เนื้อหาเหล่านี้เปรียบได้กับบทสัมภาษณ์แบงค์และอร สองผู้ก่อตั้ง ถึงประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากการลองทำบล็อกนี้มาหนึ่งเดือน
(ผู้สัมภาษณ์ในตอนนั้นก็ยังคงเป็นพวกเรากันเอง)
เนื่องจากข้อมูลความรู้ยังคงใช้งานได้อยู่ จึงยังขอเก็บบทความนี้ไว้ในลักษณะเดิม
เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก เผลอแปบเดียว พวกเราก็เริ่มทำ Content Shifu มาได้ 1 เดือนแล้ว!
ขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะ : )
เพื่อเป็นการรีวิวสิ่งที่พวกเราได้ทำกันตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา และเพื่อที่จะเอา Insight ต่างๆ เรียบเรียงมาให้ได้อ่านกัน พวกเราก็เลยเขียนบล็อกสั้นๆ บล็อกนี้ขึ้นมา (บอกว่าสั้นๆ แต่เอาเข้าจริง น่าจะยาวอยู่เหมือนกัน ฮ่าๆ)
ลองมาดูกันดีกว่าว่า 1 เดือนที่ผ่านมานั้นเราเรียนรู้เรื่องอะไรกับการทำ Content Shifu บ้าง
รับรองว่ามีประโยชน์แน่ๆ
7 บทเรียนที่พวกเราได้เรียนรู้จากการทำ Content Shifu มา 1 เดือน
1. คอนเทนต์แบบ Long form เป็นสิ่งที่เข้าท่า
พวกเราเริ่มสร้างบล็อกนี้ด้วยคอนเซปท์ที่ว่า ทุกครั้งที่คุณคลิ๊กเข้ามาอ่านบล็อกของเรา และอ่านจนจบ คุณจะได้ แนวคิดที่เอาไปใช้ได้จริงทันที อย่างน้อย 1 แนวคิด ซึ่งการที่จะทำแบบนั้นได้ พวกเราต้องลงรายละเอียดเชิงลึกพอสมควร
ตัวอย่างเช่น บล็อกของพวกเราจะไม่ได้แค่บอกให้คุณบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ แต่จะเจาะลึกไปถึงขั้นที่ว่า การบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นทำได้อย่างไร (ดูตัวอย่างได้ที่ เทคนิคแบบ Pomodoro)
และจากสถิติใน Google Analytics Traffic ที่เข้าเว็บไซต์ของพวกเรามีประมาณ 3,400 คน และจำนวน Page View อยู่ที่ประมาณ 8,000 ครั้ง ถึงแม้มันยังไม่ได้เยอะเท่าไหร่ แต่พวกเราก็ค่อนข้างพอใจกับตัวเลขนี้นะ เพราะคนที่เข้ามาอ่านบล็อกของพวกเราจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 4-6 นาทีต่อบล็อก และมีคนมาคอมเมนต์ในเว็บ 6 คน (อร: ซึ่งเราชอบมากค่ะที่มีคนมาคอมเมนต์ในบล็อกบ้าง เพราะเว็บคอนเทนต์ส่วนใหญ่มักได้คอมเมนต์จากเฟสบุ๊คมากกว่า) (แบงค์: ขอบคุณพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ที่มาคอมเมนต์ด้วยนะครับ เห็นคอมเมนต์ทีไร ชื่นใจทุกที ฮ่าๆ)
ตัวเลขทั้งหมดนี้ก็เป็นตัวชี้วัดได้อย่างหนึ่งเลยแหละว่าคนอ่านเห็นคุณค่าของ Long form Content ถึงแม้จะมีเพื่อนๆ บางคนบอกพวกเราว่า ยาวไป ขี้เกียจอ่าน แต่อย่างน้อยพวกเขาก็คิดว่าสิ่งที่เราทำนั้นมีคุณภาพ (อร: เราเคยเขียนมาหลายที่ แต่บอกเลยว่าใน Content Shifu แต่ละบทความ เราใช้เวลากับมันมากจริงๆ)
เพราะฉะนั้นพวกเราจะเดินหน้าผลิต Long form Content ที่มีประโยชน์ให้ได้อ่านกันต่อไปเรื่อยๆ นะ : )
2. คนส่วนใหญ่อ่านบล็อกผ่านมือถือ
“คนที่เข้ามาอ่านบล็อกของ Content Shifu กว่า 80% เข้ามาอ่านผ่านมือถือ”
จริงๆ ข้อมูลตรงส่วนนี้ไม่ได้ Insight สักเท่าไหร่ และน่าจะเป็นข้อมูลที่ทุกคนน่าจะพอรู้อยู่แล้ว แต่ก็อยากจะเอามาเตือนคนที่เว็บไซต์ยังไม่ Responsive อีกครั้งว่า เทรนด์มือถือมาแล้ว ถ้าไม่อยากโดน Google ปรับลดอันดับในการค้นหา คุณควรจะเปลี่ยนก่อนที่มันจะสายเกินไป
3. “อีเมล” ยังคงเป็นช่องทางที่น่าสนใจ
คุณน่าจะพอสังเกตเห็นแล้วว่าสิ่งที่พวกเราเน้นกันมากๆ เลยก็คือการกระตุ้นให้คนติดตามพวกเราผ่านทางช่องทางอีเมล สาเหตุที่เราเลือกช่องทางนี้เป็นช่องทางหลักแทนที่จะเป็นช่องทางบนโซเชียลมีเดียก็เพราะว่ามันคาดการณ์ได้ง่ายกว่า
เราไม่สามารถรู้ได้ว่าในปีหน้า หรือแม้แต่ในเดือนหน้า โซเชียลมีเดียจะมีการปรับอัลกอริทึ่ม หรือสร้างฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ทำให้พวกเราติดต่อสื่อสารกับคุณได้ยากขึ้นกว่าเดิมรึเปล่า แต่สำหรับโลกของอีเมลแล้ว มันหมุนช้ากว่ามาก
บอกตามตรงว่าในตอนแรกพวกเราก็ไม่แน่ใจว่ามันจะดีกว่าไหม แต่พอได้ลองจริงมาประมาณ 1 เดือน พวกเราคิดว่าช่องทางการสื่อสารด้วยอีเมลนั้นยังเป็นช่องทางที่ไม่ควรมองข้ามเลยล่ะ
มาลองดูสถิติคร่าวๆ กันดีกว่า
ใน 1 เดือนที่ผ่านมา Conversion Rate (จำนวนคนที่ Subscribe หารด้วยจำนวนคนที่เห็นฟอร์ม) ของพวกเราอยู่ที่ 3.8%
ดูแล้วเหมือนจะน้อยนะ แต่พวกเราค่อนข้างพอใจกับมันพอสมควร เพราะว่าเราใส่ฟอร์มไว้ในทุกหน้า และบางหน้าก็มีฟอร์มถึง 3 ที่ด้วยกัน
ส่วนของการส่งอีเมล พวกเราได้ส่งอีเมลแคมเปญไปทั้งหมด 5 แคมเปญ จำนวนคนที่เปิดอีเมลนั้นอยู่ประมาณที่ 25% และจำนวนคนที่คลิ๊กเข้าไปอ่านอยู่ที่ประมาณ 15%
สถิตินี้ถือว่าดีกว่ามาตรฐานของการส่งอีเมล (ดูตัวเลขเพิ่มเติมได้จาก Mailchimp) ค่อนข้างเยอะ พวกเราค่อนข้างพอใจกับตัวเลขคนคลิ๊กเข้าไปอ่าน แต่เรายังไม่ค่อยพอใจกับตัวเลขคนเปิดอีเมลสักเท่าไหร่
ป.ล. สาเหตุที่ผลตอบรับจากอีเมลของพวกเราค่อนข้างดี น่าจะเป็นเพราะว่าพวกเราไม่เน้นขายของ (เพราะไม่มีของให้ขาย ฮา) แต่เน้นการส่งมอบคุณค่าให้กับคนที่ติดตามพวกเรา
ป.ล. 2 ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่ Subscribe ผ่านอีเมล แต่ไม่ค่อยได้เปิดเมลของพวกเรา เราอยากรู้มากๆ เลยว่าทำไมคุณถึงไม่ค่อยได้เปิดอีเมลของพวกเรา เพื่อที่ว่าเราจะได้เอาไปปรับปรุงให้มันดีขึ้น พิมพ์มาคุยกับพวกเราในส่วนของคอมเมนต์ได้เลยนะ : )
4. Content Upgrade เป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจมากๆ

ถ้าคุณยังไม่ได้ Subscribe พวกเราผ่านอีเมล และถ้าคุณเข้าบล็อกผ่าน Desktop คุณจะเห็นข้อความ “ฟรี eBook! 36 เครื่องมือ + 6 เว็บไซต์ที่จะช่วยติดปีกให้กับ Social Media ของคุณ” ซึ่งพวกเราทำ eBook ขึ้นมาเพื่อให้คุณดาวน์โหลด โดยมีข้อแลกเปลี่ยนเล็กๆ ที่พวกเราต้องการนั่นก็คือชื่อ กับอีเมลของคุณ (ส่วนใครที่ Subscribe แล้วก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ เพราะพวกเราจะส่งอีเมลไปให้คุณดาวน์โหลด eBook หลังจากที่คุณ Subscribe พวกเราไปแล้ว 2 วัน)
เมื่อคุณกดปุ่ม โหลด eBook ฟรี คุณจะถูกส่งไปที่หน้า Landing Page ซึ่งในหน้านี้คุณจะไม่เห็นอะไรอย่างอื่นทั้งสิ้น ยกเว้นคำอธิบาย และช่องให้กรอกชื่อ และอีเมลของคุณ (อัปเดตล่าสุด พวกเราเพิ่มเติมในส่วนของชื่อบริษัท และตำแหน่งเข้าไปด้วย)
ผลปรากฏว่า Conversion Rate (จำนวนคนที่กรอกชื่อ และอีเมล หารด้วยจำนวนคนที่คลิ๊กเข้ามาดู) คือ 77%! ซึ่งกลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลเกิดคาดของพวกเราสุดๆ
กว่าจะได้ eBook มาซักเล่ม ก็ไม่ใช่งานหมูๆ เลย แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็น่าชื่นใจมาก
ถ้าคุณยังไม่เคยใช้วิธีนี้ในการเพิ่มจำนวนผู้ติดตาม พวกเราแนะนำให้ลองใช้ดูนะ : )
5. ปุ่มแชร์ LINE นั้นให้ผลดีพอๆ กับปุ่มแชร์ Facebook
ก่อนหน้านี้พวกเราคิดมาเสมอว่า ช่องทางในการที่จะทำให้คนแชร์มากที่สุดนั้นคือ Facebook
แต่เมื่อพวกเราลองเอาปุ่มแชร์ Facebook, LINE และ Twitter บนเว็บ และบนมือถือของพวกเรามาวิเคราะห์ ผลที่ได้นั้นมันบอกว่า LINE นั้นก้าวขึ้นมาท้าชิง Facebook แล้ว (คนแชร์ผ่าน Facebook 45%, แชร์ผ่าน LINE 45% และแชร์ผ่าน Twitter 10%)
เพราะฉะนั้น ถ้าคุณยังไม่ติดปุ่มแชร์ LINE บนเว็บไซต์ของคุณ คุณกำลังพลาดโอกาสสำคัญเลยล่ะ
ป.ล. ถ้าคุณใช้ WordPress อยู่ พวกเราแนะนำให้ลองไปดู Plugin Seed Social และ Easy Social Sharing Button เพราะ Plugin 2 ตัวนี้มีฟีเจอร์แชร์ผ่าน LINE ด้วย
6. คอนเทนต์แบบ Mass มีคนอ่านมากกว่าคอนเทนต์แบบ Niche
อันนี้เป็นเรื่องจริงที่น่าเศร้าของพวกเรา ฮ่าๆ
บทความอย่าง 11 วิธีทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้นราวกับติดจรวด (สำหรับ WordPress) และ รีวิว AI Chatbot เทรนด์ใหม่ กับความท้าทายของสาย Content Marketing ที่พวกเราหมายมั่นปั้นมือว่าจะมีคนเข้ามาดูกันอย่างล้นหลามนั้นไม่สามารถสู้บทความอย่าง 7 วิธีตั้งชื่อบทความให้น่าสนใจจนคนต้องกดอ่าน ได้เลย (แพ้ไปในอัตราส่วน 7 ต่อ 1)
นั่นคงเป็นเพราะว่าเรื่องเกี่ยวกับการทำ WordPress ให้เร็วขึ้น และเรื่อง AI Chatbot เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเฉพาะทาง ในขณะที่บทความเรื่องการตั้งชื่อหัวข้อนั้นเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็อ่านได้
7. อย่ากลัวที่จะบอกต่อสิ่งดีๆ
ถ้าสังเกตดีๆ แต่ละบทความที่เราเขียน เราจะมีแนะนำบทความอื่นๆ เว็บอื่นๆ คอยลิงก์ออกไปหาคนอื่นเขาเสมอ บางคนอาจจะมองว่าทำไมถึงต้องแนะนำคนอื่นล่ะ ทำไมต้องดึงให้ออกนอกเว็บตัวเอง เดี๋ยวเขาก็ติดใจเว็บอื่นหรอก ไม่อยากให้เขาติดอยู่กับเว็บเราหรือ?
พวกเรากลับมองว่าบทความที่ลิงก์ออกหาคนอื่น มันบ่งบอกถึงการทำการบ้านมาก่อน ซึ่งพวกเราก็ทำการบ้านมาก่อนเขียนจริงๆ นี่นา ไม่จำเป็นต้องกลัวที่จะเราว่าเราทำการบ้านอะไรมาบ้าง ของคนอื่นถ้าเขาดีก็แนะนำไปเถอะ เราทำบทความของเราดีๆ ไม่แน่บางทีต่อไป เว็บอื่นๆ ก็อาจจะอยากพูดถึงเว็บ Content Shifu ของเราบ้างก็ได้
สรุป

และนี่ก็คือ 7 บทเรียนที่พวกเราได้มาหลังจากเริ่มทำ Content Shifu มาครบ 1 เดือนนะ พวกเราหวังว่ามันจะมีประโยชน์กับคุณบ้างไม่มากก็น้อย
และถ้าคุณมีคำแนะนำ ข้อเสนอแนะหรือคำติชม พิมพ์มาคุยกับพวกเราได้ในคอมเมนต์ 🙂
หมายเหตุ บทความนี้ถูกเขียนโดยแบงค์ และอร
Long form นี่จริงนะครับ ชอบอ่าน Content Shifu ตรงความเข้มข้นของเนื้อหา ถึงจะพอเข้าใจอยู่บ้างว่า อะไรแบบนี้ใช้เวลา แล้วคงเรียก view ให้กับเว็บได้น้อยกว่า ถ้าให้เดาบทความแบบนี้ทำให้เกิดฐานแฟนคลับที่ติดตามเหนียวแน่นได้ดีด้วยรึเปล่าครับ เหมือนที่ยุคนี้คนถามว่า นสพ. ยังจำเป็นอยู่ไหม / เอ้ะ เริ่มยาว
ข้อ 2, 5 นี่เห็นด้วยมาก เพราะเวลาอ่านอะไรก็จะแชร์เข้ากลุ่มเพื่อน หรือคนที่เราคิดว่าสนใจ แต่เหมือนแชร์ของเว็บนี้จะใหญ่เกินมือถือผมไปนิดส์ อ่านๆ จะลำบากนิดนึง เพราะโดนบังไปพอสมควร แฮะๆ
ติดตามอยู่ ขอบคุณที่เขียนครับ
ขอบคุณสำหรับคอมเมนต์ครับ : )
ใช่ครับ อันนี้ผมกับน้องอรก็คิดเหมือนกันครับว่ามันโอเคถ้าได้ Traffic น้อยกว่า แต่ Traffic ที่เข้ามานั้นสนใจสิ่งที่เราทำจริงๆ ครับ ตอนแรกก็แอบกลัวว่าคอนเทนต์แบบ Long form จะยาวเกินไปรึเปล่า แต่พอได้เช็คจากพวก Google Analytics แล้วถือว่าโอเคมากๆ เลยครับ
เรื่องปุ่มแชร์ เดี๋ยวผมจะลองหาทางแก้ดูนะครับ ฮ่าๆ คุณนนใช้มือถือรุ่นอะไรอยู่ครับ?
ใช้ iPhone 6 โหมดซูมครับ
ขอบคุณครับบบ
เดี๋ยวผมลองไปหาวิธีแก้ดูครับ
ติดตามเหมือนกันค่ะ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้น
ขอบคุณทุกๆการบ้านที่คุณได้ทำและแชร์นะคะ
มันมีประโยชน์จริงๆ ช่วยลดเวลาในการหาข้อมูลได้เยอะเลย
สวัสดีครับคุณยุ้ย
ขอบคุณมากๆ เลยครับ : )
สวัสดีครับ คุณแบงค์และคุณอร
เพิ่งติดตาม และด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจ ทำให้ต้องตามติดครับ เลยมาให้กำลังใจนะครับ
เนื่องจากทำเวบคอนเท้นท์เหมือนกัน จึงมีประสบการณ์คล้ายๆกัน และเห็นด้วยกับหลายๆข้อที่กล่าวมา
มีข้อ 6 เรื่อง Mass กับ Niche ที่อยากแชร์ครับ ผมว่าหากเราชัดเจนตั้งแต่แรกว่า จะให้เวบนี้ตอบโจทย์ความต้องการของคนกลุ่มไหน เราก็ไม่ต้องกังวลว่า Traffic จะมากหรือจะน้อย
แต่การเจาะกลุ่ม Target Audience ที่ตรง มันจะทำให้ Conversion สูงกว่าและคุ้มค่ากว่าแน่นอน
ตอนนี้ผมใช้ Mailchimp ทำ Email marketing Automation ในตลาดนิช มี Open Rate 59.7% และ Conversion 10% ในการซื้อสินค้า ซึ่งก็นับว่าน่าพอใจ เพราะเป็น conversion ที่ได้มาจากคอนเท้นท์ล้วนๆ
สุดท้ายคนทำเวบ ก็มีค่าใช้จ่าย ดังนั้นผมว่า คิด Business Model ไว้แต่แรกเลย จะไปได้อย่างมั่นใจครับ
สวัสดีครับคุณเรือรบ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำสำหรับเรื่อง Mass กับ Niche นะครับ และเรื่อง Business Model ครับ ผมติดตามอ่านในเพจ โค้ชนักเขียนมือโปร อยู่เหมือนกันครับ : )
Open Rate กับ Conversion สูงมาก! ตอนนี้ Subscription form ของ Content Shifu ยังเป็น Single Opt-in อยู่ แต่กำลังคุยๆ กับน้องอรว่าจะเปลี่ยนเป็น Double Opt-in เร็วๆ นี้ครับ จะมีแต่คนที่สนใจจริงๆ
เกี่ยวกับเรื่อง Email Marketing Service ถ้าคุณนักรบมี Email List เกิน 2,000 แล้ว ผมแนะนำให้ลองดู Mailerlite (https://www.mailerlite.com/) ครับ ถึงแม้ว่ามันจะทำอะไรได้น้อยกว่า MailChimp แต่ระยะยาวจะถูกกว่าเกือบครึ่งๆ ครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับ : )
ขอบคุณครับที่แนะนำ mailterlite ใช้ getrespond อยู่ราคาสูงเลย
สงสัยต้อง migrate ละ
ลองดูครับ Feature กับ Integration อาจจะไม่เยอะเท่าตัวอื่นๆ แต่ว่าใช้ง่าย แล้วก็ราคาถูกกว่าเยอะเลยครับ : )
ขอบคุณสำหรับข้อมูลและบทวิเคราะห์ เป็นประโยชน์มากๆ ครับ แจ้งปัญหานิดนึงคือหน้า “โหลด eBook ฟรี!” ผมคลิกเข้าไปแล้วไม่มี subscribe form ให้กรอกเลยครับ ใช้ Chrome บน OSX ครับ
สวัสดีครับคุณณัฐรวี
ผมลอง Test บน Incognito mode บน Chrome แล้ว ตัว Form ยังขึ้นมาอยู่ครับ แต่อาจจะต้องรอนิดนึงเพราะว่าผมทำ Lazy Load ไว้
รบกวนช่วยลองอีกรอบ แล้ว Feedback กลับมาให้ผมหน่อยได้ไหมครับ?
ป.ล. เว็บไซต์น่ารักมากๆ เลยครับ : )
เหมือนตัว Lazy Load จะมีปัญหาทำให้ Form ไม่ Display ครับ ตอนนี้ผมเอามันออกไปก่อนแล้ว
ขอบคุณมากๆ เลยครับ : )
เป็นเว็บที่น่าติดตามอย่างยิ่งครับ เพราะเว็บเนื้อหาแบบ Long form เจาะลึกในบ้านเรายังมีคนทำน้อย ติดตามเนื้อหาดี ๆ ต่อไปนะครับ
ขอบคุณพี่ๆ Leader Wings ทุกคนนะครับ : )
ที่ผมไม่ได้อ่านเมล ก็เพราะว่าผมตั้งค่าเพจ content shifu เป็น see first มันจึงเห็นทุกโพสต์อยู่แล้ว เลยไม่ได้เข้าไปอ่านในเมลครับ
ความจริงเราส่งบทความตรงเข้าอีเมลก่อน Facebook page อีกค่ะ ฮ่าๆ
แต่นี่เป็น Insight ที่น่าสนใจ ขอบคุณมากค่ะ 🙂
เอาใจช่วยครับแบงค์ อร 🙂
พี่ปอง
ขอบคุณมากๆ เลยครับพี่ปอง : )
ติดตามมาตั้งแต่วันแรกๆ ของการถือกำเนิดเลยครับ แต่ไม่เคยคอมเมนท์ จนกระทั่งอ่านบทความนี้และรู้สึกว่าต้องคอมเมนท์ขึ้นมาทันทีครับ 555
ขอบคุณทีมงานมากๆ นะครับ ที่สร้าง Content ที่มีคุณภาพ และใช้ประโยชน์ได้ทุกเรื่องจริงๆ ผมเป็นคนนึงที่ใช้เวลาในการอ่านนานมากๆ แทบจะตีความไล่เป็นประโยคกันเลยทีเดียว แถมพอมีลิงค์อะไรแนบมาก็ตามไปกดดูซะทุกอัน เอาใจช่วยนะครับ เจ๋งมากๆ 🙂
โอ้ ขอบคุณมากๆ เลยครับ มาคอมเมนต์บ่อยๆ ได้นะครับ พวกเราอยากคุยด้วย : )
มีหลายครั้งที่พวกเราเบลอๆ เขียนคำสะกด หรือเรียบเรียงประโยคผิด ถ้าในอนาคต เห็นอะไรไม่ชอบมาพากล ท้วงมาได้เลยนะครับ ฮ่าๆ
จนกระทั่งมาเห็นคอมเมนต์นี้ ก็รู้สึกอยากตอบมากเหมือนกันค่ะ 55
ขอบคุณที่ใช้เวลากับการอ่านบทความของพวกเรา แถมยังกดตามดูลิงก์ต่างๆ ต่อ
ชื่นใจมากเลย ขอบคุณนะคะ 🙂
ขอบคุณมากๆ นะครับสำหรับบทความดีๆ ได้ประโยชน์เยอะเลยครับ ผมชอบอ่านบทความยาวๆ และพยายามเขียนอยู่เหมือนกัน แต่ของผมค่อนข้าง niche ครับเกี่ยวกับคอมซะส่วนใหญ่
เจอเว็บนี้เพราะ web คุณนักรบ แชร์ไปคับ จะขอติดตามผลงานเรื่อยๆนะครับ สับตะไคร้ไว้แล้ว บทความอ่านสนุกดีครับ รู้เลยว่าคนทำตั้งใจจริง เนื้อหาแน่น และเรียบเรียงได้ละมุนดี (คำว่าละมุนคือลื่นไหลได้ดีครับ อิอิ)
สวัสดีครับคุณจักรพงษ์
ขอบคุณที่สัปตะไคร้ และตามอ่านนะครับ : )
จริงๆ ผมว่าบล็อกสาย Technical ก็มีคนอ่านนะครับ (อย่างเช่นของพี่เนย https://nuuneoi.com/ ก็มีคนตามอยู่เยอะเลยครับ)
อาจจะต้องลองคิดดูว่าสิ่งที่เราเขียนเป็นแค่สิ่งที่เราอยากเล่า หรือเป็นสิ่งที่คนอ่านอยากรู้ด้วยครับ (ถ้าเป็นได้ทั้ง 2 อย่างจะดีมากเลยครับ ฮ่าๆ)
สู้ๆ ต่อไปนะครับ เอาใจช่วย : )
สวัสดีค่ะคุณจักรพงษ์ ทั้งอรและพี่แบงค์สนใจบล็อกสายคอมกันทั้งคู่อยู่แล้ว เล่าเรื่องบล็อกของคุณให้พวกเราฟังได้นะคะ อยากติดตามอ่านค่ะ ^^