จบไปแล้วกับงาน Thailand Marketing Webinar 2023 งานสัมมนาการตลาดครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อวันที่ 4-5 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดฯ

ภายในงานได้ขนกิจกรรมทั้งออฟไลน์และออนไลน์มาเติมความรู้ให้นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และคนแวดวงการตลาดกันแบบจัดเต็ม 2 วันเต็ม! โดยในปีนี้กลับมาภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Marketing Big Change เปลี่ยน และ ปรับ รับความสำเร็จ” มาร่วมฟังหลากหลายมุมมองดี ๆ ในแง่มุมที่น่าสนใจถึง 3 session ด้วยกัน คือ

  • Edtech Transformation for Success แกะรอยความสำเร็จเทคโนโลยีด้านการศึกษา (เหมาะสำหรับคณาจารย์ผู้สอนวิชาการตลาด และ วิชาที่เกี่ยวเนื่องกับภาคธุรกิจ)
  • Next Step of New Generation Marketer ก้าวต่อไปของนักการตลาดรุ่นใหม่ (เหมาะสำหรับนิสิต – นักศึกษา)
  • The Marketing Big Change เปลี่ยน และ ปรับ รับความสำเร็จ (สำหรับนักการตลาด นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจการตลาด

และเราก็ขอนำสรุปภาพรวมและความความสำเร็จของงาน Thailand Marketing Webinar 2023 ที่ผ่านมา โดยสรุปภาพรวมในบางหัวข้อของทั้ง 3 Session มาฝากกัน ดังนี้

Session 1: Edtech Transformation for Success แกะรอยความสำเร็จเทคโนโลยีด้านการศึกษา

Unlock The Chat GPT & Generative AI โดย คุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล

  1. เวลาที่พูดถึงบทบาทของ AI ก็จะเกิดข้อถกเถียงเช่นนี้เสมอว่า ตกลงแล้ว AI จะมาแทนที่มนุษย์จริงไหม (Will be replaced by AI ?) โดยเฉพาะเมื่อมีการเผยแพร่ข่าวว่าปัจจุบัน AI สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศข่าวแทนผู้ประกาศข่าวที่เป็นมนุษย์ได้แล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมากว่า 30 ปีแล้ว 
  2. ถ้า “การแทนที่” เป็นเรื่องที่ผู้คนตื่นตระหนกและหวาดกลัวมากเวลาพูดถึงความสามารถของ AI คำถาม คือ อะไรบ้างที่จะถูก AI แทนที่ได้ 
  3. การแทนที่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอในโลก ตัวอย่างเช่น รถยนต์ ได้มาแทนที่ รถม้า ส่งผลให้คนขับรถม้าตกงาน แต่ขณะเดียวกันการเกิดขึ้นของรถยนต์ก็ทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆขั้นบนโลกมากมายเช่นกัน ประเด็นขึ้น เทคโนโลยี มาช่วยให้การเคลื่อนจากจุด A ไปสู่จุด B ได้ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่ได้ทำให้ไม่เกิดการเคลื่อนจากจุด A ไป จุด B
  4. งานของมนุษย์จึงไม่ได้หายไปไหน แต่เทคโนโลยี จะก้าวเข้ามาช่วยให้งานของมนุษย์นั้น รวดเร็วขึ้น (Faster), ต้นทุนถูกลง (Cheaper) และมีตัวเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น (Sexier) 
  5. คนที่จะถูก AI แทนที่ จึงไม่ใช่ Low Skills Labor หรือ High Skills Labor แต่เป็น Middle skills Labor 
  6. ถ้าพูดให้เป็นภาษาคน AI = กล่อง วิเศษสารพัดนึก ที่สามารถใส่อย่างอย่างเข้าไป แล้วคาดหวังผลลัพธ์ที่ดีกว่าของสิ่งที่ใส่เข้าไปออกมาได้ (AI is intellgent box (model) that can get input and give output)
  7. จากผลการศึกษาล่าสุดพบว่า ตอนนี้สิ่งที่ AI เหนือกว่ามนุษย์โดยค่าเฉลี่ยอย่างเทียบกันไม่ติด คือ เรื่องภาษาอังกฤษ ในขณะที่คณิตศาสตร์ หรือการคิดเชิงตรรกะที่โครงสร้างทางความคิดอย่างสลับซันซ้อนนั้น มนุษย์โดยค่าเฉลี่ยยังมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่เหนือกว่า AI อยู่ในเวลานี้ 
  8. 3 เรื่องที่ยังไงในเวลาที่ AI ก็ยังไม่อาจเทียบกับมนุษย์ได้ในเวลานี้ คือ 1) Common Sense 2) Creativity 3) Community 
  9. สิ่งสำคัญในการใช้งาน AI คือ การรู้จักตั้งคำถามที่ดี และ คิดต่อยอดจากคำตอบที่ได้รับจาก AI และทำซ้ำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ หากเราเข้าใจกระบวนการในการในงาน AI เช่นนี้ จะเห็นได้ว่าบางทีบทบาทที่สำคัญที่สุดของ AI อาจจะการทำหน้าที่เป็น Sounding Board เพื่อช่วยให้มนุษย์เข้าใจตัวเองมากขึ้นว่าต้องการอะไรก็เป็นได้ ? 
  10. Good Prompts Come with P.R.I.C.E. 1) P = Precise – ต้องชัดเจนว่าอยากได้อะไร 2) R = Relevant Context – ให้ข้อมูลบริบทรอบ ๆ 3) I = Instruction (Clear Example) – ให้ตัวอย่างที่ชัดเจนว่าสิ่งที่เราต้องการเป็นแบบไหน 4) C = Cross Check – AI ผิดได้ เพราะฉะนั้นต้อง Check ดี ๆ 5) E = Experiment (Iterate) – ทดลองหลาย ๆ แบบ หรือสรุปส้้น ๆ ได้ว่า Good Prompt = Good Question
  11. ปัจจุบัน AI สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การให้ AI ช่วยหาหัวข้อวิจัย, ออกแบบงานวิจัย, สรุปและประมวลผลแบบสอบถาม, สรุปและนำเสนอ, จัดทำแผนการสอน, ตัดเกรด, ฯลฯ 
  12. ส่วนคำถามที่ว่าเราควรห้ามนักศึกษาใช้ AI ไหม ผมอยากให้เราลองตั้งคำถามดูดี ๆ ว่า เราอยากให้นักศึกษาเรียนรู้เรื่องอะไร อยากให้เค้าวิเคราะห์เก่งหรือเขียนบทความเก่ง ถ้าเราอยากให้เค้าวิเคราะห์เก่งก็สามารถให้เค้าใช้ ChatGPT ช่วยเขียนบทความจากการวิเคราะห์ของเขาได้ หรือเราควรจะเลือกว่าเราจะให้นักศึกษาใช้ AI มาช่วยอะไรบ้าง
  13. สรุป 3 Key Takeaways 1) AI มาช่วยให้ยกระดับการทำงานให้ดีขึ้น ไม่ใช่แทนที่การทำงานของมนุษย์ (Enhancement, not replacement) 2) จงใช้พลังของมัน อย่าไปกลัวมัน (Harness, Don’t Fear) 3) ถึง AI จะเก่ง แต่มันก็ยังมีข้อผิดพลาดอีกมาก (AI still make mistake)

Session 2: Next Step of New Generation Marketer ก้าวต่อไปของนักการตลาดรุ่นใหม่

The Power of Generating good content marketing : ลงคอนเทนต์อย่างไรให้ได้ใจลูกค้า โดย คุณ Tokko – Nathida Ratthanawut

  1. Content is the best long term marketing strategy เพราะว่าทุกวันนี้ ผู้คนใช้เวลาส่วนมากของตัวเองไปกับการเสพคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ การทำ Content Marketing จึงเป็นการเข้าใกล้ลูกค้าของเรามากขึ้น และถ้าเราทำได้ดีมากพอ เราจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของลูกค้า โดยที่ลูกค้าเองก็ไม่รู้ตัว 
  2. Content Marketing มีผลต่อแบรนด์มากมาย ตั้งแต่ สร้าง Brand Awareness, สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับแบรนด์และสินค้า (Trust), ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการของแบรนด์, สร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ทำให้ให้กลายเป็น Brand Love และ Top of Mind ในใจของลูกค้าได้, ดึงดูดลูกค้าในอุดมคติของแบรนด์ให้เข้ามาหาและแปลงให้เขากลายเป็น Royalty Costumer, และเหนือสิ่งอื่นใด ในวันนี้ Content Marketing ยังทรงพลังมหาศาลในการสร้งยอดขายให้เกิดขึ้นจริงกับแบรนด์อีกด้วย
  3. ด้วยเหตุนี้ Content ที่ดี จึงไม่ใช้ Content ที่มีกราฟฟิคสวยงามอลังการ แต่เป็น Content ที่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของแบรนด์ได้ โดยสามารถแบ่งคอนเทนต์ออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ 1) คอนเทนต์สำหรับ Engage เช่น Story, Reel, Live ,ฯลฯ 2) คอนเทนต์สำหรับ Watch/See เช่น TikTok, Facebook Post, YouTube 3) คอนเทนต์สำหรับ Hear เช่น Podcast, Radio, Clubhouse 
  4. การเข้าใจกลุ่มลูกค้าก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำคอนเทนต์ เราอาจแบ่งประเภทของลูกค้าออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) The Curious Consumer 2) The Demanding Consumer 3) The Impatient Consumer
  5. The Curious Consume คือ กลุ่มลูกค้าที่บ้าข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ก่อนจะซื้ออะไรต้องเช็ตแล้วเช็คอีก ดังนั้น การทำคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์กลุ่มนี้ได้ จะต้องเป็น Content ที่ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอย่างละเอียดและครบถ้วน เพื่อให้คนกลุ่มนี้สามารถหาคำตอบที่เขาอยากรู้ให้ได้มากที่สุด
  6. The Demanding Consumer เป็นกลุ่มที่มีความต้องการชัดเจน และคาดหวังว่าแบรนด์หรือผู้ขาย จะเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการ จึงต้องการ Content แบบเฉพาะเจาะจง
  7. The Impatient Consumer เป็นกลุ่มคนที่ตัดสินใจเร็ว คอนเทนต์ที่ต้องการจึงต้องตรงประเด็นในสิ่งทีอยากรู้ เช่น สรุปประเด็นสำคัญ ให้คำตอบได้อย่างรวดเร็ว
  8. การรู้พฤติกรรมของลูกค้าสำคัญมาก ๆ จะได้รู้ว่าควรต้องทำ Content แบบไหน ไปตอบโจทย์เขา เขาเป็นลูกค้าแบบไหน, เขาอยู่บน Online เพื่ออะไร, เขาอยู่บน Online ผ่านอุปกรณ์ไหน, เขาชอบดู Online Content แบบไหน, เขาอยู่ใน Platform ไหน, Key Driver Purchase ของเขาอยู่ตรงไหน 
  9. นอกจากเรื่องพฤติกรรมของลูกค้าแล้ว ช่วงเวลาต่าง ๆ ในการเสพคอนเทนต์ของลูกค้าก็สำคัญมาก ในการวางแผนสร้างคอนเทนต์ เราเรียกว่า “Mobile Consumption” ซึ่งแบ่งเป็น 70-20-10 
  10. 70 : On the go ดูแวบๆ เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ Content ต้องสั้นๆ ถ้ายาวเกินไป เขาจะเสพไม่จบ เดี่ยวนี้คนมีความเร่งรีบมากขึ้น เลยทำให้คอนเทนต์สั้นได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น TikTok, Reel // 20 : Lean Forward พวกชอบดู ถ้าคอนเทนต์น่าสนใจพอ พวกเขาจะสามารถดูจบได้ เพราะชอบดูเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว // 10 : Lean Back เป็นพวกที่ชอบกลับไปดูอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย แต่จะมีความ Royalty กับ Content สูงกว่าประเภทอื่น ๆ
  11. การรู้จัก Moment ของคนดูก็สำคัญ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 Moment : 1) I want to do 2) I want to go 3) I want to know 4) I want to buy หากเราเข้าใจทั้ง 4 Moment นี้ ก็จะทำให้เราสามารถออกแบบคอนเทนต์ได้ว่า ต้องการจะสื่อสารกับคนดูที่อยู่ใน Moment ไหนเป็นสำคัญ
  12. สุดท้าย เรายังต้องทำความเข้าใจกับ SEO เพื่อให้ Content ของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภายในแต่ละ Platform อีกด้วย

Session 3: The Marketing Big Change เปลี่ยน และ ปรับ รับความสำเร็จ

Session E-Commerce Landscape 2023: อัปเดตตลาดค้าปลีกที่เปลี่ยนไป สู่โอกาสใหม่ที่ท้าทายกว่าเดิม! โดย คุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด

“Right now, E-commerce merge on lifestyle“

มูลค่าตลาด E- Commerce ทั่วโลกมีอัตราเติบโตเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าภาพรวมตลาดลงจะลดดิ่งลงช่วงของวิกฤติโควิด-19 แต่ประเทศไทยนั้นกลับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งพฤติกรรมที่ขับเคลื่อนให้ผู้บริโภคชอบที่จะ Shopping Online นั้นส่วนหนึ่งการรับชมสื่อบนช่องทางออนไลน์ จากสถิติการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะพบว่าปี 2022 คนไทยใช้งานเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวัน สูงเป็นอันดัที่ 9 ของโลก แต่ถือว่าลดลงจากปี 2021 เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มออกมาใช้ชีวิต การซื้อสินค้าบนห้างหรือ  Physical Store จึงกลับมามีบทบาทอีกครั้ง แต่ยังไม่ได้กระทบต่อภาค E-Commerce มากนัก

ปี 2022 อุปกรณ์ที่คนไทยเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้แก่ โทรศัพท์ โดยกิจกรรมยอดฮิตขวัญใจสังคมออนไลน์ ได้แก่ การปรึกษาแพทย์ทางไกลสูงถึง 86.16% ตามด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นคือ Live Commerce การซื้อขายสินค้าบน Live Stream ที่เพิ่มมากขึ้น 

ตลาด E- Commerce เมื่อเทียบกับมูลค่าค้าปลีกในปี 2023 พบว่าประเทศจีนมีสัดส่วนมากที่สุด 40% รองลงมาคืออินโดนีเชีย 31.9% ในขณะที่สหรัฐอยู่ที่ 15.8% และไทยอยู่ที่ 11-12% ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นในประเทศไทยยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้เพิ่มมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าในปีนี้จะเติบโตได้ถึง 16% และติด 1 ใน 5 ตลาด E- Commerce ที่ใหญ่ที่สุด และในปี 2027 ถูกคาดการณ์มูลค่าตลาดอยู่ที่ 1.6 ล้านล้านบาท 

E- Commerce Landscape

Platform E-Commerce เกิดขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกสบายในการเอื้ออำนวยให้ Supply และ Demand เชื่อมต่อได้อย่างง่ายดาย รวมถึงธุรกิจจากฝั่ง Payment และ Logistics ที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรม E-Commerce นอกจากนี้ยังมีบริษัทด้าน Agency ที่เข้ามาช่วยวางกลยุทธ์ รวมถึง Operate Platform ที่เรียกว่า Enabier 

Flagmentation การแตกตัวของ E-Commerce ในรูปแบบต่าง ๆ เพราะรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของ ความเร็วในการจัดส่ง(Speed) การเลือกซื้อสินค้า(Selection), คุณภาพ(Quality), ส่วนลดและโปรโมชัน(Saving) และความสนุกสนาน (Fun) โดย 51% ได้แก่กลุ่ม Market place เช่น Shopee, Lazada, Noc noc รองลงมาคือ Social Commerce 22% ได้แก่ Fcaebook, Tiktok, Line, Pinterest ต่อมาคือ On demand การสั่งซื้อสินค้าแบบต้องการในทันที เช่น Food Delivery

Social Commerce โดยได้ส่วนแบ่งมากที่สุดจาก Live stream ที่ถูกขับเคลื่อนจาก Shoppertainment ความสนุกสนานจากการรับชมสู่การเลือกซื้อ รวมถึงสามารถพูดคุยกับ Live Shopping coach ในการตอบคำถามรวมถึงปิดการขายผ่านกลยุทธ์ ซื้อผ่าน Live Stream เท่านั้น ถึงจะได้ส่วนลดหรือโปรโมชัน ซึ่งจากสถิติใน Q1 2023 พบว่าในไทย Live Stream ขายสินค้าสูงถึง 9 แสนครั้ง แต่เป็นคนจีนที่ไลฟ์ในไทย 540,000 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าจีนกำลังมองไทยเป็นตลาดที่เติบโตและก้าวเข้ามาแย่งชิงรายได้ คนไทยจึงไม่ควรมองข้ามโอกาสที่จะสร้างรายได้และสร้างการเติบโตให้ภาคเศรษฐกิจ

Marketplace ที่มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีการแข่งขันอย่างดุเดือด ซึ่งยอดขายของแต่ละ Platform ตามความโดดเด่นของประภทของสินค้านั้นถือเป็นจุดสำคัญที่ทำให้สามารถพลิกยอดขายได้ และการซื้อขายแบบ Cross border คือการที่โรงงานจากต่างประเทศอย่างจีน เข้ามาเปิดทำการและขายในประเทศไทยโดยตรง ทำให้ต้นทุนและราคาถูกกว่าสินค้าที่ขายโดยคนไทย ยิ่งทำให้กลุ่มผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าได้มากขึ้น

Quick Commerce การซื้อขายสินค้าที่ต้องการรับสินค้าทันที นอกจากเรื่องอาหารแล้วปัจจุบันเริ่มขยายสู่สินค้าในรูปแบบอื่นเช่นกัน เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการสินค้าที่รวดเร็วของผู้บริโภค หลายธุรกิจจึงเริ่มนำแบรนด์ก้าวเข้าสู่ Platform Quick Commerce

Trends Changing the Tech landscape: อัปเดตภาพรวมเทรนด์เทคโนโลยีที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคต โดย คุณวิสสุต เมธีสุวกุล CMO Lead บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

“AI Will Not Replace You. A Person Using AI Will“

จากวิกฤติสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวและหาแนวทางรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้ รวมถึงต้องวางแผนและรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย 

เทคโนโลยีจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่เข้าเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บบริโภค และปรับเปลี่ยนกลไกหรือกลวิธีการขายของเจ้าของธุรกิจให้ตอบสนอง ช่วยเหลือ พร้อมเพิ่มทางเลือกให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น หากกล่าวว่า “เทคโนโลยีคือการลงทุน” และการลงทุนนี้ส่งผลต่อโดยตรงต่อธุรกิจเพื่อให้สามารถดำเนินต่อได้นั้น เจ้าของธุรกิจก็เห็นด้วยกับการ “ลงทุน” ในครั้งนี้

ในปีที่ผ่านมา Technology ที่ได้รับความนิยมและถูกพูดถึงอย่างมากคือ AI ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูงที่ถูกพัฒนา และปัจจุบันมีการเปิดตัว “Chat GPT” ที่ใช้การทำงานของ AI ในการตอบโต้สนทนาราวกับมนุษย์อัจฉริยะที่มีความสามารถรอบรู้ สามารถวิเคราะห์ สรุปข้อมูล ตอบคำถามได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด อีกทั้งยังสามารถเสนอความคิดเห็นหรือไอเดียสร้างสรรค์ได้อีกด้วย 

ความสามารถของ Chat GPT สร้างความกังวลและความหวังไปพร้อมๆ กัน เพราะความสามารถที่ถูกพัฒนานี้ถือเป็นจุดแข็งที่บางครั้งมนุษย์เองก็ยังไม่สามารถทำได้ และยังเป็นความหวังให้กับหลาย ๆ คนในการใช้งานเพื่อแบ่งเบาภาระและลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ซึ่งหลังจากที่เจ้า AI ตัวนี้เปิดให้ทดลองใช้งานและสามารถช่วยงานจนเกิดประสิทธิภาพจริง หลายสายงานจึงมีความกังวลและมีคำถามเกี่ยวกับขอบเขตการทำงานของปัญญาประดิษฐ์นี้

Version ล่าสุดของ Chat GPT คือสามารถเรียนรู้ วิเคราะห์และประมวลผลได้คล้ายกับมนุษย์ เช่น ภาพลูกโป่งหลายร้อยลูกผูกติดกับตะกร้า หากตั้งคำถามว่าเมื่อตัดเชือกแล้วจะเกิดอะไรขึ้น Chat GPT วิเคราะห์และประมวลผลจากรูปภาพดังกล่าวและตอบว่า ลูกโป่งจะลอยออกไป แสดงให้เห็นว่า AI นี้นำข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมหาศาลมาวิเคราะห์และคัดเลือกคำตอบได้อย่างมีเหตุผล มากไปกว่านั้น Chat GPT

ยังสามารถสร้างเรื่องราวจากข้อมูลหลายๆ ส่วนและสร้างสรรค์รูปภาพตามคำสั่งที่ป้อนเข้าไป พร้อมประยุกต์เข้ากับ Mood and Tone ของผู้ใช้งานได้อย่าง Personalize

แม้ว่าความสามารถของ Chat GPT ด้านการให้ข้อมูล วิเคราะห์และเสนอความคิดเห็น หรือสร้างผลงานตามคำสั่งที่ป้อนไปนั้น สุดท้ายแล้วในการนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับใช้หรือการคัดเลือกมาต่อยอด จำเป็นต้องผ่านการคัดสรรและวิคราะห์จากมนุษย์อีกครั้ง 

AI ปลอดภัยหรือไม่ ? กลายเป็นคำถามยอดฮิต หลังจากที่ AI สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มหาศาลและคัดสรรข้อมูลที่ผู้ถามต้องการมาตอบให้กับผู้ใช้งานทั่วโลกได้ในระยะเวลาอันสั้น สำหรับ Microsoft เองมีการสร้าง AI จาก 2 แง่คิด โดยรูปแบบแรกคือ Auto Pilot ที่ AI จัดการกับข้อมูลแบบ 100% นำข้อมูลมหาศาลมาตอบคำถามหรือช่วยเหลือมนุษย์ตามคำสั่ง เเล้วมนุษย์นำไปใช้แบบไม่ดัดแปลง และรูปแบบที่ 2 คือ Copilot ที่ AI และมนุษย์สร้าง action ร่วมกัน คือหากได้รับข้อมูลจาก AI มาแล้ว เกิดการนำมาวิเคราะห์ ตัดสินใจ ดัดแปลง หรือเกิด Action ต่อจากมนุษย์เอง ซึ่งแบบนี้จะมีความปลอดภัยและแม่นยำมากกว่า 

สุดท้ายนี้ AI ไม่สามารถเข้ามาแทนมนุษย์ได้ 100% แต่มนุษย์ด้วยกันเองที่เข้าใจ AI และสามารถนำ AI มาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ นั่นแหละถือเป็นคู่แข่งตัวจริงที่สามารถเเข่งขันและทดแทนคุณได้

และนี่ก็คือส่วนหนึ่งใน session ความรู้จากหลายๆ session ที่น่าสนใจจากภายในงาน Thailand Marketing Webinar 2023 ที่ผ่านมา ที่ทางสมาคมการตลาดฯ ร่วมกับ ชมรมยุวสมาชิกสมาคมการตลาดฯ และภาคีเครือข่ายภาคการศึกษาทั่วประเทศได้ร่วมกันจัดขึ้นมา เรียกได้ว่าเป็นอีกงานสัมมนาการตลาดระดับประเทศที่ไม่ควรพลาดกันเลย