สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ก็ได้ทำให้การ Work From Home กลายเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ของเหล่าชาวออฟฟิศ ซึ่งใครหลายๆ คนมักออกไปทำงานตามร้านกาแฟ หรือ Co-Working Space เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ

วิถีการทำงานที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้สายอาชีพที่ “เป็นอิสระจากออฟฟิศ” ได้รับความสนใจมากขึ้น หลักๆ คงหนีไม่พ้น “Digital Nomad” เทรนด์อาชีพที่ได้รับความสนใจมาก เพราะสามารถทำงานไปด้วย ท่องเที่ยวต่างประเทศไปด้วย และยังสามารถใช้เป็นอาชีพในการย้ายประเทศได้อีก!

มาดูกันดีกว่า Digital Nomad คืออะไร ทำไมจึงน่าสนใจในยุคดิจิทัล พร้อมกับ 6 สายงานและ 6 ประเทศจุดหมายปลายทางที่รอให้ใครหลายๆ คนไปเยือน

Digital Nomad คืออะไร?

คำนิยามของอาชีพ Digital Nomad ก็คือ คนที่ทำงานได้จากทุกสถานที่บนโลกใบนี้ ขอเพียงแค่มีแล็ปท็อปกับอินเทอร์เน็ตก็สามารถหาเงินได้แล้ว! 

จึงเหมาะกับใครหลายคนที่กำลังมองหาทางเลือกอาชีพใหม่ๆ ที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำงานได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟใกล้บ้าน ห้างสรรพสินค้า ทำงานจากต่างจังหวัด หรือแม้กระทั่งจากต่างประเทศ

แต่จริงๆ แล้วก็ต้องขอเกริ่นก่อนว่าสายอาชีพนี้ไม่ได้เป็นอาชีพเกิดขึ้นใหม่อะไร เพราะก่อนหน้านี้เรามักพบเห็นกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพที่เรียกว่า Remote Work, ฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มที่เกี่ยวกับ E-Commerce ตามสถานที่ต่างๆ

เรามักจะเห็นคนส่วนใหญ่ที่เป็น แต่อาชีพ Digital Nomad นั้นสามารถทำได้ทั้งแบบฟรีแลนซ์และพนักงานประจำในบริษัทเพียงแค่ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศก็เท่านั้น

เช่น กลุ่มอาชีพอย่างนักข่าวที่มีสังกัดงานประจำตามสำนักพิมพ์ต่างๆ ก็สามารถผันตัวเดินทางไปทำงานตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกได้ตลอดทั้งปี เป็นต้น ขอบเขตของการทำงานจึงกว้างขวาง และมีความมั่นคงกว่า

ข้อดีและข้อเสียของการเป็น Digital Nomad

ข้อดี

  • มีความเป็นอิสระ

แน่นอนว่าเหตุผลหลักที่ทำให้ใครหลายคนสนใจจะเป็น Digital Nomad ก็คงหนีไม่พ้นความเป็นอิสระในการใช้ชีวิต

โดยทุกคนที่เลือกไลฟ์สไตล์นี้ก็เพราะต้องการมีอิสระทั้งในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน เพราะคุณสามารถตัดสินใจเรื่องทั้งหมดได้อย่างอิสระโดยไม่มีข้อผูกมัดว่าจะต้องเข้างานหรือเลิกงานกี่โมงนั่นเอง

  • ความยืดหยุ่นในการทำงาน

หนึ่งในข้อดีหลักๆ ของการเป็น Digital Nomad ก็คือความยืดหยุ่นในการทำงาน

เพราะการทำงานทางไกลแบบนี้ทำให้คุณสามารถกำหนดเวลาในการทำงานได้เอง ทำให้ชั่วโมงทำงานของคุณมีความยืดหยุ่นสูง และสามารถตัดสินใจได้เองว่าจะทำงานเมื่อใดเพื่อให้งานเสร็จออกมาโดยสมบูรณ์

  • โอกาสในการเพิ่มคุณภาพชีวิต

วิถีชีวิตแบบนี้เอง ที่จะช่วยให้คุณพัฒนาคุณภาพชีวิตและค้นหาตัวตนในตัวคุณได้ เพราะคุณสามารถค้นหาสิ่งที่ชอบในประเทศต่างๆ ผ่านการเดินทาง และเปลี่ยนชีวิตและงานอดิเรกของคุณไปได้อย่างสิ้นเชิง

นอกจากนี้ การทำงานในหลายๆ ประเทศเองก็อาจจะช่วยแก้ไข Pain Point บางอย่างในชีวิตการทำงานของคุณได้เช่นกัน

เช่น จากเมื่อก่อนที่เป็นพนักงานออฟฟิศนั้นจะต้องตื่นแต่เช้าตรู่ไปทำงานเพื่อเลี่ยงการจราจรที่ติดขัด แต่หากคุณได้ย้ายไปยังประเทศที่มีระบบขนส่งสาธารณะทั่วถึงกับรูปแบบการทำงานแบบอิสระ ปัญหาเหล่านี้ก็อาจจะหมดไป เป็นต้น

  • โอกาสในการเดินทาง

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการนำพาตัวเองไปยังสถานที่ใหม่ ด้วยการเดินทางที่บ่อยขึ้นก็จะไปสู่การสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ได้มากขึ้นเช่นกัน

จะเห็นได้ว่า แม้กระทั่งการเป็นพนักงานออฟฟิศ หลายคนก็มักจะหาเวลาว่างในการเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดหรือต่างประเทศเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือมองหาไอเดียใหม่ๆ

แต่หากคุณผันตัวมาเป็น Digital Nomad เต็มตัว คุณก็จะสามารถเดินทางไปไหนก็ได้ในช่วงที่ไม่ใช่เวลางาน และยังสามารถทำงานที่ไหนก็ได้โดยไม่มีใครว่าตราบเท่าที่คุณยังสามารถทำงานได้ตามที่ตกลงกันไว้

ข้อเสีย

  • อิสรภาพที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่หนักขึ้น

เพราะการทำงานทางไกลนั้นทำให้ผู้ว่าจ้างหรือเจ้านายของคุณไม่สามารถมองเห็นหรือตรวจสอบลักษณะการทำงานของคุณ สิ่งเดียวที่จะยืนยันประสิทธิภาพในการทำงานของคุณได้ก็คือ ผลงานที่คุณทำออกมา

เพื่อผลงานของคุณออกมาเป็นที่พึงพอใจแแก่สายตาคนอื่นอย่างสม่ำเสมอ คุณจำเป็นต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจให้มีความรับผิดชอบในการทำงานที่สูงขึ้น และส่งงานให้ได้ตรงตามเวลาที่ตกลงกันไว้

  • ความเสี่ยงที่จะเป็น Burnout

อาการ Burnout  หรือความเหนื่อยหน่ายทางอารมณ์ เป็นสิ่งที่เหล่า Freelance และ Digital Nomad มักเผชิญกันอยู่เสมอ

เพราะยิ่งคุณต้องการหาเงินมากเท่าไหร่ คุณก็ต้องทำงานโดยไม่หยุดพักมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งการทำงานโดยไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ ก็จะเป็นสาเหตุที่นำคุณไปสู่ความรู้สึกเหนื่อยหน่ายหรือการเป็น Burnout มากขึ้น

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่า คุณจะมีความเครียดที่เพิ่มขึ้นจากการที่คุณต้องเคลื่อนย้ายสถานที่ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่ใหม่ และลักษณะทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่แตกต่างไปจากเหล่าฟรีแลนซ์ที่ Work From Home นั่นเอง

  • ความยากในการหาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว

คุณจำเป็นต้องตระหนักไว้ว่าการผันตัวไปเป็น Digital Nomad นั้นไม่ใช่การเดินทางในฐานะนักท่องเที่ยวทั่วไปที่ชื่นชอบประสบการณ์ที่สัมผัสได้ในประเทศใหม่ๆ 

แต่คุณกำลังจะกลายเป็นคือคนที่เดินทางและทำงานไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้น เงื่อนไขดังกล่าวนี้ทำให้คุณจำเป็นต้องจัดกระบวนการตารางการทำงานอย่างถูกต้องและยังคงมีเวลาให้ได้พักผ่อนบ้าง

  • ความเหงาและความโดดเดี่ยว

และนี่ก็เป็นข้อเสียหลักข้อหนึ่งที่ต้องเผชิญ โดยในไม่ช้าก็เร็วก็จะต้องตระหนักได้ว่าความเหงาคืออะไร

การได้พบเจอกับคนที่คุณรักแบบตัวต่อตัวนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน และหากคุณลองนึกย้อนกลับไป คุณจะพบว่าไลฟ์สไตล์ของ Digital Nomad จะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับชีวิตที่เป็นอยู่

นอกจากนี้ การอยู่อาศัยในต่างแดนที่มีวัฒนธรรม ภาษาที่ต่างไปจากคุณก็เป็นอุปสรรคหนึ่งในการหาเพื่อนใหม่ๆ ให้แก่คุณได้เช่นกัน

ดังนั้น หากคุณมั่นใจในตัวเองว่าสามารถเผชิญกับความรู้สึกโดดเดี่ยวท่ามกลางความหลากหลายทางผู้คน ภาษาและวัฒนธรรมได้ สายงานนี้ก็อาจเป็นตัวเลือกที่ดีของคุณเช่นกัน


หางานสายดิจิทัลทั่วไทย ทั้งรูปแบบ #Fulltime #Remote #Freelance ได้ที่ https://jobs.contentshifu.com/

 

6 สายอาชีพของ Digital Nomad

มาถึงในส่วนแนะนำ 6 สายอาชีพที่สามารถผันตัวไปคนทำงานที่เดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก

โดยในส่วนนี้นอกจากจะแนะนำอาชีพแล้ว ยังมีการแนะนำทักษะ หรือ Soft Skills และเรทเงินเดือนคร่าวๆ ของแต่ละสายอาชีพให้ทุกคนได้รู้จักกันอีกด้วย

แหล่งที่มาของเรทเงินเดือนอ้างอิงมาจากเว็บไซต์ ZipRecruiter แต่อย่างไรก็ดี ค่าเฉลี่ยเงินเดือนในแต่ละอาชีพก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทนะคะ

สาย Marketing

  • SEO Specialist

ทักษะด้าน Search Engine Optimization หรือ SEO กลายเป็นทักษะที่ไม่ว่าบริษัทไหนก็ต้องการในยุคการตลาดดิจิทัล เพราะจำเป็นต่อการมีที่ยืนท่ามกลางการแข่งขันบนโลกออนไลน์

การจะเข้าถึงผู้คนบนโลกออนไลน์ คุณไม่เพียงแค่ต้องสามารถปรับแต่งหน้าเว็บไซต์และเขียนเนื้อหาลงได้เว็บไซต์ แต่คุณยังต้องรู้ว่าเครื่องมือค้นหายอดนิยมอย่าง Google หรือแม้กระทั่ง TikTok ที่กำลังมาแรงในหมู่ผู้ใช้วัยรุ่นนั้นทำงานอย่างไร

ดังนั้น หากคุณสนใจทำงานในตำแหน่งนี้ คุณก็ควรรู้ว่าผู้ใช้งานนั้นมี Interaction กับเว็บไซต์อย่างไรและเนื้อหาของเว็บไซต์จะไปปรากฏบนเครื่องมือค้นหาอย่างไรเมื่อเสิร์ชด้วย Keyword

SEO Specialist จึงเป็นตำแหน่งที่ต้องเข้าใจวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มอันดับของเว็บไซต์ให้สูงขึ้นบนเครื่องมือค้นหาอย่าง Google

แน่นอนว่ามีงานมากมายหลายสาขาที่เปิดรับตำแหน่งนี้ คุณสามารถสร้างรายได้ด้วยการจัดการดูแล SEO ให้แก่บริษัททั่วโลกได้

Soft Skills ที่ควรมี: การคิดเชิงวิเคราะห์และเชิงวิพากษ์ (Analytic and Critical Thinking), ความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญ, ความใฝ่รู้ในการค้นหาข้อมูล, ทักษะการสื่อสารที่ดี

เครื่องมือที่ใช้: Google Analytics, Google Search Console, Keyword Planner, โปรแกรมจัดอันดับ Keywords ในการทำ SEO

เรทเงินเดือน: $3,200-$6,080/เดือน (คิดจาก $20-$38/ชั่วโมง)

 


สำหรับใครที่สนใจอาชีพ SEO Specialist ว่าทำงานเกี่ยวกับอะไรบ้าง สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความนี้ได้เลยค่ะ

 

  • Social Media Manager

คุณคิดว่าตัวเองเป็นคนที่เก่งในเรื่องการเข้าสังคมไหม? หรือคุณมองว่าตัวเองถนัดในการสร้าง Community กลุ่มลูกค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ไหม? หากใช่ อาชีพนี้ก็อาจเป็นคำตอบของคุณ!

Social Media Manager มีหน้าที่รับผิดชอบในทุกด้านของกลยุทธ์โซเชียลมีเดียของบริษัท ตำแหน่งนี้ต้องการคนที่ชอบติดตามข่าวสารด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านโซเชียลมีเดีย รวมถึงเทคนิคการตลาด และแนวโน้มในสื่ออยู่ตลอด

นอกจากนี้ยังรับผิดชอบในเรื่องการสร้างคอนเทนต์เพื่อเพิ่มยอด Engagement ระหว่างแพลตฟอร์มต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ยังมีที่ต้องโต้ตอบกับผู้ที่ติดตามของบริษัทหรือแบรนด์อยู่ทุกวัน เพื่อสร้าง Brand Royalty, Brand Awareness หรือแม้กระทั่งยอดขาย

นั่นแปลว่างานในตำแหน่งนี้จะเป็นจะต้องใช้เสน่ห์ ทักษะในด้านการเข้าหาผู้คน และความเข้าใจโซเชียลมีเดียเป็นอย่างดีนั่นเอง

Soft Skills ที่ควรมี: ทักษะการสื่อสารที่ดี, ความคิดสร้างสรรค์, ความสามารถในการจัดระเบียบเรื่องต่างๆ รวมถึงการมองภาพรวม และการจัดการเวลาที่ยอดเยี่ยม

เครื่องมือที่ใช้: Google Analytics, แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Instagram, Twitter, Facebook, Pinterest, LinkedIn, TikTok รวมถึงเครื่องมือด้าน Email Marketing และแอปพลิเคชันที่ช่วยในเรื่องการตั้งค่าเวลาโพสต์คอนเทนต์ต่างๆ บนแพลตฟอร์มต่างๆ

เรทเงินเดือน:  $2,720-$5,920/เดือน (คิดจาก $17-$37/ชั่วโมง)

สาย Tech

  • Web Developer
ภาพถ่ายฟรีของ รหัส

หากคุณสนใจงานในตำแหน่ง Web Developer หรือนักพัฒนาเว็บ งานในแต่ละวันของคุณนั้นจะหนีไม่พ้นการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ รวมถึงการตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของบริษัทสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องบนทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะบนมือถือ แท็บเล็ต และเดสก์ท็อป 

นอกจากนี้นักพัฒนาเว็บยังมีหน้าที่ในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าโค้ดได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับความเร็วและเครื่องมือค้นหา ทดสอบเว็บไซต์เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อบกพร่องและสามารถทำงานได้ตามที่ตั้งใจไว้ รวมถึงยังมีหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคให้แก่ลูกค้าอีกด้วย

Soft Skills ที่ควรมี: ทักษะการสื่อสารที่ดี, การทำงานเป็นทีม, การบริหารเวลา, ทักษะการจัดระเบียบและการรับมือการปัญหาต่างๆ, ทักษะด้านบุคคล

เครื่องมือที่ใช้: แพลตฟอร์มที่ใช้ในการออกแบบ Digital Product, โปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโค้ด (Code Editor), Browser Console ที่ใช้เพื่อตรวจดู Error และสั่งการเว็บผ่านการป้อนคำสั่ง, คอมพิวเตอร์สเปคดีๆ สักเครื่อง

เรทเงินเดือน: $4,000-$8,800/เดือน (คิดจาก $25-$55/ชั่วโมง)

  • Programmer
ภาพถ่ายฟรีของ ชาย

อย่างที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าอาชีพโปรแกรมเมอร์นั้นมีหน้าที่ในการออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ โดยเขียนโปรแกรมด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน หรือที่เราเรียกกันติดปากว่าการเขียนโค้ดนั่นเอง

ตัวอย่างเช่น โปรแกรมเมอร์จะหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างแอปพลิเคชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันที่จะช่วยให้ผู้คนสามารถเล่นเกม ท่องโลกอินเทอร์เน็ต หรือใช้ซอฟต์แวร์ทางธุรกิจได้

นอกจากนี้เองโปรแกรมเมอร์บางคนก็ยังมีหน้าที่เขียนโค้ดที่ออกแบบมาเพื่อทำงานบนระบบปฏิบัติการต่างๆ โดยเฉพาะ เช่น Windows หรือ iOS เป็นต้น

Soft Skills ที่ควรมี: ทักษะการสื่อสารที่ดี, ทักษะการแก้ไขปัญหา, การบริหารจัดการเวลาและเรื่องต่างๆ, มีความอดทน, ความสามารถในการปรับตัวไปตามสถานการณ์ต่างๆ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี, ความรับผิดชอบ

เครื่องมือที่ใช้: โปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโค้ด (Source Code Editor), Compiler หรือ Interpreter ที่ใช้ในการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ, เอกสารการออกแบบซอฟต์แวร์ (Design Documentation), Flow Chart, Pseudo Code 

เรทเงินเดือน: $3,840-$8,000/เดือน (คิดจาก $24-$50/ชั่วโมง)

สาย Creative

  • Freelance Writer
ภาพถ่ายฟรีของ ผู้ประกอบการ

หากคุณเป็นคนที่หลงใหลและเพลิดเพลินไปกับการเขียน และชื่นชอบที่จะได้จัดเรียงคำ ประโยค และย่อหน้าเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น Freelance Writer ก็อาจเป็นสายงานที่เหมาะสำหรับคุณ

ตำแหน่งงานสายนี้มีงานเขียนหลากหลายประเภทให้คุณเลือกทำในฐานะ Digital Nomad ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนตั้งแต่บทความ หรือบทวิจารณ์ ไปจนถึงการเขียนคำโฆษณา และการแก้ไข (Editing)

คุณเองก็สามารถหารายได้ที่ดีได้โดยนำเสนองานเขียนของคุณไปไว้ยังหน้าเว็บไซต์พวก Gig Profile Website ที่จะเป็นเหมือน Portfolio ให้ผู้คนต่างๆ บนโลกออนไลน์สามารถมาเยี่ยมชมผลงานของคุณได้ตลอดเวลา

เคล็ด(ไม่)ลับในการหาเลี้ยงชีพในฐานะฟรีแลนซ์ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง Content Writer, Copywriter หรือ Editor ก็คือ การทุ่มแรงกายและแรงใจในการสร้างผลงานของคุณออกมาให้ดีที่สุด เพื่อที่ชื่อของคุณจะไปปรากฏเป็นอันดับต้นๆ ในหน้าการค้นหาของผู้จ้างงานหลายๆ เจ้า

หากคุณสามารถทำแบบนั้นได้ และส่งมอบงานที่มีคุณภาพตรงเวลา แสดงว่าคุณเองก็มีโอกาสในการทำเงินที่มั่นคงจากการทำในสิ่งที่คุณรักได้!

Soft Skills ที่ควรมี: ทักษะการค้นคว้าที่ดีเยี่ยม, มีความคิดสร้างสรรค์, สื่อสารได้ดี, เข้าใจกลยุทธ์การเขียน SEO, ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ, เก่งในด้านการสะกดคำและไวยากรณ์

เครื่องมือที่ใช้: ระบบจัดเก็บเอกสารแบบ Cloud Storage, ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Management System: CMS), Gig Profile Website, แพลตฟอร์มออกแบบกราฟฟิค, โปรแกรมจัดอันดับ Keyword

เรทเงินเดือน: $2,080-$8,000/เดือน (คิดจาก $13 -$50/ชั่วโมง)

  • Graphic Designer
ภาพถ่ายฟรีของ สตาร์ทอัพ

หากคุณเป็นคนที่ชื่นชอบในเรื่องการออกแบบดีไซน์สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Typography หรือแม้กระทั่งการนำทฤษฎีสีมาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบ การทำงานในสาย Graphic Designer ก็อาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคุณ

โดยนักออกแบบกราฟิกถือได้ว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความต้องการสูงมากในตลาดอาชีพ เพราะในยุคการตลาดดิจิทัลที่มีการแข่งขันระหว่างแบรนด์ในการออกแคมเปญต่างๆ การมี Graphic Designer ก็เป็นอีกองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้เลย

หากคุณสนใจงานตำแหน่งนั้นก็มีโอกาสมากมายในการทำงานทั้งในรูปแบบการทำงานฟรีแลนซ์ หรือแบบตามที่ตกลงการในสัญญาว่าจ้าง หรือแม่กระทั่งทำงานกับบริษัทที่เสนองานแบบ Remote Work

จะเห็นได้ว่า แม้หลายบริษัทจะมีการว่าจ้างพนักงานประจำ แต่ก็ตำแหน่งงานนี้เองก็มีความยืดหยุ่นหรือสามารถทำงานจากทางไกลได้เช่นกัน

Soft Skills ที่ควรมี: ความคิดเชิงสร้างสรรค์และเชิงนวัตกรรม (Creative and Innovative), ทักษะการสื่อสารด้วยคำพูดและการบรรยายเพื่อให้เห็นภาพได้ดี, ความสามารถในการแก้ไขปัญหา, ทักษะการบริการเวลา, ทักษะการฟังแบบ Active Listening

เครื่องมือที่ใช้: ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud-based, โปรแกรมด้านการผลิตรูปภาพและกราฟฟิค, คอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตสักเครื่องที่ใช้เพื่อการออกแบบกราฟิก

เรทเงินเดือน: $2,720-$4,480/เดือน (คิดจาก $17-$28/ชั่วโมง)

  • Vlogger หรือ YouTube Content Creator
ภาพถ่ายฟรีของ แก้ไขวีดีโอ

YouTube เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่มีการเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยมีผู้ใช้มากกว่า 2 พันล้านคนเข้าชมคอนเทนต์วิดีโอบน YouTube ทุกเดือน

แม้ว่าการสร้างช่องของคุณอาจจะต้องใช้เวลาและความพยายาม แต่การสร้างรายได้จากการทำอะไรสนุกๆ ก็ทำได้ง่ายๆ และเมื่อคุณสามารถสร้างช่องของคุณเองได้สำเร็จ การเผยแพร่เนื้อหาออกมาให้ผู้คนได้ติดตามยิ่งมากเท่าไร คุณก็จะมีโอกาสมากขึ้นเท่านั้น

คุณสามารถเริ่มต้นการเป็น Vlogger หรือ YouTube Content Creator ด้วยการทำ vlogs เกี่ยวกับการท่องเที่ยว แล้วค่อยๆ ขยายประเภทเนื้อหาออกไปได้เรื่อยๆ ตราบเท่าที่คุณยังหลงรักในการสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ

Soft Skills ที่ควรมี: ทักษะการค้นคว้าที่ดีเยี่ยม, ทักษะการตัดต่อวิดีโอ, มีพื้นที่แฟนเพจตัวเองบนโซเชียลมีเดีย, มีความสามารถในการบริหารจัดการเวลาได้ดี, ทักษะการสื่อสารทั้งทางคำพูดและทางท่าทีได้ยอดเยี่ยม

เครื่องมือที่ใช้: กล้องกับเลนส์ดีๆ สักตัว, ไมโครโฟน, ไฟจัดแสง, ขาตั้งกล้อง, โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ

เรทเงินเดือน: $2,560-$5,760/เดือน (คิดจาก $16-$36/ชั่วโมง)

สาย Business

  • Business Consulting
ภาพถ่ายฟรีของ คำแนะนำ

หน้าที่ของคนที่ทำงานในตำแหน่ง Business Consulting หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจนั้นก็คือ การให้คำแนะนำแก่บริษัทเกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงผลการดำเนินธุรกิจและประสิทธิภาพการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้แบรนด์ต่างๆ สามารถจัดระเบียบ หรือจะช่วยเหลือด้วยการแนะนำกลยุทธ์การโฆษณา

นอกจากนี้ งานตำแหน่งนี้ยังต้องสามารถทำงานประเภทอื่นๆ ได้อีก เช่น การสร้างสื่อการตลาด วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า และให้คำแนะนำให้แก่บริษัทด้วยหลักฐานทางข้อมูลต่างๆ ที่สามารถค้นหาและวิเคราะห์ออกมาได้

หรือคุณอาจเลือกอีกวิธีหนึ่งที่เป็นยอดนิยมในการแบ่งปันความรู้ของคุณให้แก่แบรนด์ต่างๆ ได้ นั่นก็คือการสร้างหลักสูตรการสอนออนไลน์ในการแชร์เคล็ดลับหรือคำแนะนำในการดำเนินธุรกิจ

Soft Skills ที่ควรมี: ทักษะการฟังแบบ Active Listening, การคิดเชิงกลยุทธ์, ความคิดสร้างสรรค์, ทักษาะด้านการจัดการบุคลากร, ความเป็นผู้นำ, การสื่อสารที่ยอดเยี่ยม, การโน้มน้าวใจ, มีไหวพริบ, ความสามารถในการเอาใจใส่ สนับสนุนและให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน

เครื่องมือที่ใช้: แอปพลิเคชันช่วยตารางเวลาการทำงาน, ระบบประมวลการชำระเงินหรือ Payment Processor, โปรแกรมการประชุมทางไกล, ระบบตั้งเวลาในการโพสต์บนโซเชียลมีเดีย, ซอฟต์แวร์การบริหารจัดการโครงการ (Project Management System), ซอฟต์แวร์ Email Marketing

เรทเงินเดือน: $5,600-$12,640/เดือน (คิดจาก $35-$79/ชั่วโมง)

สาย Administrative

  • Visual Assistance

หากคุณมีทักษะด้านบุคลากรที่ยอดเยี่ยมและมีประสบการณ์ด้านการบริหาร การทำงานเป็น Visual Assistance หรือผู้ช่วยเสมือนก็อาจเป็นหนึ่งในงานที่ดีที่สุดเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่สนใจอยากผันตัวมาเป็น Digital Nomad

ตำแหน่งนี้เป็นงานในด้านการให้บริการทั่วไปเพื่อช่วยเหลือกระบวนการทำงานของคนอื่นให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น การกรอกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ ตอบอีเมล ตอบข้อความ การจัดวันเวลาในการนัดหมาย และงานดูแลอื่นๆ เช่น เป็นแอดมินดูแลแพลตฟอร์มบนโซเชียลมีเดียต่างๆ

จะเห็นได้ว่างานตำแหน่งนี้สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีสกิลทางดิจิทัลที่ซับซ้อนมากมาย ส่วนมากก็เป็นโปรแกรมที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ เช่น Microsoft Office หรือ Google Workspace เป็นต้น

นอกจากนี้เอง ข้อดีของงานตำแหน่งนี้ที่นอกจากจะเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นแล้ว งานตำแหน่งยังมีความต้องการอย่างมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และถ้าคุณยังมองว่าประเทศในโซนนั้นอาจมีค่าครองชีพที่สูงเกินไป คุณเองก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ประจำในประเทศโซนนั้นเพื่อทำงานได้อีกด้วย

Soft Skills ที่ควรมี: ทักษะการสื่อสารและการจัดระเบียบเรื่องต่างๆ ได้ดีเยี่ยม, มีความละเอียดอ่อนในการใส่ใจเรื่องที่มีรายละเอียด

เครื่องมือที่ใช้: คอมพิวเตอร์กับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เสถียร, ใช้อีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์ที่เข้าถึงได้ง่าย, โปรแกรมการประชุมทางวิดีโอ, ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud-based, โปรแกรมพวก Spreadsheet

เรทเงินเดือน: $1,600-$4,800/เดือน (คิดจาก $10-$30/ชั่วโมง)

สาย Education

  • Online Teacher
ภาพถ่ายฟรีของ การสัมมนาผ่านเว็บ

หากคุณมีพื้นฐานด้านการศึกษาที่แน่นก็อาจมองหาโอกาสออนไลน์ได้มากมาย อาจเริ่มจากการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นครูสอน TEFL หรือ TESOL ซึ่งเป็นการสอนภาษาอังฤษให้แก่คนต่างชาตินั่นเอง

นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ทักษะด้านภาษาอื่นๆ มาสอนได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากคุณใช้ภาษาสเปนได้คล่อง (หรือภาษาอื่นๆ) การสอนภาษาสเปนทางออนไลน์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาสำหรับการผันตัวมาเป็น Digital Nomad

โดยคุณสามารถเริ่มต้นได้จากการมองหาแพลตฟอร์มการสอนภาษาที่ได้รับความนิยม เช่น Preply แพลตฟอร์มที่ครูสามารถเป็นผู้กำหนดอัตราค่าเรียนได้เอง หรือ EF Online Teach Abroad เป็นต้น

หรือหากคุณอาจเป็นที่มักสกิลในด้านเทคโนโลยีอย่างการเขียนโค้ด หรือการเขียนโปรแกรมต่างๆ คุณเองก็สามารถผันตัวมาเป็นผู้สอนการเขียนโค้ดบนช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่าการทำอาชีพครูออนไลน์นั้นมีหลากหลายสาขาวิชาให้เลือกสอนตามทักษะและความถนัดที่คุณมี โดยที่แต่ละวิชาเองก็จะมีแพลตฟอร์มในการสอนแตกต่างกันไปนั่นเอง

Soft Skills ที่ควรมี: ทักษะการสื่อสารที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย, ความสามารถในการบริหารเวลา, มีความเห็นอกเห็นใจในตัวผู้อื่น, มีความเป็นผู้นำ, ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ, ตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม, ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

เครื่องมือที่ใช้: แล็ปท็อป, ชุดหูฟังพร้อมไมโครโฟน, ระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่สเถียร, แพลตฟอร์มการประชุมทางวิดีโอ, Google Classrooms, สื่อการสอน

เรทเงินเดือน: $2,560-$4,000/เดือน (คิดจาก $16-$25/ชั่วโมง)

6 ประเทศจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจ!

รู้หรือไม่?! การจะมองหาประเทศปลายทางนั้นนอกจากจะต้องนึกถึงเรื่องค่าครองชีพ สภาพอากาศ หรือความเร็วของอินเทอร์เน็ตแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ “Digital Nomad Visa”

เจ้าตัววีซ่าประเภทนี้ก็คือกลยุทธ์ของประเทศต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงไปในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ดังนั้น วีซ่าประเภทจึงมีขึ้นเพื่อดึงดูดและอำนวยความสะดวกให้เหล่าคนทำงานที่รักในการท่องเที่ยวทั่วโลกโดยเฉพาะ

ซึ่ง 6 ประเทศปลายทางที่จะนำเสนอในส่วนนี้เองก็ได้เตรียมรายละเอียดคร่าวๆ ของเงื่อนไขในการยื่นวีซ่าประเภทนี้มาให้คุณเช่นกันค่ะ!

แต่ก่อนจะไปรู้จักกับประเทศปลายทางที่น่าสนใจของเหล่า Digital Nomad เรามาดูเช็คลิสต์เล็กๆ น้อยๆ ของเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงก่อนจะย้ายประเทศกันเถอะ

และนี่คือคำถามเช็คลิสต์สั้นๆ ก่อนจะเก็บประเทศไหนลงในลิสต์ประเทศปลายทางของคุณ

  • มีรายได้ถึงเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำในการยื่นขอวีซ่าในประเทศนั้นหรือไม่?
  • ค่าครองชีพที่นั่นเป็นยังไงบ้าง? เราสามารถใช้ชีวิตแบบสะดวกสบายได้หรือไม่?
  • สภาพภูมิอากาศที่นั่นเป็นยังไงบ้าง?
  • ความเร็วของอินเทอร์เน็ตแรงและมีความเสถียรพอไหม?
  • มี Co-Working space หรือสถานที่สาธารณะที่มี Wifi ที่เหมาะกับ Remote Work ไหม?
  • คนที่นั่นพูดภาษาอะไร? แล้วเราสนใจที่จะเรียนรู้ภาษานั้นเพิ่มเติมไหม?
  • ใบสมัครขอวีซ่าจำเป็นจะต้องมีหลักฐานของประกันชีวิตไหม? ถ้ามี ก็อย่าลืมเช็คกับบริษัทที่เราสมัครประกันชีวิตไว้ว่ามีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ของวีซ่าไหม

เอาล่ะ ถ้าพร้อมกันแล้ว เรามาดูกันดีกว่า 8 ประเทศปลายทางที่น่าสนใจมีประเทศอะไรกันบ้าง!

เยอรมนี

ภาพถ่ายฟรีของ ยี่ห้อหน้าประตู germany kgm

วีซ่าสำหรับฟรีแลนซ์ของประเทศเยอรมนีนั้นเรียกว่า “Aufenthaltserlaubnis für selbständige Tätigkeit”

โดยพื้นฐานแล้วจะเป็นใบอนุญาตผู้พำนักสำหรับฟรีแลนซ์ชาวต่างชาติและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่จะอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนีเป็นระยะเวลาสูงสุด 3 ปี ซึ่งคุณต้องจัดการยื่นเอกสารกับระบบราชการของเยอรมันเนื่องจากต้องใช้เวลาถึง 4 เดือนจึงจะได้รับการอนุมัติ

ค่าใช้จ่าย: €100 สำหรับค่าวีซ่า

ระยะเวลา: 6 เดือน – 3 ปี

เงื่อนไขในการสมัคร: หลักฐานรายได้ในระดับมากพอต่อการพึ่งพาตนเอง, ต้องมีที่อยู่ในประเทศเยอรมนี, หลักฐานการทำประกันชีวิต, มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในเยอรมนี (เพราะเขากำลังมองหาคนที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในท้องที่)

ดัชนีค่าครองชีพ: 32 จาก 137

ความเร็วอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป: 138.05 Mbps มือถือ: 88.87 Mbps

เม็กซิโก

ภาพถ่ายฟรีของ เม็กซิโกซิตี้

ประเทศเม็กซิโกก็เป็นที่ชื่นชอบของนักเดินทางและเหล่า Digital Nomad เหตุผลส่วนหนึ่งก็มาจากวีซ่าท่องเที่ยวระยะยาว 6 เดือนและค่าครองชีพที่ต่ำ นอกจากนี้ยังมีวีซ่าผู้พำนักชั่วคราวซึ่งอนุญาตให้คุณอยู่ได้ 1 ปี และสามารถต่ออายุได้หลังจากนั้นอีก 3 ปี

โดยคุณจะต้องเตรียมเอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าคุณมีรายได้ต่อเดือนอย่างน้อย $1,620 USD ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา หรือมียอดเงินในบัญชีธนาคาร $27,000

โดยในช่วงหลังมีการแพร่ระบาดโควิดเอง เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยว เม็กซิโกก็ได้เปิดบริการจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราวให้แก่เหล่า Remote Worker ที่พิสูจน์ได้ว่าตนเองมีรายได้ในการเลี้ยงชีพตัวเองอย่างเพียงพอ

ค่าใช้จ่าย: $190-$390 สำหรับค่าวีซ่า และรวมค่าสัมภาษณ์แล้ว

ระยะเวลา: 1 ปี สูงสุด 4 ปี

เงื่อนไขในการสมัคร: มีรายได้ $1,620/เดือน หรือ มียอดคงเหลือในธนาคาร $27,000, เป็นเจ้าของธุรกิจอิสระที่ตั้งหรือเป็นคนทำงานแบบ Remote Work ให้กับบริษัทที่อยู่นอกเม็กซิโก

ดัชนีค่าครองชีพ: 88 จาก 139

ความเร็วอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป: 56.82 Mbps  มือถือ: 34.63 Mbps

โปรตุเกส

ภาพถ่ายฟรีของ รถราง

โปรตุเกสมีวีซ่าประเภท D7 ซึ่งเป็นประเภทวีซ่าที่เหมาะสำหรับกลุ่ม Digital Nomad

เพราะเป็นวีซ่าที่มีอายุ 1 ปี แต่คุณสามารถต่ออายุได้สูงสุดถึง 5 ปี และหลังจาก 5 ปีนั้นเอง คุณมีทางเลือกในการเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรได้อีกด้วย

ค่าใช้จ่าย: €83 สำหรับวีซ่า D7 และ €72 สำหรับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้พำนัก

ระยะเวลา: 1 ปี – 5 ปี

เงื่อนไขในการสมัคร: รายได้ €600/เดือน, หลักฐานแสดงรายได้จากทรัพย์สิน, หลักฐานการเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือหลักฐานทางการเงิน, หลักฐานการเดินทางส่วนตัวหรือประกันสุขภาพ, หลักฐานการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม

ดัชนีค่าครองชีพ: 66 จาก 137

ความเร็วอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป: 166.00 Mbps มือถือ: 62.11 Mbps

คอสตาริกา

มีผู้คนจำนวนมากที่เลือกคอสตาริกาเป็นประเทศปลายทาง เพราะมีวิถีชีวิตที่ผ่อนคลาย ไลฟ์สไตล์สำหรับคนรักการโต้คลื่น มีชายหาดที่สวยงาม และภูมิประเทศที่หลากหลายของภูเขาไฟ น้ำตก และป่าไม้

คอสตาริกามีวีซ่าสำหรับชาวฟรีแลนซ์ที่เรียกว่า ‘Rentista’ ที่จะอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถอยู่ได้นานถึง 2 ปี และสามารถขยายเวลาได้ ผู้ที่ถือวีซ่าประเภทนี้โดยมากแล้วมักผู้เกษียณที่มีรายได้คงที่และผู้ประกอบการ

นอกจากนี้เอง คอสตาริกายังได้ประกาศวีซ่าสำหรับชาว Digital Nomad โดยเฉพาะที่มีอายุวีซ่า 1 ปี และสามารถขยายได้อีกหนึ่งปี โดยผู้ถือวีซ่าจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ในท้องถิ่น สามารถเปิดบัญชีธนาคาร และสามารถขับรถในคอสตาริกาโดยใช้ใบอนุญาตของตนเองได้อีกด้วย

วีซ่าประเภท Rentista

  • ค่าใช้จ่าย: $250
  • ระยะเวลา: 2 years
  • เงื่อนไขในการสมัคร: มีรายได้ $2,500/เดือนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือ มีเงินฝาก $60,000 ในธนาคารในคอสตาริกา

วีซ่าประเภท Digital Nomad Visa

  • ค่าใช้จ่าย: ยังไม่ประกาศรายละเอียดที่แน่ชัด
  • ระยะเวลา: 1 ปี และสามารถขยายได้อีกปี
  • เงื่อนไขในการสมัคร: $3000/เดือน หรือ $4000 สำหรับคู่รักหรือครอบครัว, ประกันสุขภาพการเดินทางที่ครอบคลุมในคอสตาริกา

ดัชนีค่าครองชีพ:  61 จาก 137

ความเร็วอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป: 60.70 Mbps มือถือ: 35.15 Mbps

จอร์เจีย

ภาพถ่ายฟรีของ ภูเขา

นอกจากจะเป็นประเทศที่น่าไปท่องเที่ยวแล้ว จอร์เจียยังเป็นอีกประเทศที่เสนอวีซ่าให้เหล่า Digital Nomad อีกด้วย เพราะเปิดให้ผู้คนจาก 95 ประเทศสามารถเข้าจอร์เจียได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าและอยู่ได้นานถึง 365 วัน

และด้วยผลกระทบจากโรค COVID-19 ที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ล่าสุดทางประเทศจอร์เจียก็ได้เสนอวีซ่าสำหรับ Digital Nomad ที่เรียกว่า ‘Remotely from Georgia’ 

ค่าใช้จ่าย: ฟรี

ระยะเวลา: 1 ปี แต่ถ้าคุณลงทะเบียนธุรกิจ เช่น โครงการผู้ประกอบการรายบุคคล เป็นต้น ก็จะสามารถนำไปสู่การมีถิ่นที่อยู่ถาวรได้เช่นกัน

เงื่อนไขในการสมัคร: มีรายได่ $2000/เดือน, หลักฐานการเป็นเจ้าของธุรกิจอิสระ หรือทำงานทางไกลให้กับบริษัทที่อยู่นอกจอร์เจีย, หลักฐานพิสูจน์ความสามารถทางการเงินในการชำระภาษีขณะอยู่ในจอร์เจีย, ทำประกันการเดินทาง 6 เดือน

ดัชนีค่าครองชีพ: 91 จาก 137

ความเร็วอินเทอร์เน็ตคงที่: 28.68 Mbps มือถือ: 42.49 Mbps

อินโดนีเซีย

ภาพถ่ายฟรีของ บาหลี

และสำหรับใครที่ไม่ได้อยากไปประเทศไกลบ้านเรามากนัก อินโดนีเซียก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะบาหลี

โดยในเกาะบาหลีในประเทศอินโดนีเซียนี้มี Co-Working Space และร้านกาแฟมากมาย ให้คุณได้เลือกเข้าไปนั่งทำงานได้ไม่เว้นวัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหากจะมีการรายงานว่ามีชุมชนของเหล่า Digital Nomad จำนวน 5,000 คนมานั่งทำงานจากบริเวณชายหาด Canggu ภายในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

และแม้ว่าประเทศอินโดนีเซียจะปิดประเทศเนื่องจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ไปถึง 2 ปี แต่ในที่สุดก็มีสัญญาณของการต้อนรับเหล่า Digital Nomad ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตที่เกาะบาหลีได้แล้ว

ซึ่งทางรัฐบาลอินโดนีเซียก็ได้พูดคุยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของวีซ่า Digital Nomad ประเภทที่มีอายุวีซ่าถึง 5 ปีในช่วงหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมา

ดังนั้น ไม่อีกนานนี้เราคงได้เห็นข่าวคราวของวีซ่าชาว Remote Work ของบาหลีที่มีได้นานถึง 5 ปี และผู้ถือวีซ่าจะไม่ต้องจ่ายภาษีสำหรับรายได้ใดๆ ที่ได้รับนอกบาหลีอีกด้วย

ดัชนีค่าครองชีพ: 105 จาก 137

ความเร็วอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป: 30.98 Mbps มือถือ: 24.32 Mbps

อยากเป็น Digital Nomad ต้องเตรียมตัวยังไง?

  1. เลือกรูปแบบงานที่จะทำ

อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นว่าหลายๆ งานแม้ว่าจะเป็นฟรีแลนซ์หรือกลุ่ม Remote Worker แต่ก็สามารถอยู่ภายใต้คำจำกัดความของ Digital Nomad ได้เช่นกัน

เพราะการจะทำอาชีพนี้นั้นนอกจากจะขึ้นอยู่กับว่าเขาทำงานอะไร อยู่ใน Industry แบบไหนแล้วก็ยังต้องดูในสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือทำงานในรูปแบบไหนนั่นเอง

เรามาดูกันดีกว่ารูปแบบการทำงานแบบไหนบ้างที่สามารถเป็น Digital Nomad ได้บ้าง

  • Remote Worker

หากคุณมีทักษะที่เหมาะกับงานที่สามารถทำแบบ Remote Work และคุณเองก็เป็นพนักงานที่ถูกจ้างอยู่ในบริษัทอยู่แล้ว คุณอาจเสนอข้อเจรจาเงื่อนไขการทำงานทางไกลกับเจ้านายของคุณ

และเพื่อเป็นการซัพพอร์ตข้อเสนอของคุณ คุณควรค้นคว้าหาข้อมูลมาสนับสนุนข้อดีในการทำงานทางไกล และพิสูจน์ให้เจ้านายเห็นว่าคุณจะสามารถทำงานได้ด้วยในช่วงที่คุณอยู่ต่างประเทศไปด้วยได้

อย่างไรก็ดี ทางเลือกนี้ก็อาจเป็นทางที่อาจจะไม่สำเร็จผลเสมอไป ดังนั้นคุณอาจจะต้องพิจารณาตัวเลือกอื่นๆ ด้านล่างนี้

  • ทำธุรกิจส่วนตัว

หากคุณทำธุรกิจออนไลน์ของตัวเองอยู่แล้ว เช่น E-Commerce หรือธุรกิจออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น คุณก็อาจทดลองออกไปเป็น Digital Nomad ด้วยตัวคุณเองเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์เพื่อลองดูก่อนว่าเป็นวิถีการทำงานที่เข้ากับไลฟ์สไตล์และรูปแบบธุรกิจของคุณได้หรือไม่

หรือหากคุณกำลังมองหาการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ในขณะเดินทางไปยังต่างประเทศ การตั้งรกรากในเมืองศูนย์กลางที่เป็นแหล่งรวม Digital Nomad ไว้สักสองสามเดือนก็อาจเป็นความคิดที่ดี เพราะการเปลี่ยนสถานที่บ่อยเกินไปอาจทำให้เกิดข้อติดขัดระหว่างการสร้างแบรนด์ของคุณได้เช่นกัน

โดยข้อแนะนำหากสนใจอยากเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ในต่างแดน คุณจำเป็นจะต้องพร้อมที่จะค้นคว้าให้มากๆ ว่าจะตั้งธุรกิจของคุณที่ไหน และเอกสารก็จะอาจกลายเป็นเรื่องชวนปวดหัวที่มีความยุ่งยากเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่มีที่อยู่บ้านเป็นหลักเป็นแหล่งที่แน่นอน

  • Freelance

งานฟรีแลนซ์ถือเป็นวิธีที่เหมาะมากในการเริ่มต้นสายอาชีพนี้ เพราะคุณสามารถใช้ทักษะและความสามารถของคุณให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้เลย

หากคุณเป็นฟรีแลนซ์ที่ทำงานจากที่บ้านอยู่แล้ว อีกเพียงไม่กี่ก้าวก็สามารถเป็น Digital Nomad ได้แล้ว คุณอาจเริ่มจากการทดสอบไลฟ์สไตล์แบบนี้สัก 1-2 สัปดาห์แล้วดูว่าเหมาะกับคุณหรือไม่

ทางที่ดี คุณควรแจ้งลูกค้าก่อนตัดสินใจไปต่างประเทศ และหาคำตอบเรื่องแนวทางและวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่นี้ให้แก่ลูกค้าด้วย

เช่น หากคุณมักจะนัดพบกับลูกค้าด้วยตนเอง ก็อาจเปลี่ยนไปใช้ Zoom หรือ Slack เพื่อสื่อสารกับลูกค้าเป็นเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ในช่วงระหว่างการตัดสินใจที่จะเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อให้ทุกฝ่ายมั่นใจได้ว่าจะสามารถทำงานด้วยกันได้อย่างราบรื่น

  • Passive Income

หนึ่งในแนวคิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ การหา Passive Income หรือแหล่งรายได้ที่ไม่ต้องใช้เวลาทำงานเพื่อหาเงิน แต่แหล่งรายได้ที่ได้มาจากผลตอบแทนจากการเป็นเจ้าของทรัพย์สินใดสิ่งหนึ่ง

ความน่าสนใจของการสร้าง Passive Income คือคุณสามารถท่องเที่ยวและสนุกกับตัวเองในขณะที่ทำเงินได้โดยไม่ต้องทำงานประจำ โดยวิธียอดนิยมนั้นก็คือ E-Commerce โดยเฉพาะการทำ Dropship ซึ่งเป็นการขายสินค้าออนไลน์ประเภทหนึ่งที่ร้านค้าไม่ต้องมีสินค้าที่จะขายเป็นของตัวเอง

  1. หากลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้า

หลังจากที่คุณตัดสินใจได้แล้วว่าจะทำงานในรูปแบบไหน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการ ฟรีแลนซ์ หรือคนที่มีรายได้แบบ Passive Income แน่นอว่าสิ่งที่ทุกสายงานต้องมีก็คือการหากลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้านั่นเอง

แล้วคุณจะเริ่มต้นที่ไหนดีล่ะ? อย่ารอช้า ตามมาดูกันเลย!

  • Connection เดิมที่มีอยู่แล้ว

วิธีที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นก็อาจเริ่มจากสิ่งที่คุณมีอยู่แล้ว นั่นก็คือ Connection เดิมของคุณนั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณเป็น Graphic Designer คุณอาจไปบอกคนอื่นว่าตอนนี้คุณกำลังเป็นฟรีแลนซ์ และเสนอที่จะช่วยเหลือเพื่อนหรือคนอื่นๆ ในโปรเจกต์ที่เขาทำงานอยู่ เพื่อแลกกับคำรับรองการทำงานที่ยอดเยี่ยมของคุณ

การมองหา Connection ด้วยการใช้ทักษะของคุณด้วยการทำงานให้คนอื่นแบบฟรีๆ อาจเป็นวิธีการเริ่มต้นที่ดีและง่ายจนทำให้คุณตกใจเลยล่ะ!

  • เว็บไซต์หางาน Freelance

แพลตฟอร์มสำหรับฟรีแลนซ์ต่างๆ  เช่น Upwork, Fiverr, Freelancer และ People Per Hour เป็นต้น ถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อเหล่าฟรีแลนซ์กับลูกค้าใน Industry ต่างๆ โดยเฉพาะ

โดยแนวคิดเบื้องหลังของการสร้างแพลตฟอร์มเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็คือการเป็นสื่อกลางให้ลูกค้าสามารถโพสต์การว่าจ้างงานได้อย่างอิสระ ในขณะที่ตัวฟรีแลนซ์เองที่สนใจก็สามารถเสนอราคาที่กำหนดด้วยตัวเองได้

ประเภทของงานฟรีแลนซ์ก็มีหลากหลาย มีตั้งแต่การเขียน การออกแบบ การแปล ที่ปรึกษากฎหมาย การพัฒนาเว็บไซต์ ไปจนถึงการตลาดโซเชียลมีเดีย มีสัญญาการว่าจ้างทั้งแบบทำงานแค่ครั้งเดียวและแบบประจำ ซึ่งเป็นช่องทางในการหาลูกค้าประจำที่ดี

นอกจากนี้เอง การเป็น Freelance ก็ถือเป็นก้าวแรกที่ดีที่สามารถนำคุณไปสู่การตั้งธุรกิจเป็นขอตัวเองได้เช่นกัน หากคุณสามารถขยายฐานลูกค้าขาประจำได้ต่อไปเรื่อยๆ 

  • สร้าง Portfolio ส่วนตัวขึ้นมาเอง

อีกวิธีหนึ่งที่ง่ายและดีที่สุดที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองก็คือเริ่มต้นเว็บไซต์ของคุณเอง

การมีตัวตนและมีพื้นที่ของตัวเองบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญอย่างน่าเหลือเชื่อ โดยให้คุณคิดว่าเว็บไซต์นั้นเป็นเหมือนนามบัตรของตัวคุณเอง เพียงแต่เป็นนามบัตรที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมเพราะมันจะช่วยให้ผู้ว่าจ้างสามารถหาคุณเจอได้ง่ายขึ้น

ทุกวันนี้ คุณเองก็สามารถสร้างเว็บไซต์ที่เรียบง่ายและเป็นมืออาชีพบน WordPress ได้โดยไม่ต้องใช้ทักษะทางเทคนิคใดๆ การอัปโหลดบทความของคุณเองก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีในการแสดงออกถึงทักษะและช่วยเพิ่มปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ

ข้อดีของการเริ่มต้นทำ Portfolio ก็คือ เป็นการสร้างความไว้วางใจกับผู้ที่พบเห็นหน้าเว็บไซต์และอาจมีความสนใจที่จะว่าจ้างคุณ โดยงานเหล่านั้นจะแสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณทำงานอะไรไปก่อนหน้านี้ หรือบางทีอาจได้รับการรับรองถึงศักยภาพที่ตัวคุณมีนั่นเอง

  • ติดต่อกับ Digital Nomad คนอื่นๆ

วิธีการที่ง่ายและรวดเร็วอีกวิธีหนึ่งก็คือ การติดต่อกับฟรีแลนซ์และ Digital Nomad คนอื่นๆ นี่เอง

จะเห็นได้ว่าชุมชนของคนเหล่านี้เป็นสังคมที่เปิดกว้างและมีความช่วยเหลือกันดีมาก ยิ่งไปกว่านั้น คุณอาจพบลูกค้าหรือได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโปรเจกต์ใหม่ได้ด้วยเครือข่ายของคุณ

ในจุดนี้ก็มองได้ว่าแพลตฟอร์มอย่าง LinkedIn ได้กลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมากในการขยายเครือข่ายของคุณและสร้าง Connection ที่มีประโยชน์ในอนาคตให้แก่คุณ

ดังนั้น คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าโปรไฟล์ของคุณทันสมัยและมีความเชื่อมโยงกับชุมชนของเหล่าฟรีแลนซ์และ Digital Nomad คนอื่นๆ

  1. เก็บกระเป๋าเตรียมออกเดินทาง

มาถึงขั้นตอนนี้ก็เป็นเวลาอันดีงามในการแพ็คของเก็บลงกระเป๋า เตรียมตัวบินข้ามฟ้าไปทำงนที่ต่างแดนกันเถอะ!

แน่นอนว่าคุณอาจจะต้องมองหาเช็คลิสต์หรือรายการสิ่งของสำหรับนักเดินทาง แต่อย่าลืมนึกไปว่าการจัดกระเป๋าในครั้งนี้จะไม่เหมือนการท่องเที่ยวทั่วไป เพราะคุณจะต้องใส่ของที่ใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปและของที่ใช้ในที่ทำงานไว้ในกระเป๋าเดินทางในใบเดียว 

สิ่งของที่จำเป็นของนำไปด้วยนั้นเป็นสิ่งสำคัญทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพของคุณ โดยจำนวนสิ่งของที่คุณต้องการนั้นก็จะขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลของคุณ

อย่างไรก็ดี ลิสต์รายการข้างล่างนี้ถือได้ว่าเป็นของที่ขาดไม่ได้ และไม่อยากให้คุณมองข้ามไป

  • SIM card

เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ในขณะเดินทาง ส่วนใหญ่แล้วคนมักเลือกซื้อซิมการ์ดที่ใช้กันทั่วไปในท้องถิ่นมาใช้กับโทรศัพท์ของตัวเองมากกว่า

โดยแต่ละประเทศก็จะมีแพ็คเกจสัญญาณให้เลือกใช้แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้ว การเลือกซื้อซิมแบบเติมเงินที่มีข้อมูลไม่กี่กิกะไบต์และนาทีการโทรไม่กี่นาทีนั้นจะทำได้ค่อนข้างง่ายและราคาไม่แพง

  • ประกันชีวิต

ปัจจัยในการเลือกทำประกันนั้นก็จะขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังเดินทางไปที่ไหน เดินทางไปที่นั้นนานแค่ไหน และประกันประเภทไหนบ้างที่คุณทำอยู่แล้วในประเทศบ้านเกิดของคุณ

โดยประกันสำหรับชาว Digital Nomad ส่วนใหญ่แล้วมักเลือกทำประกันสุขภาพการเดินทาง (Travel Health insurance) หรือบางคนอาจพิจารณาไปถึงประกันบางประเภทที่สามารถครอบคลุมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวได้ด้วย

  • ระบบธนาคาร (Banking)

ระบบธาคาร หรือ Banking ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เกิดความสับสนในหมู่นักเดินทาง โดยมากแล้ว ช่องทางอย่าง PayPal และ Transferwise ก็เป็นวิธีที่ดีในการรับเงินจากลูกค้า

ทริคเพิ่มเติมอีกข้อก็คือ คุณควรพยายามถือบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตที่ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ สำหรับการถอนเงินและธุรกรรมในต่างประเทศ

  • Visa

วีซ่าประเภทใดที่คุณค้องสมัครนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเทศที่คุณวางแผนจะเดินทางไป และระยะเวลาที่คุณวางแผนจะอยู่ที่นั่น รวมถึงประเภทของงานที่คุณจะทำ

โดยมากแล้ว Digital Nomad ก็มักเดินทางด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวปกติเพราะพวกเขาไม่ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศที่เดินทางไป แต่มีธุรกิจที่จดทะเบียนในประเทศของตนเองแทน

ดังนั้น คุณควรตรวจสอบระเบียบข้อบังคับหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับวีซ่าก่อนเดินทางไปประเทศใหม่โดยละเอียดอยู่เสมอ

  1. รักษาไฟความมุ่งมั่นของคุณเอาไว้

แน่นอนว่าการเดินทางระหว่างทำงาน การได้พบปะผู้คนใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งการได้เห็นสถานที่ใหม่ๆ ทุกวันนั้นน่าตื่นเต้นอย่างไม่น่าเชื่อ แต่สิ่งเหล่านี้เองก็อาจทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้าได้เช่นกัน

ดังนั้น เพื่อเป็นการชักจูงให้คุณรู้สึกมีแรงใจในการทำงานอยู่เสมอ คุณควรหากิจวัตรที่เหมาะกับคุณ กิจกรรมเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นการกำหนดตารางชีวิตตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็นแบบเก่า

แต่เป็นการกำหนดเพียงแค่ให้คุณได้ใช้ชีวิตที่มีโครงสร้างและกิจวัตรแบบแน่นอนมากขึ้น เพื่อช่วยให้กระบวนการทำงานของคุณมีประสิทธิผลและสามารถเพิ่มความสุขไปพร้อมกันได้

หนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อรักษาแรงจูงใจและประสิทธิภาพการทำงานของคุณไว้เสมอคือการห้อมล้อมตัวเองไปด้วยคนที่มีความคิดเหมือนๆ กัน

อาจจะฟังดูแปลกสำหรับวิถีที่จำเป็นจะต้องมี Growth Mindset แต่นึกภาพว่าหากคุณกำลังเดินทางและสำรวจสถานที่ใหม่ๆ ในทุกๆ สองสามสัปดาห์หรือหลายเดือน

แน่นอนความต้องการในการหาที่พักพิงทางจิตใจ หรือความเป็นชุมชนเดียวกันนั้นย่อมเพิ่มสูงขึ้นจากความโดดเดี่ยวที่เกิดจากไลฟ์สไตล์แบบ Digital Nomad

ดังนั้น การพักผ่อนหย่อนใจด้วยการอยู่ร่วมกันและการพบปะผู้คนคอเดียวกันที่เพิ่มมากขึ้นก็จะช่วยได้ ซึ่งก็มีหลายวิธีในการเชื่อมต่อกับผู้อื่นทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Groups, แชทแบบ Slack #Nomads

สิ่งเหล่านี้เองก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยรักษาไฟความมุ่งมั่นของคุณเอาไว้ได้


หางานสายดิจิทัลทั่วไทย ทั้งรูปแบบ #Fulltime #Remote #Freelance ได้ที่ https://jobs.contentshifu.com/

 

สรุป

การผันตัวมาเป็น Digital Nomad นั้นไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมล่ะคะ จะเห็นได้ว่างานในบางตำแหน่งที่มีความต้องการมากในต่างประเทศเองก็ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะทางคอมพิวเตอร์หรือทางเทคโนโลยีที่สูงมาก หรือแม้กระทั่งบางสายงานเองก็อาจเริ่มต้นได้เลยจากทักษะที่คุณมีอยู่

นอกจากนี้เอง หลังจากมีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ก็ทำให้หลายประเทศเปิดรับวีซ่าสำหรับคนทำงานแบบ Remote Working มากขึ้น เพื่อดึงดูดให้คนมากระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ

ดังนั้น นี่อาจเป็นสัญญาณและโอกาสอันดีสำหรับใครหลายๆ คนที่อยากย้ายประเทศไปทำงานที่ต่างแดน แม้ว่าจะเป็นเส้นทางที่อาจดูเหงาไปบ้าง แต่ Community ของ Digital Nomad เองก็มีให้คุณได้ติดต่อกับคนทั่วโลกเช่นกัน

ตาคุณแล้ว

หวังว่าบทความนี้จะช่วยจุดประกายความฝันของใครหลายๆ คนในออกเดินทางไปเที่ยวและทำงานที่ต่างแดนกันนะคะ หากใครสายงานอาชีพอื่นหรือประเทศจุดหมายปลายที่น่าสนใจสำหรับ Digital Nomad อย่าลืมมาแบ่งปันในคอมเมนต์กันนะคะ