ปัจจุบัน Google ซึ่งเป็นเสิร์ชเอนจิ้นอันดับ 1 ของโลก ได้นำเทคโนโลยี AI เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการหาคำตอบให้กับผู้ค้นหา ส่งผลให้การทำ Search Engine Optimization (SEO) ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับโลกใบใหม่ ซึ่ง แนวคิดของ Semantic SEO ได้กลายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ เพราะเป็นเทคนิคที่สอดคล้องกับยุค AI Search อันจะเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ปรากฏในอันดับต้นๆ ของผลการค้นหาได้

บทความนี้จะพาคุณไปสู่โลกของ Semantic SEO เจาะลึกทั้งความหมาย ความสำคัญ และวิธีการนำไปประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์  ซึ่งผมเชื่อว่า เมื่อคุณอ่านจบ คุณจะรู้วิธีทำ Semantic SEO ดียิ่งขึ้น และสามารถนำไปปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อผลลัพธ์ทาง SEO ที่ดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ

Semantic SEO คืออะไร

Semantic SEO strategy คือ กลยุทธ์การทำ SEO ที่สร้างเนื้อหาเว็บไซต์ซึ่งตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ค้นหา  มีการวิเคราะห์อย่างละเอียดว่า สิ่งที่ผู้ค้นหาต้องการคืออะไร หัวข้อเกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง จากนั้นนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้คนหาอย่างละเอียดและครอบคลุม

ตัวอย่างเช่น เมื่อคนค้นหาคำว่า “รองเท้าวิ่ง มือใหม่”   การทำ Semantic SEO  จะไม่เพียงใส่คำว่า “รองเท้าวิ่ง มือใหม่” ในเนื้อหาเว็บไซต์เท่านั้น แต่จะวิเคราะห์ทั้งลึกและกว้างว่า ข้อมูลที่เหมาะสมกับนักวิ่งมือใหม่มีอะไรบ้าง เช่น เทคนิคการวิ่งที่ถูกต้อง วิธีเลือกรองเท้าที่ใส่สบาย แผนการฝึกซ้อมสำหรับมือใหม่ และอื่นๆ จากนั้นนำเสนอข้อมูลทั้งหมดอย่างละเอียด

การให้ข้อมูลมีประโยชน์ เจาะลึก ครอบคลุม จะสร้างประสบการณ์ที่ให้ข้อมูลและมีคุณค่ามากขึ้นสำหรับผู้ใช้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เครื่องมือค้นหาอย่าง Google มุ่งหวังที่จะมอบให้ จึงเพิ่มโอกาสที่จะติดอันดับต้นๆ ของผลการค้นหา

ความแตกต่างระหว่าง Semantic SEO กับ Traditional SEO 

ความแตกต่างของวิธีการทำ SEO ทั้ง 2 แบบ อยู่ที่  “แนวคิดการเขียนเนื้อหา”

การทำ Traditional SEO จะค้นหาว่า คีย์เวิร์ดที่คนใช้หาข้อมูลคืออะไร เมื่อทราบแล้ว จะเขียนเนื้อหาของเรื่องนั้นๆ อย่างเฉพาะเจาะจง และเน้นการใส่คีย์เวิร์ดในเนื้อหา

แต่การทำ Semantic SEO มีความแตกต่าง  โดยจะวิเคราะห์เป้าหมายและเจตนาแท้จริงของผู้ค้นหา (Search Intent) ว่า พวกเขากำลังหาอะไร เช่น หาคำจำกัดความ วิธีการ ข้อมูลสินค้า หรืออย่างอื่น มีบริบท (Context) อะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง จากนั้นสร้างเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และครอบคลุมหัวข้อที่คนค้นหา

ลองดูตัวอย่าง เกี่ยวกับการสร้างเนื้อหา “ร้านอาหารใหม่ ในกรุงเทพ”

Traditional SEO : เน้นการใส่คีย์เวิร์ด “ร้านอาหารใหม่ ในกรุงเทพ” บนเว็บเพจ เนื้อหาบนเว็บเพจแสดงรายชื่อร้านอาหาร และเมนูเบื้องต้น

Semantic SEO : เนื้อหาครอบคลุมทุกสิ่งเกี่ยวกับ “ร้านอาหารใหม่ ในกรุงเทพ” เช่น รายชื่อร้าน ช่องทางติดต่อ หมุดแผนที่ จุดขาย รูปอาหารและบรรยากาศร้าน รีวิว งบประมาณโดยรวม รูปรายละเอียดดนตรีหรือการแสดง และอื่นๆ

ทำไม Semantic SEO จึงสำคัญ

1. ทำให้เว็บเป็น Expert Website 

การทำ Semantic SEO ส่งผลให้เว็บไซต์เข้าเกณฑ์เป็น Expert Website (เว็บที่มีความเชี่ยวชาญ) ของหัวข้อนั้น โอกาสที่จะปรากฏในลำดับต้นๆ ของผลการของจึงมีสูง ปริมาณ Organic Traffic ย่อมเพิ่มขึ้น

สาเหตุที่ Google ส่งเสริม Expert Website ให้ติดอันดับต้นๆ เพราะ เว็บไซต์ที่ปรับแต่งสำหรับ Semantic SEO จะมุ่งเน้นสร้างเนื้อหาที่มีประโยชน์ ละเอียด ครอบคลุมทุกประเด็นซึ่งเกี่ยวกับสิ่งที่คนค้นหา เว็บลักษณะนี้จะสร้างความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือกับทั้งผู้ใช้และ Search Engine

2. สอดคล้องกับ Google Algorithmic

ปัจจุบัน Google Algorithmic   สามารถเข้าใจเจตนาของผู้ค้นหาได้อย่างลึกซึ้ง  Google  ไม่ได้อาศัยเพียงการจับคู่ Keyword เพื่อคัดเลือกเนื้อหาที่จะโชว์บนผลการค้นหาอีกต่อไป แต่ใช้วีธีที่ซับซ้อนในการวิเคราะห์บริบท ความหมาย และวัตถุประสงค์ของผู้ใช้เบื้องหลังการค้นหา โดยมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอข้อมูลที่มีประโยชน์ ใช้ได้จริง และครอบคลุมหัวข้อที่คนค้นหามากที่สุด

เนื้อหาแบบ Semantic SEO ซึ่งเน้นที่ความหมายและวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ จึงสอดคล้องกับ Google Algorithm เพราะให้ข้อมูลในหัวข้อที่คนค้นหาอย่างละเอียดและครบถ้วน จึงมีโอกาสสูงที่ Google จะนำไปโชว์บนลำดับต้นๆ

3. สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้เว็บ

เว็บไชต์ที่มีเนื้อหามีประโยชน์ และครอบคลุมหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งอย่างครบถ้วน มักให้ประสบการณ์ที่ดีและสร้างความรู้สึกน่าเชื่อถือกับผู้อ่าน เกิดพฤติกรรมบางอย่างซึ่งสะท้อนว่า เว็บไซต์มีคุณภาพ

เช่น  ผู้ชมเข้าเว็บแล้วอ่านเนื้อหาครบ จะทำให้ค่า Time Per Session หรือเวลาการเข้าชมเว็บสูง มีการคลิ๊กดูตามหัวข้อ กดปุ่มติดตามหรือกดสั่งซื้อสินค้า ซึ่งทำให้เกิดการ Conversion 

พฤติกรรมเหล่านี้คือหนึ่งใน Ranking Factor ที่ Google ใช้เพื่อจัดอันดับ ยิ่งผู้ชมเว็บมีปฏิสัมพันธ์ลักษณะดังกล่าวมากเท่าไหร่  โอกาสขึ้นอันดับต้นๆ ของผลการค้นหา ยิ่งมากเท่านั้น

Google Knowledge Graph เกี่ยวข้องกับ Semantic SEO อย่างไร? 

ต่อมาเรามารู้จัก  Google Knowledge Graph ว่าคืออะไร ซึ่งความเข้าใจนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องการทำ Semantic SEO ดียิ่งขึ้น

โดยคุณสงสัยไหมครับว่า Google ใช้เครื่องมืออะไรในการทำความเข้าใจสิ่งที่คนค้นหา?

คำตอบ  เครื่องมือนั้นก็คือ Google Knowledge Graph นั่นเองครับ 

Google Knowledge Graph เปรียบเสมือนฐานข้อมูลของ Google ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจว่า สิ่งที่คนค้นหาคืออะไรและมีข้อมูลใดเกี่ยวข้องบ้าง โดยจะประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน 2 ชนิด คือ

Entities:

Entities นิยามคือ สรรพสิ่งต่างๆ  มีลักษณะดังนี้

·       1. Entities สามารถเป็น “สิ่งต่างๆ ซึ่งมีนิยามเฉพาะ” ตัวอย่างเช่น

  • บุคคล : อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, มารี คูรี, บารัค โอบามา
  • สถานที่ : ปารีส, ยอดเขาเอสต์, ปะการัง Great Barrier Reef
  • สิ่งของ : กีตาร์, กาแฟ, จักรยาน, โทรศัพท์
  • องค์กร : Google , Tesla , PTT
  • เหตุการณ์ : งานสงกรานต์ , ฟุตบอลโลก , สงครามโลก

·       2. ในแง่ประโยค Entities  มีลักษณะเป็น “คำนาม” ตัวอย่างเช่น [Entities = คำเน้น]  

  • อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Entities) เป็นนักฟิสิกส์ที่ยอดเยี่ยม
  • ปารีส (Entities) คือเมืองหลวงของฝรั่งเศส
  • เราดื่ม กาแฟ  (Entities)  ทุกเช้า 

Relationships:

Relationships คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง Entities ตัวอย่างเช่น

·       อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Entities) พัฒนา (Relationships) ทฤษฎีสัมพันธภาพ (Entities)

·       ปารีส (Entities) ตั้งอยู่  (Relationships)  ฝรั่งเศส (Entities)

·       กาแฟ (Entities) ทำมาจาก (Relationships)  เมล็ดกาแฟ (Entities)

Google Knowledge Graph ตัวอย่าง

เพื่อให้คุณเห็นภาพมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่าง  Entities , Relationships ของ Google Knowledge Graph ดังรูปข้างล่าง โดยวงกลมอักษรพื้นหลัง = Entities (ขอขอบคุณข้อมูลจาก ahref ด้วยนะครับ) 

 Cr : https://ahrefs.com/blog/google-knowledge-graph/

จากตัวอย่าง เมื่อคนค้นหาเกี่ยวกับ Han solo  Knowledge Graph จะวิเคราะห์ Entities , Relationships เพื่อทำความเข้าใจคำถามและค้นหาคำตอบตามรูปข้างล่าง

 Cr : https://ahrefs.com/blog/google-knowledge-graph/

 Cr : https://ahrefs.com/blog/google-knowledge-graph/

โดยหนึ่งประเด็นสำคัญคือ คุณลองจินตนาการว่า  หาก Entities อย่าง “Han Solo” มีความสัมพันธ์ (Relationships) กับ Entities อื่นๆ เป็นจำนวนมาก นั่นหมายถึง Knowledge Graph จะเข้าใจและทราบข้อมูลเกี่ยวกับ “Han Solo” อย่างละเอียดครอบคลุม  ไม่ว่าคนจะค้นหาข้อมูล หรือ คำถามใดเกี่ยวกับ Han Solo  Google จะสามารถหาคำตอบมาให้ผู้คนหาได้

การประยุกต์ใช้ Google Knowledge Graph มาทำ Semantic SEO

คำถามคือ แล้วเราจะนำความรู้ Google Knowledge Graph มาประยุกต์ใช้ทำ Semantic SEO ให้เว็บไชต์อย่างไร

เพื่อตอบคำถามข้างต้น ผมอยากชวนจินตนาการว่า  สมมุติผมจะสร้างเว็บไซต์เกี่ยวกับ “J. R. R. Tolkien” ผู้เขียนนิยายที่โด่งดังบรรลือโลกอย่าง the The Lord of the Rings

ในการวางแผนเขียนเนื้อหา ขั้นแรก ผมกำหนดหัวข้อหลักคือ “J. R. R. Tolkien” ซึ่งเปรียบเหมือน Frist Entities of Website  จากนั้นจึงวิเคราะห์ว่า มี Entities อื่นที่เกี่ยวข้องกับ J. R. R. Tolkien อะไรบ้าง และมีความสัมพันธ์ (Relationships) กันอย่างไร  จากนั้นร่างเป็นแผนผังหัวข้อขึ้นมาตามรูปข้างล่าง

Cr : https://www.semrush.com/blog/knowledge-graph/

จากนั้นจึงเขียนบทความซึ่งเกี่ยวข้องกับ “ Entities “ อย่างครอบคลุม เนื้อหาเจาะลึก เช่น

  • J. R. R. Tolkien Bibliography (ประวัติของ j. r. r. Tolkien)
  • J. R. R. Tolkien Books
  • How many are The Lord of the Rings (book) 
  • How many are The Lord of the Rings (movie) 
  • Orlando bloom lord of the rings character

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Google จะเข้าใจว่า เว็บไซต์ดังกล่าว มีลักษณะ Expert (รู้ลึกรู้จริง) เกี่ยวกับ “J. R. R. Tolkien” เพราะมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวครอบคลุมทุกประเด็น  ผู้เข้าเว็บสามารถหาคำตอบเกี่ยวกับ  J. R. R. Tolkien  ได้ทุกเรื่อง

โดยเว็บที่มีลักษณะเป็น Expert ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ E-E-A-T นั้น  Google จะพิจารณาให้เป็นเว็บคุณภาพ และมีโอกาสสูงที่จะปรากฏในลำดับต้นๆ ของคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับคำว่า “J. R. R. Tolkien”

จากข้างต้นที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า การประยุกต์ใช้หลักการ Google Knowledge Graph มาสร้างเนื้อหาซึ่งครอบคลุมหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง จะสอดคล้องกับหลักการของ Semantic SEO ซึ่งจะเพิ่มโอกาสที่เว็บไซต์จะปรากฏในลำดับต้นๆ ของผลการค้นหานั่นเองครับ 

วิธีทำ Semantic SEO ให้กับเว็บไซต์ 

1. สร้าง Topical Map

Topical Map คือ แผนผังหัวข้อเว็บไซต์ ซึ่งแสดงว่า เว็บไซต์มีหัวข้ออะไรบ้าง แต่ละหัวข้อมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ประโยชน์ของ Topical Map คือ ช่วยให้เจ้าของเว็บทราบว่า ต้องนำเสนอข้อมูลอะไร  และ ส่งสัญญาณให้ Google เข้าใจว่า เว็บไซต์เป็นผู้เชี่ยวชาญ (Expert) มีความรู้เชิงลึกในหัวข้อนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลดีในแง่ SEO อย่างมาก

Cr: https://topicalmap.com/topical-map/

โดยตัวอย่างการสร้าง Topical Map  มีขั้นตอนดังนี้

1. กำหนด “หัวข้อแรก” เป็นเรื่องประเด็นหลักของเว็บไซต์  ซึ่งเปรียบเสมือน “first Entities of website”  

ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างเช่น ผมจะสร้างเว็บไซต์ความรู้เกี่ยวกับ SEO  ดังนั้น หัวข้อแรก คือ “SEO”

2.  ใช้เครื่องมือเพื่อค้นหา “หัวข้อเกี่ยวข้อง” โดยเครื่องมือที่ใช้มีอยู่ 4 อย่างคือ

  • หลักคิด 5W1H
  • Google Suggest 
  • People also ask 
  • Keyword Research Tool 

3. เริ่มจากใช้หลักคิด 5W1H  วิธีการคือ ให้เราใช้หลักคิด 5W1H (What , Who , When , Why , Where, How) กับหัวข้อแรก โดยตั้งคำถามว่า

  • SEO คืออะไร (What)
  • ทำไมต้องทำ SEO (Why)
  • ใครหรือธุรกิจใดควรทำ SEO บ้าง (Who)
  • ควรทำ SEO เมื่อไหร่ (When)
  • ทำ SEO ใช้งบประมาณเท่าใด (How Many)
  • การทำ SEO ต้องทำอะไรบ้าง (How to)

การใช้หลักคิด 5W1H จะทำให้เราไอเดียว่า  หัวข้ออื่นน่าจะมีอะไรบ้าง  จากตัวอย่างนี้ ผมได้ไอเดียหัวข้อที่เกี่ยวกับ SEO ดังนี้

SEO (Entities) ต้องทำ  (Relationships)  On-Page Optimization (Entities)

SEO (Entities) ต้องทำ  (Relationships)  Off-Page Optimization (Entities)

SEO (Entities) คือส่วนหนึ่ง (Relationships)  SEM (Entities)

สรุปคือ จากขั้นตอนนี้  เราได้หัวข้อเกี่ยวข้องกับ SEO คือ On-Page Optimization , Off-Page Optimization , SEM

4. Google Suggest & People also ask เป็นอีก 2 เครื่องมือ ที่เราใช้เพื่อหาห้วข้อเกี่ยวข้องได้

โดย Google Suggest คือ เครื่องมือที่แสดงคำแนะนำซึ่งเกี่ยวข้องกับคำค้นหาและเป็นคำที่ผู้คนนิยมใช้หาข้อมูล

เราสามารถใช้ Google Suggest เพื่อค้นหาหัวข้อเกี่ยวข้อง วิธีการคือ ใส่หัวข้อหลักในช่องค้นหา จากนั้นดูว่า มีคำแนะนำใดเข้าข่ายเป็นหัวข้อเกี่ยวข้องบ้าง ตัวอย่างตามรูปข้างล่าง

ส่วน People also ask คือ คำถามซึ่งเกี่ยวข้องกับคำค้นหา โดย Google จะรวบรวมคำถามซึ่งคนถามบ่อย ถามซ้ำๆ และมีความเชื่อมโยงกับคำค้นหา  มาแสดงในช่อง People also ask (คำถามอื่น)

วิธีใช้ People also ask จะคล้ายกับใช้ Google Suggest คือ ใส่หัวข้อหลักในช่องค้นหา ดูที่หัวข้อ People also ask (คำถามอื่น)  จากนั้นพิจารณาว่า คำถามไหนบอกข้อมูลที่เป็นหัวข้อเกี่ยวข้องบ้าง

5. Keyword Research Tool คือ เครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดเว็บไซต์ มีหลายยี่ห้อ เช่น Google Keyword Planner , Ahrefs , Semrush , Keysearch  and etc  ซึ่งคุณสามารถใช้เครื่องมือใดก็ได้ตามที่คุณมี

โดยตัวอย่างนี้ ผมจะขอให้เครื่องมือ Ahrefs วิธีการคือ นำหัวข้อหลักไปใส่ในเครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ด แล้วไปที่ Related Term ผลลัพธ์ที่ได้คือ คำซึ่งเกี่ยวข้องกับ “SEO”  ตามรูปข้างล่าง

จากนั้นให้ไล่พิจารณาว่า มีคำใดที่เหมาะเป็นหัวข้อเกี่ยวข้องบ้าง จากนั้นจดเอาไว้

6. รวบรวม หัวข้อเกี่ยวข้อง ที่ได้จากขั้นตอน 3-5 มาทำการร่าง Topical Map ตัวอย่างตามรูปข้างล่าง 

2. เขียนบทความให้ครอบคลุมหัวข้อ

การเขียนบทความให้มีเนื้อหาครอบคลุมหัวข้อ เพื่อช่วยให้ผู้ค้นหาบรรลุสิ่งที่ต้องการ จะสอดคล้องกับหลักการของ Semantic SEO ส่งผลให้โอกาสติดอันดับต้นๆของผลการค้นหาสูงขึ้น

ขั้นตอนการเขียนบทความให้ครอบคลุม มีดังนี้

1. กำหนดหัวข้อบทความที่จะเขียน ตัวอย่างเช่น ต้องการเขียนบทความว่า “SEO คืออะไร”

2. นำหัวข้อบทความไปใส่ใน Google Suggest & People also ask  เพื่อดูว่า มีคำแนะนำ หรือ คำถามใดบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบทความ สามารถนำมาเป็นเนื้อหาบทความได้

จากตัวอย่าง เราพบข้อความจาก Google Suggest และ คำถาม ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “SEO คืออะไร” ดังนี้

  • SEO คืออะไร สำคัญอย่างไร
  • การทำ SEO มีกี่รูปแบบ 
  • เริ่มทำ SEO ตอนไหนดีที่สุด 
  • ธุรกิจอะไรบ้าง ควรทำ SEO
  • การทำ SEO Marketing ให้สำเร็จ ต้องอย่างไร

นำข้อมูลข้างต้น มากำหนดเป็นหัวข้อย่อยของบทความ จากนั้นเขียนเนื้อหาสนับสนุนหัวข้ออย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน

3. ใส่ Schema Markup 

Schema Markup คือ Computer Code ซึ่งถูกใส่ในเว็บไซต์ Code เหล่านี้จะส่งผลให้ Google แสดงข้อมูลที่มีประโยชน์บนผลการค้นหา เช่น รีวิว ราคา จำนวนสินค้าคงเหลือ ลิงก์สินค้า วันและเวลาทำ เป็นต้น

ประโยชน์ของ Schema Markup  ในแง่ของ Semantic SEO คือ ทำให้ Google เข้าใจว่า หัวข้อของเว็บไซต์ท่านคืออะไร เกี่ยวข้องกับสิ่งบ้าง ตัวอย่างเช่น หากท่านขาย Apple ซึ่งเป็นผลไม้  Schema Markup ช่วย Google เข้าใจง่ายขึ้นว่า สินค้าของท่านคือ “ผลไม้” ไม่ใช่ Apple ที่เป็นโทรศัพท์และแท็ปเล็ต ส่งผลให้เมื่อคนค้นหาแอปเปิ้ลเพื่อรับประทาน Google ก็จะแสดงเว็บท่านบนผลการค้นหา

Schema Markup ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ JSON-LD สาเหตุเพราะ

  • Search Engine หลักของโลก เช่น Google , Bing , Yahoo แนะนำให้ใช้
  • สามารถใส่ในเว็บไซต์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการแสดงผลเนื้อหาบนหน้าจอ
  • ปัจจุบัน มีทั้ง Free & Paid Tool ที่ช่วยให้ท่านสร้าง JSON-D Schema Markup ได้อย่างง่ายดาย

โดยคุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Schema Markup ได้ที่  https://www.semrush.com/blog/schema-markup 

สรุป

Semantic SEO เป็นการทำ SEO ที่เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของผู้ค้นหา เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ว่าผู้ใช้ค้นหาอะไร หัวข้อที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง นำเสนอเนื้อหาที่ครอบคลุม ตอบทุกคำถามที่ผู้ใช้สงสัย เกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ

ประโยชน์ของ Semantic SEO ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณตรงกับความต้องการของผู้ค้นหา ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่ออันดับเว็บไซต์

โดยวิธีการปรับแต่งเว็บให้สอดคล้องกับ Semantic SEO นั้น เบื้องต้นได้กล่าวแล้วตามข้างต้น ซึ่งผมเชื่อว่า หากคุณได้นำไปปฏิบัติ จะช่วยให้ผลลัพธ์ทาง SEO ของเว็บคุณ ดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ