หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า Martech สาย SEO คืออะไร แต่ถ้าบอกว่ามันคือ SEO Tools คุณก็คงจะอ๋อทันทีใช่ไหมล่ะ เพราะความจริงแล้ว Martech ย่อมาจาก Marketing Technology และ SEO Tools ก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้นนั่นเอง

เอาล่ะ! น่าจะเข้าใจคำว่า Martech สาย SEO กันแล้ว คราวนี้มาดูกันว่ามี Martech อะไรบ้างที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรกบน Search Engine เพราะในการทำ SEO เราจะไม่พึ่งพาเครื่องมือเหล่านี้เลยก็คงไม่ได้ โอกาสติดหน้าแรกอาจจะน้อยมากๆ หรือไม่ก็ติด SEO ไม่กี่คอนเทนต์

SEO Tools จาก Google

1. Google Analytics

หนึ่งใน SEO Tools ที่สำคัญจะขาด Google Analytics ไปไม่ได้ แม้จะให้ใช้ฟรี แต่ประสิทธิภาพก็ไม่ได้ด้อยไปกว่า Martech ที่เสียเงิน เพราะมันสามารถดูข้อมูลทั้งหมดของเว็บไซต์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Organic Search, Users, Sessions, Pageview, Bounce Rate, Exit Rate, Avg. Time on Page หรือแม้แต่ช่องทางที่ผู้ใช้เข้ามาที่เว็บไซต์ (Direct, Social, Referral, Email หรือ Other) เป็นต้น รวมไปถึงสัดส่วนข้อมูลเชิงประชากรของผู้เข้าเว็บไซต์ได้ด้วย

บางคนอาจสงสัยว่าดูแล้วมันช่วยเรื่อง SEO อย่างไร คำตอบก็คือ ข้อมูลต่าง ๆ นี้ช่วยให้เรารู้ว่าควรเขียนคอนเทนต์ให้ใครอ่าน หรือช่วงเวลานั้น ๆ ควรจะเน้นเขียนเรื่องอะไรเป็นพิเศษ รวมไปถึงการหาวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ค่า Metrics แต่ละอันดีขึ้น และมีคอนเทนต์ติดหน้าแรกมากขึ้นนั่นเอง

หลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2023 เป็นต้นไป เราจะเปลี่ยนไปใช้ Google Analytics 4 (GA4) แทนเวอร์ชันปัจจุบัน ข้อดี คือ เราจะสามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าได้ตลอด Customer Journey และ GA4 ก็จะคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของลูกค้ามากขึ้น

ใช้งานได้ที่: Google Analytics 

ค่าบริการ: ฟรี


Shifu แนะนำ

หากคุณอยากเรียนรู้ว่า การทำ SEO คืออะไร ทำไมจึงช่วยให้ยอดขายสินค้าออนไลน์พุ่งขึ้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่

 

2. Google Search Console

อีกหนึ่งเครื่องมือ SEO จาก Google ที่พลาดไม่ได้อีกเช่นกัน นั่นก็คือ Search Console ที่สามารถดูรายงานการเข้าชมเว็บไซต์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Impression, Click, CTR (Click-Through Rate), Keyword ที่คนเสิร์ชแล้วคลิกเข้าเว็บไซต์, Average Position หรืออันดับเฉลี่ยของหน้าเว็บที่ติดอยู่บน Search Engine เป็นต้น โดยค่า Metrics เหล่านี้จะช่วยให้เราทำ SEO ได้อย่างตรงจุด

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ Search Console ยังสามารถดูได้ว่า URL นั้น ๆ Google ได้ Index หรือยัง เก็บข้อมูลไปวันที่เท่าไร และตอบโจทย์ Mobile Friendly หรือไม่ อีกทั้งยังตรวจสอบปัญหาภายในเว็บไซต์ได้อีกด้วย อย่าง Page Not Found 404 เป็นต้น

หากต้องการจะส่ง Sitemap ให้กับ Google หรือลบบาง URL ออกชั่วคราวก็สามารถทำได้เช่นกัน จะดูประสบการณ์การใช้งานบนมือถือและเดสก์ท็อป (Page Experience) ก็ยังได้ ยกให้เป็น Martech ที่สำคัญต่อการทำ SEO จริง ๆ

ใช้งานได้ที่: Google Search Console

ค่าบริการ: ฟรี

Martech Report

3. Google Keyword Planner

ทำ SEO ทั้งที แต่ไม่เช็ก Keyword ก็ยังไงอยู่ บอกเลยว่าเจ้า Keyword นี่แหละส่งผลต่อการจัดอันดับ SEO มาก ๆ เพราะถ้าเราเขียนไปแล้วแต่คำนั้นคนเสิร์ชน้อย คนที่เจอบทความของเราก็น้อยตามไปด้วย และส่งผลให้การคลิกเข้าไปที่เว็บไซต์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

ถ้าไม่อยากเขียนบทความแล้วสูญเปล่า อย่าลืมใช้ Google Keyword Planner เช็ก Search Volume ของคีย์เวิร์ดนั้น ๆ ก่อนนำไปใช้ แต่บอกไว้ก่อนว่ามันจะแสดง Search Volume ไม่ค่อยแน่นอนหรือเป๊ะเท่า Martech ตัวอื่น ๆ เป็นเพียงการประมาณเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นข้อจำกัดของ SEO Tools ตัวนี้ เพราะถ้าทุกคีย์เวิร์ดมีการประมาณ Search Volume ไว้ช่วงที่เท่ากัน ก็อาจทำให้เราเลือกใช้คีย์เวิร์ดไม่ถูก

ยกตัวอย่าง คำว่า “ทำ seo” มีคนเสิร์ช 100 – 1K ต่อเดือน ส่วนคำว่า “วิธีทำ seo” ก็มีคนเสิร์ช 100 – 1K เราไม่รู้เลยว่าคำไหนคนเสิร์ชมากกว่ากัน

ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่จำเป็นต้องเลือกคำใดคำหนึ่งเสมอไปนะ สามารถแทรกได้ทั้งคู่ เพราะเราได้เห็นแล้วว่าคำเหล่านี้มีคนเสิร์ชอยู่แล้ว เพียงแต่เลือกมาคำหนึ่งให้เป็นคีย์เวิร์ดหลัก แล้วอีกคำให้เป็นคีย์เวิร์ดรองแค่นั้นเอง

ใช้งานได้ที่: Google Keyword Planner

ค่าบริการ: ฟรี

4. Google Trend

บางคนอาจคิดว่า Martech อย่าง Google Trend อาจจะไม่เหมาะกับการทำ SEO สักเท่าไร เพราะมันไม่ได้เจาะลึกด้านนี้มากนัก แต่ความจริงเราสามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ของเครื่องมือนี้ได้ อย่างเช่น การดูว่าคีย์เวิร์ดนั้น ๆ คนนิยมเสิร์ชกันช่วงไหนบ้าง เพื่อให้เราเตรียมเขียนคอนเทนต์ล่วงหน้า เป็นการเผื่อเวลาให้ Google จัดอันดับนั่นเอง

บางคำที่คนมักเรียกหลายแบบ อย่าง “รถยนต์ไฟฟ้า” กับ “รถ EV” แต่เราไม่มั่นใจว่าคำไหนเสิร์ชมากกว่ากัน เราก็สามารถใช้ Google Trend เปรียบเทียบได้เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังสามารถดูการค้นหาที่มาแรงล่าสุด และดูว่าคนค้นหาอะไรมากที่สุดในปีนั้น ๆ ได้อีกด้วย (ย้อนดูได้ตั้งแต่ 2001-2022) ซึ่งเราสามารถนำมาเป็นไอเดียในการเขียนคอนเทนต์ได้

ใช้งานได้ที่: Google Trend

ค่าบริการ: ฟรี

5. Google SERP Snippet Optimizer Tool

การเขียน Title, URL และ Description ถือเป็นส่วนสำคัญในการทำ SEO อย่างมาก ซึ่งบางคนประสบปัญหาถูกตัดคำเวลาที่ Title หรือ Description แสดงบน Search Engine ทำให้ท้ายประโยคเป็นจุดไข่ปลา (…) มีใจความไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้คนไม่คลิกเข้าเว็บไซต์

เพื่อให้เราเขียนหัวข้อและคำอธิบายได้อย่างเหมาะสม Google จึงมี Martech อย่าง Google SERP Snippet Optimizer Tool เข้ามาช่วย เพื่อเป็นการจำลองว่าถ้าเราใส่ Title และ Description แบบนี้ Search Engine จะแสดงผลเป็นแบบไหนนั่นเอง

ส่วนตัวขอบอกเลยว่าชอบ SEO Tools ตัวนี้มาก ๆ เพราะทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นว่า Title ที่เราเขียนไปนั้นเว้นวรรคสวยงามไหม น่าคลิกหรือไม่ คีย์เวิร์ดถูกตัดไปหรือเปล่า และที่สำคัญคือใช้ง่าย แค่ก็อปสิ่งที่เขียนไปวางในช่องว่างแล้วปรับแต่งให้ดีขึ้น นอกจากนี้ เขายังมีฟีเจอร์ Rich Snippet กับ Date มาให้ลองใส่ดูอีกด้วย (เป็น Martech ที่ต้องบุ๊กมาร์กไว้เลยล่ะ)

ใช้งานได้ที่: Google SERP Snippet Optimizer Tool

ค่าบริการ: ฟรี

6. PageSpeed Insights

นอกจากความเร็วของเว็บไซต์ที่ช้าจะทำให้เว็บไซต์ดูน่าเชื่อถือน้อยลง มันยังส่งผลต่อการจัดอันดับ SEO ด้วย เพราะยิ่งเว็บไซต์ของเราช้าเท่าไร อันดับ SEO ของเราก็จะยิ่งต่ำ ดีไม่ดีอาจไปอยู่ที่หน้า 2-3 ส่งผลให้คนเจอเว็บไซต์ของเราได้ยากขึ้น และอาจเสียผู้ใช้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าไปด้วย

PageSpeed Insights จึงเป็น Martech หรือ SEO Tools ที่ควรใช้อย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเครื่องมือนี้สามารถเช็กความเร็วของเว็บที่แสดงผลทั้งบนมือถือและเดสก์ท็อป ซึ่งบางเว็บไซต์อาจจะมี Performance สูงเมื่อแสดงผลบนเดสก์ท็อป แต่อาจมี Performance ต่ำเมื่อแสดงผลบนมือถือก็ได้ เพราะฉะนั้น ควรรีบดำเนินการแก้ไขปัจจัยที่ทำให้เว็บโหลดช้าโดยด่วน ไม่อย่างนั้นอาจเสียทั้งอันดับ ภาพลักษณ์ และว่าที่ลูกค้า

ใช้งานได้ที่: PageSpeed Insights

ค่าบริการ: ฟรี

SEO Tools จาก Ahrefs

Ahrefs (อ่านว่า เอช-เรฟส์) จะรวมหลาย ๆ ฟีเจอร์ไว้ในที่เดียว ไม่ได้แยกย่อยเหมือนกับ Google และจะมีทั้งบริการฟรีและเสียเงิน ความสามารถพิเศษของ Ahrefs มีหลายอย่าง มาดูทีละอันกันเลย

1. Dashboard

สำหรับ Dashboard จะเป็นหน้าที่แสดง Overviews ของแต่ละ Projects เพราะบางคนอยากดูข้อมูลหลายเว็บ โดย Dashboard นี้จะแสดงทั้ง Health Score, Domain Rating, Reffering Domains, Backlinks, Organic Traffic และ Organic Keywords และ Track Keywords ซึ่งแต่ละอันสามารถคลิกเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้

2. Site Explorer

Site Explorer เป็นฟีเจอร์สำหรับวิเคราะห์เว็บไซต์ ซึ่งสามารถดูได้ทั้งของตัวเองและคู่แข่ง เพียงแค่วาง URL ของเว็บไซต์นั้น ๆ ลงไป ข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นก็จะโชว์ขึ้นมาทันที ไม่ว่าจะเป็น

  • Backlink Profile: ที่แสดงค่า DR, UR Broken Backlinks และ Ref. Domains เป็นต้น
  • Organic Search: ที่แสดง Organic Keywords, Top Page และดู Content Gap ได้
  • Paid Search: ดู Paid Keywords, Ads และ Paid Pages
  • Page: ดู Top Content และ Best Pages by Backlinks
  • Outgoing Links: Linked Domains, Anchors และ Broken Links

3. Keywords Explorer

Keywords Explorer ถือเป็น SEO Tools หรือเครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดที่น่าประทับใจที่สุด เพราะใช้งานง่ายและบอก Search Volume ได้ค่อนข้างแม่นยำ อีกทั้งยังแสดง Overview ของคีย์เวิร์ดนั้นได้ละเอียดยิบ บอกทั้งค่า KD (Keyword Difficulty) ให้เรารู้ว่า Keyword นั้นมีความยากมากน้อยแค่ไหนในการทำ SEO

บอก Position History ว่าเว็บไซต์ไหนติด SEO ด้วยคีย์เวิร์ดคำนี้บ้าง และยังแสดงในรูปแบบ SERP ให้ดูอีกด้วยอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมี Keyword Idea ให้เราเยอะมาก ๆ ทั้ง Matching Terms, Related Terms และ Search Suggestions รวมถึงแสดง

4. Site Audit

สำหรับคนทำ SEO ห้ามพลาดฟีเจอร์นี้เด็ดขาดเชียว! เพราะมันสามารถสรุปปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาให้เราแก้ไข โดยจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ Errors, Warnings และ Notices

เริ่มแรกจะแสดง Top Issues มาให้ก่อน เช่น บางเว็บมี 404 Pages บางเว็บมีปัญหาเกี่ยวกับ HTTP หรือที่เราคุ้น ๆ เวลาเห็นมันขึ้นว่า “เว็บไซต์นี้ไม่สามารถให้การเชื่อมต่อที่ปลอดภัย” เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังสามารถดูปัญหาของคอนเทนต์ได้อีกด้วย เช่น เขียน Title และ Description สั้นหรือยาวเกินไป, Heading 1 หายไป รวมถึงรูปภาพที่ไม่ได้ใส่ Alt text เป็นต้น

เท่านั้นยังไม่พอ ยังบอก Performance ได้อีกด้วย เช่น หน้าไหนโหลดนานเกินไป (Slow page) และหน้าไหนมี HTML ขนาดใหญ่  ฯลฯ 

5. Rank Tracker

อีกหนึ่งฟีเจอร์ของเครื่องมือสำหรับ SEO ตัวนี้ คือ Rank Tracker ที่สามารถติดตามอันดับของ Keyword ที่เราอยากรู้ได้ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปเท่าไร เว็บไซต์ติดอยู่ที่อันดับใด และมี SERP Features อะไรบ้าง (เช่น Image Pack, Sitelinks, Top Stories และ Top Ads เป็นต้น) ถือเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ช่วยให้รู้ว่าการทำ SEO ของเราดีขึ้นหรือไม่

6. Content Explorer

สำหรับฟีเจอร์นี้จะบอกว่า Topic หรือ Keyword ที่เราใส่ไป มีเว็บไซต์ไหนที่เขียนเกี่ยวกับคำนี้บ้าง เขาเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร ยิ่งไปกว่านั้น ยังบอก DR, Ref. Domains, Page Traffic และ Page Traffic Value อีกด้วยถือว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ เพราะนอกจากเราจะได้ไอเดียว่าคีย์เวิร์ดนี้ควรเขียนอะไรถึงจะติด SEO ยังช่วยให้เรารู้ด้วยว่าจะทำยังไงให้เอาชนะคู่แข่งเหล่านี้ได้

สรุป

สำหรับ SEO Tools เหล่านี้ หากคุณใช้เป็นและนำไปปรับปรุงเว็บไซต์ของตัวเอง ก็สามารถทำ SEO ให้ติดหน้าแรกได้ แต่อย่าลืมว่ายังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น มีการแทรกคีย์เวิร์ดถูกตำแหน่งและมีจำนวนที่เหมาะสม การใส่ Internal Link การตอบคำถามได้ครบถ้วน มีแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ ไม่สะกดผิด และใช้ได้ดีในทุกอุปกรณ์