือกมาจะใช้เป็นคำกว้างๆ คือ

  • ต้องการซื้อ
  • รับซื้อด่วน
  • สินค้าต้องสั่งจอง
  • เปิดรับพรีออเดอร์
  • ของขาดตลาด
  • ของมีจำนวนจำกัด

เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วสิ่งแรกที่ทำคือ กดเข้าไปดูที่กราฟ Timeline ในแต่ละแพลตฟอร์มว่าในช่วงวันที่มี Engagement และจำนวน Mention พุ่งขึ้นสูงๆ มีการพูดคุยถึงสินค้าอะไร ข้อมูลที่พบในตอนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการพูดถึง หน้ากากอนามัย สเปรย์แอลกอฮอล์ ยาต้านโควิด รวมถึงวิตามินต่างๆ ซึ่งก็ไม่แปลก แต่ที่น่าแปลกใจคือมีการพูดถึงสินค้าตัวหนึ่งที่เกาะกลุ่มมาด้วยตลอดนั้นก็คือ “Surf Skate”

หน้าสรุปข้อมูล Timeline จาก Mandala Analytics

จากนั้นก็ได้เข้าไปดูต่อว่า ใน Word Cloud มีการพูดถึงสินค้าอะไรอีกบ้างที่น่าสนใจ แล้วก็ต้องแปลกใจอีกครั้ง ตรงที่มี Keyword เกี่ยวกับ Surf Skate ติดเข้ามาอยู่ในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวกับ COVID-19 ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจและถือเป็นโอกาสที่จะต่อยอดอะไรบางอย่างใน Surf Skate ได้ 

รูปภาพประกอบด้วย ข้อความ, ตัวอักษร, ภาพหน้าจอ

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ
Word Cloud จาก Mandala Analytics

เมื่อรู้แล้วว่า Surf Skate คือสิ่งที่โดดเด่นออกมา จึงได้มีการสร้าง Campaign ใหม่อีกครั้ง โดยเจาะจงไปที่เรื่องของ Surf Skate โดยตรง เพื่อหาข้อมูลว่าถ้าจะนำ Surf Skate มาขาย ยี่ห้ออะไรที่คนนิยม ควรเป็นรุ่นไหน แบบไหน ราคาที่สามารถขายได้จะอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ จะต้องโปรโมตอย่างไร และจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ยังไง?

สิ่งที่น่าสนใจในการค้นพบ Pain Point ของคนที่เล่น Surf Skate คือ “ขาดแคลนอะไหล่” หรือ “ไม่มีร้านขายอะไหล่” และนี่คือโอกาสที่ควรคว้าเอาไว้ ด้วยการนำเข้าอะไหล่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Surf Skate

ข้อความที่ลูกค้าทักเข้ามาสั่งซื้ออุปกรณ์ Surf Skate

ในช่วงนั้นที่เทรนด์ Surf Skate กำลังมา และผลของการที่คว้าโอกาสเพื่อตอบโจทย์ Pain Point ของคนเหล่านั้นได้ ทำให้ได้รับกระแสที่ดีมาก เพราะมีลูกค้ามากมายเข้ามาสอบถามและสั่งซื้อทั้งอะไหล่หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ Surf Skate อย่างล้นหลาม

เรียกได้ว่า Social Listening Tool อย่าง Mandala Analytics สามารถวิเคราะห์เทรนด์ว่าอะไรกำลังมา ติดตามคู่แข่งไม่ให้พลาด มอนิเตอร์ผลลัพธ์ของแคมเปญ ตามหา KOLs ที่ใช่ รวมไปถึงการหาโอกาสทางธุรกิจที่คุณอาจคาดไม่ถึงอีกด้วย

ถ้าวันนี้คุณยังไม่เริ่มใช้ Social Listening Tool ในยุคที่ทุกอย่างอยู่บน Social Media ระวังว่ากว่าคุณจะเริ่มใช้ ตอนนั้นคู่แข่งอาจจะนำหน้าเราไปก่อนหลายร้อยก้าวแล้วก็เป็นได้


Shifu แนะนำ

เริ่มใช้งาน Social Listening Tool ได้ฟรี 15 วัน ได้แล้วตอนนี้ กับ Mandala Analytics คลิกเพื่อทดลองใช้งานได้เลย!

 

[Sponsorship Disclosure] คอนเทนต์นี้ได้รับการสนับสนุนจาก Mandala AI (Ocean Sky Network)